วันอังคาร, มิถุนายน 17, 2551

ปวดศีรษะ อาการที่เป็น ๆ หาย ๆ

ใครปวดหัวบ่อยๆ ยกมือขึ้น แล้วลองอ่านๆดูนะ  (ดีจังเราไม่เป็น)




ปวดศีรษะ อาการที่เป็น ๆ หาย ๆ

ทีมอายุรแพทย์ระบบประสาทวิทยาโรงพยาบาลวิภาวดี

 

เนื้อเยื่อสมองไม่เคยปวด เพราะเนื้อเยื่อสมองไม่มีตัวรับความเจ็บปวด ฟังดูไม่น่าเชื่อ

โดยเฉพาะเมื่อคนเรายังรู้สึกปวด ศีรษะได้ตลอดเวลา

 

อาการปวดศีรษะเป็นอาการป่วยที่พบในรายงานแพทย์มากที่สุด น้อยมากที่พบว่าอาการปวดศีรษะส่อเค้าถึงการเป็นโรคร้ายแรงบางอย่าง

 

อาการปวดศีรษะประมาณร้อยละ 95 เป็นอาการปวดที่ไม่พบโรคอะไรผิดปกติ ลักษณะนี้เรียกว่า อาการปวดศีรษะปฐมภูมิ ซึ่งมีหลากหลายลักษณะแตกต่างกันไป นักวิจัยเองยังไม่แน่ใจว่าการปวดศีรษะเกิดจากอะไร และเรากำลังเฝ้าคอยคำตอบนั้นอยู่ การปวดศีรษะประเภทต่าง ๆ

 

เราสามารถแบ่งลักษณะอาการปวดศีรษะปฐมภูมิออกได้เป็น 3 ประเภท

แต่หลายคนอาจปวดศีรษะหลาย ๆ ประเภทพร้อมกันได้


การปวดศีรษะเหตุจากความเครียด

พบในผู้ที่มีอาการปวดศีรษะปฐมภูมิทั้งหมด 9 ใน 10 ราย

พบในผู้หญิง และผู้ชายเท่าๆกัน

มีอาการค่อย ๆ ปวด ปวดตื้อ ๆ เหมือนถูกกดหรือรัดอยู่ที่คอ หน้าผาก หรือศีรษะ

 

การปวดศีรษะไมเกรน

พบในผู้มีอาการปวดปฐมภูมิประมาณร้อยละ 6 • พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายสามเท่า

อาการมักจะเริ่มปรากฏในวัยรุ่นมากกว่าในคนที่อายุเกิน 40 ปีไปแล้ว

อาการนำ คือ การมองเห็นที่ผิดปกติ มีอาการปวดแปลบที่ใบหน้าข้างใดข้างหนึ่ง

เจ็บแปลบตามร่างกายหรือมีความอยากอาหารบางชนิดอย่างรุนแรง

 

การปวดศีรษะเฉพาะที่

มีอาการปวดบริเวณรอบดวงตาข้างใดข้างหนึ่งตลอด มักจะเกิดเป็นช่วง ๆ และเป็นช่วงเวลาเดียวกันเสมอในแต่ละวัน

ตาแดง น้ำตาไหล และมีอาการคัดจมูกข้างเดียวกัน

เป็นอาการที่เกิดขึ้น ตามเวลาและสัมพันธ์กับอากาศและแสงสว่างที่เปลี่ยนไป

พบบ่อยในผู้ชาย โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุรี่จัดและดื่มจัด

แพทย์อาจวินิจฉัยผิดว่า เป็นการติดเชื้อในโพรงอากาศหรือเป็นโรคฟัน

 



ทฤษฏีปวดศีรษะแนวใหม่

นักวิจัยกำลังมุ่งความสนใจไปที่วิถีของเส้นประสาทไทรเจมินัล และสารเคมีในสมองชื่อ ซีโรโตนิน ที่พวกเขาคิดว่าเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง

การปวดศีรษะอาจเป็นผลมาจากการเสียสมดุลของสารเคมีในสมอง กล่าวคือ เมื่อปวดศีรษะ ระดับซีโรโตนินในสมองจะลดต่ำลง ทำให้เกิดการกระตุ้นผ่านเส้นประสาทไทรเจมินัลไปยังหลอดเลือดที่เยื่อหุ้มสมองด้านนอก ส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัวจนบวมและอักเสบ เมื่อสมองรับสัญญาณ เจ็บปวด

ผลก็คือ อาการ ปวดศีรษะนั่นเอง

 

การดูแลรักษาตนเอง


อาการปวดศีรษะเหตุความเครียดเป็นครั้งคราว

อันดับแรก ลองใช้วิธีนวดประคบด้วยความร้อนหรือความ

เย็น อาบน้ำอุ่นพักผ่อนหรือใช้วิธีผ่อนคลาย ถ้ายังไม่ได้ผล ให้กินแอสไพริน (สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น) หรืออะเซตามิโนเฟน หรือไอบูโปรเฟน การออกกำลังกายเบาๆปริมาณต่ำ อาจทำให้อาการปวดศีรษะดีขึ้น

 ประคบด้วยความร้อนหรือความเย็น



อาการปวดศีรษะซ้ำซาก

 บันทึกการปวดศีรษะที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน โดยระบุรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

ความรุนแรง ปวดแบบทำอะไรไม่ได้เลย หรือแค่น่ารำคาญ

ความถี่และระยะเวลาที่ปวด เริ่มปวดศีรษะเมื่อไร ปวดแบบค่อยเป็นค่อยไปหรือปวดทันที ปวดเวลา

เดียวกันทุกวัน ปวดทุกเดือนหรือเฉพาะบางฤดูเป็นอยู่นานเท่าไร และต้องทำอย่างไรถึงจะหาย

อาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีอาการเตือนหรือไม่ คลื่นไส้หรือเวียนศีรษะหรือเปล่า มองเห็นภาพเป็นสีวูบวาบหรือเป็นจุดดำ หรืออยากอาหารบางอย่างก่อนปวดศีรษะหรือไม่

ตำแหน่งที่ปวด ปวดศีรษะข้างเดียว ปวดที่กล้ามเนื้อคอหรือปวดรอบๆดวงตา

ประวัติครอบครัว สมาชิกคนอื่นปวดเหมือนๆ กันหรือเปล่า

สิ่งกระตุ้นเร้า ปวดศีรษะเพราะกินอาหารบางชนิด หรือทำกิจกรรมบางอย่างหรือไม่ สภาพภูมิอากาศ เวลา หรือสภาพแวดล้อมต่างๆมีผลอย่างไรหรือไม่ หากมีควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเร้าให้มากที่สุดและอาจต้องปรับวิถีการใช้ชีวิตบางอย่าง

 นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายพอสมควร

 



อาการปวดศีรษะไมเกรนโดยเฉพาะ

คนที่ปวดศีรษะไมเกรน ถ้ารีบรักษาจะหายเร็ว กินยาแก้ปวด เช่น อะเซตามิโนฟน ไอบูโปรแฟน หรือแอสไพริน (สำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น) ตามขนาดที่แพทย์แนะนำ บางคนอาจบำบัดด้วยการนอนในห้องมืดหรือดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (กาแฟหรือโคล่า) พบแพทย์

 



     ถ้าใช้วิธีดูแลรักษาตนเอง 1-2 วัน แล้วอาการปวดยังไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์

แพทย์จะตรวจวินิจฉัยได้ว่า เป็นอาการปวดศีรษะชนิดใด มีสาเหตุจากอะไร

และจะพยายามตัดต้นเหตุที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป ผู้ป่วยอาจต้องตรวจร่างกายเพิ่มเติม

แพทย์จะสั่งยาแก้ปวดขนาดใดขนาดหนึ่ง ให้ เพื่อระงับอาการปวดชนิดที่แพทย์วินิจฉัยได้

ซึ่งยาระงับอาการปวดแต่ละชนิดจะมีสรรพคุณระงับอาการปวดศีรษะบางอย่างโดยเฉพาะ

ซึ่งไม่เหมือนกัน สำหรับผู้ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนขั้นรุนแรงแพทย์อาจสั่งซูมาทริปแทนหรือยาตัวอื่นๆ

ให้ผู้ป่วยซูมาทริปแทนจะทำหน้าที่เหมือนซีโรโตนินสารเคมีในสมองชนิดหนึ่งถ้าเป็นไมเกรนบ่อยๆ
แพทย์อาจจ่ายยาป้องกันให้กินทุกวัน

 


ข้อควรระวัง

อย่ามองข้ามอาการปวดศีรษะที่หาสาเหตุไม่ได้ควรรีบไปพบแพทย์ทันทีถ้าหากอาการปวดศีรษะ

เกิดขึ้นอย่างรุนแรงในทันที

เกิดพร้อมอาการไข้ คอแข็ง เป็นผื่น สับสน ชัก เห็นภาพซ้อน อ่อนเพลีย ชา หรือพูดลำบาก

เกิดจากการเจ็บคอหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ

รุนแรงขึ้นหลังจากได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะหกล้ม หรือถูกกระแทก

ไม่เคยเป็นมาก่อน และผู้ป่วยอายุมากกว่า 55 ปี

 


ไม่อยากปวดศีรษะ

การกิน การดื่ม หรือการทำกิจกรรมบางอย่าง มีส่วนทำให้คุณปวดศีรษะหรือเปล่า

คนที่ไม่อยากปวดศีรษะควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นเร้าเหล่านี้ ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน ที่พบบ่อยคือ

แอลกอฮอล์ ไวน์แดง

การสูบบุหรี่

ความเครียด หรืออาการอ่อนเพลีย

สายตาล้า

การมีกิจกรรมทางเพศ หรือการออกกำลังกายต่างๆ

การวางท่าทางของร่างกายที่ไม่ถูกต้อง

เปลี่ยนเวลานอน หรือเปลี่ยนเวลาอาหาร

อาหารบางชนิด เช่น อาหารหมักดอง  กล้วย กาเฟอีน เนยแข็งที่ทิ้งไว้นาน   ช็อกโกแลต ผลไม้ประเภทส้มและมะนาว สารปรุงแต่งอาหาร     (โซเดียมไนไตรตในฮ็อตด็อก ไส้กรอก เนื้อวัว ผลชูรสในอาหารสำเร็จรูป )และเครื่องปรุงรสอื่นๆ ถั่วและเนยถั่ว พิซซ่า
 ลูกเกด ขนมปังที่ใส่เชื้อหมักให้ฟู

สภาพภูมิอากาศ ระดับความสูงของภูมิประทศหรือการเดินทางข้ามเขตเวลาที่ต่างกันมากๆ

การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในรอบประจำเดือน หรือการหมดประจำเดือน

การกินยาเม็ดคุมกำเนิด หรือการบำบัดด้วยฮอร์โมนทดแทน

แสงจ้าหรือแสงกะพริบ

กลิ่นจากน้ำหอม ดอกไม้ หรือน้ำมันรถ

มลภาวะในอากาศ หรือห้องที่อยู่กันอย่างแออัด

เสียงที่ดังมากเกินไป

 

การดูแลเด็ก เด็กโตและผู้ใหญ่มักปวดศีรษะซ้ำซากแต่น้อยมากที่จะส่งเค้าถึงโรคร้ายแรงบางอย่าง

การปวดศีรษะอาจสัมพันธ์กับโรคติดเชื้อไวรัสหลายชนิดแต่ถ้าเด็กปวดศีรษะบ่อยๆทั้งที่สุขภาพปกติ

ควรปรึกษาแพทย์

 

เด็กบางคนอาจปวดศีรษะไมเกรนหรือมีแนวโน้มปวดศีรษะไมเกรน ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมา

ก่อน อาการคือ เด็กมักจะอาเจียน ตาสู้แสงไม่ได้และอยากนอนตลอดเวลา แต่จะดีขึ้นเองภายใน 2-3

ชั่วโมง เด็กอาจจะปวดศีรษะเพราะความเครียดที่โรงเรียน มีปัญหากับเพื่อนหรือครอบครัว

หรือเป็นผลจากการใช้ยาบางชนิด โดยเฉพาะยาแก้คัดจมูก

 

ถ้าคิดว่าเป็นการปวดศีรษะเหตุความเครียด ให้ลองวิธีบำบัดโดยไม่ใช้ยา

แต่ถ้าเป็นบ่อยๆคุณต้องช่วยเด็กบันทึกอาการปวดศีรษะเป็นประจำทุกวัน

อาจต้องให้กินอะเซตามิโนเฟน หรือไอบูโปรเฟนบ้าง แต่ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน

เพราะยาอาจปกปิดสาเหตุอาการของโรคที่แท้จริง

 

ถ้าเด็กปวดศีรษะอยู่นานไม่ยอมหายหรือปวดทันทีทันใดโดยไม่มีเหตุสมควรหรือปวดมากขึ้นเรื่อยๆควรปรึกษาแพทย์ รวมถึงกรณีปวดศีรษะเพราะหูติดเชื้อ ปวดฟัน เจ็บคอจากการติดเชื้อ

 

สเตปโตคอคคัสหรือเชื้ออื่นๆ ด้วย และที่สำคัญควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วย ถ้าบุคคลในครอบครัวเคยมีปร

ะวัติปวดศีรษะไมเกรนมาก่อน เพื่อให้ตรวจวินิจฉัยง่ายขึ้น

 

กาแฟกับเรื่องปวดศีรษะ

ฤทธิ์กาแฟทำให้หลายคนปวดศีรษะในตอนเช้าจริง โดยเฉพาะคนที่ดื่มกาแฟมากกว่า 4 ถ้วย ต่อวันเป็นประจำ และถ้าหยุดไปหนึ่งวันจะมีอาการถอน (คือปวดศีรษะ) ทันที การปวดศีรษะบางอย่างจะทุเลาลงได้ถ้าดื่มกาแฟ เพราะฤทธิ์ของกาแฟจะทำให้หลอดเลือดที่ขยายตัวอยู่หดลงชั่วคราวเพราะฉะนั้นสำหรับผู้ใหญ่

ถ้ากินแอสไพรินหรืออะเซตามิโนเฟนแล้วยังไม่หายปวดศีรษะให้ลองกินยาที่มีส่วนผสมของกาแฟอีนแทน

แต่ไม่ควรมากเกินไป การได้รับกาแฟอีนมากๆ จะทำให้กระวนกระวาย หัวใจเต้นเร็ว

เหงื่อออก และแน่นอนจะกลับมาปวดศีรษะอีก เพราะอาการ ถอนนั่นเอง

ผู้หญิงนะค่ะ.คอม

11 ความคิดเห็น:

.. หมา ฉุ ฉุ ... กล่าวว่า...

ปวดหัวตั้งกะตื่นนอนเลย หรือบางทีตื่นนอนเพราะปวดหัว เฮ้อ!!!

skolyuth not_normal กล่าวว่า...

ความรู้เยี่ยมไปเลยครับ

มีไมเกรนมั๊ยครับ

เป็นอย่างรุนแรงครับ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

งั้นการนอน(ให้หลับ) ก็คือยาที่ดีที่สุดสิ

.. หมา ฉุ ฉุ ... กล่าวว่า...

เคยถูกจับตรวจคลื่นสมองแต่หาไม่เจอ
กินแต่ยาแก้ปวด จนอิ่มละ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

อิ่มก็ดีนะ ข้าวแพง หุหุ

.. หมา ฉุ ฉุ ... กล่าวว่า...

กร๊ากกกกกกกกกกก ยาแพงกว่าข้าวอีกคุณเม้ง

.. Ong .. กล่าวว่า...

ปวดใจล่ะคะ..ทำอย่างไรดี.. อา..

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

เค้าเตอร์เพนบาร์ม อิอิ

DragoWen ' L กล่าวว่า...

โอย... ปวดหัวไปกันใหญ่ ... ไมมันแยะจังครับ... เลยไม่รู้ว่าตัวเองปวดแบบไหนอะครับ.. อิอิ

Hornbill B กล่าวว่า...

ปวดตึ้บๆ อยู่ครับ หุ หุ

我 ... กล่าวว่า...

แค่เห้นข้อควรระวัง ก็อึ้งแล้วอะ ชอบกินมะนาวเล่นบ่อยๆ ทำให้ปวดหัวได้ด้วยเหรอเนี่ย มิน่าปวดหัวประจำ
แต่จริงนะ แสงจ้า กลิ่น เสียงดังก็ทำให้มีนเฮทได้อะ