วันศุกร์, มกราคม 27, 2549

กลอนโรงเรียน



เรือลำน้อยลอยโต้กระแสคลื่น

ทุกวันคืนฝ่าขวากความยากเข็ญ

"อุดมการ" คือหน้าที่ที่จำเป็น

หวังศิษย์เห็นค่านิยมความเป็นครู




เช้าขึ้นมาใส่หน้ากากเป็นยักษ์มาร

ทั้งอาจหาญถือไม้เรียวเดี่ยวหรือสอง

ให้เด็กกลัวเล่นใจเต้นเหมือนดั่งกลอง

เป็นมาตรของครูเก่าเฝ้าอบรม


สมัยฉันครูนั้นกลับเปลี่ยนไป

เป็นผู้ให้ผู้รับผลัดกันหา

ให้เด็กออกความเห็นเป็นเวลา

ช่วยนำพาก้าวสู่ประตูชัย




เด้กน้อยกระจ้อยจิต

ตัวนิดนิดน่าสงสาร

ผอมโซซี่โครงบาน

สู้ซมซานสู่โรงเรียน

นี่ละประชาบาล

วางพื้นฐานอ่านขีดเขียน

มากนายหน่ายวกเวียน

หมาตามเกวียนก็ดุจกัน



โรงเรียนเราเขาว่ามีเสรีภาพ

ฉันไม่ทราบเขาเอาไปไว้ที่ไหน

แล้วก็บอกว่ามีประชาธิปไตย

เอ๊ะนี่มันอยู่หนไหนใครบอกที



การศึกษาพาเยาวชนฉลาด

แต่ก็ขาดความเท่าเทียมในทุกที่

คนมีมากเรียนมาก ถ้าอยากมี

คนไม่มีเรียนน้อย ด้อยพัฒนา



เอาเหตุผลออกมาแจงแปลงเป็นเถียง

ว่าขึ้นเสียงเถียงครูมิรู้หาย

ยุคประชาธิปไตยที่บานปลาย

มันเป็นได้แค่ข้อเขียนสำเนียงคน




น้ำตานองมาหาพ่อที่บ้านเก่า

แล้วเล่าความตามจริงที่ได้รู้

ลูกแพ้เขาแพ้อำนาจที่เฟื่องฟู

สอบเป็นครูไม่ได้อาลัยจริง

คัดลอกจากสมุดจดเล่มเล็กเก่าเก็บ





Girlfriend

1.

2.

3.

วันศุกร์, มกราคม 20, 2549

"ทำไมนกกระยางจึงยืนขาเดียวเวลาหลับ"


มีปริศนาที่อยากให้ช่วยกันเฉลยหน่อย
 "ทำไมนกกระยางจึงยืนขาเดียวเวลาหลับ"
 
  ขอบอกว่านี่เป็นปริศนาประลองเชาว์ ไม่เกี่ยวกับความรู้รอบตัว
  
  ถ้าผ่านไป 5 นาทีแล้วคุณยังคิดไม่ออก
  (หรือยังตอบได้ไม่ถูกใจทั้งคนถามและคนฟัง)
  นั่นเพราะคุณมัวแต่จะถามตัวเองใช่ไหมว่า...
  ทำไมมันยืนขาเดียว ทำไมมันไม่ยืนสองขา
  
  ลองเปลี่ยนมาถามตัวเองใหม่สิว่า..
  ทำไมมันหดขาเดียว ทำไมมันไม่หดสองขา
  
  เท่านี้แหละ คำตอบก็ออกมาทันทีว่า
  "ถ้ามันหดทั้งสองขา มันก็ล้มน่ะสิ"
  
  ปริศนาข้อนี้ตอบได้ง่าย หากเราเปลี่ยนมุมมอง
  หรือตั้งคำถามเสียใหม่ นกกระยางยืนขาเดียว
  กับนกกระยางหดขาเดียว ที่จริงก็คือสิ่งเดียวกัน
  แต่เป็นภาพอันเกิดจากมุมมองที่ต่างกัน
  และสามารถชักนำความคิดของเราไปคนละทิศละทางได้
  
  การเปลี่ยนคำถามหรือมุมมอง
  ไม่ได้มีประโยชน์เพียงแค่ช่วยให้เรารอดพ้นจากอาการหน้าแตก
  เวลาถูกจู่โจมด้วยปริศนาแบบนี้ (ซึ่งบางคนเรียกอย่างเจ็บแค้นว่า
  ปริศนาปัญญาอ่อน)
  ที่จริงมันมีประโยชน์มากกว่านั้น
  เชื่อหรือไม่ว่า มันอาจจะมีผลถึงกับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณได้
  
  คงมีหลายครั้งที่คุณรู้สึกเศร้าสร้อยน้อยใจ
  เฝ้าบ่นในใจว่า "ทำไมเขาไม่เข้าใจเราเลย" ไม่ว่าเขา (หรือเธอ)
  คนนั้นเป็นเพื่อนหรือคู่รักของคุณก็ตาม
  การตอกย้ำกับตัวเองด้วยความคิดอย่างนี้
  บางทีก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย นอกจากตัวเองจะทุกข์แล้ว
  ยังอาจหมางเมินเขามากขึ้น ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์แย่ลงไปอีก
  
  ลองเปลี่ยนมุมมองหรือตั้งคำถามใหม่สิว่า
  "แล้วเราล่ะ เข้าใจเขาบ้างหรือเปล่า"
  การถามแบบนี้อาจช่วยให้เราพบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาก็ได้
  เพราะอันที่จริง เราเองก็คงไม่ได้เข้าใจเหมือนกัน
  
  
สัมพันธภาพของผู้คนมักมีปัญหาก็เพราะทุกคนคิดแต่จะเรียกร้องให้คนอื่นเข้าใจตนเอง
  
  แต่ไม่พยายามหรือแม้กระทั่งคิดที่จะเข้าใจคนอื่น
  ถึงตรงนี้ คำถามไม่ได้อยู่ที่ว่า "ทำไมเขาไม่เข้าใจเรา"
  แต่อยู่ที่ "ทำไมเราถึงไม่เข้าใจเขา" และ"ทำอย่างไร
  เราถึงจะเข้าใจเขาได้"
  
  ในทำนองเดียวกัน สำหรับคนที่ชอบบ่นในใจว่า "ทำไมฉันถึงซวยอย่างนี้"
หากเปลี่ยนมาถามตัวเองว่า "ทำไมฉันชอบบ่นอย่างนี้"
  เขาอาจได้คิดและลุกขึ้นมาสู้ใหม่ ไม่ทดท้อหรืองอมืองอเท้าเหมือนเก่า
  
  การรู้จักตั้งคำถามเป็นศิลปะสำคัญอย่างหนึ่งของชีวิต
  ทุกวันนี้เราถูกสอนให้สนใจคำตอบ จนลืมว่าคำถามนั้นสำคัญกว่าคำตอบมาก
คำถามนั้นเป็นตัวกำหนดคำตอบ พูดอีกอย่างก็คือ
  คำถามเป็นตัวกำหนดความคิดและการกระทำของเรา ถ้าตั้งคำถามผิดา
  ก็พาความคิดของเราเข้ารกเข้าพง ซ้ำอาจพาชีวิตหลงทางไปด้วย
  
  เด็ก (และผู้ใหญ่) หลายคน
  ชอบถามในใจเวลามีงานมากองอยู่ข้างหน้าว่า "ฉันจะทำได้หรือ"
  คำถามอย่างนี้ชวนให้ท้อ แต่ความรู้สึกของเขาจะเปลี่ยนไป
  หากเขาถามตัวเองใหม่ว่า "ทำไมฉันจะทำไม่ได้"
  
  อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งอุปสรรคไม่ได้อยู่ตรงที่ว่าทำได้หรือไม่ได้
หากอยู่ที่แรงจูงใจ
  
  มีคำถามหนึ่งซึ่งคุณหมอประเวศ วะสี บอกว่า
  เป็นคำถามที่น่าเกลียดที่สุด
  แต่เป็นคำถามที่กำลังระบาดไปทั่วสังคมไทย นั่นก็คือ
  คำถามว่า "ทำแล้วฉันจะได้อะไร"
  คำถามอย่างนี้ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น
  ทำให้จิตใจแคบลง และหาความสุขได้ยาก
  
  จะไม่ดีกว่าหรือ หากเราถามใหม่ว่า
  "ทำแล้วส่วนรวม (หรือสังคม) จะได้อะไร"
  การคำนึงถึงส่วนรวมโดยเริ่มต้นจากคำถามแบบนี้
  จะช่วยให้สังคมไทยน่าอยู่มากขึ้น
  
และคนที่เสียสละเพื่อส่วนรวมก็จะได้ไม่ต้องมาคอยตอบคำถามของญาติมิตรว่า
"ทำแล้วเธอได้อะไร" หรือถูกตั้งข้อสงสัยว่า "ได้ไปเท่าไหร่"
  
  การถามว่า ใคร กับ ทำไม ก็ให้ผลที่แตกต่างกันมาก
  เวลาเกิดเหตุร้ายขึ้นมา คนส่วนใหญ่มักสนใจว่า ใครทำ
  แต่ไม่ค่อยถามว่า ทำไมเขาจึงทำ
  คำถามแรกนั้นเพียงแต่สนองความอยากรู้อยากเห็น
  แต่คำถามหลังช่วยให้เห็นสาเหตุของปัญหา
  และอาจนำมาเป็นบทเรียนแก่ตนเองได้
  
  คุณโสภณ สุภาพงษ์ เล่าว่า ตอนที่ไปบริหารโรงกลั่นน้ำมันบางจากใหม่ๆ
โรงกลั่นอยู่ในสภาพทรุดโทรมมาก อุบัติเหตุเกิดขึ้นประจำ ขาดทุนมหาศาล 
ขณะที่ขวัญของพนักงานก็ไม่ดี
เพราะมีปัญหาสืบเนื่องจากเจ้าของเดิม
คุณโสภณเล่าว่า เวลาเกิดอุบัติเหตุในโรงกลั่น
  จะไม่ถามพนักงานว่า "ใครทำ" แต่จะถามว่า "ทำไมถึงเกิดขึ้น"
  
  วิธีการดังกล่าวมีผลคือ
  ทำให้พนักงานช่วยกันหาสาเหตุและวิธีป้องกันแก้ไข
  แทนที่จะซัดทอดหรือกล่าวโทษกัน
  ซึ่งมีแต่จะทำให้แตกความสามัคคีกันมากขึ้น
  ในเวลาไม่นานโรงกลั่นก็แทบไม่มีอุบัติเหตุเลย
  กำไรก็เพิ่มมากขึ้น จนมีสถานะมั่นคง
  ส่วนพนักงานก็ทำงานอย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  
  อย่างไรก็ตาม
  คงไม่มีคำถามใดสำคัญเท่ากับคำถามเกี่ยวกับชีวิตจิตใจของเราเอง
  ถ้าเราเริ่มรู้สึกเหนื่อยอ่อนกับการถามตัวเองไม่รู้จบว่า
  "เมื่อไหร่ฉันถึงจะรวยเสียที" ลองเปลี่ยนมาเป็นคำถามว่า
  "เมื่อไหร่ฉันถึงจะพอใจกับความรวยของฉันเสียที"
  ลองเหลียวดูรอบตัวเถิด ตอนนี้คุณอาจร่ำรวยอยู่แล้วก็ได้
  แต่ยังไม่พอใจเสียที เพราะเอาแต่ชะเง้อมองคนอื่นที่รวยกว่า
  
  แต่ถึงแม้คุณจะยังไม่รวย พยายามบ่มเพาะความพอใจในสิ่งที่ตนมี
  แล้วคุณจะพบกับความรวยชนิดที่ไม่มีใครมาแย่งชิงได้
  แม้จะอิจฉาตาร้อนจนลุกเป็นไฟก็ตาม



วันจันทร์, มกราคม 09, 2549

การทำงานร่วมกันของคน4กลุ่ม


เรื่องนี้เป็นเรื่องราวของคน 4 คนที่มีนามว่า


ทุกคน บางคน ใครซักคน และ ไม่มีใคร


เรื่องเกิดขึ้นจากมีงานสำคัญงานหนึ่งที่จะต้องทำให้เสร็จ
"ทุกคน" แน่ใจว่า "บางคน" จะทำ
"ใครซักคน" ควรจะทำให้เสร็จแต่ "ไม่มีใคร" ทำ
"บางคน" โมโหเพราะเป็นงานของ "ทุกคน"
"ทุกคน" คิดว่า "ใครซักคน" ควรจะทำ
แต่ "ไม่มีใคร" ระลึกได้ว่า "ทุกคน" ไม่ได้ทำ
เรื่องนี้จบลงด้วยการที่ "ทุกคน" กล่าวโทษ "บางคน"
ในขณะที่ "ไม่มีใคร" ทำในสิ่งที่ "ใครซักคน" ควรจะทำให้สำเร็จ

งงดีมั้ยสรุปเลยแล้วกัน "สามัคคีคือพลัง"