วันศุกร์, สิงหาคม 08, 2551

รับอาสาตรวจทานพยัญชนะพระไตรปิฏก

วันนี้มีข่าวบุญ มาฝากค่ะ
'รับอาสาตรวจทานพยัญชนะพระไตรปิฏก'

วัตถุประสงค์
1.เพื่อสืบทอดคำสอนของพระพุทธศาสนา
2.เพื่อจัดทำเป็นต้นฉบับในการเผยแพร่และจัดสร้างเป็นเสียงอ่านพระไตรปิฎก(mp3) เผยแพร่เป็น
ธรรมทานแก่พุทธศาสนิกชนทั่วโลก

'การทำงานก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เป็นงานง่าย ๆ แต่ต้องใช้ความเพียร งานนี้มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่ ยังไงก็
อย่าได้พลาดบุญนี้นะคะ หากงานชิ้นนี้สำเร็จแล้ว ก็ไม่มีให้ทำแบบนี้ได้อีกต่อไปแล้ว'
**นอกจากจะได้บุญแล้วเพื่อเป็นการตอบแทนน้ำใจอาสาสมัครทุกท่าน
อาสาสมัครยังจะได้รับดีวีดีเสียงอ่านพระไตรปิฏกและดีวีดีพระไตรปิฏกฉบับ 91เล่ม
เมื่อโครงการสำเร็จแล้วจะได้จัดส่งไปให้ท่านทางไปรษณีย์จนถึงบ้านท่านต่อไป

((ผู้สนใจสมัครและลงทะเบียนได้ที่ คุณสมศักดิ์
Kasinaram@hotmail.com))

                สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่เว็บไซต์ ด้านล่างนี้
             
http://www.volunteerspirit.org/?q=node/408


หากท่านไม่สามารถช่วยอาสาครั้งนี้ได้ก็ขอรบกวนช่วยส่งต่อเมลล์ฉบับนี้ต่อๆ ไป>>เพื่อร่วมสร้างมหากุศล
ด้วยค่ะ>>เพื่อบอกบุญต่อเผื่อผู้อื่นที่อาจพอมีเวลา และจะได้หาคนมาช่วยเยอะๆค่ะแค่ช่วยประชาสัมพันธ์
ข่าวบุญนี้ต่อๆไปก็สำเร็จเป็นบุญแล้ว!!

**ขอแจ้งเล่มที่ยังไม่มีอาสาสมัครทำ
(ซึ่งขณะนี้ยังต้องการอาสาสมัครอีกเป็นจำนวนมาก)
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 / 12 /15 16 /20 21 /25  / 27 28  /30 31 32 33 34 35
36 37 38 39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60
61 62 63 / 65 66 67 68 69

**กำหนดเวลาในการส่งไฟล์กลับคืนนั้น ไม่ได้กำหนดเวลาไว้ว่า กี่เดือน แต่ก็ขอให้ทำให้เสร็จภายใน
เวลาอันควร คือไม่กี่เดือน อีกอย่าง คุณอาจมีข้อจำกัดที่จะต้องส่งหนังสือคืนให้ทางวัดหลังจากที่ยืมมา ก็
ให้เอาระยะเวลาที่จะต้องคืนหนังสือเป็นเกณฑ์ก็ได้ค่ะ**
การสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
บุญเมื่อยังไม่ให้ผล ก็เหมือนขุมทรัพย์ที่ฝังไว้ดีแล้วในแม่น้ำ
**********************************************************************
**********************************************************************



9 ความคิดเห็น:

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

การทำงาน จะเป็นการทำงานร่วมกันผ่านอินเตอร์เนต โดยจะมีการส่งไฟล์พระไตรปิฎกไปให้อาสา
สมัครทางอีเมล์ และเมื่อทำเสร็จแล้ว ก็ส่งกลับมาทางอีเมล์

ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นที่ 1.ให้ไปยืมหนังสือพระไตรปิฏกพร้อมอรรถกถา ฉบับภาษาไทย ชุด 91 เล่ม จากวัดใกล้บ้าน ให้
เลือกเล่มที่มีเนื้อหาที่คุณสนใจ โดยเลือกยืมมาเพียงหนึ่งเล่ม ตั้งแต่เล่มที่ 25 ถึง เล่มที่ 35 แล้วเมล์
มาบอกผมว่า คุณต้องการตรวจสอบเล่มที่เท่าไหร่ เพื่อทางผมจะได้ส่งไฟล์เล่มนั้นๆไปให้คุณทางอีเมล์ต่อ
ไป เลขเล่มให้ดูที่สันปกหนังสือนะครับ

ขั้นที่ 2.เมื่อได้รับไฟล์พระไตรปิฎกแล้ว ก็เริ่มทำงานโดยการอ่านไฟล์พระไตรปิฎกที่ส่งมาให้ เพื่อค้นหา
คำหรือข้อความ (ทั้งภาษาไทยและบาลี) ที่พิมพ์ไว้ผิด ตกหล่น เกิน แล้วแก้ไขให้ถูกต้องโดยยึดถือเอา
หนังสือพระไตรปิฏกและอรรถกถา ฉบับ 91 เล่ม เป็นต้นฉบับในการตรวจสอบ โดยแก้เฉพาะคำที่พิมพ์ไว้
ผิด ไม่ต้องจัดข้อความ (หมายความว่า การเว้นระยะห่างของข้อความจากขอบด้านซ้ายมือ อาจจัดไว้ไม่
เท่ากัน ตรงจุดนี้ ไม่ต้องทำอะไร)

วิธีตรวจหาคำผิด : ให้อ่านช้า ๆ และทำให้เสร็จในขั้นตอนเดียวโดยให้ทำเรียงบันทัดไป อย่าทำข้าม
และอย่าอ่านแบบผ่าน ๆ เร็ว ๆ คือ ปรกติคนเราจะอ่านแบบ Browse คือจะแค่มองผ่าน ๆ แค่จับใจ
ความ จะไม่ได้มองศัพท์เป็นคำ ๆ ซึ่งจะมีผลให้ มีคำผิดตกหล่นได้มาก ให้ดูเป็นคำ ๆ หากเป็นไปได้ควร
อ่านออกเสียงตามไปด้วย (จะทำให้เรามองเป็นคำ ๆ และมีสมาธิ) ขณะทำไม่ควรดูหนังฟังเพลงไปด้วย

ข้อความตรงไหน ที่เราอ่านแล้ว รู้สึก งง ๆ ไม่เข้าใจ ทั้งที่เป็นข้อความธรรมดา ให้สงสัยไว้ก่อนว่า
น่าจะมีการพิมพ์ผิด แล้วให้ตรวจทานกับหนังสือ

ให้ระวังเป็นพิเศษคือ คำบาลี ตัวเลข คำศัพท์ที่ไม่คุ้นเคย ต้องเช็คความถูกต้องของตัวเลขด้วยทุกจุด
เพราะเคยปรากฏเสมอว่ามีการพิมพ์ไว้ผิด ๆ (ก็ไม่ต้องกังวลใจอะไรนะครับ เพราะการทำงานก็ง่าย ๆ
ไม่ยุ่งยากอะไร คำบางคำก็รู้ได้โดยง่าย เพราะเป็นศัพท์พื้นๆ แต่พิมพ์ไว้ผิด โดยอาจจะเป็นเรื่อง
วรรณยุกต์บ้าง ตัวสกดบ้าง โดยพิมพ์ไว้ผิดบ้าง ตกหล่นบ้าง พิมพ์เกินบ้าง เป็นต้น)

เมื่อได้ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบเป็นที่พอใจแล้ว ทางทีมงานก็จะจัดรูปแบบเอกสารใหม่ดังนี้

รูปแบบใหม่ของไฟล์พระไตรปิฏก

มีการจัดทำหัวข้อเป็น Heading ทำให้สามารถดูแบบยุบ แบบขยายได้ ทำให้สะดวกต่อการอ่าน
มีการแก้ไขข้อความจากเดิมหนึ่งบันทัดเป็นหนึ่งย่อหน้า เป็นหนึ่งย่อหน้าเป็นหนึ่งย่อหน้าจริง ๆ

มีการจัดรูปแบบโดยใช้ Style ทำให้เป็นรูปแบบเดียวกัน เป็นระเบียบ สวยงาม มีการจัดระยะกั้น
หน้ากั้นหลังเท่ากัน สะดวกในกรณีต้องการจัดย่อหน้าใหม่ในภายหลัง สำหรับผู้ที่ต้องการนำไปพัฒนาต่อ

ขออนุโมทนาบุญ
สมศักดิ์

MookWariN SeanKla กล่าวว่า...

สาธุ ..............นั้มว่างสนใจค่า.....

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

อนุโมทนาจ้า

Rada K กล่าวว่า...

คือรดาสงสัยนะคะว่า ถ้ารดาไม่รู้ภาษาบาลี แล้วรดาจะรู้ได้ไงค่ะว่า คำนั้นผิด
ปล. รดาสนใจกับงานนี้นะคะ

Rada K กล่าวว่า...

คือสรุปเราก็ ต้องไปยืมตัวเล่มหนังสือจากวัด เพื่อมาเทียบ อย่างเนี่ยเหรอค่ะ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ผม เข้าใจว่าเป็นเช่นนั้นแหละครับ

phyche phyche123 กล่าวว่า...

สาธุค่ะ

.. Ong .. กล่าวว่า...

น่าสนใจนะคะ..ว่าแต่..เราจะตรวจผิดหรือตรวจถูกกันเนี่ย..- -'
เด่วจะช่วยบอกต่อค่ะ :)

我 ... กล่าวว่า...

สาธุค่ะ