[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] แม้ผลการศึกษาขององค์กรอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) จะสรุปว่า "มือถือ" อาจะเป็นสาเหตุของการเกิด "มะเร็งสมอง" ได้ แต่หลายคนเกิดคำถามตามมาว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง ทำไมทั่วโลกถึงไม่มีรายงานการเพิ่มของผู้ป่วยมะเร็งสมองอย่างชัดเจน?เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ตัวแทนฝ่ายวิจัยมะเร็งระหว่างชาติของ WHO ประกาศว่า ผลจากการศึกษาเป็นเวลาหลายปีของทางหน่วยงาน โดยประเมินยอดผู้ใช้มือถือทั่วโลกที่มีมากกว่า 5 พันล้านราย หรือคิดเป็นสามในสี่ของประชากรโลกกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอก และมะเร็งในสมอง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในสหรัฐฯ เผยอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระบบประสาทส่วนกลางของสมองยังมีอัตราคงที่มาตั้งแต่ปี 1987อย่างไรก็ดี หลักฐานความน่าเชื่อถือของ WHO ก็คือ มันเป็นผลการศึกษาที่หลายประเทศทำร่วมกัน ซึ่งพบว่า ผู้ใช้มือถือบ่อยเกินไป โดยเฉลี่ยประมาณ 30 นาทีต่อวันต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้องอกที่แกนสมอง (Glioma) มากกว่า 40% โดย WHO ยังไม่ได้เผยแพร่เอกสารงานวิจัยที่ระบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสมองชนิดอื่นๆ ตามมาด้วย หรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณของสมองที่ได้รับคลื่นสัญญาณจากมือถือโดยตรง ซึ่งงานวิจัยเก่าๆ กว่า 30 ชิ้นที่พยายามจะหาหลักฐานเชื่อมโยงระหว่างมือถือกับมะเร็ง แต่ก็ไม่พบ ที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่า ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่า ผู้ใช้มือถือมีโอกาสเป็นมะเร็งสมองต่ำกว่าผู้ใช้โทรศัพท์บ้านอีกต่างหากประเด็นที่เป็นคำถามก็คือ แล้วอะไรที่ทำให้ตัวเลขของยอดผู้ป่วยมะเร็งสมองคงที่? หรือตกหล่นหายไปไหน? เวลาเป็นตัวแปรสำคัญ เนื่องจากการเจริญเติบโตของเนื้องอกต้องใช้เวลาหลายปี ซึ่งอาจหมายถึงสิบปีในการพัฒนา และนักวิจัยบางรายยังให้ความเห็นอีกว่า ผู้ใช้ส่วนน้อยที่ใช้มือถือนานเกินกว่าจะส่งผลกระทบต่อสมองจริง อย่างไรก็ตาม มีการเตือนออกมาเช่นนี้ ก็น่าจะเป็นการดีที่คุณผู้อ่านที่เป็นผู้ใช้มือถือนานๆ จะได้ระมัดระวังกันมากขึ้น แต่ระยะหลังมานี่ ผู้ใช้มือถือส่วนใหญ่จะหันมาใช้หูฟังบลูทูธที่ช่วยให้ปลอดภัยกว่ากันมากขึ้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งใช้มือถือเพื่อแชท หรือ BB ซึ่งสองกลุ่มนี่้จะเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มที่ชอบจ้อเป็นเวลานานๆ :Dข้อมูลจาก: WHO ข่าวไอที ทิป-เทคนิค คอมพิวเตอร์
สุขภาพน่ารู้มือถือ กับ มะเร็งนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม IARC หรือ International Agency for Research on Cancer หน่วยงานหนึ่งขององค์การอนามัยโลก ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ให้เหตุผลของการจัดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นปัจจัยก่อมะเร็งประเภท 2B หรือเป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง ซึ่งนอกจากจะเป็นการยืนยันว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มีความเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งแล้ว ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า การใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีระบบบลูทูธจะทำให้ผู้ใช้ได้รับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่ำกว่าการใช้ผ่านเครื่องโทรศัพท์มือถือโดยตรงถึง 100 เท่า และการใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีแบบมีสายหรือหูฟัง จะช่วยลดการได้รับพลังงานที่ิลงประมาณร้อยละ 10 แต่การใช้ทั้งสองประเภทไม่ควรเกี่ยวไว้ที่หูตลอดเวลาเมื่อไม่ได้ใช้งาน และผลการศึกษายังพบว่า เครื่องโทรศัพท์ 3G ปล่อยพลังงานน้อยกว่าโทรศัพท์ GSM เฉลี่ยประมาณ 100 เท่ารายงานดังกล่าวยังระบุว่า การถือโทรศัพท์แนบหูทำให้เกิดการดูดซับพลังงานที่สมอง ซึ่งปริมาณการดูดซับขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวเครื่องและเสาอากาศ ลักษณะการใช้ และระดับสัญญาณระหว่างตัวเครื่องและสถานีฐาน ที่สำคัญคือ สมองเด็กจะได้รับคลื่นมากกว่าผู้ใหญ่ 2 เท่า และไขกระดูกของกะโหลกศีรษะเด็กจะได้รับคลื่นมากกว่าผู้ใหญ่ 10 เท่านอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า กลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มากกว่า 1,640 ชั่วโมง จะมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเป็นมะเร็งสมองชนิด Glioma หรือเนื้องอกในสมอง ข้างเดียวกับที่ใช้โทรศัพท์ ซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับคลื่นสูงที่สุดนายประวิทย์กล่าวต่อว่า จากรายงานดังกล่าวผนวกกับผลสำรวจของ สบท.ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัญสัมชัญหรือเอแบคโพล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับคลื่นสัญญาณที่นอกจากการใช้งานคือ พบว่าร้อยละ 64.5 นิยมวางโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ที่หัวเตียงพร้อมกับเปิดเครื่องไว้ในเวลานอน ร้อยละ 41.6 ใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกง หรือกระเป๋ากระโปรง และร้อยละ 23.7 นิยมใส่ไว้ในกระเป๋าพกพา จากข้อมูลที่พบ หากไม่ใช้ก็ควรไว้ให้ห่างตัวโดยเฉพาะศีรษะ โดยไม่ควรวางไว้ที่หัวเตียงและเปิดเครื่องทิ้งไว้ เพื่อลดความเสี่ยงของการได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น ขอบคุณข้อมูล วิทยาศาสตร์ และ สุขภาพน่ารู้ ดีๆจาก มติชนออนไลน์
ผมใช้ small talk ตลอด เพราะเอา mobile แนบหูนิดเดียวก็ปวดหัวแทบระเบิดสงสัยมันซับสมองผมมากกว่าคนอื่น
อังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงนะเนี้ย ติดเม้าท์งอมแงมเย้ยอ่ะ อิอิ (~^^)~
มีแต่สะติวปิ้ด โฟน + สะติวปิด ยูสเซอร์
ปวดหัวเพราะเรื่องที่คุย รึเพราะเสียงคนที่คุยด้วยมัน จี้ดดดด รึป่าว
ระวังไว้น้อ เดี๋ยว...
ไอ ซี
โดยมากก็คุยแบบแนบหู ค่ะ ในรถ ก็ไม่โทร และอาศัยว่าไม่คุยบ่อย และไม่คุยนาน เปลืองค่าโทรอิๆๆๆ
โชคดีที่ไม่ค่อยมีใครคบ ฮ่าๆ ไม่ค่อยมีใครโทรหาเพราะเจอกันในfbประจำเลย
แสดงความคิดเห็น
10 ความคิดเห็น:
[เอ.อาร์.ไอ.พี, www.arip.co.th] แม้ผลการศึกษาขององค์กรอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) จะสรุปว่า "มือถือ" อาจะเป็นสาเหตุของการเกิด "มะเร็งสมอง" ได้ แต่หลายคนเกิดคำถามตามมาว่า หากเป็นเช่นนั้นจริง ทำไมทั่วโลกถึงไม่มีรายงานการเพิ่มของผู้ป่วยมะเร็งสมองอย่างชัดเจน?
เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ตัวแทนฝ่ายวิจัยมะเร็งระหว่างชาติของ WHO ประกาศว่า ผลจากการศึกษาเป็นเวลาหลายปีของทางหน่วยงาน โดยประเมินยอดผู้ใช้มือถือทั่วโลกที่มีมากกว่า 5 พันล้านราย หรือคิดเป็นสามในสี่ของประชากรโลกกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงต่อการเป็นเนื้องอก และมะเร็งในสมอง อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติในสหรัฐฯ เผยอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งในระบบประสาทส่วนกลางของสมองยังมีอัตราคงที่มาตั้งแต่ปี 1987
อย่างไรก็ดี หลักฐานความน่าเชื่อถือของ WHO ก็คือ มันเป็นผลการศึกษาที่หลายประเทศทำร่วมกัน ซึ่งพบว่า ผู้ใช้มือถือบ่อยเกินไป โดยเฉลี่ยประมาณ 30 นาทีต่อวันต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี มีความเสี่ยงที่จะเป็นเนื้องอกที่แกนสมอง (Glioma) มากกว่า 40% โดย WHO ยังไม่ได้เผยแพร่เอกสารงานวิจัยที่ระบถึงความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งสมองชนิดอื่นๆ ตามมาด้วย หรือไม่ โดยเฉพาะบริเวณของสมองที่ได้รับคลื่นสัญญาณจากมือถือโดยตรง ซึ่งงานวิจัยเก่าๆ กว่า 30 ชิ้นที่พยายามจะหาหลักฐานเชื่อมโยงระหว่างมือถือกับมะเร็ง แต่ก็ไม่พบ ที่น่าประหลาดใจยิ่งกว่า ผลการศึกษาชิ้นหนึ่งระบุว่า ผู้ใช้มือถือมีโอกาสเป็นมะเร็งสมองต่ำกว่าผู้ใช้โทรศัพท์บ้านอีกต่างหาก
ประเด็นที่เป็นคำถามก็คือ แล้วอะไรที่ทำให้ตัวเลขของยอดผู้ป่วยมะเร็งสมองคงที่? หรือตกหล่นหายไปไหน? เวลาเป็นตัวแปรสำคัญ เนื่องจากการเจริญเติบโตของเนื้องอกต้องใช้เวลาหลายปี ซึ่งอาจหมายถึงสิบปีในการพัฒนา และนักวิจัยบางรายยังให้ความเห็นอีกว่า ผู้ใช้ส่วนน้อยที่ใช้มือถือนานเกินกว่าจะส่งผลกระทบต่อสมองจริง อย่างไรก็ตาม มีการเตือนออกมาเช่นนี้ ก็น่าจะเป็นการดีที่คุณผู้อ่านที่เป็นผู้ใช้มือถือนานๆ จะได้ระมัดระวังกันมากขึ้น แต่ระยะหลังมานี่ ผู้ใช้มือถือส่วนใหญ่จะหันมาใช้หูฟังบลูทูธที่ช่วยให้ปลอดภัยกว่ากันมากขึ้น ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งใช้มือถือเพื่อแชท หรือ BB ซึ่งสองกลุ่มนี่้จะเสี่ยงน้อยกว่ากลุ่มที่ชอบจ้อเป็นเวลานานๆ :D
ข้อมูลจาก: WHO
ข่าวไอที ทิป-เทคนิค คอมพิวเตอร์
สุขภาพน่ารู้
มือถือ กับ มะเร็ง
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) เปิดเผยว่า เมื่อเดือนกรกฎาคม IARC หรือ International Agency for Research on Cancer หน่วยงานหนึ่งขององค์การอนามัยโลก ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการที่ให้เหตุผลของการจัดให้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นปัจจัยก่อมะเร็งประเภท 2B หรือเป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็ง ซึ่งนอกจากจะเป็นการยืนยันว่า การใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่มีความเสี่ยงกับการเป็นมะเร็งแล้ว ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจว่า การใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีระบบบลูทูธจะทำให้ผู้ใช้ได้รับพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่ำกว่าการใช้ผ่านเครื่องโทรศัพท์มือถือโดยตรงถึง 100 เท่า และการใช้อุปกรณ์แฮนด์ฟรีแบบมีสายหรือหูฟัง จะช่วยลดการได้รับพลังงานที่ิลงประมาณร้อยละ 10 แต่การใช้ทั้งสองประเภทไม่ควรเกี่ยวไว้ที่หูตลอดเวลาเมื่อไม่ได้ใช้งาน และผลการศึกษายังพบว่า เครื่องโทรศัพท์ 3G ปล่อยพลังงานน้อยกว่าโทรศัพท์ GSM เฉลี่ยประมาณ 100 เท่า
รายงานดังกล่าวยังระบุว่า การถือโทรศัพท์แนบหูทำให้เกิดการดูดซับพลังงานที่สมอง ซึ่งปริมาณการดูดซับขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวเครื่องและเสาอากาศ ลักษณะการใช้ และระดับสัญญาณระหว่างตัวเครื่องและสถานีฐาน ที่สำคัญคือ สมองเด็กจะได้รับคลื่นมากกว่าผู้ใหญ่ 2 เท่า และไขกระดูกของกะโหลกศีรษะเด็กจะได้รับคลื่นมากกว่าผู้ใหญ่ 10 เท่า
นอกจากนี้ ผลการศึกษายังพบว่า กลุ่มที่ใช้โทรศัพท์มากกว่า 1,640 ชั่วโมง จะมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการเป็นมะเร็งสมองชนิด Glioma หรือเนื้องอกในสมอง ข้างเดียวกับที่ใช้โทรศัพท์ ซึ่งเป็นส่วนที่ได้รับคลื่นสูงที่สุด
นายประวิทย์กล่าวต่อว่า จากรายงานดังกล่าวผนวกกับผลสำรวจของ สบท.ร่วมกับมหาวิทยาลัยอัญสัมชัญหรือเอแบคโพล เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พบว่าคนไทยมีพฤติกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการได้รับคลื่นสัญญาณที่นอกจากการใช้งานคือ พบว่าร้อยละ 64.5 นิยมวางโทรศัพท์เคลื่อนที่ไว้ที่หัวเตียงพร้อมกับเปิดเครื่องไว้ในเวลานอน ร้อยละ 41.6 ใส่ไว้ในกระเป๋ากางเกง หรือกระเป๋ากระโปรง และร้อยละ 23.7 นิยมใส่ไว้ในกระเป๋าพกพา จากข้อมูลที่พบ หากไม่ใช้ก็ควรไว้ให้ห่างตัวโดยเฉพาะศีรษะ โดยไม่ควรวางไว้ที่หัวเตียงและเปิดเครื่องทิ้งไว้ เพื่อลดความเสี่ยงของการได้รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยไม่จำเป็น
ขอบคุณข้อมูล วิทยาศาสตร์ และ สุขภาพน่ารู้ ดีๆจาก มติชนออนไลน์
ผมใช้ small talk ตลอด เพราะเอา mobile แนบหูนิดเดียวก็ปวดหัวแทบระเบิด
สงสัยมันซับสมองผมมากกว่าคนอื่น
อังอยู่ในกลุ่มเสี่ยงนะเนี้ย ติดเม้าท์งอมแงมเย้ยอ่ะ อิอิ (~^^)~
มีแต่สะติวปิ้ด โฟน + สะติวปิด ยูสเซอร์
ปวดหัวเพราะเรื่องที่คุย รึเพราะเสียงคนที่คุยด้วยมัน จี้ดดดด รึป่าว
ระวังไว้น้อ เดี๋ยว...
ไอ ซี
โดยมากก็คุยแบบแนบหู ค่ะ ในรถ ก็ไม่โทร และอาศัยว่าไม่คุยบ่อย และไม่คุยนาน เปลืองค่าโทรอิๆๆๆ
โชคดีที่ไม่ค่อยมีใครคบ ฮ่าๆ ไม่ค่อยมีใครโทรหาเพราะเจอกันในfbประจำเลย
แสดงความคิดเห็น