วันจันทร์, มกราคม 17, 2554

การเขียนไม้ยมก " ๆ "

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ทั้งฉบับ พ.ศ. 2525 และฉบับ พ.ศ. 2542 เขียนไม้ยมกโดยเว้นวรรคทั้งหน้าและหลังไม้ยมก เช่น "สิ่งที่เป็นเส้น ๆ หุ้มยวงขนุน" และ "ติด ๆ กัน" [1] [2]

หนังสือ หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่น ๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 5 ระบุหลักเกณฑ์การเว้นวรรคไว้ว่า "ให้เว้นทั้งข้างหน้าและข้างหลังเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ไม้ยมกหรือยมก เสมอภาคหรือเท่ากับ" หากแต่การเรียงพิมพ์ในเล่มกลับเว้นวรรคเฉพาะหลังไม้ยมก เช่น "หน่วยราชการต่างๆ เข้าร่วมประชุม" รวมทั้งชื่อหนังสือเอง ซึ่งชิดหน้า เว้นหลัง ("เครื่องหมายอื่นๆ") [3] อย่างไรก็ตาม ใน หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนฯ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ว่าให้ "เว้นวรรคเล็กหน้าและหลังเครื่องหมายไปยาลใหญ่ ไม้ยมก เสมอภาคหรือเท่ากับ..." และการเรียงพิมพ์ในเล่มสองคล้องกับหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ ตัวอย่างเช่น "วันหนึ่ง ๆ เขาทำอะไรบ้าง" [4]

ปัจจุบันเราพบว่าสิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในอินเทอร์เน็ต พิมพ์ไม้ยมกในลักษณะต่าง ๆ กัน ดังนี้

  • ไม่เว้นวรรคเลย เช่น "ต่างๆกัน" ซึ่งผิดหลักเกณฑ์
  • เว้นวรรคทั้งหน้าและหลังไม้ยมก เช่น "ต่าง ๆ กัน" ซึ่งถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และ
  • เขียนไม้ยมกติดคำหน้า แต่เว้นวรรคด้านหลัง เช่น "ต่างๆ กัน" ซึ่งผิดหลักเกณฑ์

อนึ่ง ไม้ยมกไม่ใช่อักษร แต่มักจะจัดรวมไว้ในหมวดหมู่อักษรไทย เพื่อความสะดวกในการดูภาพรวมของอักษรและเครื่องหมายที่ใช้ในการเขียนหนังสือไทย

การใช้ไม้ยมก

วิธีใช้ไม้ยมก เมื่อประมวลจากการใช้ พอจะสรุปได้ดังนี้

  • ซ้ำคำ
"นี่ไม่ใช่งานง่าย ๆ" อ่านว่า "นี่ไม่ใช่งานง่ายง่าย"
"รู้สึกเหนื่อย ๆ" อ่านว่า "รู้สึกเหนื่อยเหนื่อย"
  • ซ้ำวลี
"เขาตะโกนขึ้นว่าไฟไหม้ ๆ" อ่านว่า "เขาตะโกนขึ้นว่าไฟไหม้ไฟไหม้"
"ในแต่ละวัน ๆ" อ่านว่า "ในแต่ละวันแต่ละวัน"

[แก้]กรณีที่ไม้ยมกไม่สามารถใช้ได้

  • เสียงซ้ำ แต่เป็นคำคนละชนิด
"ซื้อมา 2 ผล ๆ ละ 5 บาท" ควรเขียนว่า "ซื้อมา 2 ผล ผลละ 5 บาท" (สมัยโบราณนิยมเขียนแบบประโยคแรก)
"นายดำ ๆ นา" ควรเขียนว่า "นายดำดำนา" คำว่า ดำ ข้างหน้าคือชื่อคน เป็นคำนาม ส่วนดำข้างหลัง คือกริยา
"คน ๆ นี้" ควรเขียนว่า "คนคนนี้"
  • คำที่รูปเดิมเขียนซ้ำพยางค์ ซึ่งมีอยู่ไม่กี่คำ ดังนี้
นานา เช่น นานาชนิด, ต่าง ๆ นานา
จะจะ เช่น เห็นจะจะ, เขียนจะจะ
  • ในคำประพันธ์ หรือบทร้อยกรอง เช่น
หวั่นหวั่นจิตรคิดคิดหวนครวญครวญหา (ไม่ควรเขียน "หวั่น ๆ จิตรคิด ๆ หวนครวญ ๆ หา")
ยกเว้น กลบทบางประเภทที่กำหนดให้ใช้ไม้ยมก

http://th.wikipedia.org/wiki/ไม้ยมก

12 ความคิดเห็น:

chiro stp กล่าวว่า...

ขอบคุณคับบบ สิ่งเล็กๆน้อย ๆที่บางทีเราก้อมองข้ามไปจริง ๆ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

อะ อย่าลืม วรรคหน้าหลัง "ๆ"


นั่งแก้ต้นฉบับหนังสือ แก้ไปแก้มามึน ๆ เลยไปหามาอ่านครับ

DragoWen ' L กล่าวว่า...

อืมมมมม ผมใช้ถูกเกือบหมดเหมือนกันนะ อิ ๆ คริ ๆ มีอยู่ในหลักด้วยมะครับ ฮ่า ๆๆๆ

Rada K กล่าวว่า...

อิๆๆ รับไปแก้อีกสักเล่มมะคะ จู้ๆๆคร๊า

lada loeiyood กล่าวว่า...

แวะมารับความรู้ ค่า

da }:( กล่าวว่า...

หนูใช้แบบชิดหน้าเว้นหลังค่ะน้า
ขอบคุณความรู้ที่ถูกต้องนะคะ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

เออ ไม้ยมกสามตัวติดกัน ไม่ได้เขียนไว้แฮะ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

พอเลย

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

แบ่งกันไป

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ผมก็ใช้แบบนั้นมาตลอด ฮา

phyche phyche123 กล่าวว่า...

ขอบคุงค่ะ มีเขียนผิดเหมือนกันนะนี่

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

เอาไว้สอนนักเรียนนิ