วันอังคาร, มกราคม 18, 2554

จะงดกิน คอฟฟี่เมตดีมั้ยน่ะ

วันก่อน ดูรายการ "กิน อยู่ คือ"    จากทีวีช่องนกพิราบ ช่วงเช้า ๆ

พูดไว้ว่า ไขมันทรานส์ เป็นไขมันไม่ดี และมีมากในอาหารปัจจุบัน  เช่น ครีมเทียม

เลยไปหามาอ่านสักหน่อย

 

----------------------------------------------------------------------------------------------------

ในชีวิตประจำวัน อาหารที่เราบริโภคมักมีไขมัน 4 ชนิดปะปนอยู่ในสัดส่วนที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันที่ใช้ทำอาหาร ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ส่วนไขมันเลว ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์ 

--------------------------------------------------------------------------------------------------------

ไขมันทรานส์ เป็นไขมันไม่อิ่มตัว (trans unsaturated fat) ไขมันทรานส์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งมี อยู่ในปริมาณเล็กน้อยในเนื้อและนมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ และไขมันทรานส์ ที่ผลิตขึ้นโดยขบวนการทางอุตสาหกรรม

----------------------------------------------------------------

การที่พลเมืองโลกรู้ถึงพิษภัยที่มากับไขมันอิ่มตัวจึงหันมาบริโภคไขมันที่ไม่อิ่มตัวแทน เช่น เปลี่ยนจากการทอดอาหารด้วยน้ำมันสัตว์ มาเป็นใช้น้ำมันพืชแทน แต่ปัญหาก็คือ การใช้น้ำมันพืชทอดอาหารจะไม่ทำให้อาหารกรอบอร่อยเหมือนกับไขมันสัตว์ ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันพืชจำต้องอุดช่องโหว่ในเรื่องของความกรอบจากการทอด จึงมีการใช้กระบวนการดังกล่าว เปลี่ยนให้ไขมันจากพืชมีความอิ่มตัวเพื่อเพิ่มความกรอบให้แก่อาหารเมื่อนำลงไปทอด ซึ่งในระหว่างกระบวนการนี้เองที่ทำให้น้ำมันเกิดไขมันทรานส์ขึ้น

----------------------------------------------------------------------------

เนื่องจากไขมันทรานส์คือไขมันที่เกิดจากการแปรรูป จึงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข และสามารถทนความร้อนได้สูง รวมถึงมีรสชาดที่ใกล้เคียงกับไขมันที่มาจากสัตว์ แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่าง ๆ มักนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้ประกอบอาหารมากมาย เช่น กลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ดซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และวิปปิ้งครีม เป็นต้น

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ไขมันทรานส์เกิดจากการนำไขมันไม่อิ่มตัวไปผ่านกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งราคาถูกกว่าการใช้เนยหรือน้ำมันอื่น ในหลายประเทศเขาบังคับให้ติดสลากว่า  hydrogenated หรือpartially hydrogenated หรือ shortening (เนยขาว)          

เรียกกระบวนการทางเคมีนี้ว่า “การเติมไฮโดรเจน” (hydrogenation)คือการทำให้น้ำมันไม่อิ่มตัวจับกันเข้มข้น อย่างในกรณีของเนยเทียมหรือมาร์การีนที่ทำจากน้ำมันพืชในกระบวนการเดียวกันด้วยการดึงเอาไขมันที่ร่างกายต้องการออกไปหมด และอัดด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจนเพื่อให้เหนียวข้น ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวกลับกลายเป็นไขมันอิ่มตัว เต็มไปด้วยอันตรายต่อสุขภาพ  

---------------------------------------------------------------------------

การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มาก ๆ จะเป็นส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเมตาบอลิซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับ LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด และเนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป ซึ่งย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น ทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือ

  1. น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น
  2. มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ
  3. มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (อังกฤษ: Coronary Heart Disease) โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

 

ไขมันทรานส์คล้ายกับไขมันอิ่มตัวตรงที่ก่อให้เกิดคอเลสเทอรอลเลว แต่เลวกว่าไขมันอิ่มตัวตรงที่ไปทำลายคอเลสเทอรอลดีด้วย     

------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

“ที่น่าเป็นห่วงก็คือข้อมูลจาก WHO ในปีพ.ศ.2548 ที่ระบุว่าโรคเรื้อรังนี้ได้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกแล้วกว่า 35 ล้านคน และองค์การอนามัยโลกยังได้พยากรณ์ล่วงหน้าอีกว่า หากเราไม่หาหนทางป้องกันและแก้ไข ภายใน 10 ต่อจากนี้ทั่วโลกจะมีคนตายเพราะโรคเรื้อรังเหล่านี้ประมาณ 400 ล้านคน และที่สำคัญก็คือ ใน 400 ล้านคนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนา”

 

------------------------------------------------------------------------------------------------------

ซึ่งในขณะนี้พบว่าคนไทยประมาณ 25 ล้านคนกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง 

------------------------------------------------------------------------------------------------------

ในประเทศไทยยังไม่มีระเบียบให้ติดสลากเรื่องไขมันทรานส์ แต่อ่านดูทุกถุงขนมกรุบกรอบจะมีส่วนประกอบน้ำมันพืช ไขมันอิ่มตัว 10%และมากกว่า คงไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากไขมันทรานส์นั่นเอง แล้วยังทำให้ผู้บริโภคตายใจด้วยคำว่า “ไม่มีคอเลสเทอรอล” บนซองคอฟฟีเมตชื่อดัง ทั้งๆ ที่เป็นน้ำมันพืชและมีไขมันทรานส์ที่อันตรายยิ่งกว่าคอเลสเทอรอลเสียอีก         

แปลก รณรงค์เรื่องเหล้าเรื่องบุหรี่กันจังเลย แต่ไม่เห็นทำอะไรกับไขมันทรานส์ ซึ่งเด็กๆ กินกันสนุกสนานปีละเป็นแสนล้านบาท จะต้องให้คนไทยตายเพราะไขมันทรานส์อีกเท่าไร เราจึงจะลุกขึ้นมารณรงค์และต่อต้านนักฆ่าหน้าเก่าแต่เพิ่งโผล่มาให้เห็นหน้ากันวันนี้

-----------------------------------------------------------------------------

ลองดูว่ามีไขมันทรานซ์ หรือข้อความ "partially hydrogenated oil" หมายถึงน้ำมันแปรรูปจากการเติมไฮโดรเจนบางส่วน หรือไม่ในฉลากอาหาร

-------------------------------------------------------------------------

 

 จากการศึกษาพบว่า ผู้ซึ่งเปลี่ยนจากการกินอาหารที่มีไขมันทรานส์สูงมาเป็นการกินอาหารที่มีไขมันทรานส์ต่ำ จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart attack) ลงได้ถึงร้อยละ 50 

มีรายงานจากประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันว่า หากลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์เพียงครึ่งเดียวจะสามารถป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ร้อยละ 10-12 และหากไม่รับประทานเลยจะป้องกันได้ถึงร้อยละ 18-22 โดยหันไปรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน”

-------------------------------------------------------------------------------------

ตัดต่อความมาจาก

http://news.sanook.com/social/social_254738.php

http://www.horapa.com/content.php?Category=Healthy&No=733

http://th.wikipedia.org/wiki/ไขมันทรานส์

http://www.thaihealth.or.th/node/4946

http://women.thaiza.com/detail_54594.html

http://www.bpl.co.th/2010/index.php?option=com_content&view=article&id=54:-trans-fats&catid=34:2009-12-18-06-43-57&Itemid=55

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=33619

http://www.phongphit.com/index.php?option=com_content&task=view&id=525&Itemid=2

------------------------------------------------------------------------------------------

 

สรุปแล้ว ฉันควร บริโภคกาแฟดำขมปี๋ กาแฟดำหวานเจี๊ยบ หรือกาแฟครีมข้นหวานมันส์ ต่อไปดีน้อ เง้อ

 

 

 

39 ความคิดเห็น:

no name diary กล่าวว่า...

นู๋งดเเล้วนะ ทีเเรกมันหมดเเล้วขี้เกียดซื้อ กินไปกินมาไม่ใส่ก้ออร่อยดี

แทมมี่ & แม่ปีป B. กล่าวว่า...

ส่ายนมสด แทนได้ไหมคะ

หรือไม่ก็กาแฟดำไปเลยเนอะ

หนูก็ใส่คอฟฟี่เมต ตลอด

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ส่วนนู๋เม้งชอบกินแบบกาแฟซองผสมเสร็จ เสร็จแน่ หุหุ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ส่ายนมข้นหวานดีไหมน้อ ขาวข้นหวานมันส์

แทมมี่ & แม่ปีป B. กล่าวว่า...

อ้วนมากกว่าเดิมสิ

Rada K กล่าวว่า...

รสชาดที่น้าเม้งไปก็อปมาหมายถึงรสสีแดงอ่าค่ะ .... ชาดคำนี้แปลว่าสีแดงค่ะ อย่างเช่นคำว่ากาชาด รสชาติที่ถูกต้องสะกด..แบบ รสชาติอ่าค่ะ

Rada K กล่าวว่า...

ถ้าน้าเม้งชอบทานกาแฟรสชาติมันๆๆแนะนำว่า ให้ใส่นมเมจิ (ที่มันเป็นกล่องสีเหลืองทองอ่าค่ะ) มันจะทีมันเนย(ซึ้งเป็นไขมันที่มีประโยขน์อ่าค่ะ ) เพื่อขึ้นร้อยละสี่ อ่าค่ะ จะได้ไม่ต้องทานโอยั๋วนะคะ ^^ `ลองดูนะคะ น้าเม้ง

Rada K กล่าวว่า...

กาแฟซองสำเร็จแบบนั้น น้ำตาลสูงมากเลยค่ะ เง้อ

Rada K กล่าวว่า...

ขออนุญาตินิดนุงนะคะ อย่าเพิ่งหาว่า เป็นเจ้ากรมอนามัยเลยนะคะ แนะนำว่าให้ทานกาแฟใส่น้ำตาลทรายแดง( แบบไม่ฟอกสีอ่าค่ะ) แล้วก็ใส่กับรมสด(หรือ นม UHT ก็ได้ถ้าชอบรสมัน) แทนการใช้กับนมข้นหวานนะคะ ...เพราะนมข้นหวานไม่มีคุณค่าสารอาหารอะไรเลย นอกจากความหวานอ่าค่ะ

vee .. กล่าวว่า...

จะพยายามหลีกเลี่ยง ครับ

AE L กล่าวว่า...

อ่านมาเยอะมากครับเรื่องนี้ แต่ใครๆก็ใช้น้ำมันพืช ไม่รู้จะหลบยังไง
ส่วนครีมเทียมผมโชคดีที่ดื่มกาแฟดำ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ช่วงนี้ทาน เขาช่อง ซองสีเขียว เข้มสะใจ อิอิ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ขออภัย ขอบคุณครับ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

อิอิ โอวยัวะ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

โอวทึ้งหอมดีน่าสน

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

พยายามด้วยดีกว่า

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

จะพยายามดำมากขึ้นครับ

` aay .. กล่าวว่า...

เขาช่องอร่อยจริงๆ หล่ะ ซองเขียวนั่นหนะ

Peem & Pooh กล่าวว่า...

ไม่ชอบดื่มอยู่แล้ว สบายเลย

da }:( กล่าวว่า...

รู้อยู่เหมือนกันค่ะ แต่ก็ยังอด ๆ อยาก ๆ อยู่นะน้า
น้ำตาลจะใช้น้ำตาลอ้อย หรือไม่ก็น้ำตาลเทียม ส่วนครีมก็อย่างว่า...อดบ้าง อยากบ้าง คงต้อง อดให้บ่อยขึ้นแล้วเนอะ

Pan PlantLovers กล่าวว่า...

ทำไมหน้ามันเบี้ยวๆ งี้ง่า

( * _ * ) . กล่าวว่า...

ตกลงเราจะกินอะไรได้บ้างหละค่ะ ดู อตร ไปหมดทุกอย่างเลย

phyche phyche123 กล่าวว่า...

ติดโอวัลตินน่ะ มีไขมันทรานส์ ด้วยไหมนะ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

เฟิร์ม

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ยินดีด้วยครับ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

เนอะเนอะ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ก็ดี

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

หน้าป้านะเหรอ ก็ตรงนิ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

มีเคยคนบอกว่า อยากกินอะไรก็กิน ๆ ไปเหอะ เดี๋ยวตายแล้วก็ไม่ได้กินอยู่ดี

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

แบบเพียว ๆ ไม่น่ามีนะ

我 ... กล่าวว่า...

โชคดีกินแฟ เพียว กับน้ำผึ้ง หรือไม่ก็ ทรายแดงเท่านั้น อิอิ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

คงหอมหวาน

Pan PlantLovers กล่าวว่า...

เป้าน้าไงเบี้ยว หุๆๆๆ
สันนิษฐานว่า content ก็เบี้ยวด้วย

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ก้ากกกก

Hornbill B กล่าวว่า...

ไม่มีปัญหากับคอฟฟี่เมต แต่มีกับมาการีนและวิปปิ้งครีม อิๆ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

หนักกว่าอีกงั้นเอิ้กๆ

Simply Me กล่าวว่า...

: ) ถ้าซองสำเร็จชอบมอคโคน่าซองสีทอง / ส่วนชงเองให้น้ำตาลกรวด + ครีมนิดหน่อย แหะๆ ..

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

มอคทอง ไว้จะลองครับ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ความลับในครีมเทียม..
ส่วนผสมที่อยู่ในกาแฟทุกแก้วทุกเช้า เพิ่มความข้น มัน ให้กับกาแฟแก้วโปรดอย่างครีมเทียมนี้ รู้หรือไม่คะว่าครีมเทียมนี้ ไม่มีส่วนประกอบของนมและครีมเลย และผู้ที่มีโคเลสเตอรอลควรพิจารณาด้วย

ครีมเทียม เป็นส่วนหนึ่งของกาแฟ โดยเฉพาะกาแฟที่มิกซ์ หรือ 3 อิน 1 มักมีครีมเทียมเป็นส่วนผสมหลักที่ขาดไม่ได้ เมื่อผงกาแฟให้ความเข้มข้น ผสมกับน้ำตาลให้ความหวาน และใส่ครีมเทียมที่เพิ่มรสชาติให้ความเข้มข้น หอม มัน ช่วยให้กาแฟกลายเป็นแก้วโปรดของใครหลายคน แต่รู้หรือไม่ว่าครีมเทียมนี้ไม่มีส่วนประกอบของนมเลย นี่เป็นแค่ความลับอันดับแรกเท่านั้นเองค่ะ

เหตุที่รู้ว่าไม่มีส่วนประกอบของนม เนื่องจากประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ครีมเทียมถูกจัดเป็นอาหารประเภทควบคุมเฉพาะในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และกฎหมายได้ระบุคำจำกัดความของครีมเทียมไว้ดังนี้

“ผลิตภัณฑ์ที่มิได้ทำจากนมและมีไขมันอื่นนอกจากมันเนยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ หรือครีมที่มีมันเนยผสมอยู่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของไขมันทั้งหมด”

ถ้าไม่มีนม แล้วครีมเทียมประกอบด้วยอะไร? ก่อนไปถึงส่วนประกอบของครีมเทียม ลองมาดูพัฒนาการของครีมเทียมกันค่ะ

เริ่มแรกฝรั่งนิยมเติมครีมลงในเครื่องดื่มจำพวกโกโก้และกาแฟ แล้วพบว่า ครีมชนิดพาสเจอไรซ์จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น ส่วนครีมกระป๋องก็มีใช้บ้าง แต่กลิ่นรสสู้ครีมพาสเจอไรซ์ไม่ได้ แถมสียังออกเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน ๆ อีกด้วย ครีมเทียมจึงเกิดขึ้นเพื่อความสะดวกและประหยัด เนื่องจากวัตถุดิบมีราคาถูกกว่า นอกจากนี้การขนย้ายในรูปผงแห้งทำให้ประหยัดค่าขนส่งได้มาก ครีมเทียมจึงแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างที่เราเห็นกัน

อะไรที่ทำให้ครีมเทียมมีความหอมมันไม่แพ้ครีมแท้แต่ราคาถูกกว่ามาก?


นั่นคือสิ่งที่ผู้ผลิตครีมเทียมต้องการ อธิบายง่าย ๆ คือ ผู้ผลิตต้องการให้ครีมเทียมช่วยเติมความรู้สึกที่ขาดหายไป เมื่อดื่มนมสดพร่องมันเนยเปรียบเทียบกับนมสดธรรมดา แต่มีมาตรฐานด้านราคาต่ำเป็นเกณฑ์ในการผลิต ความหอมมันราคาถูกของครีมเทียม จึงเกิดจากไขมันเนยหรือไขมันที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงคือ มีกรดไขมันประเภทอิ่มตัวในปริมาณสูง กล่าวง่าย ๆ คือ เป็นไขมันประเภทที่ใส่ตู้เย็นแล้วเป็นไขนั่นเอง

หากใช้ราคาเป็นตัวตั้ง ไขมันที่ใช้เป็นครีมเทียมจึงมักเป็นไขมันพืชเพราะมีราคาถูก ที่นิยมคือ ไขมันมะพร้าว เนื่องจากประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณค่อนข้างสูงอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมี น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันจาก
เมล็ดปาล์ม ซึ่งถ้าเราดูเผินๆ จะเห็นว่า ยี่ห้อที่ระบุว่าใช้น้ำมันถั่วเหลืองและไขมันจากเมล็ดปาล์ม น่าจะไม่เป็นพิษภัยกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากชนิดของกรดไขมันในน้ำมันถั่วเหลืองไม่มีผลต่อการเพิ่ม หากยังลดการสร้างสารโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดด้วย ส่วนกรดไขมันในน้ำมันจากเมล็ดปาล์มก็ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด เหมือนเช่นกรดไขมันอิ่มตัวที่พบในไขมันเนยและมะพร้าวที่ก่อปัญหา

ดูแล้วเหมือนจะดี แต่หากพลิกดูด้านข้างบรรจุภัณฑ์จะเห็นว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมคือ “Partially hydrogenated” หรือ “Hydrogenated” อยู่ข้างหน้าคำว่า “น้ำมันถั่วเหลือง” หรือน้ำมันจากเมล็ดปาล์ม ซึ่งคำภาษาอังกฤษดังกล่าวหมายความว่า กรดไขมันในน้ำมันเหล่านั้นได้ผ่านกระบวนการทำให้อิ่มตัว แล้วกระบวน
การนี้ทำให้รสชาติของครีมเทียมมีความมัน แต่ก็มีผลเสียต่อผู้มีปัญหาในเรื่องโคเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด
จึงเน้นว่าขอให้ศึกษาฉลากให้รอบคอบก่อนซื้อ และครีมเทียมในท้องตลาดส่วนใหญ่แทบทุกยี่ห้อ ไม่เหมาะสมกับผู้ที่กำลังควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด


ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ความลับที่ไม่ลับคือ ส่วนผสมที่มีการเติมในครีมเทียมเกือบทุกยี่ห้อคือ น้ำตาลข้าวโพด โดยบางยี่ห้อก็ระบุว่า กลูโคส แต่เมื่อได้อ่านคำบรรยายภาษาอังกฤษแล้วจึงทำให้ทราบว่า ไม่ได้มีการเติม
น้ำตาลลงไปโดยตรง เป็นการเติมสารที่เรียกว่า กลูโคสไซรัป (glucose syrup) หรือแบะแซ นั่นเอง แบะแซที่บ้านเราทำจากแป้งมันสำปะหลัง ส่วนน้ำตาลข้าวโพดทำจากแป้งข้าวโพด แต่ไม่ใช่แบบตรง ๆ ซะทีเดียวนะคะ เนื่องจากการผลิตไซรัปดังกล่าวทำโดยการย่อยโมเลกุลของแป้งเพียงบางส่วน

คนเขียนยังปวดหัวแทนเลยค่ะ เอาเป็นว่าการเติมไซรัปลงไปก็ช่วยให้มีความข้นนิดหน่อยเวลาเติมในกาแฟ และยังใช้เป็นตัวกลางที่ใช้จับน้ำมันในช่วงการผลิตทำเป็นผงด้วย นอกจากนี้ครีมเทียมยังมีส่วนผสมอื่น ๆ เช่น เคซีน (โดยภาษาอังกฤษก็ระบุว่าเป็น sodium caseinate) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สกัดจากน้ำนม หรือบางยี่ห้อก็ใช้โปรตีนพืชซึ่งก็คาดว่าคงเป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง ปริมาณการผสมเคซีนในรูปโซเดียมเคซิเนตในครีมเทียมบางยี่ห้ออาจไม่สูงนัก แต่ก็เป็นจุดที่ผู้ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับความดันเลือดสูงและต้องการควบคุมปริมาณโซเดียมควรระวังไว้หน่อย

เมื่อพิจารณาในส่วนฉลากภาษาอังกฤษ จะเห็นความลับของครีมเทียมในส่วนผสมมากยิ่งขึ้น เช่น

- สารโมโน, ไดกลีเซอร์ไรด์ (Mono, di-glycerides