วันอาทิตย์, มิถุนายน 20, 2553

กระดูกสันหลังย่น หรือ ยุบตัวลงไป (Vertebral Compression Fracture VCF)

เวลาคนเราหกล้ม เอาก้นกระเเทกกับพื้นอย่างรุนเเรง โดยทั่วไปทั้งหมอ เเละผู้ป่วยมักจะไปเพ่งความสนใจ
อยู่ที่กระดูกก้นกบ ว่ามีการหักหรือไม่ เเต่ในความเป็นจริง เรากลับพบว่า มีการละเลยกระดูกอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมี
ความสำคัญมากกว่า เพราะถ้าไม่ดูแลรักษาให้ถูกต้อง ตั้งแต่ครั้งแรก มักจะส่งผลเสียทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน
มากมาย บางคนอาจจะถึงขั้นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข เสียเวลา เสียเงินทองในการรักษามากกว่าเดิมครับ

image

ผมกำลังกล่าวถึง กระดูกสันหลังส่วนกลางลำตัว ที่มีโอกาสหักได้บ่อยกว่ากระดูกก้นกบในเวลาที่คนเราล้มลงเอา ก้นกระแทกพื้น โดยเฉพาะคนที่มีภาวะกระดูกบาง คนที่มีอายุมากมาก ลักษณะรูปร่างของกระดูกหักชนิดนี้ ทำให้เราเรียกกระดูกสันหลังหักชนิดนี้ว่า กระดูกสันหลัง ย่น หรือยุบตัวลงไปครับ (Vertebral Compression Fracture : VCF)

image

เวลาเกิดการลื่นล้ม เอาสะโพกหรือ ก้นกบกระเเทกพื้นอย่างรุนเเรงนั้น จะเกิดแรงกระเเทกส่งต่อไปที่กระดูกสันหลัง โดยเฉพาะส่วนกลางลำตัว จะมีการรับเเรงกระเเทกมากที่สุด กระดูกสันหลังที่ถูกกระแทก จะเหมือนถูกกระแทกทั้งด้านบนจากน้ำหนักตัวที่กดลงมา และด้านล่างจากแรงกระแทกที่พื้น ส่งผลทำให้กระดูกสันหลัง ปล้องนั้น มีการยุบตัวลงมา โดยมักจะเกิดตรงรอยต่อของกระดูกสันหลังส่วนล่างของช่วงอก ต่อกับส่วนบนของหลัง เนื่องจาก กระดูกสันหลังช่วงนี้จะมีการหักเหของเเรง เเละการสะสมเเรงมาที่กระดูกสันหลังมากที่สุด ดังนั้น ถ้าเรามัวแต่สนใจกระดูกส่วนก้นกบ โดยไม่ได้ดูที่หลังด้านบนก็จะทำให้ ไม่รู้ตัวว่ามีการะดูกสันหลังหักแบบยุบตัวที่บริเวณนี้ โดยเฉพาะคนสูงอายุมากกว่า 60 ปี กระดูกสันหลังจะบาง และไม่เเข็งแรงอยู่แล้ว จึงเกิดเเรงกดไปที่ปล้องกระดูกสันหลัง ส่งผลทำให้ความสูงของปล้องกระดูกสันหลังยุบตัวลงมาเหมือนกล้วยถูกเครื่องปิ้งหนีบจนแบนติดกัน

image

กระดูกสันหลังส่วนนี้ ในคนที่เติบโตเต็มวัย มักจะมีความสูง ประมาณ 2-4 ซมเเต่ถ้าเกิดกระดูกย่น ความสูงเฉลี่ย อาจจะลดลง เหลือเเค่ประมาณ 1 ซม. เเละถ้าเกิดกระดูกย่นในกระดูกสันหลังหลายปล้อง จะทำให้คนสูงอายุ นั้นมีหลังโก่งขึ้น เเต่มีความสูงลดลงไปimage

อาการของกระดูกสันหลังย่นนั้น โดยทั่วไป ถ้าล้มเอาก้นกระเเทกพื้นใหม่ๆ อาจจะเป็นเพียงเเค่รูสึกจุกเเน่นในท้อง เท่านั้น ซึ่งพอนั่งไปสักพักอาการก็จะหายไปเหมือนไม่ได้เป็นอะไรเลย หรือบางคนอาจมีเพียงเจ็บกลางหลัง ร้าวมาที่บั้นเอวเล็กน้อย เวลาล้มตัวลงนอนจะเจ็บนอนหงายไม่ได้ ซึ่งผู้ป่วยอาจจะไม่ใส่ใจ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ 1-2 เดือน จะสังเกต สังเกตหลังตัวเองจากกระจกมองด้านข้างของลำตัว อาจพบว่ามีการโก่งเพิ่มมากขึ้น และ อาการปวดหลังที่เรื้อรังอยู่ มีอาการรุนแรงขึ้น

ความสำคัญในการดู เเละรักษาในโรคกระดูกสันหลังย่น จึงต้องขึ้นกับการวินิจฉัยให้ได้ก่อนว่า เกิดการหักแบบยุบตัวของกระดูกสันหลัง หรือไม่ โดนเฉพาะลักษณะการลื่นล้ม เเละเอาก้นกระเเทก ผู้ป่วยจะต้องไม่นิ่งนอนใจเกินไป อย่ารอให้ปวดหลังนานเกิน สัปดาห์ ต้องรีบพาตัวเองไปพบเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อ x ray ส่วนของกระดูกสันหลังส่วนนี้ครับ

ถ้าหากพบว่ามีการย่นของกระดูกสันหลังจริง เเพทย์ก็จะเเนะนำให้ท่านพักงานหนัก โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้หลังมาก บางคนเเพทย์ก็อาจจะเเนะนำให้นอนพักอยู่เเต่บนเตียงเฉยๆในช่วงเดือนเเรก เนื่องจากกระดูกย่นนั้น จะยังสามารถยุบเพิ่มมากขึ้นอีก ถ้าเราลุกขึ้นนั่ง หรือยืนบ่อยๆ เพราะน้ำหนักตัวของผู้ป่วย จะเป็นตัวที่กดกระดูกสันหลังให้ย่นมากขึ้นได้ ส่งผลทำให้ปวดหลังมากขึ้น หลังโก่งมากขึ้น บางคนส่วนที่ยุบตัวลงไป อาจจะกดทับเส้นประสาท ทำให้มีอาการของขาชา ปวดร้าวลงแก้มก้น ปวดขาได้ครับ

imageบางคนที่มีกระดูกสันหลังย่นมากตั้งแต่ ครั้งแรกที่มาตรวจ เเพทย์อาจจะเเนะนำให้ใส่เสื้อเกราะรัดหลัง เพื่อประคองหลังไว้ไม่ให้โก่ง หรือยุบตัวมากขึ้น ตรงจุดนี้มีความสำคัญมากครับ เพราะผู้ป่วยมักจะมีความเข้าใจผิด คิดว่า เมื่อมีเสื้อเกราะใส่ ก็สามารถทำงานหนักได้เหมือนเดิม

เนื่องจากแม้ว่าเสื้อสามารถจะป้องกันไม่ให้หลังโก่งมากขึ้น โดยที่มีสายรัดบริเวณจะเป็นตัว ค้ำหัวไหล่ไม่ให้โก่งตัวไปด้านหน้า เเต่ก็ไม่มีความสามารถกันกระเทือนกระดูกสันหลังมากนัก ถ้ามีเเรงมากระเเทกจากการที่เราไม่หยุดนอนพัก จากการทำงาน กระดูกสันหลังของเราก็มีโอกาสจะยุบตัวลงมากขึ้นอีก ยิ่งยุบมาก ยิ่งหลังโก่งครับ ถามว่า จะต้องใส่เสื้อเกราะแบบนี้ นานเท่าไหร่ ก็ต้องรอให้กระดูกสันหลังส่วนที่หักหยุดยุบตัวลงก่อน คือ ต้องรอจนกระทั่งกระดูกส่วนที่หักเริ่มเชื่อมติดกันอย่างสมบูรณ์ ซึ่งส่วนใหญ่ ต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนครับขอให้อดทน ใส่เสื้อเกราะทุกครั้งที่ลุกนั่ง หรือยืน เเละหยุดพักงานหนักจริงๆ อย่าหลอกตัวเองครับ ประมาณ 3-4 เดือน เมื่อกระดูกติดสนิทดีเเล้ว หลังของท่านก็จะหายปวด กลับมาเป็นคนเก่าที่เเข็งเเรงเหมือนเดิม เล่นกีฬาได้ โดยที่ไม่มีข้อเเทรกซ้อน ครับ

แต่ถ้าบางคนที่มีปัญหา เรื่องกระดูกสันหลังยุบตัวลงมามาก จนหลังโก่งอย่างเห็นได้ชัด มีอาการปวดหลังมาก จนมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด ก็จำเป็นต้องเลือกวิธีนี้ การใช้วิธีการรักษา แบบผ่าตัดนี้ จะทำให้กระดูกสันหลังส่วนที่ยุบลงเด้งกลับมาสูงเหมือนเดิม หรือใกล้เคียงกับความสูงเดิม

เทคนิคการผ่าตัดก็ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญแต่ละท่านครับ รายละเอียดมีดังนี้

  1. การผ่าตัดหลังดามด้วยโลหะ และใช้เทคนิคการผ่าตัด ดีดเอากระดูกส่วนที่ยุบตัวลงมาให้ยืดออกมา ปัจจุบัน (2550) การผ่าตัดด้วยเทคนิคนี้ เป็นวิธีที่มาตรฐาน โดยผู้ป่วยอาจจะต้องเสียเวลา นอนอยู่ที่โรงพยาบาล ประมาณ 5-7 วัน หลังผ่าจะสามารถลุกขึ้นเดินได้ ทำกิจวัตรประจำวันได้ เหมือนปกติ แต่ทำงานหนักมากๆ ยังไม่ได้ครับ เพราะอย่างไร เราก็ฝืนธรรมชาติไม่ได้ ต้องรอให้กระดูกส่วนที่หักติดกันก่อน และต้องมีการฝึกกล้ามเนื้อหลัง อย่างถูกวิธีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้ กล้ามเนื้อหลังลีบลงไป ไม่เช่นนั้นกระดูกสันหลัง และโลหะที่ดามจะทำงานในการรับแรงเคลื่อนไหวของร่างกายมากเกินไป อาจส่งผลทำให้โลหะที่ดามเคลื่อนหลุดไปไดเ ส่วนเทคนิคการฝึกกล้ามเนื้อหลัง ผมจะมาเล่าให้ฟัง ในวันข้างหน้าครับ
     
    image
  2. การฉีดซีเมนต์เข้าไปดันกระดูกสันหลัง (Cement Injection) วิธีนี้จะถูกใช้ในกรณีที่กระดูกสันหลังที่ยุบตัวลงมาแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง โดยพบว่า อาจมีกระดูกสันหลังส่วนที่หักไม่มั่นคง เทคนิคการฉีด ตลอดการเทคนิคจัดท่า จะเป็นตัวทำให้กระดูกส่วนนั้น เด้งออกเองได้เป็นวิธีการพิเศษ การใช้เทคนิคนี้ถือว่า เป็นการผ่าตัดแบบกระทบกระเทือนเนื้อเยื่อภายในน้อย (Minimal Invasive Surgery) ผู้ป่วยจะ
    ฟื้นตัวเร็วกว่า วิธีแรกครับ แต่ใช้ไม่ได้กับผู้ป่วยทุกคนนะครับ แพทย์จะป็นผุเลือกเอง
     
    image
  3. การใช้บอลลูนเพื่อดันกระดูกสันหลังที่ยุบ (Balloon Kyphoplasty) เป็นการผ่าตัดแบบทางเลือก ที่ไม่ใช่วิธีมาตรฐานทั่วไป แต่ถือว เป็นการผ่าตัดกระทบกระเทือนเนื้อเยื่อภายในของร่างกายน้อย (Minimal Invasive Surgery) โดยในขั้นตอนแรกจะมีการสอดใส่เข็มบอลลูนเล็กๆ จากด้านหลังเข้าไปภายในกระดูกสันหลังที่ยุบตัวลงไป และค่อยๆ ดันให้บอลลูนพองตัว เพื่อดันกระดูกที่ยุบ เด้งขึ้นมา จากนั้นก็ฉีดกาวซีเมนต์เข้าไป รอให้ซีเมนต์แข็งตัว กระดูกส่วนนั้น ก็เหมือนมีคอนกรีตที่แข็งแรงคอยดันอยู่ตลอดเวลาที่ เนื้อกระดูกที่คลุมอยู่ภายนอกยังติดกันไม่สนิท ประโยชน์ที่ได้ก็จะคล้ายกัน กับวิธีที่ สอง ตรงที่สามารถแก้ไข รูปร่างหลังที่โก่งให้หายได้ และข้อสำคัญอาจจะลดอาการปวดหลังได้

image

การป้องกัน และการเรียนรู้ข้อมูลเป็นเรื่องที่สำคัญ สำหรับโรคนี้ครับ ถ้าม่อยากถูกผ่าตัดหลัง

สบายกายคลายปวดหลังครับ
ขอขอบคุณ รศ.นายแพทย์ประกิต เทียนบุญ หัวหน้าภาควิชาศัลยกรรมกระดูกและข้อ รพ.จุฬา

imageที่มา : นพ.สมศักดิ์ เหล่าวัฒนา
ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ


19 ความคิดเห็น:

nu-odd @ Buterfly Diary กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ นะค้า ^ ^

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

: )

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

กระดูกสันหลัง(Vertebral Column เรียกสั้นๆว่า Spine) มีทั้งหมด 30ข้อ แบ่งเป็น 4ส่วนคือ



1.ส่วนคอ(Cervical Spine) 7ข้อ เรียงจาก C1- C7 มีSpinal nerve 8เส้น (เรียกC1 – C8)
2.ส่วนหน้าอก(Thoracic Spine) 12ข้อ เรียงจาก T1 – T12 มีSpinal nerve 12เส้น (เรียก T1 – T12)
3ส่วนเอว (Lumbar Spine) 5ข้อ เรียงจาก L1 – L5 มีSpinal nerve 5เส้น (เรียก L1 –L5)
4.ส่วนกระเบนเหน็บ(Sacral Spine) 5ข้อ เรียงจาก S1 –S5 แต่ทั้งหมดจะfuseรวมกันเป็นแผ่นเดียวเรียกกระดูกก้นกบ มีSpinal nerve 5เส้น (เรียก S1 – S5)
5.กระดูกก้นกบ (Coccyx) มีSpinal nerve 1เส้น เรียก Coccyx nerve
ทำหน้าที่ 2อย่างคือ
1.เป็นแกนของร่างกาย เหมือนเสาบ้าน
2.หุ้มปกป้องไขสันหลัง(Spinal Cord) ซึ่งเป็นส่วนของระบบประสาทที่ต่อมาจาก Brain เพื่อควบคุมร่างกายตั้งแต่คอลงมา(ดูบริเวณที่แยกกันควบคุมตามรูป)
ระหว่างข้อจะมีหมอนของกระดูก( Intervertebral Disc) ขั้นอยู่เพื่อลดแรงกระแทก และ ทำให้บิดตัวได้

Spinal Cord[b] ซึ่งเป็นส่วนของระบบประสาทที่ต่อมาจาก Brain เพื่อควบคุมร่างกายตั้งแต่คอลงมา(ดูบริเวณที่แยกกันควบคุมตามรูป)
หน้าที่ของไขสันหลัง
1.เป็นทางผ่านของกระแสประสาทจากหน่วยรับความรู้สึกไปยังสมอง(รับความรู้สึกSensory) ทำให้เรารู้สึกเจ็บ ร้อน ฯลฯ
2.เป็นทางผ่านของกระแสประสาทจากสมองกับหน่วยปฏิบัติงาน (สั่งการ Motor) เช่นยกแขน ต่อย ฯลฯ
3.สามารถสั่งการได้เอง ในระบบReflex เพื่อป้องกันตัว เช่นพอโดนของร้อนเราจะชักมือหนีทันที (ถ้ามัวรอให้ส่งความรู้สึกร้อนไปถึงสมองแล้วสมองส่งคำสั่งกลับมาให้ชักมือออกจะไม่ทัน)
ตัวSpinal Cordจริงๆมาสิ้นสุดที่L1 ต่อกับ L2 แต่ให้เส้นประสาทSpinal Nerve ออกมา31เส้น ซึ่งทอดออกมาจากSpine ข้อละ1เส้นจึงเรียกชื่อมันตามSpineที่มันลอดออกมา (ยกเว้นส่วนคอจะมี8เส้นเพราะC1จะมีออกมาทั้งข้างบนและข้างล่าง) ทุกเส้นจะทำหน้าที่ครบทั้ง3ข้อ (จากรูปSpinal cordคือแท่งสีเทา แท่งสีเหลือง)
[b]ความผิดปกติที่พบ

1.จากอุบัติเหตุ มีหลายระดับรุนแรงที่สุดอาจถึงกับทำให้ตัวSpineเคลื่อนออกจากกันทำลายSpinal Cord(รูปหน้า) จะเป็นอัมพาต(Paralysis)ได้ ตามบริเวณที่มันเลี้ยง(ตามรูป2) และส่วนที่ตำลงมาทั้งหมด
ถ้าเป็นที่ระดับคอ อาจทำให้ตายจากหายใจไม่ได้ เพราะมันควบคุมกล้ามเนื้อในการหายใจ และกะบังลม
การช่วยเหลือผู้ป่วยที่เกิดอุบัติเหตุจึงต้องระวังเรื่องนี้มากๆ เพราะSpineมันอาจเคลื่อนออกจากกันแล้ว แต่ยังไม่ทำลาย Spinal Cord (เชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นอัมพาตจากการขนย้าย) อย่าอุ้มผู้ป่วย ให้หาแผ่นกระดานสอดเขาใต้ตัวช้าๆ แล้วหาของวางประกบคอ 2 ข้างไม่ให้ขยับแล้วยกไป
การตกจากที่สูงในท่ายืนซ่นกระแทกพื้น อาจทำให้กระดูกซ่นเท้า(Calcaneum)แตก หรือ จากแ

phyche phyche123 กล่าวว่า...

ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
คงไม่มีใครหนีพ้นแน่เลย ฮืออยากมีลาภอันประเสริฐตลอดไป(อิๆออกแนวคิดมากไปปะนี่)

Pan PlantLovers กล่าวว่า...

หมอเม้งนี่เอง

( * _ * ) . กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะ

My--Refresh (^>^) . กล่าวว่า...

ขอบคุณค่ะ

Hornbill B กล่าวว่า...

เป็นโรคที่เกี่ยวกับสันหลังนี่น่ากลัวจริงๆ

namb namb กล่าวว่า...

ตอนนี้ล้ม...แล้วก็ยังเป็นอยุ่ค่ากลัวเหมือนกัน

Nopporn Thongchalerm กล่าวว่า...

เสียวเลย ขอบคุณครับ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

หาาา คุณครูนั้ม เป็นแล้วเหรอ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

หาข้อมูลเกี่ยวกับ เข็มขัดพยุงหลังอยู่ครับ มาแปะ

http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=60
--------------------------------------------------------------

ศัลยกรรมกระดูกและ ข้อ

ถาม : > คุณแม่อายุ 58 ปวดเข่าด้านซ้ายมาก > อยากทราบค่าใช้จ่ายการวินิฉัยโรคปวดข้อเข่า และค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด > วิธีในการผ่าตัด คุณหมอที่ดูแลในการผ่าตัด

ตอบ : โรคที่น่าจะเป็นคือ ข้อเข่าเสื่อม
การรักษาในโรค ข้อเข่าเสื่อม
ไม่ผ่าตัด
- ยาลดอาการปวด
- ยาลดอาการอักเสบ
- ควรทำกายภาพบำบัด การออกกำลังกาย
- การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน
- ไม้เท้า
- สนับข้อเท้า
(ราคาขึ้นกับชนิดของยากิน ยาฉีด - มีหลายราคา)

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ค่าใช้จ่ายประมาณ 180,000 - 190,000 บาท (นอนพัก รพ. 5 วัน) (ผ่าตัดในกรณีที่ข้อเข่าเสื่อมมาก รักษาด้วยการไม่ผ่าตัดแล้วไม่ทุเลา)

ยินดีบริการครับ
คำตอบโดย
นพ.ทวี เกียรติ รัศมีสุนทรางกูล
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

ถาม : > อยากเรียนถามคุณหมอ เกี่ยวกับกระดูกข้อมือ กล่าวคือเมื่อเดือน สิงหาคม 50> ผมเตะฟุตบอล แล้วหกล้มใช้มือยันพื้นข้อมือบวม> ไปหาหมอประจำอำเภอหมอบอกว่าเอ็นอักเสบ และเวลาผ่าไปประมาณ 4เดือน> แล้วยังรู้สึกจับขัดๆอยู่เล็กน้อยก็เลยนึกว่าไม่เป็นไรคงหายแล้ว> และผมไปเล่นกีฬาแบตบินตัน ก็ปรากฏว่าข้อมือเริ่มบวมขึ้นมาอีก> ก็เลยตัดสินใจไปพบหมอที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด หมอตรวจพบว่ากระดูก Scaphoid> หัก หมอแนะนำให้ผ่าตัด แต่ผมเลือกวิธีเข้าเผือก กินแคลเซี่ยม> เพื่อให้กระดูกงอกขึ้นมาใหม่ > คุณหมอข่วยแนะนำผมหน่อยครับว่าผมจะรักษาอย่างไรถึงจะหายครับ(ตอนนี้ผมอายุ 26> ปีคับ)

ตอบ : กระดูกที่หักบริเวณข้อมือที่รักษายากที่สุดคือ กระดูก scaphoid เนื่องจากการวินิจฉัยค่อนข้างยาก แม้ตรวจ x-ray หลังอุบัติเหตุมือยันพื้นอาจจะไม่พบรอยกระดูกหักได้ กระดูก scaphoid เป็นส่วนเชื่อมกระดูกข้อมือ ทั้งแถวล่างและแถวบน (กระดูกข้อมือมี 8 ชั้น เรียงเป็น 2 แถว) ซึ่งเคลื่อนไหวทุกครั้งที่กระดกข้อมือ งอข้อมือเอียงซ้ายขวา กระดูก scaphoid จะเคลื่อนค่อนข้างมาก ทำให้กระดูก scaphoid หัก คิดค่อนข้างยาก ถ้ารักษาตั้งแต่เริ่มแรกกระดูกหักยังไม่เคลื่อน ใส่เฝือกแขนข้อมือและนิ้วหัวแม่มือ ประมาณ 10-12 สัปดาห์ กระดูกติดได้ครับ

ถ้า ไม่ได้ใส่เฝือก ทิ้งไว้นาน 4 เดือน อาจทำให้กระดูกที่หักเคลื่อนได้ และกระดูกติดยาก ผมแนะนำว่าควรผ่าตัดรักษา ถ้ากระดูกหักเคลื่อนต้องจัดเข้าที่ยึดด้วย screw พิเศษ ซึ่งฝังหัวสกรูไว้ในกระดูก โดยไม่ต้องผ่าตัดเอาออก

การรักษาโดยการ ใส่เฝือก กระดูกอาจติดได้ แต่ต้องใช้เวลาหลายเดือน และผลไม่แน่นอน ถ้ากระดูกหักไม่ติดจะทำให้ข้อบริเวณกระดูกข้อมือทั้งหมดเคลื่อนและข้อเสื่อม อักเสบ ทำให้การเคลื่อนไหวข้อมือน้อยลงและใช้งานไม่ได้ดีครับ

ยินดี บริการครับ
คำตอบโดย
นพ.วีระยุทธ เชาว์ปรีชา
ศัลยแพทย์กระดูกและ ข้อ

ถาม : > คุณแม่อายุ70ปีมีอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทและปวดร้อนบริเวณเหนือหัว เข่าหลังการผ่าตัดขามีกําลังมากขึ้นแต่อาการปวดร้อนไม่หายโดยเฉพาะเวลาเดิน จะมีอาการปวดร้อนมากขึ้นไม่ทราบว่ามีวิธีการรักษาหรือไม่

ตอบ : อาการปวดแสนร้อบน่าจะเป็นจากเส้นประสาทกำลังฟื้นตัว อาจใช้ยาควบคุมอาการดังกล่าว หรือร่วมกับฝังเข็ม ถ้าทานยาไม่หาย ควรมาตรวจการทำงานของเส้นประสาทครับ

ยินดีบริการครับ
คำตอบโดย
นพ.ปิยะ พันธ์ ธาราณัติ
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
0-2561-1111 ต่อ 2137

ถาม : > ตื่นนอนตอนเช้ามือและเท้ารู้สึกบวมตึง> ไม่ทราบว่ามีสาเหตุจากอะไรได้บ้างและมีภาวะเสี่ยงต่อโรคใดบ้าง
> รักษาและป้องกันอย่างไร ( การเดินหรือยืนมากๆมีผลหรือไม่)> ตอนนี้เป็นกังวลมากๆรบกวนตอบด่วนนะคะ

ตอบ :
- ถ้ามีอาการตึงที่ข้อเท้า แล้วตอนสายๆ ดีขึ้น น่าจะเป็นเรื่องข้อเสื่อมระยะแรกด้วย
- แต่ถ้าบวมทั้งวัน หรือบวมที่อื่นด้วย เช่น หลังมือ หลังเท้า อาจจะต้องตรวจดูเรื่องไตและหัวใจครับ (ภาวะน้ำในร่างกายเกิน)

ยินดี บริการครับ
คำตอบโดย
นพ.ปิยะพันธ์ ธาราณัติ
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
0-2561-1111 ต่อ 2137

ถาม : > หลานชายได้ถูกรถชนเบ้าสะโพกแตกข้อสะโพกหลุดไม่สามารถดันเข้าได้ > มีวิธีการรักษาแบบใดบ้าง

ตอบ : ต้องผ่าตัดนำหัวสะโพกกลับเข้าที่เดิมและอาจจะต้องมีการดามเหล็กหรือสกรู ถ้ามีกระดูกแตกร่วมด้วย เป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องรีบทำ เพราะอาจเกิดหัวสะโพกขาดเลือดและหัวสะโพกทรุดได้ในอนาคตครับ

ยินดี บริการครับ
คำตอบโดย
นพ.ปิยะพันธ์ ธาราณัติ
ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ
0-2561-1111 ต่อ 2137

ถาม : ดิฉันอายุ 23 ปีเคยได้รับอุบัติเหตุทางรถยนต์ทำให้กระดูกสันหลังบริเวณ L1หักยุบ(แพทย์บอกด้านหน้า)และได้ใส่เสื้อพยุงหลังแบบเหล็กแข็งไว้ 3 เดือน ตอนนี้ได้เลิกใส่มาแล้ว 2 เดือนแต่มีอาการที่อยากสอบถามดังนี้
1.ดิฉัน ยังมีอา

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

http://www.vachiraphuket.go.th/www/public-health/index.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=136


โรคที่เกิดจากผ้ารัดเข่าและรัดหลัง (knee support and back support)

ในเมืองไทยมีสินค้าทางด้านสุขภาพ วางขายให้เลือกซื้อกันอย่างเสรีมากมายครับ ในบางครั้งก็อาจจะเป็นการดี ในเเง่ของความสะดวกรวดเร็วในการดูเเลรักษา ตัวเองเป็นเบื้องต้นครับ เเต่ในทางตรงกันข้าม บางครั้งความถูกต้องในความเข้าใจของวิธีการใช้สินค้าสุขภาพเหล่านั้น ก็ผิดเพี้ยนไป จนส่งผลย้อนกลับ ทางให้สุขภาพของคนที่ใช้สินค้านั้นๆ เเย่ลง อย่างไม่รู้ตัว
ผ้ารัดหัวเข่า หรือเสื้อรัดประคองหลัง เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งครับ ที่เราอาจจะเคยเห็น คนรอบตัวเราใช้กันอยู่สม่ำเสมอ เเต่เพราะการใช้กันอย่างพร่ำเพรื่อไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี จึงทำให้มีคนจำนวนมากมาย เกิดเป็นโรคเเทรกซ้อนบางอย่าง เช่น หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังเสื่อม เข่าเสื่อม ง่ายกว่าคนปกติที่ไม่ได้ ใส่ผ้ารัดเหล่านี้ครับ

นักกีฬามืออาชีพทั้งหลาย เวลาจะลงเล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะกันนั้น เขาจะต้องสวมเครื่องป้องกันร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อเกราะสำหรับนักกีฬาอมริกันฟุตบอลใส่กัน เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่กระดูกหน้าอก หรือนักฟุตบอลที่ต้องใส่ ผ้ารัดหัวเข่าที่พันไว้รอบรอบหัวเข่า ป้องกันเข่าบิดงอ ลดโอกาสที่จะเกิดการบาดเข็บของกระดูก เเละการฉีกขาดของเอ็นทั้งหลายที่อยู่รอบเข่า
เเต่คนทั่วไปที่ไม่ค่อยชอบเล่นกีฬานั้น กล้ามเนื้อหลังจะมีความอ่อนเเอ เป็นทุนเดิมอยู่เเล้ว เวลาที่มีปัญหา ปวดหลัง เเละแก้ปัญหา อย่างง่ายๆ เเต่ผิดวิธีครับ โดยการไปหา เสื้อเการะรัดหลัง มาสวมใส่ ด้วยหวังว่า ผ้ารัดหลังนั้น จะไปช่วยทำให้ กล้ามเนื้อหลัง ทำงานน้อยลง เเละหายปวดหลังได้ หรือคนที่เป็นข้อเข่าเสื่อม ในระยะเเรก นั้น จะมีภาวะที่กล้ามเนื้อต้นขาอ่อนเเอลง เวลาเดินมาทั้งวัน ก็จะมีอาการเมื่อยล้าปวดเข่าเวลากลางคืน หลายคนที่ไม่ทราบความจริง จึงไปซื้อผ้ารัดหัวเข่ามาสวมใส่กันเอง เพราะคิดว่า จะช่วยทำให้ กล้ามเนื้อหัวเข่าทำงานน้อยลง เเล้ว อาการปวดเข่าจะลดลง ตามไปด้วย
เมื่อใส่ใหม่ๆ อาการปวดหลัง หรือปวดเข่าอาจจะลดลงครับ ในบางคนจึงเกิดอาการติดใจ ใส่บ่อยขึ้น เเละนานขึ้น ตรงนี้เเหละครับที่จะเกิดปัญหาใหญ่หลวงตามมา เเละเเก้ไขยากมาก นั้นก็คือ จะทำให้กล้ามเนื้อในส่วนที่สวมใส่เกิดภาวะอ่อนเเออย่างมาก จนคาดไม่ถึง
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นครับ เหตุผลก็คือ เมื่อท่านใส่ผ้ารัดเข่า หรือผ้ารัดหลังนานๆ นั้น จะทำให้มีการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อส่วนนั้น น้อยลงไปอย่างมาก <font face="Tahoma" color="#333333" siz

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

http://www.oshthai.org/index.php?option=com_linkcontent&Itemid=68&sectionid=22&pid=58.88&task=detail&detail_id=174&lang=th

เข็มขัดพยุงหลัง (BackSupport)


พนักงานที่ยกเคลื่อนย้ายของหนักจำเป็นต้องใส่เข็มขัดพยุงหลังหรือไม่

๑. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกเคลื่อนย้ายของหนัก

ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการยกเคลื่อนย้ายของหนัก คือ กฎกระทรวง กำหนดอัตราน้ำหนักที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานได้ พ.ศ. ๒๕๔๗ ที่อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ได้กำหนดให้ลูกจ้างทำงานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนัก ไม่เกินอัตราน้ำหนักต่อลูกจ้างหนึ่งคน ดังต่อไปนี้

(๑) เด็กหญิง(ตั้งแต่ ๑๕ ปี แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปี) ไม่เกิน ๒๐ กิโลกรัม
(๒) เด็กชาย(ตั้งแต่ ๑๕ ปี แต่ยังไม่ถึง ๑๘ ปี) ไม่เกิน ๒๕ กิโลกรัม
(๓) ลูกจ้างหญิง ไม่เกิน ๒๕ กิโลกรัม
(๔) ลูกจ้างชาย ไม่เกิน ๕๕ กิโลกรัม

๒. สาเหตุของการปวดหลังจากการทำงาน

อาการปวดหลังจากการทำงานเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในกลุ่มพนักงานที่ทำงานในสถาน ประกอบกิจการ ซึ่งมักมีอาการปวดที่บริเวณเอวและหลัง เมื่อพักผ่อนก็จะมีอาการดีขึ้น แต่เมื่อเริ่มเคลื่อนไหวทำงาน ก็จะเริ่มมีอาการปวดหลังขึ้นอีก อาการปวดหลังเรื้อรังนี้จะส่งผลไปถึงการหยุดงาน การสูญเสียรายได้ การเสียค่ารักษาพยาบาล

สาเหตุอาการปวดหลังของคนกลุ่มนี้ มักเกิดจากต้องคร่ำเคร่งกับการทำงาน ก้มตัวยกของหนัก ทำงานอยู่ในท่าเดียวกันนานๆ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อ มีรายงานประเทศอุตสาหกรรม มีอุบัติการณ์ของอาการปวดหลังสูง เช่น สหรัฐอเมริกามีผู้ป่วยปวดหลัง ร้อยละ ๕ ของประชากรวัยทำงานทั้งหมด สำหรับประเทศไทยในแต่ละปีพนักงานในสถานประกอบกิจการประสบปัญหาบาดเจ็บจากการ ทำงานที่มีสาเหตุจากท่าทางการทำงาน และการยกเคลื่อนย้ายของหนักด้วยการใช้แรงคน จนต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล ทำกายภาพบำบัดมีจำนวนสูงขึ้นทุกปี เช่น ปีพ.ศ. ๒๕๔๙ มีจำนวน ๑,๒๕๑ ราย ปีพ.ศ. ๒๕๕๐ มีจำนวน ๒,๓๙๕ ราย ปีพ.ศ. ๒๕๕๑ มีจำนวน ๕,๙๒๕ ราย ตามลำดับ (สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม)

๓. ข้อเสนอแนะการใช้เข็มขัดพยุงหลัง

เข็มขัดพยุงหลัง (back support) นับวันพนักงานในสถานประกอบกิจการยิ่งมีความนิยมนำมาสวมใส่เสมือนเป็นอุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเช่นเดียวกับหมวกหรือรองเท้านิรภัยที่ใช้ในขณะ ทำงานมากขึ้นทุกที

เข็มขัดพยุงหลังมีประโยชน์ในพนักงานที่ได้รับบาดเจ็บและกำลังฟื้นฟูสมรรถภาพ เพื่อกลับเข้าทำงานเดิม การใส่จะมีประโยชน์มากในช่วงแรก เพื่อลดอาการเจ็บ แต่ควรจะใช้ในช่วงเวลาสั้นๆ

การที่คิดว่าการใส่เข็มขัดพยุงหลังแล้วจะป้องกันอาการปวดหลังได้นั้นเป็น ความคิดที่ผิด เพราะการป้องกันอาการปวดหลังจากการทำงาน ต้องอาศัยการจัดสภาพการทำงานให้เหมาะสม น้ำหนักวัตถุที่จะยกไม่หนักเกินกำลัง เมื่อใดที่ยกของหนักเกินกำลังของตนเอง และต้องบิดตัวขณะยก ไม่ว่าจะใส่หรือไม่ใส่เข็มขัดพยุงหลังก็จะมีโอกาสปวดหลังได้เช่นเดียวกัน
ดังนั้น พนักงานที่ไม่มีอาการบาดเจ็บหรือปวดหลังไม่จำเป็นต้องใส่เข็มขัดพยุงหลัง นอกจากสิ้นเปลืองแล้ว ยังมีผลต่อสุขภาพร่างกายดังนี้

(๑) กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวทำงานลดลง
เข็มขัดพยุงหลังในทางการแพทย์จะใช้พยุงหลังบรรเทาอาการปวด ในกรณีที่กระดูกสันหลังเคลื่อนหรือหลังผ่าตัดหลัง เพื่อช่วยทำงานแทนกล้ามเนื้อหลังที่อ่อนแอไปหลังจากการผ่าตัด และทำให้การซ่อมแซมส่วนที่บาดเจ็บเร็วขึ้น เพราะกล้ามเนื้อทำงานน้อยลง แต่การใส่ระยะยาวจะทำให้กล้ามเนื้อบริเวณลำตัวทำงานลดลง
มีการศึกษาในหลายประเทศ พบว่า อัตราการบาดเจ็บหรือปวดหลังระหว่างพนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังกับพนักงาน ที่ไม่ใส่ มีอัตราที่ไม่แตกต่างกัน แต่พนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังมีการบาดเจ็บที่รุนแรงมากกว่า เนื่องจากพนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังจะรู้สึกมั่นใจมากเมื่อยกของหนัก คิดว่าตนเองมีความปลอดภัยแล้ว ความมั่นใจนี้จะมีผลเสียทำให้ยกของหนักโดยไม่ระมัดระวังเท่ากับในขณะที่ไม่ ได้ใส่เข็มขัดพยุงหลัง

(๒) เกิดไส้เลื่อน ริดสีดวงทวาร เส้นเลือดขอด และความดันเลือดเพิ่มขึ้น
ได้มีการศึกษาโดยการตรวจวัดความดันเลือดของพนักงานที่ใส่เข็มขัดพยุงหลังใน ขณะยกของหนัก นั่ง และทำงานเบา พบว่า การใส่เข็มขัดพยุงหลังทำให้ความดันเลือดเพิ่มขึ้น ซึ่งอธิบายได้ว่า การใส่เข็มขัดพยุงหลังจะมีความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ปริมาณเลือดที่ไหลกลับเข้าหัวใจเร็วขึ้น ทำให้ความดันเลือด

Unknown กล่าวว่า...

เรียนถามคุณหมอครับ

คุณยายผมอายุ 91 ปีครับ อยู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีครับ ปวดหลังจากการนั่งนาน ทำให้กระดูกทรุดครับ ไปหาหมอ( เอกชน) x-rey กระดูกข้อที่2 ทรุดครับหมอให้ฉีดยา 7 วัน แต่หมอบอกว่ามียาช่วยชะลอการทรุดของกระดูก ให้ยาปีละ1ครั้ง ประมาน 20000 บาท คำถาม 1. ตอนนี้นั่งไม่ได้ครับปวดมาก ทำให้ทานข้าวไม่ได้ มียาอะไรที่ช่วยให้ทานข้าวได้มั้ยครับ. 2. ผมอ่านเจอเรื่องการฉีดซีเมนต์ ยายผมควรทำมั้ยครับ ค่าใช้จ่ายประมานเท่าไหร่ ควรทำที่สุราษหรือกรุงเทพดีครับ 3. ยาที่ช่วยชะลอการทรุด ปีละ20000 บาทควรให้มั้ยครับ
ปล. ยายผมมีโรคประจำตัวคืออัลไซเมอร์+ พาร์กินสันแต่กินยาเป็นประจำครับ

ขอบคุณครับ

Unknown กล่าวว่า...

ตอนนี้อายุ55 เมื่อก่อนปวดหลังมากปวดจนลุกไม่ขึ้นและชาแถบซีกด้านซ้ายหัวจรดเท้า ไปรพ.ปัจจุบันไม่ปวดแต่หลังทรุดและโก่ง อยากรักษามากชอบมีคนล้อเลียนและสัพยอกให้อายผู้คน ที่สำคัญคือรู้สึกหนักเหมือนแบกอะไรหรือมีอะไรกดทับจะหนักสันหลังส่วนบนคือใต้ระดับไหล่ วันไหนอ่อนเพลียมากหลังจะยิ่งโก่งค้อมมากแบบยกหลังไม่ขึ้น กรุณาแนะนำด้วยนะค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

ตอนนี้อายุ55 เมื่อก่อนปวดหลังมากปวดจนลุกไม่ขึ้นและชาแถบซีกด้านซ้ายหัวจรดเท้า ไปรพ.ปัจจุบันไม่ปวดแต่หลังทรุดและโก่ง อยากรักษามากชอบมีคนล้อเลียนและสัพยอกให้อายผู้คน ที่สำคัญคือรู้สึกหนักเหมือนแบกอะไรหรือมีอะไรกดทับจะหนักสันหลังส่วนบนคือใต้ระดับไหล่ วันไหนอ่อนเพลียมากหลังจะยิ่งโก่งค้อมมากแบบยกหลังไม่ขึ้น กรุณาแนะนำด้วยนะค่ะ

Unknown กล่าวว่า...

สวัสดีครับ ออกตัวก่อนเลยครับว่าไม่ใช่หมอ พอดีแม่ผมเคยเจอเคสนี้ เลยรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจไว้อ่านนะครับ

เมื่อไม่ใช่หมอ ดังนั้นผมแนะนำได้แค่ ไปหาหมอครับ คุณแม่ผมรักษาที่ รพ.ธนบุรี แผนกโรคกระดูก

น่าจะได้แนวทางการรักษาที่ดีครับ

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณสำหรับข้อมูลคะ พอดี คุณแม่ อายุ 92 ปี เพ่ิงล้มก้นกบกระแทกพื้นไปหาหมอ x ray หมอคนแรก บอก กระดูกยุบ
หมอคนที่ 2 บอกกระดูกหัก L1-2 เสื้อเกราะ คะ