วันอาทิตย์, กรกฎาคม 13, 2551

อักษรย่อและจุด

ที่มาของการค้นหาเรื่องนี้ สืบเนื่องมาจากความสงสัยว่า หลัก ในการตั้งอักษรย่อมีอย่างไร ต้องใช้จุดกี่จุดกันแน่ ก็ได้ความจากเวปนี้ครับ http://learners.in.th/blog/anne-funny/65299   ขอขอบคุณ คุณแอนนี่ที่มาโพสในบล้อคให้หาได้ในกูเกิ้ล    และขอบคุณอ.มัลลิกาที่เขียนบทความให้ความรู้ครับ




ว่าด้วยเรื่องอักษรย่อ

โดย  รองศาสตราจารย์มัลลิกา  คณานุรักษ์           

             ภาษาไทยมีการเขียนอักษรย่อและมีการอ่านอักษรย่อ   การเขียนย่อมีทั้งย่อโดยไม่มีจุด  (มหัพภาค)  ย่อโดยมีจุดเดียว  และย่อโดยมีหลายจุด  การอ่านมีทั้งอ่านย่อได้และอ่านย่อไม่ได้                   

         การออกเสียงอักษรย่อ  ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหรือการพูดในการสื่อสารที่เป็นงานพิธีการ  หรือเป็นทางการ (Formal-Language)  จะต้องออกเสียงเต็ม  ไม่มีการออกเสียงย่อเหมือนกับการเขียน  ซึ่งการเขียนอักษรย่อเดิมน่าจะเกิดจากหน่วยงานราชการนำมาเขียนคำศัพท์เฉพาะที่มีความหมายเฉพาะ  ภายหลังมีการนำมาใช้กันแพร่หลาย 

 ตัวอย่างการออกเสียงอักษรย่อที่เขียนย่อโดยไม่มีจุด                                                 

มท    ต้องออกเสียงว่า    กระทรวงมหาดไทย                                                  

กค    ต้องออกเสียงว่า    กระทรวงการคลัง                                                 

สส     ต้องออกเสียงว่า    กระทรวงสาธารณสุข                                               

อก      ต้องออกเสียงว่า    กระทรวงอุตสาหกรรม                 

                                                                ฯลฯ                       

 ตัวอย่างการออกเสียงอักษรย่อที่เขียนย่อโดยมีจุดเดียว                                        

 ดร.    ต้องออกเสียงว่า    ดอกเตอร์     

 ผศ.    ต้องออกเสียงว่า    ผู้ช่วยศาสตราจารย์                                                 

รศ.    ต้องออกเสียงว่า    รองศาสตราจารย์                                                  

 .    ต้องออกเสียงว่า    ศาสตราจารย์                 

                                                                 ฯลฯ                       

ตัวอย่างการออกเสียงอักษรย่อที่เขียนโดยมีหลายจุด                                            

..    ต้องออกเสียงว่า    หม่อมเจ้า                                                  

...   ต้องออกเสียงว่า    มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก                                                  

...   ต้องออกเสียงว่า    หม่อมราชวงศ์                                             

ฯลฯ                                     

การออกเสียงอักษรย่อที่เป็นเวลา  ต้องออกเสียงเป็นนาฬิกาและนาที   

ดังนี้                                                   

 .๐๐ น.   ต้องออกเสียงว่า    แปดนาฬิกา  มิใช่  แปดจุดสูนนอ   

๑๓.๔๕ . ต้องออกเสียงว่า    สิบสามนาฬิกาสี่สิบห้านาที  มิใช่  สิบสามจุดสี่ห้านอ

              ปัจจุบันเกิดปัญหาจากการใช้อักษรย่อซ้ำซ้อน  เกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับการเขียนอักษรย่อ  ต่างคนต่างบัญญัติคำย่อขึ้นเองตามใจชอบ  เช่น 

รร.  อาจย่อมาจาก  โรงเรียน  หรือ  โรงแรม  หรือ  โรงเรือน 

. อาจย่อมาจาก  ประถม  หรือประกาศนียบัตร  หรือ  เปรียญ   

                         สาเหตุที่ต่างคนต่างบัญญัติคำย่อตามใจชอบเพราะคิดว่าไม่มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดอักษรตัวย่อ   ความจริงแล้วหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำหนดการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องในทุกๆเรื่อง   คือ  ราชบัณฑิตยสถาน     ราชบัณทิตยสถานได้กำหนดหลักเกณท์การเขียนอักษรคำย่อในหนังสือหลักเกณท์การใช้เครื่องหมายวรรคตอน   ดังนี้

    .ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกของคำเป็นตัวย่อ                         

  ..ถ้าเป็นคำคำเดียวให้ใช้ตัวย่อตัวเดียว  แม้ว่าคำนั้นจะมีหลายพยางค์ก็ตาม  ตัวอย่าง 

 วา                            =    .                          

จังหวัด                    =    .                                               

.๐๐ นาฬิกา       =    .๐๐ น.                                                  

ศาสตราจารย์           =    .                 

 ..ถ้าใช้ตัวย่อเพียงตัวเดียวแล้วทำให้เกิดความสับสน  อาจใช้พยัญชนะต้นของคำถัดไปเป็นตัวย่อด้วยก็ได้   ตัวอย่าง      

ตำรวจ                          =    ตร.                                               

 อัยการ                         =    อก.                   

.ถ้าเป็นคำสมาสให้ถือเป็นคำคำเดียว  และใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกเพียงตัวเดียว   ตัวอย่าง     

มหาวิทยาลัย          =    .                                             

   วิทยาลัย                     =    .             

 .ถ้าเป็นคำประสม  ใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำเรียงต่อกัน   ตัวอย่าง   

  ชั่วโมง                         =    ชม.                     

โรงเรียน                      =    รร.             

.ถ้าคำประสมประกอบด้วยคำหลายคำ  มีความยาวมาก  อาจเลือกเฉพาะพยัญชนะต้นของคำเป็นใจความสำคัญ  ทั้งนี้ไม่ควรเกิน ๔ ตัว   ตัวอย่าง    

 คณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  =    กปร.  

สำนักคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ                             =    สปช.              

 .ถ้าใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำแล้วทำให้เกิดความสับสน  ให้ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปแทน   ตัวอย่าง         

พระราชกำหนด                        =    ...                                            

  พระราชกฤษฎีกา                     =    ...              

  .ถ้าพยางค์ที่จะนำพยัญชนะต้นมาใช้เป็นตัวย่อมี ห เป็นอักษรนำ  เช่น  หญ  หล  ให้ใช้พยัญชนะต้นนั้นเป็นตัวย่อ   ตัวอย่าง       

ประกาศนียบัตร                       =    .                                                                        ถนน                                        =    .                                                                        เปรียญ                                     =    .               

 .ตัวย่อไม่ควรใช้สระ  ยกเว้นคำที่เคยใช้มาก่อนแล้ว   ตัวอย่าง 

  เมษายน                                   =    เม..                                                มิถุนายน                                 =    มิ..               

.ตัวย่อต้องมีจุดกำกับเสมอ  ตัวย่อตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปให้จุดที่ตัวสุดท้ายเพียงจุดเดียว  ยกเว้นตัวที่ใช้กันมาก่อนแล้ว   ตัวอย่าง                             

  ตำบล                              =    .                                              

ทบวงมหาวิทยาลัย                    =    ทม.                

.ให้เว้นวรรคหน้าตัวย่อทุกแบบ   ตัวอย่าง                  

  ประวัติของ  .  พระนครศรีอยุธยา                                        

  มีข่าวจาก  กทม.  ว่า                         

๑๐..ให้เว้นวรรคระหว่างกลุ่มอักษรย่อ    ตัวอย่าง   

   .  นพ.                

 ๑๑.การอ่านคำย่อต้องอ่านเต็ม                                                              

    ๐๕.๐๐ น.  อ่านว่า  ห้านาฬิกา                                                            

     . พระนครศรีอยุธยา   อ่านว่า  อำเภอพระนครศรีอยุธยา               

             ยกเว้นในกรณีที่คำเต็มนั้นยาวมากและคำย่อนั้นเป็นที่เข้าใจและยอมรับกันทั่วไปแล้ว  อาจอ่านตัวย่อเรียงตัวไปก็ได้    ตัวอย่าง  

           ..     อ่านว่า  กอ-พอ                

          ที่มาของอักษรย่อในภาษาไทย   (พรพิมล-วิโรจน์  ถิรคุณโกวิท.๒๕๓๙)            

        .มาจากชื่อเฉพาะหรือข้อความค่อนข้างยาว  จนไม่สะดวกที่จะเขียนซ้ำ  หรือยากต่อการจดจำ  จึงใช้อักษรย่อแทน  เช่น ป...  (คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ)  กกศ.(คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ)  ... (สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)               

       .มาจากชื่อของบุคคล หรือสัญลักษณ์เพื่อกำหนดแทนสิ่งหนึ่งสิ่งใด   เช่น  ...(รัชนี แจ่ จรั)  พระนามของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ที่ทรงใช้เป็นนามปากกาในงานที่ทรงนิพนธ์  อย.  (องค์การอาหารและยา)  ใช้เป็นเครื่องหมายติดที่บรรจุภัณฑ์อาหารและยาเป็นการรับรองจากทางราชการ             

      .มาจากชื่อที่ทางราชการกำหนดขึ้นใช้เฉพาะกรณี  เช่นชื่อจังหวัด สำหรับใช้พิมพ์ในหัวจดหมายราชการ จะกำหนดสองตัวอักษรเขียนติดกันโดยไม่มีจุด (มหัพภาค)  เช่น  สก  (จังหวัดสระแก้ว)        


1 ความคิดเห็น:

phyche phyche123 กล่าวว่า...

ขอบคุณค่า
แต่ยังอ่านม่ายจบ หลักการเขียนแยะไว้ขยันๆมาอ่านใหม่