วันเสาร์, ธันวาคม 09, 2549

โรคทางจิตเวชยอดฮิตคนเมือง






ซึมเศร้า - สาเหตุใหญ่ที่ทำให้คนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าคือปัญหาเศรษฐกิจ เช่น ตกงาน
ปิดกิจการ ล้มละลาย รวมทั้งการถูกทอดทิ้งให้อยู่ลำพัง เช่น
คนชราถูกทอดทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว ต้องไปพบแพทย์เมื่อ
: ผู้ป่วยมีอารมณ์เศร้า ร้องไห้ง่าย
จิตใจหดหู่ รู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
อ่อนเพลียไม่มีแรง อยากทำร้ายตัวเอง และรู้สึกอยากตาย


วิตกกังวล - เกิดได้ทั้งปัจจัยภายใน เช่น ขาดความมั่นคงในจิตใจ จิตใจอ่อนแอ อ่อนไหวง่าย
ต้องพึ่งพาผู้อื่นอยู่เสมอ และปัจจัยภายนอกที่พบได้คือ ใกล้สอบแต่ดูหนังสือไม่ทัน
คับข้องใจเรื่องธุรกิจที่ไม่ราบรื่น ตกงาน หรือต้องเผชิญหน้ากับประสบการณ์แปลกใหม่
เช่น ย้ายโรงเรียนใหม่ เริ่มทำงานครั้งแรก แต่งงานใหม่ คลอดลูกคนแรก เป็นต้น

ต้องไปพบแพทย์เมื่อ : ผู้ป่วยมีอาการวิตกกังวลอย่างมากต่อเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันเกือบทุกวัน
เป็นเวลาไม่น้อยกว่า
6 เดือน
ไม่สามารถควบคุมความวิตกกังวลของตัวเองได้ มีอาการต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า
3 ใน 6
อย่างได้แก่ กระสับกระส่าย อ่อนเพลียง่าย สมาธิไม่ดี
หงุดหงิดง่าย ปวดกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ ของร่างกาย และนอนไม่หลับ
ก่อผลเสียต่อการทำงานและเข้าสังคม


โรคจิตเภท - เป็นความผิดปกติทางจิตใจ ผู้ป่วยจะไม่คิดว่าตัวเองป่วย ไม่ยอมรับการรักษา
ก่อให้เกิดความผิดปกติทางบุคลิกภาพ
มีความคิดอ่านและประสาทรับรู้ไม่อยู่ในความเป็นจริง

ต้องไปพบแพทย์เมื่อ : มีอาการหลงผิดต่างๆ
เกิดประสาทหลอนทางหูหรือตา และยังมีพฤติกรรมหรือบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก
เช่น นิ่งเฉย พูดมาก พูดไม่หยุด วุ่นวาย หงุดหงิดง่าย โกรธง่าย ผุดลุกผุดนั่ง
เดินไปเดินมา การพูดจาบางครั้งได้เรื่องได้ราว บางครั้งก็ไม่มีใครเข้าใจความหมาย
ซักถามก็ตอบได้บ้างไม่ได้บ้าง บางครั้งมีอาการตกใจกลัวว่ามีเสียงคนขู่จะฆ่า


โรคย้ำคิดย้ำทำ - มักพบในคนที่มีภาวะเศรษฐกิจและสังคมระดับกลางและสูง มีเชาว์ปัญญาดี
มีการศึกษาดี เป็นคนที่ชอบคิดชอบทำงาน และรับผิดชอบงานที่ทำ เกิดจากสาเหตุทางจิตใจ
และความผิดปกติของสารเคมีในสมองชื่อซีโรโทนินต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดการย้ำคิดย้ำทำ
และมีอารมณ์เศร้าร่วมด้วย

ต้องไปพบแพทย์เมื่อ : มีความวิตกกังวลในความผิด ความไม่ดีของตนเองในอดีต ทนถูกตำหนิไม่ได้
นอกจากนี้ในบางรายยังเป็นลักษณะย้ำคิดย้ำทำเกี่ยวกับเรื่องของความสะอาด จะล้างมือ
อาบน้ำวันละหลายๆครั้ง ครั้งละนานๆ





วิธีดูแลตัวเองก่อนป่วย




กิจกรรมทางเลือก -
เมื่อเกิดความเครียด
ร่างกายจะมีปฏิกิริยาที่เรียกว่า "สู้หรือหนี" ซึ่งเป็นสัญชาตญาณเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์มาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์
แต่ปฏิกิริยาโต้ตอบภัยคุกคามอย่างทันควันนี้ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันที่ไม่ยอมรับวิธีแก้ปัญหาด้วยการใช้กำลังเข้า
" สู้" หรือ "หนี" คนยุคนี้จึงต้องทนฝืนรับความเครียด
แต่ความเป็นจริงแล้วเราควรปลดปล่อยมันออกไป โดยเร็วที่สุดเมื่อรู้ว่าเครียด
เปลี่ยนมาทำกิจกรรมอื่นๆ เช่น เดินเล่น รำกระบอง ทำสวน อ่านหนังสือ ฟังเพลงเบาๆ
เต้นรำ ความเพลิดเพลินที่ได้รับจะช่วยให้ผ่อนคลาย


ก้าวออกไปพูดคุยกับใครสักคน - การเกื้อกูลทางสังคมช่วยป้องกันระบบภูมิคุ้มกันได้
จากการศึกษาของนักเรียนแพทย์ในช่วงสอบไล่
พบว่าเซลล์ชนิดหนึ่งในระบบภูมิคุ้มกันของนักเรียนเหล่านี้ไม่ทำงาน
แต่ผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครอบครัวจะผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ด้วยดี
ดังนั้นลองติดต่อกับเพื่อนเก่าหรือญาติสนิทที่ไม่ได้เจอกันมาเป็นปีๆ
รื้อฟื้นความสัมพันธ์เก่าในอดีต หรือแปรงานอดิเรก เช่น อ่านหนังสือ สะสมสแตมป์
ให้เป็นโอกาสที่จะได้คบเพื่อนที่มีความสนใจร่วมกัน


ลดความคาดหวัง -
ทำใจให้ได้ว่าไม่มีใครสมบูรณ์แบบ
ความเครียดมักจะถามหาคนที่ต้องการความสมบูรณ์แบบในทุกๆสิ่ง
แม้ว่าจะทำสิ่งต่างๆได้ดีเกือบ 99
เปอร์เซ็นต์ แต่สิ่งที่เขาจดจ่อและกระวนกระวายใจ
จนหาความสุขไม่ได้มักจะเป็นอีก 1
เปอร์เซ็นต์ที่ทำไม่ได้มากกว่า
พยายามมองโลกในมุมกลับเสียบ้าง เรียนรู้จากข้อผิดพลาด
บางทีเมื่อรู้สึกสบายๆที่จะทำอะไรต่อมิอะไร ความกดดันต่างๆก็จะหายไป
และพร้อมเสมอสำหรับความท้าทายใหม่ในชีวิต


ทำงานด้วยหัวใจ -
กุญแจสู่ความสุขของคนเราคือ
มีความรักในงานที่ทำอยู่ทุกวัน
หลายคนไม่เคยหยุดถามตัวเองว่าเหตุใดจึงทำสิ่งที่กำลังทำอยู่
และชอบงานที่กำลังทำหรือเปล่า จึงควรหาคำตอบให้ตัวเองและเลือกทำงานที่ตนชอบและถนัด
หากยังไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ ก็ควรมองหาข้อดีของงานที่ทำให้เรามีความสุข


กินดีมีประโยชน์ -
ในยามที่เครียด ร่างกายจะใช้สารอาหารสำคัญๆ
บางอย่างหมดไปอย่างรวดเร็ว ควรจัดอาหารเรียกพลังงานในมื้ออาหารประจำเช่น ข้าวกล้อง
จมูกข้าวสาลี ผักใบเขียว ถั่วเมล็ดแห้ง เผือก มันเทศ เพราะมีวิตามินบีชนิดต่างๆ
ที่ช่วยบำรุงระบบประสาท และจัดเป็นอาหารจำพวกแป้งไม่ขัดขาวที่ให้พลังงาน
ช่วยให้ใจสงบ


เลี่ยงมลพิษในเมือง -
ควรอยู่ในอาคารให้มากที่สุดที่จะมากได้ในช่วงที่มีหมอกควันสูงสุดคือช่วงประมาณ
14.00 นาฬิกา หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายภายนอกอาคาร บริเวณใกล้ถนน
หากหลีกเลี่ยงควันพิษได้ยาก การกินอาหารที่มีวิตามินซี และวิตามินอี
จะช่วยป้องกันได้บ้าง




11 ความคิดเห็น:

LaTTe ★ กล่าวว่า...

คุณหมอคะนู๋เป็นโรคซึมเศร้าแต่ทำไมน้ำหนักขึ้นคะ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

จริงๆแล้วหนูเป็นโรคอ้วนนะจ๊ะ เอิ้กๆ

LaTTe ★ กล่าวว่า...

เอิ๊กส์ โดนจนได้ TTT...TTT

galazpop . กล่าวว่า...

555 แวะ มา ขำ *-*

phyche phyche123 กล่าวว่า...

..เป็นโรค รวมมิตรจิต ทำไงดี

..มีแต่วิธีดูแลก่อนป่วย ตอนป่วยล่ะ..

XXXX YYYY กล่าวว่า...

รวมมิตรจิตนี่อร่อยไหมอ่ะ อิอิ

โรควิตกกังวลนี่ มาพร้อมกับเสียงเล็กๆ ...

Kong W กล่าวว่า...

คุณหมอวินิจฉัยชัดเจนไปป่าวคับ...เดี๋ยวคนไข้ตกใจนะ
ผมเป็นหลายโรครวมกันอะคับ แก้ไขงัยดี...

Moowan a little girl กล่าวว่า...

เอ่อ เพิ่งรู้นะเนี่ยว่าเป็นคุณหมอด้วยอ่ะค่ะ อิอิ
ตอนนี้หวานต๊องๆ อยู่ค่ะทำไงดีอ่ะคะ คุณหมอ :P

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ต๊องๆ ต้องเรียนโทจ้า ไม่เกินปีก็หาย อิอิ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ไม่ต้องทำไร เดวมันจะเชค แอน บาล้านส์กันเอง อิอิ

KULKANIT JAIDEE กล่าวว่า...

แหม..ทำหลายอย่างจังนะคะคุณเม้ง