วันศุกร์, มกราคม 08, 2553

ศิลปินแห่งชาติ ปี 2552 สาขาทัศนศิลป์ด้านภาพถ่าย

บล้อคนี้ มอบให้เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์ตระกูลครับ 

คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ประกาศรายชื่อศิลปินแห่งชาติประจำปี 2552 ในสาขาทัศนศิลป์ ด้านการถ่ายภาพ ได้แก่ วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ครับ

National Artist (Visual Art/ Art Photography) 2009




เวปพี่เขาละ  http://www.hobby555.com/

































































































รูปประกอบจาก

บทสัมภาษณ์ เมื่อนานมาแล้ว

เมื่อเร็ว ๆนี้ สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ นายกสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ถือโอกาสเป็นโต้โผเลี้ยงแสดง
ความยินดีแก่ วรนันท์ ชัชวาลทิพากร ช่างภาพชาวไทย ที่เพิ่งได้รับรางวัล นักถ่ายภาพอันดับ 1 ของโลก ประเภทภาพ
ท่องเที่ยว จากสมาคมถ่ายภาพแห่งอเมริกา (PSA) แต่ใครจะรู้บ้างว่า ครั้งนี้ไม่ใช่แรกสำหรับเขา เพราะรางวัลที่ 1 ที่ว่านี้ เขา
สามารถคว้ามันมาครองถึง 13 ครั้งแล้ว ขณะเดียวกันก็ติดอันดับ TOP 10 ของโลกมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี 1987 ที่พาตัวเอง
เข้าแข่งขันในเวทีโลก จนถึงเวลานี้ถ้านับทุกเวทีที่เคยแข่งขันมา หนึ่งพันรางวัล ไม่ถือว่ามากไปสำหรับเขา

มาสนใจถ่ายภาพได้อย่างไร
ตอนปลายปี 2524 ได้อ่านพบในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐว่า เขามีเปิดอบรมที่วิทยาลัยเทคนิค
กรุงเทพ ทุ่งมหาเมฆ ตอนนั้นทำงานที่จังหวัดนนท์ แถวบางบัวทอง นั่งรถเมล์เข้ามาแต่เช้า
เพื่อมาเรียนที่เทคนิคกรุงเทพ เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์พูล เกษจำรัส ซึ่งเป็นศิลปินแห่ง
ชาติ สาขาภาพถ่าย เราเรียนถึง 4 ขั้นตอนคือ เบื้องต้น ขั้นสูง ภาพโฆษณา ภาพสี เขาอบรม
นักศึกษาภาคฤดูร้อนไม่ได้เรียนยาวนาน

เวลานั้นอายุสักเท่าไหร่ค่ะ
ประมาณ 24 ปี

แล้วทำไมจึงสนใจเข้าไปอบรมถ่ายภาพในครั้งนั้น
ก็เพราะผมเป็นคนชอบท่องเที่ยว มีความคิดว่าในระหว่างที่เราไปเที่ยว ได้สามารถเก็บภาพ
ที่เราประทับใจเป็นเจ้าของจะดีมาก เพราะว่าเที่ยวเสร็จมันก็ลืม ทำให้อยากจะหัดถ่าย พอ
เขาประกาศกาศมีอบรม ก็เลยเริ่มเข้ามาเรียนที่เทคนิคกรุงเทพ

ภาพที่ชอบถ่ายในครั้งแรกเป็นภาพลักษณะไหน
เป็นภาพกึ่งท่องเที่ยว แล้วก็เข้าเป็นสมาชิก สมาคมถ่ายภาพในพระบรมราชูปถัมภ์ซึ่งมีที่ทำการอยู่ที่เทคนิคกรุงเทพ เราก็ไป
สมัครเป็นสมาชิก ครั้งแรกๆ ก็เป็นรูปที่เขาจัดให้สมาชิกเอาไปถ่าย เป็นรูปท่องเที่ยวตามต่างจังหวัด หลังจากนั้นก็เริ่มส่งภาพ
เข้าประกวด 3 แห่งเลย คือ สมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทย สมาคมถ่ายภาพสยามคัลเลอร์-สไลด์ สมาคมถ่ายภาพกรุงเทพ
จากที่เราได้ชนะเลิศแต่ละสมาคมประจำปีเสร็จปุ๊ป เราก็จะเลิกส่ง เปิดโอกาสให้ช่างภาพรุ่นใหม่เขาได้โอกาสได้ส่ง แล้วก็หัน
เริ่มไปเล่นตามต่างประเทศ เล่นประเภทคัลเลอร์กับประเภทท่องเที่ยว

ประกวดมาจนถึง ณ ปัจจุบันนี้ได้รางวัลมามากมายขนาดไหนแล้ว
คิดว่าพันกว่ารางวัล

ประกวดมากี่เวที ทำไมถึงคว้ารางวัลมาได้มากมายขนาดนั้น
ปีหนึ่งก็ประมาณร้อยแห่ง เพราะว่าตอนนั้นมีการเก็บสะสมคะแนนท็อปเท็น ผมก็เริ่มเล่นท็อปเท็นของโลกซึ่งจัดโดยสมาคม
ถ่ายภาพแห่งอเมริกา ปีหนึ่งมันก็จะมีการจักทั่วโลกสักร้อยแห่ง เราต้องเริ่มส่งตั้งแต่มกราคมถึงธันวาคม คือแห่งละสี่ภาพ
ทางสมาคมถ่ายภาพอเมริกาเป็นผู้รวบรวม เขาก็จะรวบรวมว่าจัดเมืองไทยเราได้กี่แต้ม จัดที่อเมริกาได้กี่แต้ม มาเลเซีย สิงคโปร์
แต่ละประเทศมารวมกันที่อเมริกา อเมริกาก็จะเป็นผู้รวบรวมและเก็บผลคะแนนปลายปีถึงเดือนธนวาคมแล้วเขาก็จะแจ้งผล
ในเดือนเมษายน ก็จะมีออกวารสารในเดือนนี้ว่าใครได้ท็อปเท็นของโลก ซึ่งผมเริ่มเล่นตั้งแต่ปี 1987 จะทำให้ว่าเราไม่สามารถ
จะส่งไปแก้ตัวได้

อะไรทำให้สนใจส่งภาพเข้าประกวดบ่อยครั้งขนาดนั้น
เพราะว่าเมื่อเราเล่นของไทยจบแล้ว เราก็ได้ที่หนึ่งของทั้งสมสมาคม ประจำปีแล้ว เราก็มีความคิดว่าควรจะเปิดโอกาสให้คน
รุ่นใหม่ ได้มีโอกาสแข่งขัน เราก็ไปโกอินเตอร์ เราได้แชมป์ประจำปีไปแล้วก็คงไม่ต้องมาแข่งกับเขา ก็เลยเริ่มเล่นเมืองนอก
แข่งไปทั่วโลก ปี 1986 เราก็แหยมไปนิดหน่อย พอปี 1987 เราก็เริ่มส่งเต็มตัว


ภาพที่รับรางวัลล่าสุดเป็นภาพไหน
ปีหนึ่งมันไม่ใช่รูปเดียวต้องได้รางวัล มันต้องส่งเป็นร้อย
ครั้ง ไม่ใช่ว่ารูปเดียวได้ เหมือนกับการแข่งเซอร์กิตรถ
ยนต์ ต้องเอาจากทั่วโลกว่าใครได้สูงสุด มีคนจะถามเยอะ
มาก ว่ารูปไหนที่ได้ที่หนึ่งมันก็พูดยาก เพราะผมเคยได้
เหรียญทองยอดเยี่ยมของงานก็เกือบร้อยแห่ง บางรูปแค่รูป
เดียวได้มา สิบถึงห้าสิบรางวัล

รูปที่เคยส่งที่เมืองไทยสามารถส่งประกวดอีกใน
ต่างประเทศได้ไหม

ได้เพียงแต่ว่าที่ต่างประเทศเราไม่สามารถที่จะซ้ำกัน สี่ภาพ
เราก็หมุนเวียน รูปนั้นบ้าง รูปนี้บ้าง เราจะซ้ำก็ได้ แต่มันจะ
เสียเปรียบ เราต้องหมุนเวียนว่า แถบยุโรปอาจจะชอบรูป
พระ แต่แถบเมืองไทย ไม่ชอบรูปพระเพราะเขาไม่เคยเห็น
เราก็ต้องใช้รูปหมุนเวียน

ภาพชุดที่ได้รับรางวัลในครั้งล่าสุดนี้เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร
ส่วนมากจะว่าด้วย เรื่องราวศิลปะวัฒนธรรมไทย สีสัน และเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ซึ่งที่อื่นเขายังไม่ค่อยมี อย่างเช่นการแข่ง
เรือยาว การวิ่งควาย พระสงฆ์กำลังสวดมนต์ นั่งปักกลด ถ้าเราจะส่งเราต้องรู้ว่าแต่ละประเทศเขามีรูปอะไรเด่น อย่างทางยุโรป
เขาส่ง ถ้าคุณส่งแลนด์สเครปไปเราก็สู้เขาไม่ได้ สภาพภูมิทัศน์ เขาสวยกว่าเรา ภาพชีวิตสัตว์ในธรรมชาติต่างๆ เขาก็สวยกว่า
เราก็เอาที่เขาไม่มี สีสันวัฒนธรรมเมืองไทย มันก็จะเป็นที่แปลก สะดุดตาเขา มีโอกาสที่จะเข้ารอบได้รางวัลเยอะกว่า

อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้มีโอกาสผ่านเข้ารอบและได้รับรางวัลมามากมาย
คนอื่นๆเขาก็ส่งกันเยอะ เราได้หลายปี เพราะว่าหนึ่งเราพอจะจับจุดเขาได้ ว่าเขาต้องการรูปแนวไหน สองเรามีความอดทน
ขยันนิดนึง เพราะเราต้องทุ่มทั้งกำลังใจกำลังทรัพย์ และก็มีความอดทนที่จะส่งไปต่อเนื่อง เพราะว่าเราต้องทุ่มทั้งกำลังใจ
กำลังทรัพย์ และก็มีความอดทน ที่จะส่งไปต่อเนื่อง เพราะงบมันก็เยอะ ส่วนรางวัลที่ได้ก็ได้แต่กล่อง ได้แต่ชื่อเสียง ซึ่งเมืองนอก
เขาอาจจะรู้จักเราเยอะกว่าคนไทยด้วยซ้ำ

แสดงว่าจนปัจจุบัน สิ่งตอบแทนที่ได้ก็เป็นกล่องเสียส่วนใหญ่
ถ้าเล่นท็อปเท็นก็จะเป็นกล่องหมด จะมีรางวัลก็มีบางครั้ง อย่างเช่นรูปมุสลิม รูปนี้เคยได้รับรางวัลตั๋วเครื่องบินไปกลับรอบโลก
2 ที่นั่ง ปีนั้นเป็นปีที่ซัดดัมรบหนัก เขาก็เลยให้เงิน 5 พันปอนด์ ประมาณ 2 แสน 5 หมื่น รูปอื่นก็ได้บ้างแต่ได้แค่หมื่น รูปมุสลิม
ที่ได้ รู้สึกว่าจะปี 1990 ถ่ายที่ยะลา สมัยนั้นผมก็ได้รับเชิญไปบรรยาย ให้กับสมาคมถ่ายภาพยะลา ให้กับชมรมสามจังหวัดภาคใต้
พอหลังจากบรรยายเสร็จเราก็บอกเพื่อนๆ ว่าผมอยากถ่ายภาพมุสลิม ไปเจอนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 3 พอดีวันนั้นเขาไปเรียน
ผมก็ขอเด็กทั้งชั้นถ่ายรูป เขาก็พาไปมัสยิดกลางที่ยะลา ถ่ายโดยใช้แสงธรรมชาติ รูปนี้เนื่องจากมุสลิมทางภาคใต้ผิวเข้ม
แล้วตาก็กลมสวย เราก็เลือกเอาคนที่ผิวเข้มให้หันหน้ามา ซึ่งรูปนี้ได้รับรางวัลเยอะของทั่วโลก


เอกลักษณ์ในงานภาพถ่ายของตัวเองคืออะไร
งานที่เมืองนอกเขาให้ความสนใจเราเน้นเกี่ยวกับประเพณี
วัฒนธรรมของไทย แล้วก็เรื่องของศาสนา พระสงฆ์บ้านเรา
จีวรมันสีสะดุดตา สองก็คือความสงบสันติ อย่างพระที่กำลัง
สวดมนต์ในโบสถ์ดูแล้วน่าศรัทธา

ตั้งแต่เริ่มถ่ายภาพมาเดินทางมาเยอะขนาดไหน
เมืองไทยก็ไปมาคิดว่าเกือบจะครบ 50 – 60 จังหวัด ส่วน
ต่างประเทศก็ไปมาเยอะ ส่วนมากจะไปทางแถบเอเชีย
เช่นจีนไปบ่อย เพราะว่าจีนเป็นเสมือนเมืองพี่เมืองน้อง
และผมก็สามารถพูดแมนดารินได้ ทำให้สะดวกต่อการเข้า
ออก ค่าใช้จ่ายก็ไม่แพง ส่วนทางบ้านเราก็ลาว พม่า กัมพูชา
เวียดนาม สิงคโปร์ มาเลเซีย ยุโรปส่วนมากจะไปดูงานมาก
กว่าไม่ค่อยได้ถ่ายรูป เพราะชอบถ่ายทางแถบเอเชียมากว่า

ประทับใจที่ไหนที่สุด
ในเรื่องถ่ายรูปก็คงเป็นจีนกับพม่า ยังคงถ่ายสนุก ส่วนเมืองไทยก็หลายๆที่ เช่นแถวสังขละบุรี ก็ได้รูปดีๆแถวนี้เยอะ เพราะว่า
แถวนั้นยังมีชีวิตของชาวมอญและรามัญอาศัยอยู่ ดูคล้ายๆว่าชีวิตของชาวบ้านยังล้าสมัยกว่าในกรุงเทพฯเป็น 20 ปี มันดูแล้ว
น่าถ่ายรูป ดูเป็นธรรมชาติ ชีวิตชาวบ้าน ถ้าเราไปหน้าหนาวก็จะมีหมอกขาวๆ ทำให้รูปมันน่าสนใจ

มีประสบการณ์ในการถ่ายภาพที่สนุกๆอยากเล่าให้ฟังบ้างไหม
ถ้าเปรียบเทียบที่สังขละก็คือ บางครั้งบางสถานที่ เราจะไม่เคยไป พวกเราไป ตื่นเต้นอยากออกแต่เช้าตั้งแต่ตีห้า เราไม่รู้ว่า
จุดที่เราไปหน้าตาเป็นยังไง เราก็ไปเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน ไปเที่ยวงานแสงสีเสียง จากนั้นเราก็ตีรถไปถึงสังขละ ตีสี่ตีห้าต้องไป
ปลุกโรงแรมให้เปิดให้เรานอน นอนได้สักหกโมงเราก็ลุกออกมา สมัยแรกที่ไปเราไม่รู้ว่าสังขละมันเป็นอย่างไร เพราะรู้แต่ว่า
ในเมืองสังขละเมื่อก่อน หลังจากเขาสร้างเขื่อน เมืองทั้งเมือง วัดหลวงพ่ออุตตะมะ วัดวังวิเวกการามจมน้ำ เรามีข้อมูลเท่านี้

เราไปถึงเช้าเราก็ตื่นเต้นมาก เพราะเราอยู่ในมุมสูง บนสะพานสูง ถ่ายลงมาข้างล่าง จะมีตอไม้ ที่จมอยู่ในน้ำ ชีวิตชาวบ้านที่
สัญจรไปมาริมน้ำ เรือที่เขาพาย ตอไม้ สะพานไม้ที่เชื่อมระหว่างเมืองกับตัวอำเภอสังขละบุรี ตรงหมู่บ้านที่เขาเรียกอังวะ
เชื่อมระหว่างวัดกับตัวอำเภอ มีชีวิตที่น่าถ่ายรูปมาก ไม่ว่าจะคนแบกของทูนบนหัว คนเดินไปเดินมา พระสงฆ์ ชีวิตชาวบ้าน
ไปดูเหยื่อที่ดักปลา มันทำให้เราตื่นเต้น ถ่ายตั้งแต่เช้ายันเกือบจะเที่ยว พอเที่ยงแถวนั้นมันก็เป็นแพเยอะ เราสามารถกิน
อาหารบนเรือนแพ พอหมอนเขาหลับงีบ แล้วก็ตื่นขึ้นมาถ่ายใหม่ ซึ่งเป็นมุมชีวิตที่ง่ายๆ น่าถ่ายรูปมาก

เมื่อก่อนที่ชอบท่องเที่ยวมาก ตอนนี้ก็ยังคงเป็นอย่างนั้นอยู่ไหม
ยังเหมือนเดิม ถ้ามีโอกาสก็จะไปเที่ยวตลอด ไม่ว่าจะในประเทศหรือต่างประเทศ ไม่ค่อยตายตัว วันหยุดยาว หรือว่าช่วงไหน
ที่อากาศดีเราก็จะไป แต่ละช่วง แต่ละที่บรรยากาศไม่เหมือนกัน ช่วงไหนเดือนหกดี เราก็จะไปเดือนหก เดือนเก้าดีเราก็จะไป
เดือนเก้า ไม่ตายตัวแน่นอน ทางภาคเหนือเดือนนี้ดีเราก็ไป พอตอนหลังงานเยอะเกินเราก็ไม่ได้กำหนดตายตัว

ภาคไหนของเมืองไทยที่ชอบที่สุด
จริงๆแล้วทุกภาคสวยหมด แต่ว่าภาคที่ชอบและก็ถ่ายง่ายน่าจะเป็นภาคเหนือ เพราะบรรยากาศดี การเดินทางไม่ไกลมาก
ภาคใต้หลายๆแห่งมันเดินทางไกล ภาคกลางก็ชอบ มันไม่ต้องไปไกลมาก อย่างเช่น ราชบุรี อยุธยา อยุธยาไปบ่อยเพราะมัน
ใกล้บ้านเราไปเช้าเย็นกลับ ถ่ายรูปเยอะมาก เพราะเป็นเมืองเก่า


มืออาชีพอย่างคุณกล้องที่ใช้เป้นอย่างไร
ผมก็ใช้กล้องมาเกือบทุกอย่าง สมัยก่อน Nikon,Lica ตอนหลังมาใช้
หนักเป็น Cannon เนื่องจากเราอายุมาก สายตาเริ่มไม่ค่อยดี ก็ต้อง
ใช้พวก Auto Focus เพราะตายาว การ Focus จะมีปัญหา กล้องไม่
จำเป้นต้องดีมาก สิ่งที่อยากแนะนำคนรุ่นใหม่ๆ ที่สำคัญคือกล้องที่ใช้
งานได้ ต้องอ่านคู่มือทุกอย่างให้เข้าใจ อันนี้สำคัญกว่า

การถ่ายทำลักษณะนี้ควรจะใช้เลนส์อะไรใช้ขาตั้งเป็น ทำให้ภาพคม
ชัดสำคัญกว่า เหมือนกับที่หนังกำลังภายในว่า ‘กระบี่อยู่ที่ใจ’ คือถ้า
เรารู้ กล้องอะไรก็พอถ่าย ขอให้รู้มุมแสง เรื่องราวต่างๆสำคัญกว่า

เวลานี้มีคนมาขอคำแนะนำมากไหม
เยอะ..ตามชมรม สมาคม จุฬาฯ หรือตามมหาวิทยาลัย ก้ต้องไป
บรรยาย ตามชมรมต่างจังหวัดก็ไปบ่อย ทางลำปาง ก็เป้นชมรมถ่าย
ภาพแม่เมาะ สมาคมถ่ายภาพต่างๆในเมืองไทย หรือชมรมของบริษัท
ห้างร้านที่เขาจัดงาน

แล้วตอนนี้ธุรกิจที่ทำควบคู่ไปกับการถ่ายภาพคืออะไร
ขายอุปกรณ์ถ่ายภาพ ล้าง อัด ขยาย(ร้านโฟโต้ ฮอบบี้ อาคารธนิยะ
ชั้น 2 ถ. สีลม) ซึ่งคือรายได้ แต่สมัครเล่นเราเสียเงินมากกว่า ไม่ค่อย
มีรายได้ ทำมาประมาณ 10 ปีกว่า เมื่อก่อนอยู่ที่สยามเว็นเตอร์ ไฟ
ไหม้ก็ย้ายมาอยุ่ที่ธนิยะ ได้ 6-7 ปี




ถ่ายภาพมายาวนาน ค้นพบอะไรบ้าง
ค้นพบว่า บ้านเมืองเรามีสิ่งที่ต้องให้เราช่วยกันบันทึก เป็นประวัติศาสตร์เยอะ อย่างเช่น ผมชอบเกี่ยวกับพระพุทธรูป
ระหว่างออกถ่าย ผมก็รูปพระพุทธรูปมาเยอะแยะ ได้ทำหนังสือพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองออกมา ถ้าพวกเราช่างภาพช่วยกัน
บันทึกช่วยกันเก็บ ให้งานดีๆเก็บเป็นประวัติศาสตร์ ให้ลูกหลานเราได้เห็นจะดีมาก ดีกว่าปล่อยให้มันผ่านไปแต่ละปี
ธรรมชาติ โบราณสถาน โบราณวัตถุจะเปลี่ยนไปเรื่อย อยากให้คนรุ่นหลังรู้ว่าถึงแม้พวกเราจะตายไป ก็ยังมีงานที่จะเก็บให้
พวกเขาได้ดูว่ายุคปี สองพันหาร้อยกว้าๆ วัตถุโบราณต่างๆมันเป็นยังไง คนรุ่นหลังก็สามารถค้นคว้าได้

มองย้อนกับไปสมัยที่เริ่มฝึกถ่ายภาพ กับตอนนี้มีอะไรที่แตกต่างกันบ้าง
สมัยก่อนเรากว่าจะหาเงินซื้อกล้องซื้ออะไรมันยากนิดนึง เพราะว่าเริ่มทำงานก็ต้องค่อยๆซื้อสะสม พอถึงปัจจุบัน เริ่มมีเงินซื้อไหว
โอกาสและเวลาที่จะออกไปก็น้อยลง งานมันยุ่งขึ้น อยากฝากบอกพวกเราคนที่ชอบถ่ายรูปว่า มีกำลังมีอะไรไหวก็ควรจะออกไป
ถึงแม้จะเริ่มมีเงินทอง ตอนที่อายุกำลังมีให้ไป พออยุมากอยากจะไปมากแต่บางทีมัน 7 0 – 80 ไปแล้ว ถึงตอนนั้นกำลังใจสู้
แต่สังขารร่างกายไม่ไป

กลุ่มเพื่อนที่ออกไปถ่ายภาพเป็นเพื่อนกันมีใครบ้าง
ก็มีเยอะครับ เป็นกลุ่มวันศุกร์ เราจะนัดกินข้าวกันทุกวันศุกร์แถวสามย่าน รวมกันได้ยี่สิบกว่าคน ก็จะไปกันประจำ
เช่นคุณม่อน ก้องทอง และก็หลายคน เมื่อก่อนคุณสุรจิต จามรมารก็เคยไป ตอนหลังก็มีคุณชัยโรจน์ มหาดำรงค์กุล
ที่ไปมากันหลายครั้ง หรือคุณจินดา คุณรชต อิศรางกูร มีหลายคน

แล้วมากลุ่มถ่ายภาพในงานประชุมเอเปกได้อย่างไรคุณสุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ นายกสถาคมถ่ายภาพในพระบรมราชูปถัมภ์ ท่านก็มาถามว่า ไปช่วยกันถ่ายงานนี้ได้ไหม
ก็เสนอชื่อไปให้กระทรวงต่างประเทศ ผมมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของพระที่นั่งอนันตสมาคม อยู่ในจุดที่เดียวกับนักข่าวที่
เขากำหนดให้ยืนถ่าย

มีคนมาขอภาพไปใช้งานเยอะไหม
ก็มีเยอะ ทั้งขอด้วย และให้ไปช่วยด้วย ส่วนมากจะเป็นของราชการ เช่น งานชีวิตเด็กและเยาวชนไทย มรดกโลกอยุธยา
ราชอาราจักรไทย และตอนหลังที่จะช่วยประจำก็คือ สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน เป็นพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว เขาก็จะขอรูปประจำ ขาดรูปอะไรเขาก็โทรมา เราก็ช่วยเขาไป ของต่างประเทศก็ได้ไป 2-3 ประเทศ เช่น
ตอนเซี่ยงไฮ้ครบรอบ 50 ปี รวมถึงมาเก๊าที่คืนเกาะ และสิงคโปร์ก็มีออกไปถ่าย

ล่าสุด Unseen in Thailand ก็มีส่วนช่วยเขา ตอนนี้กำลังถ่ายก็คือ ช่วยกรมประชาสัมพันธ์ หนังสือ ชุดแม่ของแผ่นดิน
ภาคภาษอังกฤษ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า ครบ 72 พรรษา ก็จะพุ่งไปงานศิลปาชีพ


อะไรสำคัญที่สุดในชีวิตช่างภาพ
ผมคิดว่าอุปกรณ์ก็มีส่วน แต่ไม่สำคัญทีเดียว แต่ที่สำคัญช่างภาพต้อง
สามารถเรียนรู้ประสบการณ์ และพื้นที่ท้องถิ่นที่เราไปถ่ายรูป มันเป็น
อย่างไร และก็มุมกล้อง แสง เลนส์ กล้อง อุปกรณ์ ฟิล์มก็มีส่วน ซึ่งจะ
เป็นอันดับท้ายๆ แต่เราต้องเรียนรู้ถึงพื้นที่ๆเราจะไป มันจะง่ายกว่า
เรารู้จักและเข้าใจมัน เราก็จะถ่ายทอดมันได้ มีกล้องมากแต่เราไม่รู้
จัก ก็ถ่ายมาไม่ได้ ต้องเข้าไปรู้จักกับเขา รู้ว่าแสงตอนไหนจะดี จะไป
ช่วงไหนอันนี้สำคัญกว่า


คิดว่าความสุขที่ได้รับจากการถ่ายภาพของตัวเองคืออะไร
หนึ่งคือทำให้เราเห็นโลกที่กว้างขึ้น ได้เห็นประเพณีวัฒนธรรมแต่ละ
ท้องถิ่น ได้เห็นสิ่งสวยงามที่เรานึกไม่ถึงว่ามันมีในเมืองไทย ได้เห็น
จิตใจ น้ำใจของคนที่ต่างกับเรา ได้เพื่อน ได้รู้จักคนอีกเยอะแยะใน
ต่างจังหวัด เช่นเราไปถ่ายงาน 50 ช่างภาพให้ ททท. ผมรับผิดชอบ
หัวข้อเชียงใหม่ ผมก็ไปค้นจนกระทั่งเจอ ช่างแกะสลักช้างที่เป็นไม้
ทั้งตัว ฝีมือดีแถวสันกำแพง ชื่อ ช่างเพชร วิริยะ พอเราเริ่มรู้จักเขา
ทุกอย่างมันจะง่ายยิ่งขึ้น ผมมีโอกาสซื้อช้างของเขา ชิ้นเล็กๆ เขาก็ให้
เรา ในราคาพิเศษสุดๆ พอเราถ่ายไป เขาก็ดีใจ ผมเอารูปไปให้เขา
สมาชิกต่อมาก็ไปถ่ายกันเยอะ เราลงในหนังสือต่างประเทศก็ส่งไป
ให้เขาดู และในหนังสือ 50 ช่างภาพ เขาก้ดีใจ ทุกครั้งที่ออกไปถ่ายรูป
เราก็เลยได้ทั้งเพื่อน ได้ความรู้ ได้ออกไปพักผ่อน

17 ความคิดเห็น:

小梅 เสี่ยวเหมย กล่าวว่า...

ยินดีด้วยคร้าบบบบบบบบบ

prachoen netrnai กล่าวว่า...

ยินดีด้วยค่ะ...เก่งจัง

Pan PlantLovers กล่าวว่า...

ปรบมือให้ค่าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ในชีวิตคน ๑ คนจะมีสักกี่รายใน 1 ล้าน
ที่ได้คำว่า "แห่งชาติ" ตามท้าย ยินดีกับพี่เค้าด้วยค่ะ

แทมมี่ & แม่ปีป B. กล่าวว่า...

ยินดีด้วยกับครอบครัวจานเม้งค่ะ

phyche phyche123 กล่าวว่า...

ยินดีด้วยค่ะ

ปีกไม้หอม . กล่าวว่า...

ยินดีด้วยครับ

TuanG Intoh กล่าวว่า...

โหวววววววว ไม่น่าแปลกใจเลยที่เป็น อ.วรนันท์ค่า ^^

teerawut meesangnil กล่าวว่า...

อ่านบท บทสัมภาษณ์ แล้วอึ้งเลยครับยินดีกะอาจารย์ด้วยครับ

我 ... กล่าวว่า...

ยินดีด้วยนะค่ะ

ไอดิน กลิ่นฝน กล่าวว่า...

ยินดีด้วยค่ะ

` aay .. กล่าวว่า...

^-^

Walaiporn L. กล่าวว่า...

ยินดีด้วยค่ะ

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

ลิ้งชมภาพส่วนหนึ่งที่ใช้ประกวดฮะ
http://www.hobby555.com/index.php?mo=18&catid=75500

phyche phyche123 กล่าวว่า...

ตามไปชม...รูปสวยมากมายเลย

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

วีดิโอสัมภาษณ์ครับ http://www.muangthai.com/thaidata/25766

รูป http://chaomuang.multiply.com/photos/album/51

phyche phyche123 กล่าวว่า...

สุดยอดเลย..... เลนส์ที่ดีที่สุด คือ เลนส์ตา

明 เม้ง  ^__^ กล่าวว่า...

อีกหนึ่งบทสัมภาษณ์ http://www.portfolios.net/forum/topics/2988839:Topic:767097

วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร : ช่างภาพมือ 1 ของโลก!

Posted by PORTFOLIOS*NET on July 27, 2010 at 4:32pm in InterviewsView Discussions


บรรดาผู้ที่ติดตามข่าวการประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ปี 2552 คงเกิดคำถามทำนองดังกล่าวในใจ เมื่อชื่อ วรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ได้รับการเชิดชูเกียรติให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) ซึ่งเป็นสาขาที่มีผู้เคยได้รับเกียรตินี้มาก่อนเพียง 4 ท่าน เปรียบได้ว่าน้อยกว่าน้อยเมื่อเทียบกับสาขาอื่นๆ ที่มีผู้เดินเข้ารับตำแหน่งทุกปีหรือเกือบทุกปีตั้งแต่เริ่มมีการให้ค่าแก่ผู้เป็นศิลปินตั้งแต่พ.ศ.2528

แต่ไม่นานหลังแสงแฟลชและดวงไฟสาดจับ ภาพความสงสัยในตัววรนันทน์เริ่มปรากฏชัด

วรนันทน์เกิดในครอบครัวคนจีนฐานะปานกลาง จากเหตุการณ์ไฟไหม้บ้านตอนอายุสิบห้า ทำให้ชีวิตเขาต้องหันหลังให้กับตำราในห้องสี่เหลี่ยมออกดิ้นรนเรียนรู้โลกกว้างผ่านการทำงาน อาชีพเซลส์ขายเสื้อผ้าที่ต้องวิ่งหาลูกค้าตามต่างจังหวัด ทำให้เขาได้รู้จักการเดินทาง

สุดเหนือ สุดใต้ วรนันทน์ได้ไปมาหมด ภูเขา หาดทราย ป่าไม้ ทะเลหมอก ความงามในธรรมชาติที่ได้เห็น ยั่วเย้าให้เขาออกท่องเที่ยวและอยากเก็บภาพไว้ในแผ่นฟิล์ม

“สมัยแรกตอนซื้อกล้องใหม่ๆ เราก็ถ่ายสไลด์ ถ่ายฟิล์มสี แล้วก็เอามาให้เพื่อนๆ ดู แต่ตอนนั้นยังถ่ายสะเปะสะปะ จนกระทั่งช่วงปลายปี 23 ผมเผอิญไปเจอประกาศในหนังสือพิมพ์บอกว่า ที่เทคนิคกรุงเทพ (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ) มีเปิดอบรมการถ่ายภาพให้กับประชาชน เรียนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ ผมก็ไปสมัคร”

เหมือนปลาได้น้ำ วรนันทน์ได้เรียนรู้เรื่องการถ่ายภาพมากมายที่เขาไม่เคยรู้ ซ้ำยิ่งรู้ยิ่งหลงเสน่ห์ ไม่นานหลังจากนั้นเมื่อเขารู้ว่าสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยฯ ตั้งอยู่รั้วเดียวกันกับเทคนิคกรุงเทพฯ วรนันทน์ไม่รอช้าขอเข้าสมัครเป็นสมาชิก และเริ่มส่งผลงานเข้าร่วมกิจกรรมประกวดถ่ายภาพของสมาคมฯ เป็นประจำทุกเดือน แรกๆ มีแพ้บ้างชนะบ้าง นั่นคือเรื่องปกติ แต่พอนานไปๆ เริ่มชนะถี่ขึ้นๆ รางวัลจากทุกสมาคมถ่ายภาพในประเทศไทย วรนันทน์กวาดนิ่มๆ

“สมัยนั้นถ้ามีชื่อคนนี้ลงประกวดรายการไหน ให้รู้ไว้เลย อย่าส่งดีกว่า” หัวหน้าช่างภาพ mars พูดถึงวรนันทน์ในยุคที่ฟิล์มเฟื่องฟูว่าในวงการช่างภาพสายประกวดต่างรู้มือของเขาดี

พ.ศ.2527 วรนันทน์ถอยออกมาจากเวทีการประกวดในประเทศไทยเพื่อเด็กรุ่นใหม่ได้แจ้งเกิด พร้อมกระชับกล้องในมือถือเข้าสู่เวทีประกวดระดับโลก เอเชีย ยุโรป อเมริกา หนึ่งร้อยกว่าเวทีต่อปีที่วรนันทน์ส่งเข้าประกวด เพียงแค่ 3 ปีต่อมา---2530 ชื่อของเขาก็ติดอันดับท็อปเท็นของโลกในประเภทภาพท่องเที่ยว และติดต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยสามารถคว้าอันดับที่ 1 มากถึง 17 ครั้ง กวาดรางวัลไป 1,000 กว่ารางวัลจากทั้งในและนอกประเทศ และสอบเกียรตินิยมด้านการถ่ายภาพได้กว่า 50 แห่งทั่วโลก



อะไรคือสิ่งที่ทำให้เขามาไกลถึงขนาดนี้ ความรู้คอร์สสั้นๆ ที่ได้รับจากการอบรม? วรนันทน์ส่ายหัว นั่นแค่พื้นฐาน แต่สิ่งสำคัญกว่านั้นคือ ขยัน ฝึกฝน อดทน และจดจำ

“เทคนิคต่างๆ เรียนรู้จากประสบการณ์เอาครับ คือถ่ายรูปทุกครั้งจะต้องบันทึกรายละเอียด เช่น ความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง สภาพแสง คราวหลังไปถ่ายจะได้แก้ไข และจะได้จำอยู่ในสมอง-ไม่ลืม

“การที่ได้เห็นภาพเยอะก็สำคัญ ถ้าคุณมองแต่ในประเทศ คุณจะไม่ได้เห็นว่าทั่วโลกเขาถ่ายแนวไหนหรือไปกันถึงไหนแล้ว ปีๆ หนึ่งผมได้แค็ตตาล็อกร้อยกว่าเล่ม” วรนันทน์หมายถึงหนังสือรวมภาพถ่ายที่ได้จากการสมัครส่งภาพเข้าประกวดในเวทีต่างๆ “ผมก็จะได้เห็นแนวทาง ไอเดีย มุมกล้อง แล้วนำมาดัดแปลงหรือมาแก้ไขเป็นมุมที่เราชอบ” แม้ส่งประกวดไม่ได้รางวัล แต่แค่ได้ดูภาพจากแค็ตตาล็อกก็คุ้มแล้ว วรนันทน์พูดไว้ตอนหนึ่งระหว่างสนทนา

จากประสบการณ์ท่องเที่ยวไปถ่ายรูปตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่เขาบอกว่าน่าจะไปเหยียบมาแล้วทุกจังหวัด และฟิล์มเป็นหมื่นๆ ม้วนที่เคยถ่าย ทำให้วรนันทน์รู้จักเหลี่ยมมุมของแสงในแต่ละแห่งพอๆ กับนกรู้จักฟ้า

“แต่ละจุดเรารู้หมดว่าควรจะไปตอนไหน ต้องรู้บรรยากาศ รู้มุม คือลักษณะการถ่ายของผมจะเป็นแนวแสงธรรมชาติ ใช้แฟลชน้อยมาก ใช้ขาตั้งอย่างเดียว มันทำให้เราต้องเรียนรู้ว่าแสงจะมาจากด้านไหน และควรถ่ายอย่างไร”

ตลอดหลายสิบปีที่สายตามองผ่านเลนส์และนิ้วชี้ประทับที่ชัตเตอร์ วรนันทน์เห็นหลายสิ่งดีๆ ในบ้านเมืองเราที่ล้มหายตายจาก

“ลักษณะภูมิทัศน์บ้านเราเปลี่ยนไปเยอะ เพราะความเจริญผ่านเข้ามา อย่างเกาะพีพี สมัย