วันก่อน ดูรายการ "กิน อยู่ คือ" จากทีวีช่องนกพิราบ ช่วงเช้า ๆ
พูดไว้ว่า ไขมันทรานส์ เป็นไขมันไม่ดี และมีมากในอาหารปัจจุบัน เช่น ครีมเทียม
เลยไปหามาอ่านสักหน่อย
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ในชีวิตประจำวัน อาหารที่เราบริโภคมักมีไขมัน 4 ชนิดปะปนอยู่ในสัดส่วนที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันที่ใช้ทำอาหาร ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ส่วนไขมันเลว ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไขมันทรานส์ เป็นไขมันไม่อิ่มตัว (trans unsaturated fat) ไขมันทรานส์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งมี อยู่ในปริมาณเล็กน้อยในเนื้อและนมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ และไขมันทรานส์ ที่ผลิตขึ้นโดยขบวนการทางอุตสาหกรรม
----------------------------------------------------------------
การที่พลเมืองโลกรู้ถึงพิษภัยที่มากับไขมันอิ่มตัวจึงหันมาบริโภคไขมันที่ไม่อิ่มตัวแทน เช่น เปลี่ยนจากการทอดอาหารด้วยน้ำมันสัตว์ มาเป็นใช้น้ำมันพืชแทน แต่ปัญหาก็คือ การใช้น้ำมันพืชทอดอาหารจะไม่ทำให้อาหารกรอบอร่อยเหมือนกับไขมันสัตว์ ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันพืชจำต้องอุดช่องโหว่ในเรื่องของความกรอบจากการทอด จึงมีการใช้กระบวนการดังกล่าว เปลี่ยนให้ไขมันจากพืชมีความอิ่มตัวเพื่อเพิ่มความกรอบให้แก่อาหารเมื่อนำลงไปทอด ซึ่งในระหว่างกระบวนการนี้เองที่ทำให้น้ำมันเกิดไขมันทรานส์ขึ้น
----------------------------------------------------------------------------
เนื่องจากไขมันทรานส์คือไขมันที่เกิดจากการแปรรูป จึงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข และสามารถทนความร้อนได้สูง รวมถึงมีรสชาดที่ใกล้เคียงกับไขมันที่มาจากสัตว์ แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่าง ๆ มักนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้ประกอบอาหารมากมาย เช่น กลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ดซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และวิปปิ้งครีม เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไขมันทรานส์เกิดจากการนำไขมันไม่อิ่มตัวไปผ่านกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งราคาถูกกว่าการใช้เนยหรือน้ำมันอื่น ในหลายประเทศเขาบังคับให้ติดสลากว่า hydrogenated หรือpartially hydrogenated หรือ shortening (เนยขาว)
เรียกกระบวนการทางเคมีนี้ว่า “การเติมไฮโดรเจน” (hydrogenation)คือการทำให้น้ำมันไม่อิ่มตัวจับกันเข้มข้น อย่างในกรณีของเนยเทียมหรือมาร์การีนที่ทำจากน้ำมันพืชในกระบวนการเดียวกันด้วยการดึงเอาไขมันที่ร่างกายต้องการออกไปหมด และอัดด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจนเพื่อให้เหนียวข้น ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวกลับกลายเป็นไขมันอิ่มตัว เต็มไปด้วยอันตรายต่อสุขภาพ
---------------------------------------------------------------------------
การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มาก ๆ จะเป็นส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเมตาบอลิซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับ LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด และเนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป ซึ่งย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น ทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือ
- น้ำหนักและไขมันส่วนเกินเพิ่มมากขึ้น
- มีภาวะการทำงานของตับที่ผิดปกติ
- มีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (อังกฤษ: Coronary Heart Disease) โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด
ไขมันทรานส์คล้ายกับไขมันอิ่มตัวตรงที่ก่อให้เกิดคอเลสเทอรอลเลว แต่เลวกว่าไขมันอิ่มตัวตรงที่ไปทำลายคอเลสเทอรอลดีด้วย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
“ที่น่าเป็นห่วงก็คือข้อมูลจาก WHO ในปีพ.ศ.2548 ที่ระบุว่าโรคเรื้อรังนี้ได้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกแล้วกว่า 35 ล้านคน และองค์การอนามัยโลกยังได้พยากรณ์ล่วงหน้าอีกว่า หากเราไม่หาหนทางป้องกันและแก้ไข ภายใน 10 ต่อจากนี้ทั่วโลกจะมีคนตายเพราะโรคเรื้อรังเหล่านี้ประมาณ 400 ล้านคน และที่สำคัญก็คือ ใน 400 ล้านคนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนา”
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ซึ่งในขณะนี้พบว่าคนไทยประมาณ 25 ล้านคนกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในประเทศไทยยังไม่มีระเบียบให้ติดสลากเรื่องไขมันทรานส์ แต่อ่านดูทุกถุงขนมกรุบกรอบจะมีส่วนประกอบน้ำมันพืช ไขมันอิ่มตัว 10%และมากกว่า คงไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากไขมันทรานส์นั่นเอง แล้วยังทำให้ผู้บริโภคตายใจด้วยคำว่า “ไม่มีคอเลสเทอรอล” บนซองคอฟฟีเมตชื่อดัง ทั้งๆ ที่เป็นน้ำมันพืชและมีไขมันทรานส์ที่อันตรายยิ่งกว่าคอเลสเทอรอลเสียอีก
แปลก รณรงค์เรื่องเหล้าเรื่องบุหรี่กันจังเลย แต่ไม่เห็นทำอะไรกับไขมันทรานส์ ซึ่งเด็กๆ กินกันสนุกสนานปีละเป็นแสนล้านบาท จะต้องให้คนไทยตายเพราะไขมันทรานส์อีกเท่าไร เราจึงจะลุกขึ้นมารณรงค์และต่อต้านนักฆ่าหน้าเก่าแต่เพิ่งโผล่มาให้เห็นหน้ากันวันนี้
-----------------------------------------------------------------------------
ลองดูว่ามีไขมันทรานซ์ หรือข้อความ "partially hydrogenated oil" หมายถึงน้ำมันแปรรูปจากการเติมไฮโดรเจนบางส่วน หรือไม่ในฉลากอาหาร
-------------------------------------------------------------------------
จากการศึกษาพบว่า ผู้ซึ่งเปลี่ยนจากการกินอาหารที่มีไขมันทรานส์สูงมาเป็นการกินอาหารที่มีไขมันทรานส์ต่ำ จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart attack) ลงได้ถึงร้อยละ 50
มีรายงานจากประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันว่า หากลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์เพียงครึ่งเดียวจะสามารถป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ร้อยละ 10-12 และหากไม่รับประทานเลยจะป้องกันได้ถึงร้อยละ 18-22 โดยหันไปรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน”
-------------------------------------------------------------------------------------
ตัดต่อความมาจาก
http://news.sanook.com/social/social_254738.php
http://www.horapa.com/content.php?Category=Healthy&No=733
http://th.wikipedia.org/wiki/ไขมันทรานส์
http://www.thaihealth.or.th/node/4946
http://women.thaiza.com/detail_54594.html
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=33619
http://www.phongphit.com/index.php?option=com_content&task=view&id=525&Itemid=2
------------------------------------------------------------------------------------------
สรุปแล้ว ฉันควร บริโภคกาแฟดำขมปี๋ กาแฟดำหวานเจี๊ยบ หรือกาแฟครีมข้นหวานมันส์ ต่อไปดีน้อ เง้อ
39 ความคิดเห็น:
นู๋งดเเล้วนะ ทีเเรกมันหมดเเล้วขี้เกียดซื้อ กินไปกินมาไม่ใส่ก้ออร่อยดี
ส่ายนมสด แทนได้ไหมคะ
หรือไม่ก็กาแฟดำไปเลยเนอะ
หนูก็ใส่คอฟฟี่เมต ตลอด
ส่วนนู๋เม้งชอบกินแบบกาแฟซองผสมเสร็จ เสร็จแน่ หุหุ
ส่ายนมข้นหวานดีไหมน้อ ขาวข้นหวานมันส์
อ้วนมากกว่าเดิมสิ
รสชาดที่น้าเม้งไปก็อปมาหมายถึงรสสีแดงอ่าค่ะ .... ชาดคำนี้แปลว่าสีแดงค่ะ อย่างเช่นคำว่ากาชาด รสชาติที่ถูกต้องสะกด..แบบ รสชาติอ่าค่ะ
ถ้าน้าเม้งชอบทานกาแฟรสชาติมันๆๆแนะนำว่า ให้ใส่นมเมจิ (ที่มันเป็นกล่องสีเหลืองทองอ่าค่ะ) มันจะทีมันเนย(ซึ้งเป็นไขมันที่มีประโยขน์อ่าค่ะ ) เพื่อขึ้นร้อยละสี่ อ่าค่ะ จะได้ไม่ต้องทานโอยั๋วนะคะ ^^ `ลองดูนะคะ น้าเม้ง
กาแฟซองสำเร็จแบบนั้น น้ำตาลสูงมากเลยค่ะ เง้อ
ขออนุญาตินิดนุงนะคะ อย่าเพิ่งหาว่า เป็นเจ้ากรมอนามัยเลยนะคะ แนะนำว่าให้ทานกาแฟใส่น้ำตาลทรายแดง( แบบไม่ฟอกสีอ่าค่ะ) แล้วก็ใส่กับรมสด(หรือ นม UHT ก็ได้ถ้าชอบรสมัน) แทนการใช้กับนมข้นหวานนะคะ ...เพราะนมข้นหวานไม่มีคุณค่าสารอาหารอะไรเลย นอกจากความหวานอ่าค่ะ
จะพยายามหลีกเลี่ยง ครับ
อ่านมาเยอะมากครับเรื่องนี้ แต่ใครๆก็ใช้น้ำมันพืช ไม่รู้จะหลบยังไง
ส่วนครีมเทียมผมโชคดีที่ดื่มกาแฟดำ
ช่วงนี้ทาน เขาช่อง ซองสีเขียว เข้มสะใจ อิอิ
ขออภัย ขอบคุณครับ
อิอิ โอวยัวะ
โอวทึ้งหอมดีน่าสน
พยายามด้วยดีกว่า
จะพยายามดำมากขึ้นครับ
เขาช่องอร่อยจริงๆ หล่ะ ซองเขียวนั่นหนะ
ไม่ชอบดื่มอยู่แล้ว สบายเลย
รู้อยู่เหมือนกันค่ะ แต่ก็ยังอด ๆ อยาก ๆ อยู่นะน้า
น้ำตาลจะใช้น้ำตาลอ้อย หรือไม่ก็น้ำตาลเทียม ส่วนครีมก็อย่างว่า...อดบ้าง อยากบ้าง คงต้อง อดให้บ่อยขึ้นแล้วเนอะ
ทำไมหน้ามันเบี้ยวๆ งี้ง่า
ตกลงเราจะกินอะไรได้บ้างหละค่ะ ดู อตร ไปหมดทุกอย่างเลย
ติดโอวัลตินน่ะ มีไขมันทรานส์ ด้วยไหมนะ
เฟิร์ม
ยินดีด้วยครับ
เนอะเนอะ
ก็ดี
หน้าป้านะเหรอ ก็ตรงนิ
มีเคยคนบอกว่า อยากกินอะไรก็กิน ๆ ไปเหอะ เดี๋ยวตายแล้วก็ไม่ได้กินอยู่ดี
แบบเพียว ๆ ไม่น่ามีนะ
โชคดีกินแฟ เพียว กับน้ำผึ้ง หรือไม่ก็ ทรายแดงเท่านั้น อิอิ
คงหอมหวาน
เป้าน้าไงเบี้ยว หุๆๆๆ
สันนิษฐานว่า content ก็เบี้ยวด้วย
ก้ากกกก
ไม่มีปัญหากับคอฟฟี่เมต แต่มีกับมาการีนและวิปปิ้งครีม อิๆ
หนักกว่าอีกงั้นเอิ้กๆ
: ) ถ้าซองสำเร็จชอบมอคโคน่าซองสีทอง / ส่วนชงเองให้น้ำตาลกรวด + ครีมนิดหน่อย แหะๆ ..
มอคทอง ไว้จะลองครับ
ความลับในครีมเทียม..
ส่วนผสมที่อยู่ในกาแฟทุกแก้วทุกเช้า เพิ่มความข้น มัน ให้กับกาแฟแก้วโปรดอย่างครีมเทียมนี้ รู้หรือไม่คะว่าครีมเทียมนี้ ไม่มีส่วนประกอบของนมและครีมเลย และผู้ที่มีโคเลสเตอรอลควรพิจารณาด้วย
ครีมเทียม เป็นส่วนหนึ่งของกาแฟ โดยเฉพาะกาแฟที่มิกซ์ หรือ 3 อิน 1 มักมีครีมเทียมเป็นส่วนผสมหลักที่ขาดไม่ได้ เมื่อผงกาแฟให้ความเข้มข้น ผสมกับน้ำตาลให้ความหวาน และใส่ครีมเทียมที่เพิ่มรสชาติให้ความเข้มข้น หอม มัน ช่วยให้กาแฟกลายเป็นแก้วโปรดของใครหลายคน แต่รู้หรือไม่ว่าครีมเทียมนี้ไม่มีส่วนประกอบของนมเลย นี่เป็นแค่ความลับอันดับแรกเท่านั้นเองค่ะ
เหตุที่รู้ว่าไม่มีส่วนประกอบของนม เนื่องจากประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ครีมเทียมถูกจัดเป็นอาหารประเภทควบคุมเฉพาะในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และกฎหมายได้ระบุคำจำกัดความของครีมเทียมไว้ดังนี้
“ผลิตภัณฑ์ที่มิได้ทำจากนมและมีไขมันอื่นนอกจากมันเนยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญ หรือครีมที่มีมันเนยผสมอยู่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของไขมันทั้งหมด”
ถ้าไม่มีนม แล้วครีมเทียมประกอบด้วยอะไร? ก่อนไปถึงส่วนประกอบของครีมเทียม ลองมาดูพัฒนาการของครีมเทียมกันค่ะ
เริ่มแรกฝรั่งนิยมเติมครีมลงในเครื่องดื่มจำพวกโกโก้และกาแฟ แล้วพบว่า ครีมชนิดพาสเจอไรซ์จำเป็นต้องเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น ส่วนครีมกระป๋องก็มีใช้บ้าง แต่กลิ่นรสสู้ครีมพาสเจอไรซ์ไม่ได้ แถมสียังออกเหลืองหรือน้ำตาลอ่อน ๆ อีกด้วย ครีมเทียมจึงเกิดขึ้นเพื่อความสะดวกและประหยัด เนื่องจากวัตถุดิบมีราคาถูกกว่า นอกจากนี้การขนย้ายในรูปผงแห้งทำให้ประหยัดค่าขนส่งได้มาก ครีมเทียมจึงแพร่หลายไปทั่วโลกอย่างที่เราเห็นกัน
อะไรที่ทำให้ครีมเทียมมีความหอมมันไม่แพ้ครีมแท้แต่ราคาถูกกว่ามาก?
นั่นคือสิ่งที่ผู้ผลิตครีมเทียมต้องการ อธิบายง่าย ๆ คือ ผู้ผลิตต้องการให้ครีมเทียมช่วยเติมความรู้สึกที่ขาดหายไป เมื่อดื่มนมสดพร่องมันเนยเปรียบเทียบกับนมสดธรรมดา แต่มีมาตรฐานด้านราคาต่ำเป็นเกณฑ์ในการผลิต ความหอมมันราคาถูกของครีมเทียม จึงเกิดจากไขมันเนยหรือไขมันที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงคือ มีกรดไขมันประเภทอิ่มตัวในปริมาณสูง กล่าวง่าย ๆ คือ เป็นไขมันประเภทที่ใส่ตู้เย็นแล้วเป็นไขนั่นเอง
หากใช้ราคาเป็นตัวตั้ง ไขมันที่ใช้เป็นครีมเทียมจึงมักเป็นไขมันพืชเพราะมีราคาถูก ที่นิยมคือ ไขมันมะพร้าว เนื่องจากประกอบด้วยกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณค่อนข้างสูงอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมี น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันจาก
เมล็ดปาล์ม ซึ่งถ้าเราดูเผินๆ จะเห็นว่า ยี่ห้อที่ระบุว่าใช้น้ำมันถั่วเหลืองและไขมันจากเมล็ดปาล์ม น่าจะไม่เป็นพิษภัยกับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด เนื่องจากชนิดของกรดไขมันในน้ำมันถั่วเหลืองไม่มีผลต่อการเพิ่ม หากยังลดการสร้างสารโคเลสเตอรอลในกระแสเลือดด้วย ส่วนกรดไขมันในน้ำมันจากเมล็ดปาล์มก็ไม่ได้มีผลต่อการเพิ่มโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด เหมือนเช่นกรดไขมันอิ่มตัวที่พบในไขมันเนยและมะพร้าวที่ก่อปัญหา
ดูแล้วเหมือนจะดี แต่หากพลิกดูด้านข้างบรรจุภัณฑ์จะเห็นว่ามีรายละเอียดเพิ่มเติมคือ “Partially hydrogenated” หรือ “Hydrogenated” อยู่ข้างหน้าคำว่า “น้ำมันถั่วเหลือง” หรือน้ำมันจากเมล็ดปาล์ม ซึ่งคำภาษาอังกฤษดังกล่าวหมายความว่า กรดไขมันในน้ำมันเหล่านั้นได้ผ่านกระบวนการทำให้อิ่มตัว แล้วกระบวน
การนี้ทำให้รสชาติของครีมเทียมมีความมัน แต่ก็มีผลเสียต่อผู้มีปัญหาในเรื่องโคเลสเตอรอลสูงในกระแสเลือด
จึงเน้นว่าขอให้ศึกษาฉลากให้รอบคอบก่อนซื้อ และครีมเทียมในท้องตลาดส่วนใหญ่แทบทุกยี่ห้อ ไม่เหมาะสมกับผู้ที่กำลังควบคุมปริมาณโคเลสเตอรอลในกระแสเลือด
ไหน ๆ ก็ไหน ๆ แล้ว ความลับที่ไม่ลับคือ ส่วนผสมที่มีการเติมในครีมเทียมเกือบทุกยี่ห้อคือ น้ำตาลข้าวโพด โดยบางยี่ห้อก็ระบุว่า กลูโคส แต่เมื่อได้อ่านคำบรรยายภาษาอังกฤษแล้วจึงทำให้ทราบว่า ไม่ได้มีการเติม
น้ำตาลลงไปโดยตรง เป็นการเติมสารที่เรียกว่า กลูโคสไซรัป (glucose syrup) หรือแบะแซ นั่นเอง แบะแซที่บ้านเราทำจากแป้งมันสำปะหลัง ส่วนน้ำตาลข้าวโพดทำจากแป้งข้าวโพด แต่ไม่ใช่แบบตรง ๆ ซะทีเดียวนะคะ เนื่องจากการผลิตไซรัปดังกล่าวทำโดยการย่อยโมเลกุลของแป้งเพียงบางส่วน
คนเขียนยังปวดหัวแทนเลยค่ะ เอาเป็นว่าการเติมไซรัปลงไปก็ช่วยให้มีความข้นนิดหน่อยเวลาเติมในกาแฟ และยังใช้เป็นตัวกลางที่ใช้จับน้ำมันในช่วงการผลิตทำเป็นผงด้วย นอกจากนี้ครีมเทียมยังมีส่วนผสมอื่น ๆ เช่น เคซีน (โดยภาษาอังกฤษก็ระบุว่าเป็น sodium caseinate) ซึ่งเป็นโปรตีนที่สกัดจากน้ำนม หรือบางยี่ห้อก็ใช้โปรตีนพืชซึ่งก็คาดว่าคงเป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง ปริมาณการผสมเคซีนในรูปโซเดียมเคซิเนตในครีมเทียมบางยี่ห้ออาจไม่สูงนัก แต่ก็เป็นจุดที่ผู้ซึ่งมีปัญหาเกี่ยวกับความดันเลือดสูงและต้องการควบคุมปริมาณโซเดียมควรระวังไว้หน่อย
เมื่อพิจารณาในส่วนฉลากภาษาอังกฤษ จะเห็นความลับของครีมเทียมในส่วนผสมมากยิ่งขึ้น เช่น
- สารโมโน, ไดกลีเซอร์ไรด์ (Mono, di-glycerides
แสดงความคิดเห็น