การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment)
การรักษารากฟัน คือ การนำเอาเส้นเลือดและเส้นประสาทที่มาเลี้ยงตัวฟันออกไป แล้วแทนที่ด้วยวัสดุบางอย่าง | |
เมื่อไรที่ต้องรักษารากฟัน จะทำการรักษารากฟันเมื่อฟันผุหรือหักทะลุ โพรงประสาทฟัน ทำให้เชื้อโรคเข้าไปทำอันตรายประสาทฟัน เกิดการติดเชื้อของโพรงประสาทฟันอย่างรุนแรง จนไม่สามารถทำการอุดฟันได้ตามปกติ ถ้าปล่อยไว้โดยไม่รักษา เชื้อโรคจะเดินทางไปถึงรากฟันทำให้เกิดเป็น ถุงหนองที่ปลายรากฟัน ซึ่งถุงหนองที่ปลายรากฟันนี้จะสามารถทำลาย กระดูกขากรรไกรได้ด้วย
| |
ในฟันที่รับอันตรายจากแรงกระแทกหรือจากอุบัติเหตุ ทำให้เส้นเลือดที่มาเลี้ยงตัวฟันเสียหายหรือเสื่อมสภาพไป หรือ บางครั้งอุบัติเหตุทำให้ฟันมีรอยร้าวซึ่งมีผลทำให้เชื้อโรคต่างๆเข้าไปทำอันตรายประสาทฟันก็ได้ กรณีนี้ก็ต้องรับการรักษารากฟัน อาการที่มักจะแสดงให้เห็นจากสาเหตุข้างต้น คือ ปวดฟัน, ฟันมีสีคล้ำลงกว่าเดิม , มีหนองออกมาจากเหงือกบริเวณปลายรากฟัน , เหงือกบวม ซึ่งฟันเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการรักษารากฟัน ก็จำเป็นที่จะต้องถูกถอนออกไป
| |
ขั้นตอนในการรักษารากฟัน มีดังนี้ 1. การเจาะฟันลงไปให้ถึงส่วนของโพรงประสาทฟัน จากนั้นทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือทำความสะอาดเส้นประสาทฟัน และเส้นเลือดในโพรงประสาทฟันที่ติดเชื้อหรืออักเสบ อยู่ออกจนหมด 2. บางครั้งทันตแพทย์อาจจะใส่ยาบางชนิดเพื่อช่วยกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ที่อาจหลงเหลืออยู่ในโพรงประสาทฟันให้หมดแล้วอุดฟัน ด้วยวัสดุอุดชั่วคราวไปก่อน แล้วให้ผู้ป่วยกลับบ้าน | |
3. เมื่อทันตแพทย์แน่ใจว่าไม่มีเชื้อโรคหรือ เนื้อเยื่อที่อักเสบอยู่ในโพรงประสาทฟันแล้ว ก็จะทำการอุดโพรงประสาทฟันนั้น ด้วยวัสดุเฉพาะ | |
4. จากนั้นก็อุดตัวฟันเพื่อปิดทางไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาได้อีกต่อไป | |
การรักษารากฟันนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องมารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมักใช้เวลาในการรักษามากกว่า 1 ครั้ง ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจให้ทันตแพทย์รักษารากฟัน ผู้ป่วยต้องแน่ใจว่ามีเวลาเพียงพอที่จะมารับการรักษา โดยปกติจะใช้เวลารักษาประมาณ 2-4 ครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของฟันที่จะรับการรักษา อนึ่ง การรักษารากฟัน เป็นเพียงการที่จะพยายามเก็บฟันไว้ให้อยู่ในช่องปาก ได้นานที่สุดแทนที่จะต้องถอนออกไป ดังนั้น หลังจากการรับการรักษารากฟัน โดยสมบูรณ์แล้ว ฟันซี่นั้นอาจจะอยู่ได้อีก 1 ปี, 5 ปี หรือตลอดชีวิตก็ได้ การมาตรวจฟันตามปกติยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็นอยู่
| |
ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันแล้ว จะเรียกว่าฟันตาย (non-vital tooth) โดยจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่เห็นได้ชัด คือ เนื้อฟันจะเปราะขึ้น แตกหัก ได้ง่ายขึ้น ฟันเปลี่ยนเป็นสีคล้ำลงกว่าเดิม ดังนั้น ทันตแพทย์จึงแนะนำให้ ทำเดือยร่วมกับครอบฟัน (post & core) เพื่อให้ฟันนั้น มีความแข็งแรง และสวยงามดังเดิม |
9 ความคิดเห็น:
รากฟันไร้ความรู้สึกเลยสินี่
ขอบคุณสาระดีๆ ค่ะ
สาระดีดี ที่เรากำลังต้องโดน TT
สาระดีๆ ที่โดนมาแล้ว ^^
ม่ายเปงรายค่ะ เจ็บนิ๊ดดดนึง
สมพรปาก : )
ผลออกมาแล้ว วันนี้ไปพบคุณหมอ
รถติดไปช้าครึ่งชั่วโมง
ขึ้นเตียงนอนเสร็จ หมอส่องป้าบ
"ใหญ่มาก" หมอบอก
ต้องรักษารากฟัน สองครั้ง ครอบฟันอีกสามครั้ง หมอบอกเสร็จสรรพ
เราก็ ครับผม เสียงอ่อย
หมอฉีดยาชา ไม่รู้สึกเจ็บ
เราถามแล้วมันชาอะยัง
หมอบอก ถ้าเจ็บยกมือซ้าย ปกติ ฟันบนชาเร็ว บวมน้อย
แล้วหมอ ก็กรอ ปรื้ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ปรื้ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
แล้วหมอก็บอกว่า ยังผุไม่ทะลุ โพรงประสาทฟัน
มีออฟชั่นให้เลือก
1 อุดฟัน หลุด รึผุ ค่อยเจาะทำลายรากฟัน แล้วครอบ
2 ทำลายรากฟันเลยทันที
แน่นอน ครับ ยกมือขึ้นชูหนึ่งนิ้ว อุดไว้ก่อน ใครๆก็สอนไว้
แป้บเดียว รีบร้อย อุดไปครึ่งซีก
จ่ายไปพันหก มานั่ง เล่นเนตได้สบายบรื้อ
เห็นภาพก็หนาวแร่ะ โอ้ยยยยยยยย
ถอนทิ้งไปเลย โย่ววววววววว จัดมาแล้ว
มันแค่ผุแตกหัก ไม่ปวดสักกะนิด
แสดงความคิดเห็น