วันนี้ไปนั่งฟังสัมมนาเรื่องการ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาครับ
ได้ความรู้มาหลายๆอย่าง
ที่แน่ๆคือ ของที่ผิดหรือหมิ่นเหม่ว่าผิด แม้ว่าเรามองว่าตลก แต่เข้าข่ายละเมิด เช่นรูปบุคคลมาแต่ง
หากโพสรูป การฟอร์เวิดเมล์ หรือแม้เซฟไว้ที่เครื่องตัวเอง
หากฟ้องร้องขึ้นมา ก็ผิดเลยครับ (ดังกรณี มือกลองในตำนาน)
ดังนั้น การโพสอะไรในมัลติพลายก็ระวังกันด้วยนะครับเพื่อนพี่น้องงงงงงงงงงง
ส่วนนี่ไปหามาให้ดูเพิ่มครับ
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรทำ http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php/สิ่งที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตไม่ควรทำ
โดย ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ในฐานะบุคคลธรรมดาท่านไม่ควรทำในสิ่งต่อไปนี้ เพราะอาจจะเป็นหนทางที่ี่นำไปสู "กระทำความผิด" ตาม พรบ.นี้
- 1 อย่าบอก password ของท่านแก่ผู้อื่น
- 2 อย่าให้ผู้อื่นยืมใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อเข้าเน็ต
- 3 อย่าติดตั้งระบบเครือข่ายไร้สายในบ้านหรือที่ทำงานโดยไม่ใช้มาตรการการตรวจสอบผู้ใช้งานและการเข้ารหัสลับ
- 4 อย่าเข้าสู่ระบบด้วย user ID และ password ที่ไม่ใช่ของท่านเอง
- 5 อย่านำ user ID และ password ของผู้อื่นไปใช้งานหรือเผยแพร่
- 6 อย่าส่งต่อซึ่งภาพหรือข้อความ หรือภาพเคลื่อนไหวที่ผิดกฎหมาย
- 7 อย่า กด "remember me" หรือ "remember password" ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และอย่า log-in เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินที่เครื่องสาธารณะ ถ้าท่านไม่ใช่เซียนทาง computer security
- 8 อย่าใช้ WiFi (Wireless LAN) ที่เปิดให้ใช้ฟรี โดยปราศจากการเข้ารหัสลับข้อมูล
- 9 อย่าทำผิดตามมาตรา ๑๔ ถึง ๑๖ เสียเอง ไม่ว่าโดยบังเิอิญ หรือโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
สิ่งที่ต้องเตรียมตัวเมื่อ พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใช้บังคับ
http://wiki.nectec.or.th/nectecpedia/index.php/สิ่งที่ต้องเตรียมตัวเมื่อ_พรบ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใช้บังคับ
ข้อมูลแบบใด จึงจะเรียกว่า "ลามก อนาจาร"?
อาจตีความจากคำพิพากษาฎีกา ได้ว่าสิ่งที่จะเรียกได้ว่าลามกนั้นจะต้องไม่เป็นภาพที่นำไปสู่ความใคร่ทาง กามารมณ์ ความตื่นเต้นทางเพศ และ ต้องไม่ปรากฎอวัยวะเพศให้เห็นเด่นชัด เช่น สิ่งที่เป็นศิลปะ ตามฎีกาที่เป็นการเขียนสัดส่วนหญิงเปลือยการแต่อวัยวะเพศถูกระบาย ไม่นำไปสู่ความใคร่ทางกามารมณ์
- สิ่งอันลามก คือ น่าอับอายในทางเพศต่อตา น่าอุจาดบัดสี ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เป็นศิลปะอันแสดงถึงความงามและฝีมือของศิลปิน ศิลปะหรือลามกพิจารณาตามความรู้สึกของวิญญูชนผู้มิใช่เคร่งต่อจารีตประเพณีโดยไม่ยอมเปลี่ยนแปลงไปตามสมัยของโลก รูปหญิงเปลือยกาย เห็นเด่นชัดเฉพาะถัน ส่วนโยนีถูกระบายให้ลบเลือนเห็นเพียงฐาน แสดงสุขภาพอนามัยของการอาบแดด สอนวิธีเขียนส่วนสัดความงามของร่างกาย ไม่น่าเกลียดอุจาดบัดสีที่นิยมนำไปสู่ความใคร่ทางกามารมณ์ ไม่เป็นลามกอนาจาร (ฎีกาที่ ๙๗๘/๒๔๙๒ ฎ.๖๗๕)
- ภาพสตรีแสดงส่วนสัดความสมบูรณ์ของร่างกายที่ไม่มีสิ่งปกปิด ส่วนล่างพยายามปกปิดหรือทำเป็นเพียงเงาๆ ลบเลือนให้เป็นอวัยวะที่ราบเรียบแล้วไม่มีลักษณะน่าเกลียด น่าอุจาดบัดสี ไม่เป็นภาพลามก (ฎีกาที่ ๑๒๒๓/๒๕๐๘ ฎ.๑๙๓๖)
- ภาพพิมพ์ของกลางเป็นภาพหญิงสาว ซึ่งมีบางภาพเปิดเผยเต้านมอย่างโจ่งแจ้ง ส่วนที่มีอวัยวะเพศแม้จะมีผ้าอาภรณ์ปกปิดไว้ แต่ก็ปกปิดไว้อย่างหมิ่นเหม่ ซึ่งนอกจากจะอยู่ในอิริยาบทที่ไม่เรียบร้อย ไม่น่าดู แล้ว ยังอยู่ในอิริยาบท ที่น่าเกลียดน่าบัดสีอีกด้วย กล่าวคือ มีบางภาพอยู่ในอิริยาบทนอนก็นอนหงายถ่างขาออกอย่างกว้าง ทำนองเจตนาเพื่ออวดอวัยวะเพศอย่างเด็ดชัด ส่วนภาพที่อยู่ในอิริยาบทที่นั่งก็นั่งถ่างขาออก แม้จะมีผ้าปกปิดอวัยวะเพศก็เป็นผ้าบางใส ซึ่งแสดงว่าต้องการอวดอวัยวะเพศเช่นเดียวกัน จึงเป็นภาพที่มีเจตนายั่วยุให้บังเกิดความใคร่ทางกามารมณ์โดยตรง ถือเป็นภาพลามก (ฎีกาที่ ๖๓๐๑/๒๕๓๓)
- มีการแสดงแฟชั่นโชว์ โดยให้นางแบบแต่งกายชุดอาบน้ำตัดเย็บด้วยผ้าลูกไม้บาง บนฟลอร์ มีสปอทไลท์ ฉายไปมา สามารถมองผ่านช่องว่างของลูกไม้บางนั้นเห็นนมเนื้อตัวร่างกายของนางแบบ ลักษณะการแต่งกายเช่นนี้ไม่แตกต่างไปจากการเปลือยกาย และถือได้ว่าได้จัดให้มีการแสดงเพื่อความบันเทิงในสถานบริการซึ่งเป็นไปในทางลามกหรืออนาจาร (ฎีกาที่ ๕๕๑๙/๒๕๓๑)
- ภาพหญิงยืนเปลือยกายกอดชาย ภาพหญิงสวมกางเกงในโปร่งตามีผู้ชายนอนกอดมือโอบบริเวณทรวงอก ภาพหญิงเปลือยกายท่อนบนใช้มือจับหูโทรศัพท์กดที่อวัยวะเพศ ภาพหญิงเปลือยกายมีแหคลุมตัวมือข้างกุมนมอีกข้างหนึ่งกุมอวัยวะเพศ ภาพหญิงเปิดเสื้อให้เห็นนม ล้วงมือเข้าไปในกระโปรง ภาพหญิงเปลือยอกสวมกางเกงใน มือล้วงที่อวัยวะเพศ และภาพหญิงเปลือยอกสวมกางเกงขาสั้น มือข้างหนึ่งล้วงไปจับที่อวัยวะเพศ ภาพดังกล่าวแม้ไม่เห็นอวัยวะเพศชัดเจน แต่ก็มีลักษณะส่อไปในด้านยั่วยุกามารมณ์ และภาพหญิงเปลือยตลอดร่างซึ่งพอเห็นอวัยวะเพศได้บ้างถือได้ว่าเป็นภาพอันลามก ไม่ใช่ภาพศิลปะ ที่แสดงถึงสัดส่วนความสมบูรณ์ของร่างกาย ข้อความต่างๆ ที่ได้บรรยายถึงการร่วมประเวณีของชายและหญิงอย่างชัดเจนละเอียดลออ โดยบรรยายถึงอารมณ์ของชายและหญิงไปในทางยั่วยุกามารมณ์ แม้จะมิได้ใช้ถ้อยคำหยาบคาย ถือได้ว่าเป็นข้อความอันลามก
ข้อมูลแบบใด จึงจะเรียกว่าเป็น "ความมั่นคง"?
คำว่า "ความมั่นคง" ได้บัญญัติไว้ใน 3 มาตรา คือ
- ในมาตรา 12(2) ซึ่งเป็นการกระทำโดยรบกวนข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยการทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมโดยมิชอบ คำว่า "ความมั่นคง" หมายถึง ความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ (ในความหมายโดยกว้าง) ไม่ว่าจะเป็นในประเทศ หรือนอกประเทศก็ตาม เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับทางด้านการทหาร หรือ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศหรือการบริการสาธารณะ เช่น ข้อมูลการเงินที่อยู่ในระบบของธนาคารแห่งประเทศไทย
- ในมาตรา 14(2) ซึ่งเป็นการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่จริงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยน่าจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงประเทศ คำว่า "ความมั่นคง" มีความหมายเหมือนกับคำว่า "ความมั่นคง" ในมาตรา 12
- ในมาตรา 14(3) ซึ่งเป็นการนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราช อาณาจักรตามประมวลกฎหมายอาญาเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ คำว่า "ความมั่นคง" หมายถึงข้อมูลที่เป็นความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เช่นข้อมูลเกี่ยวกับการเตรียมการทำร้ายพระวรการ หรือความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร เช่นข้อมูลที่จะล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ข้อมูลที่ก่อให้เกิดการแบ่งแยกราชอาณาจักร
ข้อมูลแบบใด จึงจะเรียกว่าก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน? ตื่นตระหนกกันกี่คน จึงจะถือว่าเป็น "ประชาชน"
คำว่า "ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน" ไม่ได้มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าจะต้องเป็นจำนวนกี่คนถึงจะถือได้ว่าเป็นการ ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน โดยเจตนารมณ์ของการบัญญัติ ต้องการให้หมายถึงข้อความที่ส่งผลกระทบต่อบุคคลทั่วไป ไม่ว่าจะในทางสังคม ทางความมั่นคง ทางเศรษฐกิจ หรือทางความรู้สึกก็ตาม ซึ่งการเขียนกฎหมายลักษณะเช่นนี้เป็นการให้อำนาจแก่ศาลในการใช้ดุลพินิจ พิจารณาตีความได้ เช่น ข้อความ "จะเกิดสึนามิแล้ว อีก 10 นาที" อาจก่อให้เกิดความตื่นตระหนกตกใจแก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของกิจการม นักท่องเที่ยว หรือชาวบ้านทั่วไป ที่ต้องรีบเก็บของสัมภาระ วิ่งหนีออกจากบ้าน หรือร้านค้าของตนเอง อาจก่อให้เกิดความชุลมุน หรืออันตรายต่อชีวิต หรือทรัพย์สิน หรือ ข้อความว่า "ไข้หวัดนกสายพันธ์ใหม่ระบาดอีกแล้ว คนเลี้ยง คนฆ่า คนขายเป็ด ไก่ ตายหมด" หรือ " ระบบคอมพิวเตอร์ของธนาคารทุกธนาคารรั่วแล้ว ระวังเงินของคุณไว้ให้ดีจะมีคนเอาไปใช้ โดยไม่รู้ตัว" อาจทำให้คนที่อ่านไปถอนเงินของตัวเองในธนาคารก็ได้ จนเกิดเป็นปัญหาต่อระบบการเงินของประเทศก็ได้
แต่ถ้าหากเป็นข้อความที่ผู้คนทั่วไปอ่านแล้ว ไม่ก่อให้เกิดความตกใจแก่คนส่วนใหญ่ เช่น ข้อความว่า "ประเทศไทยจะมีหิมะตก ระวังหิมะถล่ม" ข้อความลักษณะนี้ เมื่อผู้ใดอ่านแล้วก็ไม่น่าจะก่อให้เกิดความตื่นตระหนกตกใจได้ เนื่องจาก ความเป็นไปได้ทีสถานการณ์นี้จะเกิดขึ้นมีน้อยมาก ถึงไม่มีเลย
8 ความคิดเห็น:
ค้าบ
ขอบคุณค่ะพี่เม้ง หนูทำผิดหลายข้อเหมือนกันนะคะนี่
แต่เรื่องส่ง เมล์ต่อนี่ไม่ค่อยทำค่ะ เพราะเราเองยังเบื่อคนที่ชอบส่งเมล์ไร้สาระมาให้
เราเลยไม่ส่งต่อฮิๆๆๆ
แล้วถ้าเป็นผู้รับเฉยๆ นี่ผิดไหมครับ คือรับแล้วมันอยู่ใน email account เราหนะครับ แต่ไม่ได้ส่งต่อ ไม่ได้ลบทิ้ง
.....โห อธิบายซะละเอียดเลย น้าเม้งลามกรึเปล่า (แซว)
เง้อออ เคยรับและฟอร์เวิดแมว
Thanks.
อืม ถ้ามีคนส่งมาให้เยอะ ๆ ทำไง
จะบอกเค้าก็เกรงใจ
ถ้าเกรงใจก็ ทนรับต่อไปครับ
ลบๆทิ้ง อย่าส่งต่อละกัน
แสดงความคิดเห็น