อันเนื่องมาจากอ่านบล้อคนี้เข้า http://anggate.multiply.com/journal/item/23 แล้วมีกล่าวถึง อิติปิโส
อันอารามบอย(เรียนโรงเรียนวัด)เช่นเรา ย่อมมีผ่านหู ผ่านปากมาแน่นอน บทอิติปิโส ไหนจะตามงานพิธีต่างๆอีก
เลยลองท่องดูครับ .. .. ..
ท่อง ไม่ได้ อืม อารามบอยเก่า ท่องไม่ได้
เฮ้อ อย่ากระนั้นเลย ไปหาอิติปิโสมาดูดีกว่าว่าคืออะไร
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------
อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชา จะระณะ สัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู
อนุตตะโร ปุริสะธัมมะสาระถิ สัตถา เทวมนุสสานัง พุทโธภะคะวาติ
พระพุทธคุณ แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ผู้บริสุทธิ์เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา และความประพฤติ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่าเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว และเป็นผู้จำแนกแจกแจงธรรม
พระธรรมคุณ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก โอปะนะยิโก ปัจจัตตังเวทิตัพโพ วิญญูหิติ
พระธรรมคุณ พระธรรมอันเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ขึ้นอยู่กับกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน
พระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทังจัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะปุริสะปุคคะลา เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย อัญชะลีกะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ
พระสังฆคุณ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง เป็นผู้ปฏิบัติสมควร เป็นผู้ควรแก่การของคำนับ เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เป็นผู้ควรแกของทำบุญ เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลีกราบไหว้ เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก
สวดบทอิติปิโส สรรเสริญองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า สวดหลายๆรอบจนทำให้จิตใจมีความสุข เสร็จแล้วแผ่เมตตาตอนที่จิตใจมีความสุขความอบอุ่นให้สรรพสัตว์ หรือคนที่จ้องทำร้ายเรา
-----------------------------------------------------------------------------
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา (โหนตุ)
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพยาปัชฌา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา (โหนตุ)
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ
ประโยชน์ของการแผ่เมตตาที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้มี 11 ประการได้แก่
• ทำให้หลับก็เป็นสุข
• ตื่นก็เป็นสุข
• ไม่ฝันร้าย
• เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
• เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย (ผีเปรต อสุรกาย วิญญาณต่างๆ)
• เทวดาทั้งหลายย่อมคุ้มครอง
• แคล้วคลาดจากภยันอันตราย
• จิตเป็นสมาธิได้ง่าย
• สีหน้าย่อมผ่องใส
• เมื่อจะตายใจก็สงบ (สู่สุคติภูมิ)
• ถ้ายังไม่บรรลุคุณธรรมพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงชั้นพรหม
18 ความคิดเห็น:
คุงคร๊า
กะลังอยากได้เลยค่ะ เป็นประโยชน์มาก ขอบคุณค่ะ
ดีจังคะ .. :)
ดีจังจารย์เม้งนำมาลง น่าชื่นชมมากค่ะ
เนื่องด้วยเรียนโรงเรียนพุทธมาตั้งแต่เล็กๆ จนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 10 ปีพอดี ทุกวันศุกร์ตอนเย็น..ต้องสวดมนต์กันก่อนกลับบ้าน.....เสียดายเด็กๆสมัยนี้ไม่มีอารมย์แบบสมัยนั้น วิชาประวัติศาสตรไทย ประวัติศาสตร์สากล ก็โดนหันทิ้งไป แล้วพอตอนเอ็นทรานส์ นู้นๆๆ ต้องพึ่ง ร.รกวดวิชาช่วยสอน...กำ ก้ำ กำ
กรณียะเมตตาสุต ด้วยจิ อิอิ
สวดครบหมดแล้ว สวด พระพุทธคุณเท่าอายุ + 1 ด้วยนะคะเยี่ยมเลย
เพิ่งเคยได้ยินอะครับ ไปเบิ่งก่อนนะ
อ๋อ บทสั้น เมตตัญจะ สัพพะโลกัสะมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
นี้ผมท่องได้ บทยาวไม่หวาย
บทสั้นเอาไว้เวลาขับรถขับรา
บทเต็มๆเยี่ยมมากค่ะ ไม่ได้สวดมนต์ยาวๆมานานแล้ว
ตอนนี้ชักลืมๆ กรรมเจรงๆๆ
http://board.palungjit.com/showthread.php?p=150037
บทกรณียเมตตาสูตร บทแผ่เมตตานี้คือพระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้า
มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่ลูกศิษย์ท่านนึงกำลังสนทนาธรรมกับหลวงพ่อดู่ หลวงพ่อดู่ท่านเปรยว่า "เคยได้ยินเรื่องพระขรรค์เพชรของพระพุทธเจ้าไหม" ลูกศิษย์เรียนท่านว่าไม่เคยได้ยินหมายถึงอะไร หลวงพ่อท่านเลยเล่าเรื่อง "เมื่อครั้งที่พระภิกษุออกไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าได้วันแรก ๆ เทวดาหรือรุกขเทวดาที่ประจำอยู่ตามต้นไม้ ก็อวยชัยให้พรดี แต่เมื่ออยู่นานไป ก็ทำท่าเหมือนกับมาหลอกพระ ทำให้พระต้องหนีออกจากป่า จึงกราบทูลกับ พระพุทธเจ้าว่า ควรจะทำอย่างไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เราจะมองพระขรรค์เพชร ไปให้พวกเธอ พระขรรค์เพชร ในที่นี้ คือ การเจริญเมตตา หรือกรณียเมตตาสูตร ซึ่งมีอยู่ใน 12 ตำนาน เป็นการกล่าวถึงกิจของพระสงฆ์ที่ควรกระทำ การแผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณ ตั้งแต่สัตว์ไม่มีขา สัตว์มีขา ภูตผีปีศาจทั้งหลาย เมื่อพระภิกษุเอาบทกรณียเมตตาสูตรมาสวด แล้วก็แผ่เมตตาไปให้เทวดาทั้งหลายนั้น เทวดาทั้งหลายก็ไม่ได้มารบกวนท่าน ทำให้การบำเพ็ญสมณธรรมลุล่วงไปด้วยดี ซึ่งเหล่านั้นสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ หลวงพ่อท่านบอกว่า "เวลาที่ข้าทำพระขรรค์ให้แกนั้น ข้าก็ใช้บทนี้ด้วย บทนี้เป็นบทสำคัญ เวลาเดินป่าหรือเวลาไปที่หนึ่งที่ใดก็ตามให้ใช้สวด หมั่นสวดให้จำได้อยู่เสมอ มีอานุภาพมาก หรือแม้แต่เราผ่านศาลไปที่หนึ่งที่ใด เราใช้เพียงคำว่า เมตตัญจะ สัพพะโล กัสมัง มานะ เทวดาที่ประจำอยู่ศาลก็จะมาส่งเป็นทอด ๆ ไปจนสุดทาง"
ตำนานพระปริตร : กรณียเมตตสูตร
บทขัดกรณียเมตตสูตร
เหล่าเทพยาทั้งหลาย ย่อมไม่แสดงอาการอันน่าสะพรึงกลัว เพราะอานุภาพแห่งพระปริตรนี้ อนึ่งบุคคลไม่เกียจคร้าน สาธยายอยู่เนือง ๆ ซึ่งพระปริตรนี้ ทั้งในกลางวันและกลางคืนย่อมหลับเป็นสุข ขณะหลับย่อมไม่ฝันร้าย
ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จงสวดพระปริตร อันประกอบไปด้วยคุณดังกล่าวมา ดังนี้เทอญ
ตำนาน
เริ่มเรื่องที่ พวกพระภิกษุ ๕๐๐ รูป ในนครสาวัตถี ครั้นได้เรียนกัมมัฏฐานในสำนัก สมเด็จพระบรมศาสดา แล้วหลีกไปหาที่สงัดเงียบ สำหรับเจริญวิปัสสนา เดินทางไปได้สิ้นระยะทางประมาณ ๑๐๐ โยชน์
ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ชาวบ้านเหล่านั้นได้เห็นพระภิกษุ มีความยินดี นิมนต์ให้นั่ง บนอาสนะอันสมควร แล้วอังคาสด้วยข้าวยาคู เป็นต้น พร้อมทั้งถามว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้ง หลายจะไป ณ ที่แห่งใด
ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวว่า เราจะไปแสวงหาสถานที่สบาย สำหรับปฏิบัติธรรมตลอดไตรมาส ชาวบ้านเหล่านั้นจึงกล่าวว่า จากนี้ไปไม่ไกลนัก มีป่าชัฏเป็นที่สงัด เงียบเป็นที่รื่นรมย์ ขอนิมนต์พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย โปรดจงเจริญสมณธรรม ในที่นั้น ตลอดไตรมาสเถิด
ข้าพเจ้าทั้งหลายจะขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ และรักษาศีลในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย พระภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์แล้วก็ออกเดินทางเข้าไปสู่ป่าชัฏ เพื่อเจริญสมณธรรม
ฝ่ายพวกรุกขเทวดาที่สิงสถิตอยู่บนต้นไม้ในป่านั้น ต่างพากันคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้ง หลายมาอาศัยอยู่ที่โคนต้นไม้ของเรา ตัวเราและบุตรภรรยาขึ้นอยู่บนต้นไม้นี้ จักไม่เป็นการบังควร ดูว่าจะไม่เคารพ พวกรุกขเทวดาทั้งหลาย จึงพากันลงจากต้นไม้ มานั่งอยู่เหนือพื้นดิน ได้รับความลำบากมิใช่น้อย พวกรุกขเทวดาผู้ใหญ่ ได้พูดปลอบใจเทวดาผู้น้อยว่า ไม่เป็นไรหรอกชาวเราเอ๋ย… พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้คงจะอยู่ ณ ที่นี้ไม่นาน รุ่งขึ้นท่านก็คงจะจาริกไปที่อื่น ชาวเราทั้งหลาย จักได้กลับขึ้นไปอยู่บนวิมานของเราเหมือนเดิม
รุ่งสาง พระสุริยะก็ฉายแสงส่องลงมายังภาคพื้นปฐพี เหล่าภิกษุทั้งหลาย ก็พากัน ออกเที่ยวบิณฑบาตภายในหมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ไม่ไกลจากป่านั้นนัก
พวกเทวดาต่างพากันคิดว่า ดีหละ พระเป็นเจ้าทั้งหลายคงจะย้ายที่อยู่ กันสิ้นแล้ว จึงพากันขึ้นไปสถิตยังต้นไม้ของตนตามเดิม
เหตุการณ์เป็นเช่นนี้ ล่วงเวลาไปครึ่งเดือน พวกรุกขเทวดาจึงพากันคิดว่า ชะรอยพระเป็นเจ้าคงจะอยู่ ณ ที่นี้ถ้วนไตรมาสเป็นแน่ เห็นทีชาวเราคงจะต้องลำบากไปตลอดไตรมาสด้วย เห็นทีชาวเราทั้งหลายจะต้องทำอะไรสักอย่าง เพื่อให้ท่านไปเสียจากที่นี่
เมื่อคิดดังนั้นแล้ว รุกขเทวดาต่างก็พากันแสดงตนให้ปรากฏต่อประสาทสัมผัสของพระภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ด้วยอาการ กิริยา อันน่าสะพรึงกลัวต่าง ๆ เช่น ทำให้เกิดลมพายุพัด ทำให้เกิดฝนตกเฉพาะภาคพื้นนั้น ทำให้ดูประหนึ่งแผ่นดินไหวสะเทือนเลื่อนลั่น ทำให้เกิดเสียงร้องโหยหวนดังเสียงของเปรต หรือสัตว์นรกผู้กำลังได้รับทุกขเวทนาจากการโดนลงทัณฑ์ แม้ที่สุดกระทำให้ภิกษุทั้งหลายได้เห็นภาพอันน่าสะพรึงกลัวต่าง ๆ พวกภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้นก็หาได้หนีจากที่นั้นไปไม่
รุกขเทวดาผู้ใหญ่ เลยออกอุบาย ให้บริวารช่วยกันบันดาลให้เกิดโรค แก่ภิกษุเหล่านั้น มีอาการป่วยต่าง ๆ กัน เช่น โรคไอ โรคจาม โรคหอบ โรคนอนกรน โรคฝันร้าย โรคเหล่านี้ ทำให้กายของพระภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป มีร่างกายซูบซีด ผอมแห้ง ได้รับทุกขเวทนา จนทนอยู่ ณ ที่นั้นมิได้ จึงพากันเดินทางหลีกหนี ออกจากป่าชัฏนั้น แล้วชวนกันไปเฝ้าพระบรมศาสดา ทูลเล่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้ประสบมา ให้พระบรมศาสดาทรงทราบ
พระผู้มีพระภาค เมื่อได้ทรงสดับ การที่ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปได้ประสบมา จึงทรงมีพุทธประสงค์ให้ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป กลับไปเจริญสมณธรรมในที่เดิม
จึงทรงประทาน เมตตาสูตร ให้แก่พระภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปได้เรียน เพื่อใช้ป้องกันภัย จากภูต และเทวดา ยักษ์ มาร ทั้งปวง โดยมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสาธยายพระสูตรนี้ ตั้งแต่ชายป่า จนถึงภายนอก และภายในที่พัก เช่นนี้ ความสวัสดีจะมีแก่เธอทั้งหลาย
ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ได้เรียนพระพุทธมนต์ จนขึ้นใจแล้ว จึงพากันเดินทางกลับไปยังป่าชัฏดังเดิม ครั้นถึงชายป่าชัฏ ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปก็สาธยายพระพุทธมนต์ บทเมตตาสูตร จนเดินถึงที่พัก
พวกรุกขเทวดาทั้งหลาย เมื่อได้สดับเสียงเจริญ เมตตาสูตร จากปากพระภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูป ก็มีจิตเมตตา รักใคร่ พากันมาต้อนรับปฏิสันถาร รับบาตรจีวร ปัดกวาด หาน้ำใช้ น้ำฉัน แล้วคอยรับใช้ อภิบาลรักษาอยู่ตามแนวป่า มิให้มนุษย์ อมนุษย์ และสัตว์ร้ายใด ๆ มารบกวน ทำร้ายพระเป็นเจ้าของตน
ภิกษุเหล่านั้น เมื่อได้อยู่เป็นที่สงบสุขแล้ว ก็หมั่นตั้งจิตบำเพ็ญ วิปัสสนา กัมมัฏฐาน ตลอดกลางวันและกลางคืน จนจิตหยั่งลงสู่วิปัสสนาญาณ เห็นความเสื่
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
สันตินทะริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร
ภูตา วา สัมภะเวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ
พะยาโรสะนา ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ
มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข
เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
*เมตตัญจะ สัพพะโลกัสะมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง
อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง
ติฏฐัญจะรัง นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ
เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ
ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน
กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ
สาธุค่ะ : )
กรณียเมตตสูตร(แปล)
- กุลบุตรผู้ฉลาด พึงกระทำกิจที่พระอริยเจ้าผู้บรรลุแล้วซึ่ง
พระนิพพานอันเป็นที่สงบระงับได้กระทำแล้ว,
- กุลบุตรนั้งพึงเป็นผู้องอาจ ซื่อตรงและประพฤติตรงดี เป็นผู้ที่ว่าง่ายสอนง่าย อ่อนโยน ไม่มีมานะอันยิ่ง,
- เป็นผู้สันโดษยินดีในสิ่งที่ตนมีอยู่ เป็นผู้เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจธุระน้อย เป็นผู้ประพฤติทำให้กายและจิตเบา,
- มีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อันสงบนิ่ง มีปัญญาฆ่ากิเลส เป็นผู้ไม่คะนอง กาย วาจา ใจ และไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย,
-ไม่พึงกระทำกรรมที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายติเตียน
ผู้อื่นว่าทำแล้วไม่ดี,
- พึงแผ่เมตตาจิตว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข
มีจิตเกาะพระนิพพานแดนอันพ้นจากภัยทั้งหลาย
และจงเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขทุกเมื่อเถิด,
-ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทั้งหมดโดยไม่มีเหลือ ทั้งที่มีตัณหาเครื่องทำใจให้สะดุ้งอยู่ และผู้มั่นคงคือไม่มีตัณหาแล้ว ทั้งที่มีกาย
ยาว ใหญ่ปานกลาง หรือกายสั้น หรือผอม อ้วน เป็นผู้ที่เราเห็นแล้วก็ดี ไม่ได้เห็นก็ดี อยู่ในที่ไกลหรือในที่ไม่ไกล ทั้งที่เกิดมาในโลกนี้แล้ว
และที่ยังกำลังแสวงหาภพเป็นที่เกิดอยู่ดี จงเป็นเป็นผู้ทำตนให้ถึงความสุขเถิด,
- สัตว์อื่นอย่าพึงรังแกข่มเหงสัตว์อื่น อย่าพึงดูหมิ่นใครในที่ใด ๆ เลย,
- ไม่ควรปรารถนาให้กันและกันมีความทุกข์ เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความเคียดแค้นกันเลย,
- มารดาย่อมตามรักษาบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด,
- กุลบุตรพึงเจริญเมตตาจิตในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งปวงทั้งหลายแม้ฉันนั้น,
- บุคคลพึงเจริญเมตตาให้มีในใจไม่มีประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น,
- ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง การเจริญเมตตาจิตนี้เป็นธรรมอันไม่แคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู,
- ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น จะยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงเพียงใด,
- ก็สามารถตั้งสติไว้ได้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าวถึงกิริยาอย่างนี้ว่า เป็นการเจริญพรหมวิหารในศาสนานี้,
- บุคคลผู้ที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงความเห็นผิด เป็นผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยความเห็นคือปัญญา,
- นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกได้แล้ว ย่อมไม่เข้าถึงความเข้าไปนอนในครรภ์เพื่อเกิดอีกโดยแท้แล ฯ
http://pornkruba.net/webboard_242788_4400_th?lang=
http://board.palungjit.com/showthread.php?p=150037
ในเมื่อเป็นของดี ฟังเสียงด้วยเลยละกัน
คำแปลจากอีกที่หนึ่งพร้อมเสียงครับ http://www.geocities.com/buddamontra/page16.htm
กะระณียะเมตตะสูตร
กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ
กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ
สักโก
อุชู จะ สุหุชู จะ
กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี
สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี
เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ
สันตุสสะโก
จะ สุภะโร จะ
เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย
อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ
เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต
สันตินทริโย
จะ นิปะโก จะ
มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา
อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ
เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย
นะ
จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง
วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย
สุขิโน
วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา
ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด
เย
เกจิ ปาณะภูตัตถิ
สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่
ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา
ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา ) หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ
ทีฆา
วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา
วันนี้ อยู่ดีดีก็นึกถึงทำนองสรภัญญะ ที่เคยสวดมาเมื่อสมัยเด็กๆครับ
องค์ใดพระสัมพุทธ
ตัดมูลเกลศมาร
หนึ่งในพระทัยท่าน
ราคี บ พันพัว
องค์ใดประกอบด้วย
โปรดหมู่ประชากร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์
ชี้ทางพระนฤพาน
พร้อมเบญจพิธจัก-
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล
กำจัดน้ำใจหยาบ
สัตว์โลกได้พึ่งพิง
ข้าขอประณตน้อม
สัมพุทธการุญ-
สุวิสุทธสันดาน
บ มิหม่นมิหมองมัว
ก็เบิกบานคือดอกบัว
สุวคนธกำจร
พระกรุณาดังสาคร
มละโอฆกันดาร
และชี้สุขเกษมสานต์
อันพ้นโศกวิโยคภัย
ษุจรัสวิมลใส
ก็เจนจบประจักษ์จริง
สันดานบาปแห่งชายหญิง
มละบาปบำเพ็ญบุญ
ศิรเกล้าบังคมคุณ
ญภาพนั้นนิรันดร (กราบ)
ธรรมะคือคุณากร
ส่วนชอบสาธร
ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์
ส่องสัตว์สันดาน
สว่างกระจ่างใจมล
ธรรมใดนับโดยมรรคผล
เป็นแปดพึงยล
และเก้านับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิสดาร
อันลึกโอฬาร
พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางครรไล
นามขนานขานไข
ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
<td
สงฆ์ใดสาวกศาสดา
รับปฏิบัติมา
แต่องค์สมเด็จภควันต์
เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรร-
ลุทางที่อัน
ระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไดร
ปัญญาผ่องใส
สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง
บ มิลำพอง
ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ-
ศาลแด่โลกัย
และเกิดพิบูลย์พูนผล
ทำนองสรภัญญะ นำมาจากเวปนี้ครับ http://www.84000.org/pray/sorrapanya.html
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ส่วนนี่คือข้อมูลผู้ประพันธ์ http://www.dmc.tv/forum/lofiversion/index.php/t14036.html
ผู้ประพันธ์บทสวดมนต์นี้เป็นถึงนักปราชญ์ราชบัณฑิตในรัชกาลที่ ๕ เลยทีเดียว
นามของท่านคือ พระยาศรีสุนทรโวหาร เป็นองคมนตรี และ เจ้ากรมพระอาลักษณ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕
นามเดิมของท่านคือ น้อย อาจารยางกูร เกิดเมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๖๕ (๑๘๕ ปีที่แล้ว)
ท่าน มีผลงานที่เด่นมากในวงการศึกษา เป็นผู้แต่งตำราเรียนชุดแรกของไทย ซึ่งในสมัยนั้น เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ (โรงเรียนหลวงแห่งแรก) และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง
ส่วนในด้านการศาสนานั้น ท่านได้ดำรงสมณเพศอยู่ช่วงหนึ่งในราชการพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่ หัว ๙ พรรษา และในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒ พรรษา รวมเป็น ๑๑ พรรษา ศึกษาเปรียญธรรมได้ ๘ ประโยค ท่านได้ทรงกำกับแปลพระปริยัติธรรมร่วมกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ศรีสุคตขัติยวงษ ที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคราราม
งาน ชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็น แม่กลองตรวจโคลงบรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ ๑๐๐ ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่านหนึ่ง
ท่านถึงแก่อสัญญกรรมเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อยฯ) เป็นผู้คิดแบบสอนหนังสือไทยไว้มากมายหลายเล่ม เล่มที่แพร่หลายที่สุด คงหนีไม่พ้น "มูลบทบรรพกิจ"
ซึ่งบางตอนท่องกันมาแต่รุ่นปู่ย่าตายายจนถึงลูกหลานบัดนี้ คือ เรื่องใช้ไม้ม้วน (ใ)
(ยานี ๑๑) ผู้ใหญ่หาผ้าใหม่ ให้สะใภ้ใช้คล้องคอ
ใฝ่ใจเอาใส่ห่อ มิหลงใหลใครขอดู
จะใคร่ลงเรือใบ ดูน้ำใสและปลาปู
สิ่งใดอยู่ในตู้ มิใช่อยู่ใต้ตั่งเตียง
บ้าใบ้ถือใยบัว หูตามัวมาใกล้เคียง
เล่าท่องอย่าละเลี่ยง ยี่สิบม้วนจำจงดี
สำหรับบทสวดสรรเสริญคุณ พระรัตนตรัย ที่พวกเราสวดกันทุกวันก่อนเลิกโรงเรียนอนุบาลฯ นั้น คัดมาจากคำประพันธ์ของท่าน ชื่อ "คำนมัสการคุณานุคุณ" โดยมีทั้งหมด 5 ตอน คือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ มาตาปิตุคุณ อาจาริยคุณ
แต่ที่พวก เรานำมาใช้สวดมนต์กันนี้ ได้ตัดเอาตอน มาตาปิตุคุณ และ อาจาริยคุณ ออกไป คงเหลือไว้แต่เพียง พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เท่านั้น
ดังนั้น เมื่อพวกเราสวดมนต์บทนี้กันครั้งใด หวังว่าบุญกุศลทั้งหลายคงจะได้ทับทวีถึงท่านพระยาศรีสุนทรโวหาร ผู้ซึ่งเป็นบรรพบุรุษต้นแบบอันดีงามให้กับพวกเราเหล่าอนุชนไทยรุ่นหลังได้ สืบทอดงานพระศาสนาต่อมาด้วยนะคะ
แสดงความคิดเห็น