ได้มาแบบ ยาวๆ แปะไว้ก่อน เดวมาอ่าน หุหุ
------------------------------------------------------------------------
คนที่ประสบความสำเร็จ และคนที่ประสบความล้มเหลว มักจะทำทุกอย่างเหมือนกัน แต่ทำด้วยทัศนและวิธีคิดที่แตกต่างกัน” เวลาเราดูการแข่งกีฬาประเภทบางประเภทเช่น สเก็ตน้ำแข็ง หรือ ยิมนาสติก ซึ่งผู้เล่นจะถูกก รรมการกำหนดให้ใช้ท่วงท่า ลีลาการแข่งขันที่เหมือนกัน จะเห็นได้ว่าการแพ้ ชนะ จะอยู่ที่คุณภาพจิตและความคิด ผู้ที่ได้รับชัยชนะมักจะเป็นนักกีฬาที่มีจิตนิ่ง หรือที่ลงแข่งขันด้วยจิตใจที่เบิกบานโดยไม่มีความคิดหวาดกลัวว่าจะแพ้หรือ ชนะ แต่คิดว่าจะขอทำให้ดีที่สุด ณ วินาทีนั้นๆ
ระบบความคิดทำให้คนซึ่งมีพื้นเพความรู้การศึกษาเหมือนๆ กัน มีชีวิตแตกต่างกันออกไป จะเห็นได้ว่าในอเมริกามีคนเป็นแสนที่สมัครเข้าเรียนในสาขาคอมพิวเตอร์ วิศวะคอมพิวเตอร์ พร้อมๆ กับที่ Bill Gate เจ้าของบริษัท Microsoft เข้าเรียนมหาวิทยาลัย แต่มีเพียง Bill Gate คนเดียวเท่านั้นที่สามารถสร้างอาณาจักรทางธุรกิจมูลค่า 6 พันล้านเหรียญขึ้นมาได้ เพราะเขามีวิธีคิดเกี่ยวกับการทำธุรกิจและการประยุกต์ใช้ศาสตร์ทีร่ำเรียนมา แตกต่างไปจากคนอื่นๆ
การที่ระบบวิธีคิดและการมองโลกของคนเราเป็นพื้นฐานสำคัญของความสำเร็จต่างๆ ทำให้คนจำนวนมากพยายามที่จะศึกษาให้เข้าใจว่าบรรดาคนประเภทที่ได้ชัยชนะและ บรรลุสิ่งที่ตนเองปรารถนาอยู่เสมอๆ เขาดำเนินชีวิตอย่างไร คิดอย่างไร โดยหวังว่าเมื่อเราได้เรียนรู้เงื่อนไขแห่งความสำเร็จของคนอื่น ก็จะสามารถเลือกนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินชีวิตของตนเองให้เอื้อต่อ การประสบความสำเร็จและได้รับชัยชนะทั้งในเรื่องครอบครัว การงาน และการเงิน
ปราชญ์ในโลกตะวันตกและโลกตะวันออกตลอดจนบรรดาหนังสือแนวสร้างกำลังใจ (inspirational) ได้กล่าวถึง psychology of the winner หรือเคล็ดลับของความสำเร็จที่มนุษย์ทุกคนควรจะได้เรียนรู้หรือเอาไว้คล้าย คลึงกัน ดังนี้
1. การระมัดระวังความคิด
ความคิดของมนุษย์เป็นสิ่งที่มีพลังอำนาจมหาศาล เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของการกระทำ และเป็นสิ่งที่ผลักดันให้จินตนาการของมนุษย์ให้กลายเป็นความจริง คนเราจะทำอะไรได้สำเร็จจะต้องเคยคิด ไตร่ตรองเรื่องนั้นมาก่อนอย่างรอบคอบในใจ แล้วค่อยๆ ลงมือกระทำ
ดัง นั้น จึงมีคำพูดที่ว่า คนเรา คิดอะไรก็ได้อย่างนั้น คิดดี ก็ได้ดี คิดว่าตนเองไม่มีคุณค่า ตนเองก็ไม่มีคุณค่า คิดว่าตนเองจะประสบความสำเร็จ ก็จะทำสำเร็จ คิดว่าตนเองทำไม่ได้ ก็จะทำไม่ได้ You are what you think. ความจริงเป็นเช่นนั้น
ดังนั้น คนเราต้องระมัดระวังให้มากว่ากำลังคิดอะไรอยู่ เรามีความคิดที่ดูถูกดูแคลนตนเองหรือความคิดที่เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จของ เราหรือไม่ อะไรเป็น dominating thought ของเรา Napoleon Hill ได้ศึกษาบุคคลที่ประสบความสำเร็จ 500 คน ทั่วอเมริกาและพบว่า คนที่ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่สามารถทำให้สิ่งที่พวกเขาต้องการจะทำกลายเป็น dominating thought คือ คิดถึงแต่เรื่องดังกล่าวอยู่ตลอดเวลา โดยไม่ปล่อยให้จิตใจถูกชักจูง ลากพาไปโดยเรื่องอื่นๆ ที่ไม่มีความสำคัญ
นอกจากนี้ คนที่จะคิดแล้วประสบความสำเร็จ ต้องเป็นคนที่มีนิสัยคิดอะไรตลอดรอดฝั่ง คือตั้งใจคิดอย่างถึงที่สุด ให้ละเอียดรอบคอบชัดเจน (Think accurately) มิใช่คิดอะไรแบบพอผ่านๆ ไปที หรืออาศัยการเดามากกว่าจะใช้วิจารณญานอย่างเต็มที่
2. การตั้งเป้าหมายให้ชีวิตแต่เนิ่นๆ
มนุษย์ทุกคนเกิดมาไม่มีใครรู้ว่า เราเกิดมาทำไม มีหน้าที่อะไร จะเดินทางไปไหน และอีก
10 ปี หรือ 20 ปี ข้างหน้า เราจะเป็นอย่างไร อะไรคือจุดมุ่งหมายในชีวิต ผลของการไม่มีแผนที่ทำให้เรามีอิสระที่จะเลือกเส้นทางชีวิตด้วยตนเอง ในขณะเดียวกัน การที่ชีวิตไม่มีแผนที่ ก็บังคับให้เราต้องขวนขวายหาอุปกรณ์เครื่องทุ่นแรงต่างๆ มาช่วยให้การเดินทางของเราเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด เครื่องทุ่นแรงดังกล่าวก็ได้แก่ ความรู้ สติ สมาธิความเพียร
แต่เครื่องทุ่นแรงใดๆ ก็ไม่สำคัญต่อการเดินทางไกลมากไปกว่าการมีเข็มทิศ ซึ่งในกรณีนี้คือการมีเป้าหมายสำคัญแน่นอนในชิวิต ดังนั้น บทแรกของหนังสือ self-help เรื่องกฎเหล็กแห่งความสำเร็จทั้งหลาย จึงต้องเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้คนรู้จักสร้างเป้าหมายที่แน่นอนและสำคัญให้ กับชีวิตก่อน
คนที่จะประสบความสำเร็จในทางใดทางหนึ่ง จะต้องเป็นคนที่ถามตนเองอยู่เสมอว่า ตนเองต้องการจะเป็นอะไร ต้องการอะไร ปรารถนาจะบรรลุ สิ่งใดในชีวิตเข็มทิศทำอะไรอยู่ที่ไหน ที่สุดแล้วก็คือตัวของเราที่จะต้องเขียนแผนที่ชีวิต ด้วยการค่อยๆ คิด ค่อยๆ เลือกเป้าหมายให้ตนเอง คนที่ไม่เคยถามตัวเองอย่างจริงจัง ซ้ำแล้วซ้ำอีกว่าเราต้องการอะไร กำลังทำอะไร และจะทำอะไรต่อไป ก็เปรียบได้กับขอนไม้หนึ่งท่อน ที่ล่องลอยอยู่ในมหาสมุทรกว้างใหญ่ มักจะถูกพัดพาไปตามการเปลี่ยนแปลงของคลื่นลม กระแสน้ำ และสิ่งแวดล้อมภายนอก ยากที่จะเดินทางถึงฝั่งเพราะยังไม่เคยมีความรู้ว่าฝั่งทะเลที่ต้องการเดิน ทางไปอยู่ในทิศทางไหน
นอกจากนี้ การสร้างเป้าหมายแน่นอนในชีวิต เป็นการนำกฏธรรมชาติมาใช้ในการสร้างพลังชีวิต
กฎธรรมชาติอย่างหนึ่งเกี่ยวกับตัวมนุษย์ก็คือ การเคลื่อนไหวทุกอย่างในร่างกายมนุษย์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปการกระทำ หรือคำพูดถูกบงการด้วยสิ่งที่เรียกว่าความคิด หากเราไม่เคยมีความคิดที่อยู่ในรูปของเป้าหมาย การกระทำ และ คำพูดของเราก็จะเลื่อนลอย ไร้พลัง เป็นเพียงแค่การโต้ตอบสิ่งแวดล้อมภายนอกที่มากระทบตามสัญชาติญานเดิม
ถ้าไม่มีเป้าหมายชัดเจน เราก็จะเป็นคนที่ไม่มีบุคลิกภาพมุ่งมั่น ดูไม่จริงจัง ไม่น่าเชื่อถือ เหมือนทำไปอะไรไปเรื่อยๆ ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ชั่ง เป็นบุคลิกภาพที่จะไม่มีใครไว้วางใจให้ทำอะไรสำคัญ เพราะดูก็รู้ว่าคนๆ นี้ ขาดสิ่งที่เรียกว่า “พลังชีวิต”
ในการตั้งเป้าหมายชีวิต สิ่งที่ต้องระวังก็คือ เป้าหมายที่ตั้งไว้ต้องไม่กว้าง ไม่เลื่อนลอยจน
เกินไป ประเภทที่ตั้งไว้ว่า อยากรวย อยากมีชื่อเสียง อยากประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่ เหล่านี้ถือเป็นเป้าหมายเลื่อนล อย ต้องจำกัดวงให้แคบลงว่า ต้องการรวยด้วยการทำอาชีพใด หรือธุรกิจแบบไหน ถ้าต้องการมีชื่อเสียง ต้องการชื่อเสียงในทางใด จะเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียง เป็นนักฟิสิกส์ชื่อดัง หรือจะเป็นนักการเมืองที่คนทั้งแผ่นดินต้องรู้จัก
เป้าหมายที่แน่นอนในใจยังมีผลช่วยกระตุ้นให้จิตใต้สำนึกเราทำงานอีกด้วย ยิ่งเป้าหมายเฉพาะเจาะจง เห็นภาพในใจได้ละเอียดมากเท่าใด จิตใต้สำนึกเราก็จะมีความเข้าใจ และช่วยเราคิดหาหนทางเดินทางไปสู่เส้นชัยได้มากเท่านั้น แต่ถ้าเป้าหมายไม่ชัดเจน จิตใต้สำนึกของเราก็เหมือนโปรแกรมคอมพิวเตอร์บางอย่าง ซึ่งถ้าเราป้อนข้อมูลยังไม่ครบถ้วน ยังไม่ถูกต้อง ก็จะไม่ยอม function ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าคนทุกคนจะสามารถคิดวางเป้าหมายให้ตนเองได้เหมือนกันหมด คนที่จะเขียนแผนที่ชีวิตให้ตนเอง จะต้องเป็นคนที่มีนิสัย Proactive หรือ เป็นคนที่ต้องการ “รู้และเลือกด้วยตนเอง” หรือคนที่มีเชื่อว่าคนเราไม่ควรยอมให้จิตใจของเราตกอยู่ใต้อิทธิพลของความ เคยชินเดิมๆ ไม่ตกเป็นทาสประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ถูกครอบงำโดยเพื่อน ญาติพี่น้อง แฟชั่น หรือแนวโน้มของสังคม แต่เราจะต้องเป็นผู้คิด ตัดสินใจ และเลือกทุกอย่างอย่างมีสติด้วยตนเอง กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเราต้องมีความเชื่อว่าตัวเราเป็น programmer ที่ สามารถ programme ชีวิตเราเองได้ ท่านผู้ใดต้องการฝึกนิสัย proactive ผู้เขียนขอแนะนำให้ลองอ่านหนังสือของ Steven Covey เรื่อง 7 Habits of Highly Effective People หรืออาจสร้างนิสัย proactive ได้ด้วยการฝึกฝนสติ เพราะนิสัย proactive และสติเป็นตัวเดียวกัน
ในการตั้งเป้าหมายชีวิต นอกจากจะต้องตั้งแต่เนิ่นๆ ในช่วงต้นของชีวิต ยิ่งเร็วยิ่งดีแล้ว ยังมีอีกสองเรื่องที่เราต้องคำนึงถึง คือ
เราต้องถามตนเองอยู่เสมอว่าเป้าหมายของเราเป็นสิ่งที่ยุติธรรมสำหรับคนอื่น หรือไม่ เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้วขงจื้อกล่าวว่า หากจุดมุ่งหมายของเราจะทำสำเร็จได้ เราต้องสร้างความเดือนร้อนให้ผู้คนมากมาย ย่อมเป็นจุดหมายที่ขัดอาณัติสวรรค์ ขัดต่อประสงค์ของฟ้าดิน ในที่สุดเราต้องถูกโจมตีขัดขวางจากทุกฝ่าย จนยากที่จะประสบผลสำเร็จได้อย่างจีรังยั่งยืน
เป้าหมายเมื่อตั้งเอาไว้แล้ว สามารถปรับเปลี่ยนได้ ถึงมีเป้าหมายแน่นอนอยู่แล้ว คนที่ฉลาดก็จะต้องมีการตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์จุดมุ่งหมาย ของตนเองอยู่เสมอว่า เป็นสิ่งที่เราต้องการจริงๆ หรือเปล่า เพราะเมื่อเวลาผ่านไป เราเติบโตขึ้น มีเงื่อนไขใหม่ๆ สิ่งที่เราต้องการในอดีตอาจจะไม่เหมาะกับเราอีกต่อไป ถ้าถามตนเองแล้วได้คำตอบว่าไม่ใช่ เราก็จะได้หาทางเปลี่ยนเส้นทาง อย่าปล่อยให้เกิดกรณีเข็นครกขึ้นภูเขาผิดลูก คือหลังจากทุ่มเทแรงกายแรงใจไปเกือบทั้งชีวิต แล้วมาตระหนักภายหลังว่าเป้าหมายนั้นๆ ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการจริงๆ
3. การแสวงหาความรู้ที่จำเป็น
ความรู้ที่จำเป็นต่อความสำเร็จมีอยู่สองประเภท คือ
ประเภทแรก คือ ความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (expertise) ในสิ่งที่เราทำอยู่ คนเราจะทำอะไรได้สำเร็จ ก็ต้องมีความรู้ความชำนาญในเรื่องนั้นๆ พอควร ถ้าจะให้ดี ก็คือควรมีความรู้ความเชี่ยวชาญจนถึงขั้นทำได้ดี และทำได้ดีกว่าใครๆ อีกหลายคน จึงจะสามารถโดดเด่นขึ้นมาได้
ความรู้ประเภทที่สอง ได้แก่ความรู้ที่สร้างให้เรามีบุคลิกภาพประเภทที่สามารถฝ่าลม ฝน พายุ ต่างๆ ในชีวิตได้ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี และสามารถเปลี่ยนความรู้ระดับที่เป็น fact ให้เป็นโอกาสได้
โสคราติส ปราชญ์ชาวกรีก เห็นว่าความรู้ที่จะทำให้เรามีบุคลิกแบบสามารถฝ่าลม ฝน พายุต่างๆ ในชีวิต และเปลี่ยน fact เป็นโอกาสได้ มีองค์ประกอบคือ
• ความรู้ที่จะทำให้คนเรามีการตัดสินใจ มีวิจารณญานเลือกการกระทำได้อย่างเหมาะสมในทุกสถานการณ์
ความรู้ที่จะทำให้เรา• ทันคน ทันสถานการณ์ และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (EQ)
• ความรู้ที่จะทำให้เรามีอารมณ์ชนิดที่ไม่ขึ้นลงตามความสุขและทุกข์มากจนเกิน ไปนัก ไม่หลงระเริงไปกับความสำเร็จชั่วครั้งชั่วคราวจนเสียศูนย์
• ความรู้ที่จะทำให้เรามีความซื่อสัตย์ กล้าหาญ เมตตา และรับผิดชอบ
ขงจื้อมีคำแนะนำต่างออกไป เกี่ยวกันเรื่องถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วชาติหนึ่ง ต้องเรียนรู้อะไร จึงจะเป็นประโยชน์ต่อชีวิตมากที่สุด เขาเห็นว่าแม้คนเราจะเกิดมามีปัญญาสูงต่ำไม่เท่ากัน มีโอกาสในการศึกษาไม่เท่ากัน แต่คนเราสามารถค่อยๆ สร้างสมพัฒนาสติปัญญาให้ตนเองให้เป็น “ยอดคน” ได้ด้วยวิธีง่ายๆ แบบพลิกฝ่ามือโดยการทำอะไรก็ให้ “ ใช้สมาธิตั้งใจดูและตั้งใจฟัง” และด้วยการถามตนเองอยู่เรี่อยๆ ว่า ทำอย่างไร เราจึงจะมองเห็นอะไรแล้วสามารถจะเห็นและเข้าใจสิ่งนั้นทะลุปรุโปร่ง และเมื่อได้ยินอะไรแล้ว จึงจะฟังให้เข้าใจได้หมด
เมื่อเราตั้งใจดู ตั้งใจฟัง คำตอบต่างๆ ในชีวิตจะผุดขึ้นมาเองจากภายใน เมื่อเราตั้งใจดู ตั้งใจฟัง เราจะมีฐานข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ มีความเข้าใจเรื่องต่างๆ ลึกซึ้ง ถี่ถ้วน ถ่องแท้ และเมื่อเราตั้งใจดู ตั้งใจฟัง เราย่อมเป็นคนที่มีการกระทำตั้งอยู่บนพื้นฐานของสมาธิเป็นหลัก
นอกจากนี้ขงจื้อยังแนะนำด้วยว่า คนเราต้องหัดฝึกฝนการคิดและเรียนรู้ข้อมูลใหม่ๆ ไปพร้อมๆ กัน เพราะการเรียนรู้โดยไม่คิดทำให้เราอาจได้ข้อมูลที่ผ่านการตีความผิดพลาดมา จากคนอื่น แต่ถ้าเราเอาแต่คิดวิเคราะห์สิ่งต่างๆ โดยไม่ชอบศึกษาหาข้อมูล ความคิดของเราก็ยังอยู่ในระดับการคาดเดาหรือที่เรียกว่า speculation ย่อมจะเกิดการผิดพลาดขึ้นได้ง่ายๆ
4. การมีความเพียรสม่ำเสมอ ต่อเนื่อง (persistence)
ผู้ที่จะประสบความสำเร็จได้จะต้องมี วิริยะ อุตสาหะและความเพียรที่ สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง
ความ สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง เป็นสิ่งสำคัญ เพราะในความเป็นจริง คนส่วนใหญ่ซึ่งปรารถนา อะไรมากๆ พอเจอปัญหาต่อเนื่องเป็นอาทิตย์ เป็นเดือน ก็จะเริ่มเบื่อ เลิกรา ยอมแพ้ ส่วนกิจการใหญ่ๆ ต่างๆ นั้น จะทำให้สำเร็จได้บางกิจการใช้เวลาเป็นห้าปี สิบปี กว่าที่จะได้เห็นการเจริญเติบโต ดังนั้น คนที่จะประสบความสำเร็จได้ จะต้องมีความเพียรระดับที่ไม่ธรรมดา ซึ่งความเพียรลักษณะดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้เราต้องมีเป้าหมายที่แน่นอน ต้องมี burning desire เกี่ยวกับสิ่งที่เราทำอยู่ และที่สำคัญที่สุดคือเราต้องมี Plan of Actions ที่ชัดเจน เพื่อที่เราจะได้รู้ว่างานแต่ละชิ้นต้องใช้เวลาเท่าไร ใช้ทรัพยากรอะไร ขณะนี้งานของเราดำเนินมาถึงขั้นตอนใดแล้ว เพื่อให้เรามีความคาดหวังที่ถูกต้อง และสามารถประเมินผลสำเร็จของงานได้อย่างชัดเจน ไม่มี false expectation และไม่มีการหลอกตนเอง
5. การรู้จักสร้าง “อภิจิต” หรือ Master Mind Group
อภิจิต คือกลุ่มพันธมิตรที่มีจำนวน 2 คน ขึ้นไป เป็นกลุ่มคนที่มีความเชื่อ ความคิด อุดม
การณ์ และจุดมุ่งหมายเดียวกัน ที่สำคัญคือเวลาทำงานร่วมกันแล้วมีความกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
กลุ่มอภิจิตมีความสำคัญยิ่งเนื่องจาก “ความรู้ ความสามารถ” เป็นอำนาจที่ทรงพลังมากที่สุดอย่างหนึ่งในการดำเนินธุรกิจการงาน แต่อำนาจของความรู้ความสามารถนี้ เราสะสมเองได้ยาก จะใช้เวลาเรียนหนังสือหาประสบการณ์ทั้งชีวิตก็คงไม่สามารถจะเก็บเกี่ยว ประสบการณ์ได้เพียงพอ ดังนั้น คนที่ต้องการประสบความสำเร็จจึงต้องพยายามสร้างกลุ่มเพื่อน พันธมิตรทางธุรกิจที่เรียกว่า อภิจิต ขึ้นมาหลายๆ คน เพื่อมาช่วยกันคิด ช่วยกันทำ
เหตุผลประการที่สองที่ทำให้อภิจิตมีความสำคัญ ได้แก่การทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เรียกว่า synergy
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าพลังความคิดของคนเราเป็นเรื่องแปลก เวลาเราคิดคนเดียวจะมีข้อจำกัดมาก แต่ถ้าคนสองคนหรือมากกว่าสองคนมาร่วมกันคิดจะเกิดสิ่งที่เรียกว่า synergy
หรือเป็นปรากฎการณ์ที่เมื่อพลังความคิดของคน 2 คน รวมกันแล้ว จะได้ผลดีกว่าคน 2 คนแยกกันทำงานและแยกกันคิด กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ในสูตรคณิตศาสตร์ปรกติแล้ว 1+1 เท่ากับ 2 แต่ในสูตรของ synergy นั้น 1+1 มากกว่า 2 เสมอ และยิ่งเมื่อสามารถทำงานกันเป็นทีมหลายๆ คน ผลลัพท์ที่ได้ก็จะยิ่งใกล้เคียงความสมบูรณ์แบบมากขึ้น ความเชื่อเรื่อง Synergy ส่งผลให้ Business School ทั่วอเมริกามีการจัดระบบการทำงานของนักศึกษาให้ทำรายงานเป็นทีม เสนอ presentation เป็นทีม และมีกำหนดการให้นักศึกษาไปทำการบ้านร่วมกันเป็นทีม เพื่อปลูกฝังนิสัยการสร้าง synergy ระหว่างกลุ่มบุคคลให้กับนักธุรกิจรุ่นใหม่
การจะสร้าง synergy ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องเลือกคบเฉพาะคนที่คิดเหมือนเราทุกอย่าง จะมีความคิดต่างกันสุดโลกก็ยังเกิด synergy ได้ แต่อย่างน้อยคนสองคนนี้จะต้องมีเป้าหมาย และอุดมการณ์ที่คล้ายคลึงกับเรา และที่สำคัญคือมีความปรารถนาดีต่อกันอย่างแท้จริง
6. การรู้จักนำเอา psychic power หรือ sixth sense มาใช้ประโยชน์ Napoleon Hill กล่าวไว้ว่าประสาทสัมผัสที่หกหรือ sixth sense ก็คือคุณสมบัติทำให้ genius ทั้งหลายต่างจากคนธรรมดาๆ และประสาทสัมผัสที่หก ในความหมายนี้ก็คือ การมีจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้ที่เกิดขึ้นมาเองว่า อะไรใช่ ไม่ใช่ อะไรควรทำ ไม่ควรทำ อันเป็นความรู้ที่เกิดมาจากภายใน ไม่มีใครมาบอก
ประสาทสัมผัสที่หกจะมีขึ้นได้ คนๆ คนจะต้องมีกำลังสมาธิสูง และสามารถเอาใจไปจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ เมื่อเราสามารถจดจ่อความคิดอยู่ที่เรื่องบางเรื่องได้นานๆ ความรู้ภายในเกี่ยวกับเรื่องนั้นก็จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ประสาทสัมผัสที่หกเป็นผลจาก power of concentration หรือสมาธิ
7. มีการตัดสินใจที่ดี
บุคคลที่ประสบความสำเร็จยิ่งใหญ่มักจะมีการตัดสินใจที่ฉับไว ทันสถานการณ์ เมื่อตัดสินใจอะไรไปแล้ว ไม่เปลี่ยนใจง่ายๆ ส่วนคนที่ล้มเหลวในชีวิต มักมีนิสัยไม่ชอบตัดสินใจ เมื่อตัดสินใจไปแล้วก็จะเปลี่ยนใจอยู่ตลอดเวลา
คนเราจะมีการตัดสินใจที่ดีได้ จะต้องมีวิจารณญานที่ดี วิจารณญานที่ดีจะเกิดได้ จะต้องมีเงื่อนไขต่างๆ ดังต่อไปนี้
•การมีสติ สมาธิ และความรู้ความเชี่ยวชาญ การเลือกคบคน
• และการไม่แวดล้อมตนเองด้วยคนที่มองโลกในแง่ร้าย อิจฉาริษยา ซึ่งมองโลกไม่ตรงกับความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้เรารับนิสัยมองโลกไม่ตรงตามความเป็นจริงมาด้วย
• เลือกรับฟังความเห็นเฉพาะที่เป็นความคิดเห็นของกลุ่ม Master Mind หรือศึกษาประวัติของมหาบุรุษ/สตรี ในโลก เพื่อเรียนรู้วิธีคิด การตัดสินใจ การมองโลก ข้อผิดพลาด และความล้มเหลว และใช้ประสบการณ์ของท่านเหล่านี้เป็นแบบอย่างในใจ
8. การมีทัศนะคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับความล้มเหลว
คนประเภทที่เป็น the winner แท้จริงก็คือคนที่เมื่อประสบความพ่ายแพ้แล้วยังมีความ อดทนสามารถลุกขึ้นก้าว ต่อไปข้างหน้าได้อีก ไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม คนแบบนี้ มองเห็นความผิดพลาดเป็นครู และไม่ยอมจำนนกับอะไรง่ายๆ ส่วนคนแพ้ จริงๆ ก็คือคนที่ล้มหนเดียว ก็หมดแรง สิ้นกำลังใจจะทำอะไรต่อไปในชีวิต
นักวิทยาศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลทุกคนย่อมจะสามารถยืนยันความจริง เรื่องนี้ได้ เพราะในการทดลองทางวิทยาศาสตร์ในทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา จะต้องมีการลองผิดลองและผ่านการทดลองที่ล้มเหลวมาแล้วเป็นร้อยเป็นพันหนก่อน ที่การทดลองจะประสบผลสำเร็จ
เกี่ยวกับเรื่องนี้ คนอเมริกันมักจะนึกถึงตัวอย่างของประธานาธิบดี Abraham Lincoln ซึ่งมี list ความล้มเหลวในชีวิตยาวเหยียดก่อนที่จะมาเป็นประธานาธิบดี กล่าวคือ Lincoln พอเริ่มทำธุรกิจก็ล้มละลาย หลังจากนั้นเคยสติวิปลาศไปชั่วเวลาหนึ่ง ต่อมาพอเริ่มเล่นการเมืองก็สอบตบหลายครั้ง ชิงตำแหน่งส.ส. ของรัฐอิลลินอยส์ ไม่สำเร็จหนึ่งครั้ง สมัครตำแหน่งสมาชิกสภา Congress สหรัฐฯ ก็สอบตก ชิงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ ไม่สำเร็จสองครั้ง ชิงตำแหน่งรองประธานาธิบดีไม่สำเร็จในปี 1866 จนสี่ปีให้หลังจึงได้มาเป็นประธานาธิบดีในปี 1860
คนอเมริกันจะคิดอยู่เสมอว่า เส้นทางชีวิตที่ล้มลุกคลุกคลานแบบของ Abraham Lincoln คือเส้นทางปกติของคนที่ต้องการประสบความสำเร็จ ตัวอย่างเรื่องนี้ในไทยคงไม่ต้องดูกันไกล ถ้าใครลองไปอ่านประวัติของท่านนายกทักษิณ ชินวัตร ในตาดูดาว เท้าติดดิน คงจะได้เห็นความจริงในเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจน
9. การรู้จักความมั่งคั่งที่แท้จริง
คนที่จะประสบความสำเร็จได้ จะต้องรู้จักใช้ชีวิตอย่างดีดุลยภาพ อีกนัยหนึ่งคือรู้ว่า ความมั่งคั่งที่แท้จริงนั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้
• การมองโลกในแง่ดี (positive mental attitude)
•สุขภาพร่างกายแข็งแรง (sound physical health)
•มีมนุษยสัมพันธ์ดี (harmony in human relations)
• เป็นอิสระจากความกลัว (freedom from fear)
•การรู้จักแบ่งปันความสุขให้คนอื่น (willingness to share one’s blessing with others)
• มีใจเปิดกว้างรับพังความคิดเห็นของคนอื่น (open mind)
• มีระเบียบ วินัย (selfdiscipline)
4 ความคิดเห็น:
^-^
มานั่ง ค่อยๆเล็มอ่าน
อ่านไปเทียบกับต้นแบบของเราไป ใกล้เคียงดี
ดีจัง...งั้น มาดูไว้ก่อนเดวมาอ่าน ฮรี่ๆ
แสดงความคิดเห็น