มันเป็นยังไงกันน่ะ เจ้าปวดหลังนี่ มาศึกษากันหน่อยดีกว่า
เฮ้อ สังขารไม่เที่ยง
การปวดหลัง |
|
หลังหรือกระดูกสันหลังที่มีสภาพดี เมื่อมองดูทางด้านหลัง ต้องอยู่ในลักษณะ เป็น แนวตรงไม่คดงอ แข็งแรง เคลื่อนไหวได้คล่องตัว และไม่มีอาการ เจ็บปวด ขณะเคลื่อนไหวหน้าที่สำคัญ คือช่วยรองรับลำตัวส่วนบน คุ้มครองไข สันหลัง และมีการเคลื่อนไหวที่ดี หลังส่วนล่าง ( ส่วนบั้นเอว) ประกอบด้วยกระดูกสันหลัง๕ ชิ้น หมอน รองกระดูก เส้นประสาท กล้ามเนื้อ และเอ็นข้อต่อที่เกี่ยวข้อง กระดูกสันหลัง และหมอนรองกระดูก ส่วนบั่นเอวนี้ เป็นส่วนที่รับน้ำหนัก มากมากที่สุดของร่างกาย ดังนั้น |
สาเหตุของการปวดหลัง | ||||
๑. จากอิริยาบถ หรือท่าที่ไม่ถูกต้อง การขาดการออกำลังกาย หรืออ้วนเกินไป | ||||
๒. หลังเคล็ด หรือแพลง |
๓. หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน | ||||
๔. การเสื่อมสภาพของกระดูกสันหลัง | ||||
๕. เกิดพังผืดยึดกระดูกสันหลัง | ||||
๖. กลุ่มอาการเจ็บปวดเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ | ||||
๗. อารมณ์ตึงเครียด | ||||
๘. สาเหตุอื่นๆ เป็นสาเหตุส่วนน้อย ของการปวดหลัง เช่น มีโรคเกี่ยวกับอวัยวะ ภายใน บางอย่าง เช่นโรคไต มดลูกอักเสบ ต่อมลูกหมากโต กระดูกสันหลังคด หรือท่านที่มีโครง สร้างกระดูกสันหลังพิการ มาแต่ กำเนิด | ||||
๙. กลุ่มเนื้อ และกล้ามเนื้อหย่อน ในที่นี้หมายถึงกลุ่มเนื้อและกล้ามเนื้อที่บริเวณท้อง และหน้าท้อง เพราะเนื้อที่อยู่บริเวณนี้ เป็นกลุ่มเนื้อ ที่ไม่ยึดติดกับกระดูกสสันหลัง และก็เป็นกลุ่มเนื้อที่มีน้ำหนักมากส่วนหนึ่งของร่าง กาย เมื่อคนเรารับประทานอาหารเข้าไปอิ่มๆ ปริมาณน้ำหนักในส่วนท้องนี้ ก็จะเพิ่มขึ้น จึงเกิด อาการถ่วงกับกระดูกสันหลัง ที่ยึดอยุ่กับแผ่นหลังของร่างกาย ทำให้กระดูกสันหลังทำงานหนัก เกินไป จึงก่อให้เกิดการปวดหลังขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้น จึงควรออกกำลัง เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็ง แรง ร่วมกับการบริหารที่ทำ เพื่อการยึดกระดูกสันหลัง ซึ่งถ้าสามารถทำได้ ก็จะทำให้อาการ ปวด หลังบรรเทาลงได้ โดยที่ไม่ต้องไปพบแพทย์ |
ต่อไปจะเป็นท่าบริหาร ที่มีผลโดยตรงกับเส้นโลหิตใหญ่ ซึ่งสามรถ กระตุ้นเส้นประสาท ไขสันหลัง ซึ่งเส้นประสาทนี้จะถูกสั่งงานมาจากสมองและห่อหุ้มด้วยเนื้อเยื่อหลายชั้น ท่าดัด หลังนี้ จะทำให้กระดูกสันหลังสามารถยืดหยุ่นได้ ทำให้ของเหลลวที่อยู่ตามเส้นประสาทนี้ ไหลเวียนได้เต็มที่ และช่วยให้กระดูกสันหลังแข็งแรงขึ้น |
ท่าออกกำลังกาย เพื่อป้องกันการปวดหลัง |
๑. | ท่าออกกำลังกาย เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลำตัว | |
ท่าที่ ๑ | การออกกำลัง ส่วนกล้ามเนื้อหน้าท้อง | มีผลทำให้ความดัน ภายในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ช่วยลดแรงกด ที่จะเกิดกับ กระดูกสันหลัง ส่วนเอวนอนหงาย ชันเข่าสองข้าง ยกศีรษะและบ่า ให้พ้นจากพื้นให้มากที่สุด ๑. บิดลำตัว มือซ้ายแตะเข่าขวา สลับกับมือขวาแตะเข่าซ้าย ค้างนาน ๕ วินาฑี ทำท่าละ ๒๐ - ๓๐ ครั้งต่อวัน ๒. ยกขึ้นตรงๆ มือซ้ายแตะเข่าซ้าย มือขวาแตะเข่าขวา ค้างนาน ๕ วินาฑี ทำ ๒๐-๓๐ ครั้งต่อวัน
|
| ||
ท่าที่ ๒ | การออกกำลังกล้ามเนื้อหลัง |
นอนคว่ำ ชูแขนเหนือศีรษะ ยกแขนและไหล่ข้างใดข้างหนึ่ง ให้พ้นพื้น หรือยกแขนและ ไหล่สองข้าง พร้อมกัน ( ขั้นที่ ๑ หรือ ๒) ค้างนาน ๕ วินาฑี หรือยกขา ( ขั้นที่ ๓) หรือยกไหล่ และขาด้านตรงข้าม พร้อมกัน ในท่านอนคว่ำ หรือท่าตั้งคลาน ( ขั้นที่ ๔ และ ๕) ขึ้นนอยู่กับ ความ สา มารถ ของแต่ละบุคคล ทำ ๒๐-๓๐ ครั้ง ต่อวัน
|
******************************************************************
๒. ท่าออกกำลัง เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและอ่อนตัวของกระดูกสันหลัง |
ท่าที่ ๑ | เข่าชิดอก | การออกกำลังท่านี้ ทำเพื่อ การยืดกล้ามเนื้อ และเอ็นข้อต่อของกระดูกสันหลัง ส่วนล่าง
หมายเหตุ การงอเข่าขึ้นมาทุกครั้ง ต้องให้ส่วนล่างของตะโพกลอยขึ้น พ้นจากพื้นด้วย จึงจะ ได้ผล | ||||||||||
|
ท่าที่ ๒ | นอนคว่ำ แอ่นหลัง | เพื่อยืดเอ็นข้อต่อด้านหน้า กระดูกสันหลัง ช่วยให้อวัยวะสืบพันธ์ทั้งหญิงและชาย แข็งแรง |
๑. นอนคว่ำ ราบกับพื้น แขนอยู่ในท่าวิดพื้น๒. | ||
๒. ค่อยๆ เหยียข้อศอก ขึ้นมาให้ตรง พยายามไม่ให้สะโพกลอยจากพื้น | ||
๓. อยู่ในท่า ๒ นาน ๑๐ วินาฑี แล้วกลับมานอนราบ | ||
๔. ทำซ้ำ ๑๐-๒๐ ครั้ง |
ท่าที่ ๓ | บิดลำตัว | เพื่อยืดเอ็นข้อต่อกระดูกสันหลัง ในท่าบิดลำตัว |
| ๑. นอนหงาย ชันเข่าสองข้าง | |
๒. บิดลำตัวไปทางซ้าย โดยไม่ให้ไหล่ข้างขวา ลอยจากพื้น ปล่อยนาน ๑๐ นาฑี | ||
๓. บิดลำตัวไปข้างขวา ทำข้างละ ๒๐-๓๐ ครั้ง | ||
๔. หรือให้คนช่วยจับ บิดลำตัว ( ดังรูป)
| ||
ท่าที่ ๔ | นั่งโน้มตัว | เพื่อยืดกล้ามเนื้อและเอ็นข้อต่อด้านหลังส่วนกลาง |
| ๑. นั่งเหยียดเข่าซ้าย หรืองอเข่าซ้ายเล็กน้อย พับเข่าขวา | |
๒. โน้มตัวเอาปลายนิ้วมือไปแตะปลายนิ้วเท้าช้าๆ ค้างไว้ นับ ๑-๑๐ แล้วพัก | ||
๓. ทำ ๑๐-๒๐ ครั้ง แล้วสลับทำขาอีกข้าง | ||
๔. หรือนั่งในท่างอเข่าสองข้าง หันฝ่าเท้าเข้าหากัน ก้มลำตัว ให้หน้าผาก ของศีรษะ แตะส้นเท้า
| ||
ท่าที่ ๕ | ยืนก้มตัว | เพื่อยืดกล้ามเนื้อ และเอ็นข้อต่อด้านหลังส่วนบน |
๑. ยืนกางขาห่างกัน ๑ ฟุต |
๒. ค่อยๆ ก้มตัวอย่างช้าๆ (ระวัง ไม่ก้มตัวอย่างรวดเร็ว และรุนแรง เพราะเกิดการปวดหลัง ได้ง่าย) ปลายนิ้วมือแตะพื้น หรือปลายนิ้วมือซ้าย แตะปลายเท้าขวา สลับกับปลายนิ้วมือขวา แตะ ปลายเท้าซ้าย ๓. ปล่อยค้างนาน ๕ วินาฑี ทำ ๒๐-๓๐ ครั้ง ๔. ถ้ามีความรู้สึกตึงด้านหลัง โคนขาในขณะก้มตัวควรเปลี่ยนเป็นยืนงอเข่าเล็กน้อย เพื่อที่จะ ทำให้มีการเคลื่อนไหว ของข้อต่อด้านหลังส่วนบนได้เต็มท | ||
ท่าที่ ๖ | ยืนแอ่นหลัง | เพื่อยืดเอ็นข้อต่อกระดูกสันหลัง ด้านหน้า |
๑. ยืน ฝ่ามือทั้งสอง วางด้านหลัง เอวแต่ละข้าง | ||
๒. ออกแรงดันฝ่ามือมาข้างหน้า พร้อมกับแอ่นหลังร่วมด้วย | ||
๓. เกร็งค้างนาน ๑๐ วินาฑี ทำ ๑๐-๒๐ ครั้ง | ||
***********************************************************************
๓. การบริหารหลังส่วนกลาง บริเวณหลังส่วนกลางนี้ จะเกี่ยวเนื่องกับอารมณ์ของคน ไม่ว่า จะเป็นความโกรธ โมโห ผิดหวัง เสียใจ ซึม ซึ่งอาากรเหล่านี้ เป็น ความเครียด ที่มีผล ต่อระบบหายใจ และย่อยอาหาร ประสาทของกระดูกสันหลังบริเวณนี้ จะเกี่ยวเนื่องต่อไปยังตับและท้อง และอาจมีผลต่กระบังลม ที่ไปลดความ สามารถ ในการหายใจลึกๆ ได้อีกด้วย | ||
ท่าที่ ๑ | ดัดหลัง | ที่นี้จะช่วยให้หลังยืดหยุ่น และมีประโยชน์ต่อไตด้วย |
๑. ยืนแยกขาให้เท้าทั้งสอง ห่างกันประมาณ ๑ ฟุต ปลายเท้าตรง | ||
๒. หายใจเข้า เอามือเท้าสะเอว ให้หัวแม่มือ กดอยู่ที่หลังส่วนล่าง | ||
๓. หายใจออก ขณะที่เอนตัวไปด้านหลัง หายใจเข้าอีกครั้งขณะที่ดึงตัวกลับมา | ||
๔. หายใจออก ขณะก้มตัวไปข้างหน้า จนใกล้หัวเข่า หายใจเข้า เมื่อยกตัวขึ้น หายใจออกเมื่อ ก้มตัวลง | ||
๕. ทำซ้ำ ๕ ครั้ง
| ||
ท่าที่ ๒ | หมุนสะโพก | ท่านีสามารถ ป้องกันปัญหา ที่อาจเกิดกับหลังได้ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลังส่วนล่าง ควรทำที่นี้ หลายๆครั้ง แต่อย่าหักโหม เกินไปนัก |
๑. หมุนสะโพกเป็นวงกลม ทางใดทางหนึ่ง ๒. จากนั้นหมุนย้อนไปอีกทางหนึ่ง พร้อมกับหายใจลึกๆ ๓. ทำสลับอย่างนี้ กันหลายๆครั้ง | ||
ท่าที่ ๓ | แอ่นหลัง | ท่านี้ ทำให้ลำตัวส่วนล่าง และข้อกระดกูสันหลัง บริเวณท้อง ยืดหย่นดี และทำให้บริเวณท้อง อวัยวะสืบพันธุ์ แข็งแรง |
๑. คุกเข่า มือทั้งสองข้าง วางอยู่บนพื้น ๒. หายใจเข้า ในขณะที่เงยหน้า ขึ้นและแอ่นหลัง ๓. หายใจออกขณะที่ก้มศีรษะลง และงอหลัง เคลื่อนไหวเป็นจังหวะ | ||
ท่าที่ ๔ | ยกขา | ท่านี้ จะช่วยแก้อาการปวดหลัง เคล็ดขัดยอกทั้งตัว |
๑. นอนหงายให้ปลายเท้าชิดกัน พร้อมกับหายใจเข้าและยกขาขึ้นเหนือศีรษะ ๒. ใช้มือทั้งสองข้างจับที่ส้นเท้า ๓. งอเข่าเพื่อให้เกิดแรงกดที่บริเวณที่ตึงมากที่สุด ซึ่งอาจจะเป็นส่วนสะบัก หรือหลังส่วนกลาง ๔. ทำท่านี้ ค้างไว้ประมาณ ๑ นาฑี ๕. ผ่อนคลาย โดยการนอนหงาย และหลับตา ๒ นาฑี จะรู้สึกว่า พลังงานการไหลเวียนของเลือด ดีขึ้น | ||
ท่าที่ ๕ | กลิ้งตัว | การกลิ้งตัวนี้ สามารถกดจุดรวมประสาท ได้ถึง ๙๔ จุด ที่อยู่บนหลัง พยายามกลิ้ง ไปมาเป็นเวลา ๑ นาฑี เพื่อคล้ายกล้ามเนื้อตึงที่หลัง ควรทำท่านี้บนเบาะ |
๑. นั่งกอกเข่า มือข้างหนึ่งจับข้อมือ อีกข้างหนึ่งให้เข่าจรดกับอก ๒. ก้มศีรษะ ให้ชนหัวเข่า กลิ้งไปข้างหน้า และข้างหลัง ๓. กลิ้งจากช่วงฐานของกระดูกไปถึงไหล่ ทิ้งน้ำหนักที่ขา เพื่อให้ร่างกายกลิ่งไปมา ๔. หายใจเข้า ขณะที่กลิ้งตัว และหายใจออกเมื่อกลิ้งลง | ||
ท่าที่ ๖ | ก้มตัว | ท่านี้ต้องใช้เก้าอี้ช่วย ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดหรือเคล็ดบริเวณหลังส่วนกลางและ ล่าง |
๑. นั่งบนเก้าอี้ ค่อยๆ ก้มตัวลง มือทั้งสองข้าง จับที่ส้นเท้า ๒. ก้มศีรษะลง โดยแนบกระบอกตากับหัวเข่า ๓. หายใจเข้าออก ๓-๕ ครั้ง |
*******************************************************************
หลังส่วนล่าง บริเวณหลังส่วนล่างนี้ จะเกี่ยวเนื่องกับกระเพาะปัสสาวะ ระบบสืบพันธุ์ และไต เมื่อกล่าวถึงไตแล้ว เป็นอวัยวะที่สำคัญมาก เป็นแหล่งสะสมพลังงาน ในยามที่ร่างกายต้องการ หากไตแข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ก็จะมีผลทำให้หลังส่วนล่างแข็งแรงด้วย ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากไตไม่แข็งแรง ก็จะทำให้มีปัญหากับหลัง ส่วนล่างเช่นเดียวกัน | |||
ท่ากายบริหารหลังส่วนล่าง | |||
ท่าที่ ๑ | กดกระดูกสันหลัง | ๑. นอนหงายและประสานมือ ไว้ที่ปลายกระดูกสันหลัง ๒. หายใจลึกๆ เป็นเวลานานประมาณ ๑ นาฑี ๓. ผ่อนคลายด้วยการวางมือไว้ข้างลำตัว หลับตา | |
ท่าที่ ๒ | หลังแนบพื้น | การบริหารในท่านี้ จะทำให้หลังยืดตรง | |
๑. นอนชันเข่า ให้เท้าทั้งสอง แนบลงไปกับพื้น ๒. หายใจเข้า - ออก ลึกๆ ๓. เกร็งกล้ามเนื้อก้น และหน้าท้อง เพื่อให้หลังสามารถแนบลงไปกับพื้น ๔. ทำซ้ำอย่างนี้หลายๆครั้ง | |||
ท่าที่ ๓ | พาดขา | เป็นท่าที่ช่วยลดอาการปวดหลังส่วนล่าง เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังอย่าง รุนแรง ควารทำประจำทุกๆวัน และใช้เก้าอี้ ประกอบการบริหารด้วย | |
๑. นอนหงาย พาดขาส่วนล่าง บนเกาอี้ โดยให้เข่างอ ๒. นอนอยู่ในท่านี้เป็นเวลา ๑๐-๑๕ นาฑี หายใจ ช้าๆ ลึกๆ ๓. ให้เปลี่ยนท่า เป็นนอนตะแคง ๔. งอเข่าขึ้นมาจนจรดกับอก เป็นเวลา ๕ นาฑี ๕. การบริหารท่านี้ ควรจะมีการประคบด้วยขิง ,ไพล หรือความร้อน ก็จะได้ผลดีมาก | |||
ท่าที่ ๔ | คลายจุด | เป็นการกดจุดเพื่อบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง | |
๑. ยืนตรง และกำมือทั้งสองข้าง ๒. ใช้มือที่กำ นวดที่บริเวณหลังส่วนล่าง(ดังรูป) ประมาณ ๑๐๐-๒๐๐ ครั้ง ๓. จากนั้นให้ถูหลังส่วนล่าง ไปที่สะโพก จนรู้สึกร้อน ๔. ทำวิธีนี้ วันละ ๓-๔ ครั้ง | |||
ท่าที่ ๖ | บิดเอว | เป็นการลดอาการเคล็ดที่หลังส่วนล่าง ท้องอืด ท้องผูก | |
๑. นั่งบนเก้าอี้พร้อมหายใจเข้า |
ท่าที่ ๗ | กดจุดด้านหลัง | เป็นการบำบัดแก้เจ็บปวดส่วนหลังได้อย่างดี |
จุด ๑และ ๒ อยู่ข้างกระดูกสันหลังช่วงบั้นเอวชิ้นที่ ๒ อยุ่ห่างจากแนวกระดูกสันหลัง ๓ นิ้วมือ ข้อแนะนำในการนวด ๑. การกดแต่ละจุดให้ค่อยๆเพิ่มแรงกด จนผู้ถูกนวดเริ่มรู้สึกปวด แล้วให้กดนิ่งไว้ประมาณ ๑๐ วินาที จากนั้นจึงค่อยๆผ่อนออก ๒. เมื่อนวดครบทุกจุดแล้ว ให้กลับมานวดซ้ำอีกประมาณ ๓-๕ รอบ ๓. หลังจากนวดเสร็จแล้ว อาจใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบตามบริเวณที่นวดจะช่วยให้ได้ผลดีขึ้น |
ข้อแนะนำสำหรับการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันหรือแก้ไขการปวดหลัง | ||
๑. หากท่านพึ่งหายจากการปวดหลังใหม่ๆ ท่านควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หรือนักกายภาพบำบัด ที่รักษาท่านเท่านั้น เพราะว่า อาจ มี ท่าบางท่า ทำให้เกิดอันตราย ที่หลังได้ | ||
๒. การออกกำลังนี้ หากทำอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้ หลังของท่าน แข็งแรง และทนทานอยุ่เสมอ | ||
๓. พยายามทำทุกวัน ประมาณวันละ ๒๐-๓๐ นาฑี ( เช้า ๑๐-๑๕ นาฑี เย็น ๑๐-๑๕ นาฑี) การออกกำลังหลายๆ วันสักครั้ง อาจทำให้ปวด หลัง หรือ หลังยอกมากกว่า จะได้ประโยชน์ | ||
๔. หากท่านเกิดอาการปวดหลัง ค่อนข้างมาก ในขณะที่กำลังทำ ท่าใดๆ อยุ่ ควรหยุด ทำ และพักสัก ๒-๓ วัน แล้วเริ่มลองฝึกใหม่ โดยลดจำนวน ครั้งลง | ||
๕. ควรให้ร่างกายได้อุ่นเครื่องสัก ๒-๓ นาฑี ก่อนที่จะออกกำลังกายจริงๆ โดยการเคลื่อนไหวแขนและขา เกร็งและผ่อนคลาย กล้ามเนื้อสลับ กันไปมา จึงค่อยเริ่มทำ เช่น เดินก้าวเท้ายาวๆ พร้อมกับแกว่งแขนสลับกันไปมา | ||
๖. การรักษาอาการปวดหลัง ที่ดีที่สุด คือหมั่นออกกำลังกายอย่างถูกวิธี เพื่อให้กล้ามเนื้อลำตัวแข็งแรง และการเคลื่อนไหว ของกระดูกสันหลัง มีความยืดหยุ่นอ่อนตัวดี ทำให้ทนทานต่อการใช้งานหนัก และ เบาในชีวิตประจำวันได้ | ||
สื่งที่ช่วยคนปวดหลง ได้มากที่สุด ก็คือการฝึกฝน เอ็น ข้อต่อ และ กล้ามเนื้อที่พยุงกระดูกสันหลัง ให้มีความยืดหยุ่นและแข็งแรง อยู่เสมอ ซึ่ง ได้แก่ กล้ามเนื้อ หน้าท้อง และกล้ามเนื้อหลังเป็นสำคัญ โดยการออกกำลังกายที่ถูกวิธี และทำอย่างสม่ำเสมอ อาจมีบางท่านคิดว่า ท่านมีขาและ แขนที่แข็งแรงแล้ว หลังก็จจะแข็งแรงด้วย ท่านเข้าใจผิด เพราะไม่เป็นความจริงเสมอไป |
จากหนังสือ
๑. ปวดหลัง ฉบับแก้ไข้ปรับปรุง โดย รศ. สุรศักดิ์ ศรีสุข , ศ, พญ.เล็ก ปริวิสุทธิ์ , ผศ, นวลอนงค์ ชัยปิยะพร -จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์ หมอชาวบ้าน หน้า ๑๐-๑๗, ๓๔-๓๙
๒. ปวดข้อ ปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ ทำอย่างไรให้หายขาด- ผลงานเรียบเรียงของ ดร. เพียร มั่นเวช หน้า ๓๑ - ๕๐
จากเวป http://http://www.geocities.com/siammedherb/kanokkamlangkaepoudlhang.htm
16 ความคิดเห็น:
ปวดหลังกับชีวิตประจำวัน
ทุกคนเมื่อย่างเข้าสู่วัยกลางคนมักจะประสบปัญหาเรื่อง “ปวดหลัง” ตรงบั้นเอวเป็นครั้งคราว ส่วนใหญ่มักหายไปเองโดยการนอนพัก หรือรับประทานยาแก้ปวด มีส่วนน้อยที่มีอาการปวดเรื้อรัง หรือมากขึ้นจนทนไม่ไหว ต้องไปให้แพทย์ตรวจรักษา ที่จริง “ปวดหลัง” เป็นเพียงอาการไม่ใช่โรคแล้วแต่สาเหตุว่ามาจากอะไร หลายๆคนคงจะมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดหลังนี้มาบ้าง
ในความเป็นจริงอาการปวดหลังพบได้เป็นอันดับสองของอาการปวดในร่างกาย รองมาจากอาการปวดหัว และเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ทางศัลยกรรมกระดูก
อาการปวดหลังโดยทั่วไปไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่เป็นปัญหากับผู้คนในวัยทำงาน และการดำรงชีวิต ประจำวัน ในต่างประเทศเคยมีการวิจัยถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไปเนื่องจากอาการปวดหลัง การเข้ารับการตรวจรักษา รวมถึงการหยุดงานเพื่อพักฟื้น พบว่าต้องสูญเสียเงินและเวลาเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการตรวจรักษาที่ถูกต้อง รวมไปถึงการป้องกัน และ ปฏิบัติตัวที่ถูกวิธี จะเป็นวิธีจัดการ กับอาการนี้ได้ถูกต้อง
กระดูกสันหลังเป็นกระดูกแกนกลางของร่างกาย เป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาจากศีรษะ เป็นส่วนเชื่อมกับกระดูกไหปลาร้าและสะบัก เพื่อต่อเนื่องไปยังกระดูกแขนทั้งสองข้าง ส่วนล่างของกระดูกสันหลังเชื่อมกับกระดูกเชิงกราน เป็นข้อต่อให้กับสะโพก และกระดูกขาทั้งสองข้าง เนื่องจากมนุษย์วิวัฒนาการตัวเองจนกลายเป็นสัตว์ที่ยืนด้วยสองเท้า ดังนั้น กระดูกสันหลังย่อมจะเป็นแกนหลักในการรับน้ำหนักตัวส่วนบนของร่างกายผ่านมาสู่ขาทั้งสองข้าง
กายวิภาคของหลัง
แกนกลางประกอบด้วยกระดูกสันหลัง 33 ชิ้น ส่วนคอ 7 ส่วนอก 12 ซึ่งจะเป็นที่ยึดเกาะของกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลังส่วนเอว 5 กระดูกกระเบนเหน็บ 5 ชิ้น เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียว กระดูกส่วนก้นกบ 4 ชิ้น มักจะเชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียว ดังรูป
กระดูกสันหลังแต่ละปล้อง เชื่อมต่อกันด้วย หมอนรองกระดูก และข้อต่อของตัวกระดูกสันหลัง ทำให้สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ ในแกนกลางของโพรงกระดูกสันหลัง เป็นที่อยู่ของไขประสาทสันหลังที่ต่อเนื่องมากจากสมองและมีแขนงเป็นรากประสาทสันหลังส่งไปเลี้ยง แขน ลำตัวและขา
นอกจากนี้ยังมีเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ หลายๆมัด และเนื้อเยื่ออ่อนยึดต่อเนื่องเป็นแผ่นหลัง
อาการปวดหลัง
<font face="Arial" size="3
ขอบคุณค่ะ ได้ัรับความรู้เพียบเลยค่ะ
ต้องพยายามทำให้ถูกต้องซะแล้ว
เห็นหัวข้อ แอบเป็นห่วงนึกว่าพี่เม้งปวดหลัง^^
เป็นห่วงได้เลยจ้า ปวดอยู่ หุหุ ลาปวดดีกว่าพรุ่งนี้
สาระดีๆอีกเเล้ว
...รับแผ่นกอเอี๋ยะไหมฮะ
บริหารไปกี่ท่าแล้วหล่ะน้าเม้ง?
ศึกษาจบเปนผู้เชี่ยวชาญเรื่องปวดหลังไปเลย
บริหารผิดกระบวนท่าระวังปวดหนักกว่าเดิม
มีประโยชน์มากเลย ขอบคุณคับ
เคยปวดหลังจนต้องใช้ศอกยันลุกขึ้นมาเหมือนกันค่ะ กินยาแล้วก็จาหลับๆๆ เข้าใจเลยค่ะ
แต่อ่านข้อมูลแล้ววว หมูหวานความจำสั้น จำม่ะล่ายแน่ๆ เลยค่ะพี่เม้ง อิอิ
ขอให้อาการดีขึ้นไวๆ นะคะพี่ ^__^
น้าเม้งลองใช้ที่นอนยางพาราดูบ้างยัง ช่วยได้ดีนะครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆ ค่ะ
ความรู้ตรึม แล้ว ต้องค่อยๆอ่านจะได้จำได้
มีความรู้ดีจัง
ไปแนะนำ pt บน ward ได้เลย
กำลังฝึกที่นั้นพอดี
: ) ความรู้หาเอาจาก อากู๋กูเกิ้ลฮับ
เง้อ............ ต้องกลับมาอ่านอีกแล้ว
fw mail
ทุกๆ คนควรอ่านเป็นอย่างยิ่ง
วันละร้อยห้าสิบวินาทีเพื่อห่างไกลโรคปวดหลัง
ผู้เขียนมีโรคประจำตัวคือ โรคปวดหลัง ซึ่งมีสาเหตุจากหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท และเป็นต่อเนื่องมานานร่วมยี่สิบปี, ผ่าตัดมาแล้วสองครั้ง, นอนรอคิวผ่าตัดครั้งที่สามมาแล้วสามวันที่โรงพยาบาลเลิดสิน ก่อนคณะแพทย์มีความเห็นว่าไม่ควรผ่าตัดเพราะอาการไม่รุนแรงถึงขั้นดำรงชีวิ ตอย่างยากลำบาก ทนทุกข์ทรมานมานานหลายปีได้รับการรักษา และคำแนะนำจากแพทย์หลายท่านที่มากไปด้วยประสพการณ์ รวมทั้งที่ชื่อเสียงโด่งดังระดับประเทศ แต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งอาการปวดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวได้ จนวันนี้มีอาการดีขึ้นจึงอยากสรุปความเห็นเผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้ร่วม ชะตากรรมคนอื่นๆ
อาการเริ่มต้นครั้งแรกเกิดจากก้มตัวลงยกของอย่างไม่ถูกท่าทาง มีอาการแปล๊บขึ้นที่กระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว ขณะนั้นขยับขาทั้งสองข้างต่อไม่ได้ รอไม่ถึงห้านาทีเริ่มทุเลาจึงค่อยๆขึ้นรถขับไปหาหมอด้วยตนเอง แต่ยังคงเดินแบบลากขาอย่างช้าๆ หมอที่คลินิคให้ความเห็นว่ากล้ามเนื้อคงอักเสบ จึงฉีดยาแก้ปวดและอักเสบให้ กลับไปบ้านต้องหยุดงานเพราะเดินไม่สะดวกไปสามวัน
หลังจากนั้นอาการแปล๊บๆข้างต้นก็จะเกิดกับตนเองปีละสองสามครั้งอยู่หลายปี ทุกครั้งต้องหยุดพักผ่อนอย่างน้อยสามถึงสี่วันเพราะลุกเดินไม่ไหว จนไปพบแพทย์ออร์โธปีดิคเฉพาะทางซึ่งนับเป็นกระบี่มือหนึ่งของจังหวัด รักษากันอยู่นานเป็นปี โดยเริ่มจากยากิน ยาฉีด และเอ็กซเรย์แบบคอมพิวเตอร์ติดตามดูอาการ จนสุดท้ายหมอสั่งให้ไปทำเอ็กซเรย์ MRI ที่รพ.บำรุงราษฎร์ กทม. ซึ่งขณะนั้นมีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย ภาพจากฟิล์มฟ้องว่าหมอนรองกระดูกสันหลังมันปลิ้นออกมาขวางและดันไขสันหลัง และเส้นประสาทจนเกิดอาการชาไปถึงหลังเท้า หมอตัดสินใจผ่าตัด เพื่อขูดเอาหมอนรองกระดูกที่แตกออก โดยเปิดแผลคืบนึงที่หน้าท้อง พร้อมทั้งตัดกระดูกเชิงกรานมาแว่นนึงขนาดเท่ากับหมอนรองกระดูกที่ขูดออก อัดเข้าไปรับช่องว่างข้อกระดูกสันหลังแทน ซึ่งแน่นอนมันจะส่งผลให้ข้อต่อส่วนนี้ไม่มีการยืดหยุ่นอีกต่อไป เวลาผ่านไประยะนึงมันก็จะเชื่อมข้อบนและข้อล่างให้ต่อเป็นชิ้นเดียวกัน งานนี้ต้องหยุดพักรักษาแผลไปร่วมเดือน
หลังผ่าตัดก็ยังคงพบแพทย์เพื่อติดตามอาการเป็นระยะๆ จากสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี แต่อาการดูเหมือนมันยังไม่หายขาด แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าเก่ามาก สุดท้ายหมอขอแก้ตัวอีกครั้งโดยการผ่าตัดจากด้านหลัง เปิดแผลช่วงกระดูกสันหลังที่มีปัญหา พร้อมยึดโยงข้อกระดูกสันหลังบน และล่างด้วยโลหะ เพื่อเสริมความแข็งแรงไม่ให้เกิดการเสียดสีหรือกดทับเส้นประสาทอีก งานนี้ต้องพักรักษาแผลไปเกือบสามอาทิตย์ แต่ก็พบว่าอาการที่ยังคงชาอยู่ที่หลังเท้าไม่ได้หายขาดไป เลยรู้สึกปลงๆและไม่สนใจอะไรมากมายอีก นานๆเป็นปีถึงจะเจ็บหนักๆสักครั้งนึง เลยถือโอกาสยอมรับว่ามันคงเป็นอย่างนี้แหละจนเวลาล่วงเลยไปไปอีกหลายปี
ประมาณปี 2544 ก็เริ่มเกิดอาการปวดระดับต้องนอนพักถี่ขึ้น ไปพบแพทย์ที่รพ.กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำรพ.เลิดสิน เชี่ยวชาญเรื่องกระดูก เอ็กซเรย์ไปหลายครั้งทั้งธรรมดา และแบบสแกนคอมพิวเตอร์ แต่ก็เห็นไม่ชัดเลยต้องลองทำ MRI อีกครั้ง ปรากฏว่าภาพเกิดแสงสะท้อนมากจนดูไม่รู้เรื่องเพราะมีโลหะอยู่ข้างใน สุดท้ายคุณหมอขอฉีดสีเข้าไขสันหลังเพื่อให้ภาพเอ็กซเรย์ธรรมดาชัดเจนมากขึ้น ช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ ครั้งนี้พบว่ามีหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทเพิ่มอีกสองตำแหน่ง คือ ข้อบน และข้อล่างของข้อที่เคยมีปัญหามาก่อน ซึ่งคุณหมอบอกว่าเกิดจากข้อที่เสียไปไม่ยืดหยุ่น จึงไปเพิ่มภาระให้กับข้อบนและล่างมากกว่าปกติ...เฮ้อ..เวรกรรม ไม่รู้เพราะตอนเด็กไปตีงูหลังหักไปหลายตัวจนตาย กรรมเลยตามสนองในชาตินี้เลยหรือปล่าว
สุดท้ายหมอนัดให้ไปนอนรอที่รพ.เลิดสินเพื่อผ่าตัด นอนรออยู่สามวันคณะแพทย์ของรพ.เลิดสิน มาแจ้งผลว่ายกเลิกนัดที่จะผ่าตัด เพราะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่จะผ่าตัดจุดเดิมซ้ำซากหลายๆครั้ง เลยจำใจอดทนรับการเจ็บปวดปีละหลายครั้งต่อไป จนกระทั่งปี 46 ต้องโยกย้ายไปช่วยงานที่เมืองจีนสามปี ระหว่างอยู่ที่นั่นก็นับว่าโชคดีที่เกิดการปวดรุนแรงไม่บ่อยมาก ส่วนใหญ่พอเริ่มมีอาการเพียงเล็กน้อยก็จะรีบกินยากันไว้ และระวังท่าทางการเคลื่อนไหวไม่ให้เสี่ยงเจ็บเป็นกรณีพิเศษ ทุกครั้งที่กลับมาเยี่ยมครอบครัวที่เมืองไทย ต้องแวะหาหมอเพื่อตรวจอาการ และขอยาไปสำรองไว้ครั้งละร่วมหมื่น มีอยู่หลายครั้งที่กลับมาเยี่ยมบ้านได้รับคำแนะนำให้ไปหาหมอคนนั้น คนนี้ ซึ่งแต่ละท่านมีชื่อเสียงระดับประเทศ ก็ลองไปขอคำปรึกษามาแล้วทั้งนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่าช่วงทำงานในจีนจะไม่เกิดปัญหาบาดเจ็บรุนแรงจนเสีย การเสียงาน
มีคุณหมอท่านหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาฯสรุปอย่างตรงประเด็นให้ฟังว่า โรคนี้น่ะมันรักษาไม่หายขาดหรอก หากเจ็บบ่อยหรือชาลงขามากก็ผ่าตัดสถานเดียว
แสดงความคิดเห็น