วันจันทร์, เมษายน 09, 2550
โอวาทคำสอน
ต่อไปขอนำโอวาทของพระพุทธองค์ และหลวงพ่อหลายท่านมาลงไว้ให้อ่านเป็นเครื่องเร้าจิตใจให้
ร่าเริงเบิกบานในธรรม
โอวาทคำสอนของพระพุทธองค์
“ไม่มีใครสามารถทำร้ายทำลายตัวเราได้ นอกจากตัวของเราเอง ไม่มีใครหยิบทุกข์จาก
หัวใจใครทิ้งได้ ทั้งหมดต้องวางจากจิตตน”
“เราไม่เล็งเห็นธรรมอย่างอื่นแม้สักข้อหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิดขึ้นได้เกิดขึ้น
หรือให้สัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้ว เจริญขึ้นเหมือน โยนิโสมนสิการเลย เมื่อมีโยนิโสมนสิการ
(การพิจารณาโดยแยบคาย , คิดเป็น) สัมมาทิฐิที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นและสัมมาทิฐิที่เกิดขึ้นแล้วย่อม
เจริญขึ้น”
“ภิกษุทั้งหลาย ! บัดนี้เราขอเตือนพวกท่านให้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายที่เกิดมาในโลก มีความ
เสื่อมสลายเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงทำหน้าที่ อันเป็นประโยชน์แก่ตนและคนอื่นให้สำเร็จบริบูรณ์ด้วย
ความไม่ประมาทเถิด”
“เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฎฐิคือความยึด
มั่นถือมั่นเรื่องตัวตนเสียด้วยประการฉะนี้ เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวล ไม่มีความสุขใดยิ่งไป
กว่าการปล่อยวาง และการสำรวมตนอยู่ในธรรม”
“ผู้จะถือเอาความสุขในนิพพาน ต้องวางความสุขในโลกีย์ให้หมด”
“ตราบใดที่ยังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ย่อมติดตามไปเสมอ เมื่อรากยัง
มั่นคง แม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้วมันก็สามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยออกจากดวง
จิต ความทุกข์ก็เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ “
“ความสิ้นอาสวะ เป็นอานิสงส์สูงสุดแห่งการบำเพ็ญคุณงามความดีทั้งหลาย เพราะความ
ทุกข์ความเดือดร้อนของหมู่สัตว์เกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาสวะกิเลส”
“การวางใจปลงใจนั้นคือ วางสุข วางทุกข์ วางบาปบุญ คุณโทษ วางโลภ โกรธ หลง
วางลาภ ยศ นินทา สรรเสริญหมดสิ้นเหมือนกับไม่มีหัวใจ จึงชื่อว่าทำให้เหมือนแผ่นดิน ถ้ายังทำไม่ได้
อย่าหวังว่าจักได้โลกุตรนิพพานเลย ถ้าทำตัวให้เหมือนแผ่นดินได้ ในกาลใด ถึงหวังซึ่งโลกุตรนิพพาน คง
ได้คงถึงในกาลนั้นโดยไม่ต้องสงสัย”
“ผู้ฉลาดด้วยปัญญา ท่านบำเพ็ญอสุภานุสติกรรมฐานปรารถนาเอาพระนิพพานเป็นที่ตั้งนั้น
ท่านย่อมถือเอาอสุภะในตัวเป็นอารมณ์ของกรรมฐาน ถ้ายังเอาอสุภะภายนอกเป็นอารมณ์อยู่แล้ว ยังไม่
เต็มทางปัญญาเพราะยังอาศัยสัญญาอยู่ ถ้าเอาอสุภะในตัวเป็นอารมณ์ของกรรมฐานได้ จึงเป็นที่สุดแห่ง
ทางปัญญาเป็นตัววิปัสสนาญาณได้ บุคคลผู้ใดปรารถนาพระนิพพาน จงยังอสุภะกรรมฐานในตนให้แจ้งชัด
เถิด”
“ปัญญาซึ่งมีความหนักแน่นมั่นคงเหมือนแผ่นดิน ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ใคร่ครวญเสมอ ฉะนั้นจง
พยายามทำปัญญาให้มั่นคงเหมือนแผ่นดิน และสามารถจะแทงทะลุอะไร ๆ ได้ให้เกิดขึ้นด้วยการพิจารณา
อยู่เสมอ ไม่มีอะไรจะแหลมคมยิ่งกว่าปัญญา ปัญญานี้แลเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งมวล ไม่มีอะไรจะเหนือ
ปัญญาไปได้”
“ภิกษุทั้งหลาย น้ำในมหาสมุทรย่อมมีรสเดียวคือรสเค็มฉันใด ธรรมวินัยก็ฉันนั้น มีรสเดียว
คือ “วิมุตติรส” หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญแห่งพรหมจรรย์ที่เราประกาศ
แล้ว” “ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ยินดีในธรรม ตรึกตรองธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่เสมอ ย่อมไม่
เสื่อมจากพระสัทธรรม ไม่เสื่อมจากพระนิพพาน”
“ในบรรดารอยเท้าทั้งหมดถือว่ารอยเท้าช้างใหญ่ที่สุดในบรรดาการฝึกสติทั้งหมด มรณานุสติ
นับว่ายิ่งใหญ่ที่สุด” “ดูก่อนอานนท์ ในวันหนึ่ง ๆ เธอระลึกถึงความตายวันละกี่หน เรา
ตถาคตระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์ ทุกลมหายใจเข้าออก”
โอวาทหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
อดีต คือสิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่ควรไปทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง
แม้จะทำความผูกพันและมั่นใจให้สิ่งนั้นกลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้ ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้น เป็น
ทุกข์แต่ผู้เดียวโดยความไม่สมหวังตลอดไป อนาคต คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึด
เหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อยไว้ตามกาลของ
มัน ปัจจุบัน เท่านั้นสำเร็จประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ทำได้ไม่สุดวิสัย
“เพราะเหตุว่าการทำจิตใจให้สงบนั้นเป็นนามธรรม เมื่อเกิดความอัศจรรย์หรือความสบาย
ก็ไปเข้าใจเสียว่าดีแล้ว จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถจะรู้ให้ยิ่งขึ้นได้ จึงไม่ควรตำหนิผู้ที่ทำสมาธิแล้วหลง
ใหลไปตามโลกียญาณเพราะเขาเหล่านั้นก็ได้ความดี ความเย็นใจซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยาก แต่ที่ควรตำหนิก็
เพราะว่าเขาไม่พยายามหาโลกุตรธรรมนั้น อันการติดในธรรมปฏิบัติอันเป็นภายในนี้ มันไม่ไปนรกดอก
แต่มันทำให้ล่าช้าต่อการยิ่งเห็นจริงต่าง ๆ เพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นเอง ที่ทำให้เขาต้องเสีย
ประโยชน์ยิ่งคือ ฉิบหายเสียจากคุณอันใหญ่”
“ท่านทั้งหลายจงอย่าทำตัวเป็นตัวบุ้งตัวหนอนคอยกัดแทะกระดาษแห่งคัมภีร์ใบลานอยู่เปล่า
ๆ โดยไม่สนใจพิจารณาสัจธรรมอันประเสริฐที่มีอยู่กับตัว แต่มัวไปยึดธรรมที่ศึกษามาถ่ายเดียว ซึ่งเป็น
สมบัติของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติของตนด้วยความเข้าใจผิดว่า ตนเรียนรู้และฉลาดพอตัวแล้ว ทั้งที่
กิเลสยังกองเต็มหัวใจยิ่งกว่าภูเขาไฟ มิได้ลดน้อยลงบ้างเลย จงพากันมีสติคอยระวังตัว อย่าให้เป็นคน
ประเภทใบลานเปล่า ๆ เรียนเปล่าและตายทั้งเปล่า ไม่มีธรรมอันเป็นสมบัติของตัวอย่างแท้จริงติดตัว
บ้างเลย “
“การตายด้วยความเพียงพอทุกอย่าง เป็นการตายที่หมดกังวลพ้นทุกข์ แม้จะไปอยู่ที่ไหนก็ไม่
มีอะไรบกพร่อง ผู้เพียงพอทุกอย่างแล้วไม่จำเป็นต้องคาดต้องหวังสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น อยู่กับความเพียงพอนี้
เอง”
โอวาทคำสอนของหลวงพ่อชา สุภัทโท (วัดหนองป่าพง)
“คนจะบรรลุธรรม จะได้เห็นธรรมะ ต้องรู้จักว่าธรรมะอยู่ตรงไหนเสียก่อน ธรรมะที่แท้
จริงอยู่ที่ไหน อยู่ที่นี่ อยู่ที่กาย อยู่ที่ใจ ให้เอาใจนี้พิจารณากาย นี้เป็นหลักการพิจารณา”
“ปัญญา(ที่แท้) จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้นจงเพียรแต่ “ละความอยาก “ เสีย
จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นในเรื่องการปฏิบัติหรือใน
การรู้แจ้ง”
“ถ้าท่านยึดติดอยู่กับภาวะจิตที่สงบ ท่านจะเป็นทุกข์เมื่อจิตไม่สงบ ฉะนั้นจงปล่อยวางหมดทุก
สิ่งแม้แต่ความสงบ”
“ถ้าเห็นสิ่งที่ไม่ชอบใจแล้วยังเอาไว้ในใจของเรา ให้เรียนใหม่ เพราะยังผิดอยู่ ยังไม่ยิ่ง
ถ้ามันยิ่งแล้ว มันวาง ให้ดูอย่างนี้ดูจิตของเราจริง ๆ “
“การทำจิตให้สงบคือการวางให้พอดี ตั้งใจเกินมากไปมันก็เลยไป ปล่อยมากเกินไปมากมัน
ก็ไม่ถึง เพราะขาดความพอดี”
“ข้อสำคัญที่สุดคือแนวทางปฏิบัติที่ดีและถูกต้องจะต้องนำไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ลงท้ายแล้วก็
ต้องปล่อยวาง แนวทางการภาวนาทุกรูปแบบจะต้องเป็นไปเพื่อการปล่อยวาง ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่นแม้ตัว
อาจารย์ แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง”
โอวาทคำสอนหลวงพ่อพุทธทาส
“ตายให้เป็นคือตายชนิดที่ไม่ตาย แต่กลับเป็นอยู่ตลอดกาล และต้องเป็นการกระทำชนิดที่
เรียกว่าตายเสียก่อนตาย คือตายเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก่อนแต่ร่างกายแตกดับ “
“การกุศลที่แท้จริงและสูงสุดนั้นคือ การทำให้มนุษย์ได้รู้ถึงสิ่งที่มนุษย์ควรรู้หรือจำเป็นต้องรู้
และให้ได้ถึงสิ่งที่ควรเข้าถึงหรือจำเป็นต้องเข้าถึง กล่าวคือ ธรรมะที่ทำให้จิตใจสูง ได้แก่การที่มีใจมี
ความสะอาดปราศจากกิเลส ใจสว่าง ปราศจากความเป็นผิดและใจสงบจากความทุกข์ร้อนภายในทุก
ประการ จะรู้หนังสือหรือไม่รู้หนังสือก็ตาม จะมีโบสถ์สำหรับสวดมนต์ทำพิธีหรือไม่ก็ตามก็ไม่สำคัญเท่า
ความสะอาด สว่าง สงบของจิตใจ ซึ่งจำเป็นเร่งด่วนหรือต้องการก่อนสิ่งอื่นใดทั้งหมดทั้ง
สิ้น” “อย่ามุ่งหมายความสุขอันประเสริฐอะไร ๆ ให้มากไปกว่าความปกติของจิตที่ไม่ยินดี
ยินร้าย ไม่ขึ้นไม่ลงไปตามอารมณ์ที่กระทบ เพราะไม่มีสุขอะไรประเสริฐยิ่งไปกว่าความปกติของจิตนั้น”
โอวาท หลวงปู่ดุลย์ อตุโล
“ที่ใจเป็นทุกข์เพราะเกิดความยึดมั่น แล้วมีการปรุงแต่งในความคิดขึ้นและอุบายที่จะละ
ความทุกข์ก็คือหยุดการปรุงแต่งแล้วปล่อยวางให้เป็น” “เมื่อสังขารดับแล้วความเป็นตัวเป็น
ตนก็จะไม่มี เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดหายไป ความทุกข์จะเกิดได้
อย่างไร”
“เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหาเสียเท่า
นั้น พุทธะก็ปรากฏตรงหน้า เพราะว่าจิตคือพุทธะนั่นเอง”
โอวาท สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ยศและลาภหาบไปไม่ได้แน่ มีเพียงแต่ต้นทุนบุญกุศล
ทรัพย์สมบัติทิ้งไว้ให้ปวงชน แม้ร่างตนเขายังเราไปเผาไฟ
เมื่อเจ้ามามีอะไรมาด้วยเจ้า เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน
เจ้ามามือเปล่าเจ้าจะเอาอะไรไป เจ้าก็ไปมือเปล่าเหมือนเจ้ามา
บุญเราไม่เคยสร้างใครที่ไหนจะมาช่วยเรา
“ลูกเอ๋ย..........ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัว
เองคือ บารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะ
เอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญกุศลได้บารมีมาก็ต้องเอาไป
ผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้
(สร้างความดี) แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง จงจำไว้นะ เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดคิดช่วยก็ไม่ได้ แต่
ครั้นถึงเวลาทั่วฟ้าจรดดินอะไรก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้
เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า” “ความจริง พอกิน พอใช้ พออยู่ รู้พอ ย่อมสงบ มนุษย์
หยุดนิ่งไซร้ความจริงย่อมเกิด ถ้าท่านยังไม่หยุด ท่านยังไม่มีโอกาสพบความจริง”
“หัวใจการเจริญวิปัสสนากรรมฐานนั้นต้องละจนถึงที่สุดมิใช่ไปยึด”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
6 ความคิดเห็น:
งง ....
“ข้อสำคัญที่สุดคือแนวทางปฏิบัติที่ดีและถูกต้องจะต้องนำไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ลงท้ายแล้วก็
ต้องปล่อยวาง แนวทางการภาวนาทุกรูปแบบจะต้องเป็นไปเพื่อการปล่อยวาง ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่นแม้ตัว
อาจารย์ แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง”
ขอบคุณค่ะ
อดีต คือสิ่งที่ล่วงไปแล้วไม่ควรไปทำความผูกพัน เพราะเป็นสิ่งที่ล่วงไปแล้วอย่างแท้จริง
แม้จะทำความผูกพันและมั่นใจให้สิ่งนั้นกลับมาเป็นปัจจุบันก็เป็นไปไม่ได้ ผู้ทำความสำคัญมั่นหมายนั้น เป็น
ทุกข์แต่ผู้เดียวโดยความไม่สมหวังตลอดไป อนาคต คือสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรยึด
เหนี่ยวเกี่ยวข้องเช่นกัน อดีตควรปล่อยไว้ตามอดีต อนาคตก็ควรปล่อยไว้ตามกาลของ
มัน ปัจจุบัน เท่านั้นสำเร็จประโยชน์ได้ เพราะอยู่ในฐานะที่ทำได้ไม่สุดวิสัย
.
“การตายด้วยความเพียงพอทุกอย่าง เป็นการตายที่หมดกังวลพ้นทุกข์ แม้จะไปอยู่ที่ไหนก็ไม่
มีอะไรบกพร่อง ผู้เพียงพอทุกอย่างแล้วไม่จำเป็นต้องคาดต้องหวังสิ่งใดๆ ทั้งสิ้น อยู่กับความเพียงพอนี้
เอง”
.
บุญเราไม่เคยสร้างใครที่ไหนจะมาช่วยเรา
“ลูกเอ๋ย..........ก่อนจะเที่ยวไปขอบารมีหลวงพ่อองค์ใด เจ้าจะต้องมีทุนของตัว
เองคือ บารมีของตนลงทุนไปก่อน เมื่อบารมีของเจ้าไม่พอจึงค่อยยืมบารมีคนอื่นมาช่วย มิฉะนั้นเจ้าจะ
เอาตัวไม่รอด เพราะหนี้สินในบุญบารมีที่เที่ยวไปขอยืมมาจนพ้นตัว เมื่อทำบุญกุศลได้บารมีมาก็ต้องเอาไป
ผ่อนใช้หนี้เขาจนหมดไม่มีอะไรเหลือติดตัว แล้วเจ้าจะมีอะไรไว้ในภพหน้า หมั่นสร้างบารมีไว้
(สร้างความดี) แล้วฟ้าดินจะช่วยเอง จงจำไว้นะ เมื่อยังไม่ถึงเวลาเทพเจ้าองค์ใดคิดช่วยก็ไม่ได้ แต่
ครั้นถึงเวลาทั่วฟ้าจรดดินอะไรก็ต้านเจ้าไม่อยู่ จงอย่าไปเร่งเทวดาฟ้าดิน เมื่อบุญเราไม่เคยสร้างไว้
เลย จะมีใครที่ไหนมาช่วยเจ้า” “ความจริง พอกิน พอใช้ พออยู่ รู้พอ ย่อมสงบ มนุษย์
หยุดนิ่งไซร้ความจริงย่อมเกิด ถ้าท่านยังไม่หยุด ท่านยังไม่มีโอกาสพบความจริง”
:- ) แต่ละอย่างทำยากจัง
บรรลุยากคับ อิอิอยากได้โคดใส่เพลง ใส่วิทยุลงไปจังคับ อิอิ
"ทางสายกลาง" เป็นแนวทางที่คนข้างๆของนู๋เล็กนำให้ปฏิบัติให้ทำจนเป็นนิสัยติดตัว
จะคิดจะทำหรือจะพูด ออกไป จุดตรงกลางของความพอดี ต้องมีเสมอ
สิ่งใดที่เราเคยทำบุญทำคุณไว้กับใคร เรารีบๆลืมมันซะ
แต่สิ่งใด ที่คนอื่นเค้าทำบุญคุณให้เรานั้นต้องจำใส่สมองและอย่าลืม..
เรื่องง่ายที่ใครๆก็ทำด้ แต่ทำไมไม่อยากทำกัน ก็ไม่รู้เน้อ จารย์ฯ
วิถีแห่งธรรมคำสอน ปฎิบัติได้จะดีครับ จานเม้ง
แสดงความคิดเห็น