วันเสาร์, ตุลาคม 28, 2560

ชนิดของยาแก้ปวดหลัง กล้ามเนื้ออักเสบ และผลข้างเคียงที่น่าสนใจ

ผมใช้ยาแก้ปวด ให้แม่ผมบ่อย เลยไปค้นๆข้อมูลจาก google มา ขอแปะไว้ ครับ

โดยเน้นไปที่ ยาที่ใช้บ่อยเพื่อรักษาอาการปวดหลัง ในโรค กระดูกสันหลัง 
ยากลุ่ม NSAID

ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( เอนเสด )
NONSTEROIDAL ANTI-INFLAMMATORY DRUGS [ NSAIDs ]


ยากลุ่มนี้ มีคุณสมบัติสำคัญก็คือ ลดการอักเสบ โดยที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ [ NONSTEROIDAL ANTI-INFLAMMATORY DRUGS ] ทำให้อาจมีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น 
ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ 
ยาบรรเทาอาการปวดลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ 
ยาแก้ปวดลดการอักเสบ 
ยาลดการอักเสบ หรือ เรียกทับศัพท์ชื่อย่อภาษาอังกฤษว่า เอนเสด [ NSAIDs ]


เรื่องแรก หลักการทำงานแก้อักเสบ ปวด
เรื่องสอง เป็นชนิดของยา   
เรื่องสามจะเปนผลข้างเคียง ที่นอกเหนือจาก กัดกระเพาะที่เรามักรู้กันดีอยู่


เรื่องแรก หลัการทำงานของยาแก้ปวดต้านการอักเสบ จากเวป  http://www.thaispine.com/NSAID.htm เรียบเรียงโดย นพ. ทายาท บูรณกาล

ยาต้านการอักเสบทำงานอย่างไร? 
NSAID ทำงานโดยการห้ามการเกิดสารเคมีที่ทำให้เกิดการอักเสบที่มีชื่อว่าProstaglandin(PG) ซึ่งสารนี้ทำเกิดอาการต่างๆของการอักเสบอาทิการบวม,การเจ็บปวด,การเกิดไข้ เป็นต้น 

NSAID ลดสารตัวนี้ได้อย่างไร? 
NSAID มีกลไกไปห้ามการเกิด PG โดยการลดการทำงานของเอ็นไซม์ที่ใช้ในการผลิต PG ที่มีชื่อว่า Cyclo-oxygenase( COX )ที่จะเปลี่ยนกรดArachinodicในร่างกายให้เป็น PG เกิดการอักเสบขึ้น 

มีเอ็นไซม์ COX กี่ตัว 
พบว่ามีเอนไซม์ลักษณะCOX อยู่สองตัวได้แก่ COX-1 และ COX-2 ซึ่งมีหน้าที่ต่างกัน COX-1เป็นเอนไซม์ที่มีประโยชน์
ต่อร่างกายในการทำงานของเซลต่างๆส่วน COX-2 เป็นเอนไซม์ที่จะทำงานเมื่อมีการอักเสบบริเวณต่างๆของร่างกาย

NSAIDที่ดีควรเลือกออกฤทธิ์ที่ใด? 
เนื่องจากเอนไซม์ COX-1มีประโยชน์ต่อร่างกาย ดังนั้นยาต้านการอักเสบ NSAIDที่ดีตามทฤษฎีแล้ว จึงควรเป็นยาออกฤทธิ์ที่
เอนไซม์ COX-2 เพียงตัวเดียว ซึ่งเรียกการออกฤทธิ์ของยาแบบเจาะจงมากนี้ว่า Selective Cox-2 inhibitor 

อย่างไรก็ดี ในทางคลินิกที่ใช้จริงยังไม่สามารถสรุปได้ว่า การใช้ยา NSAIDที่มีคุณสมบัติ Selectivity สูงๆต่อ Cox-2จะให้ผลการรักษาที่ดีมากต่อผู้ป่วยชัดกว่า NSAID รุ่นเดิมและยังคงต้องติดตามผลการใช้ NSAID รุ่นใหม่นี้อย่างใกล้ชิด
ถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ต่อไป


เรื่องสอง เป็นชนิดของยา 

ยาในกลุ่มแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์    ยาในกลุ่มนี้ เป็นยาที่ใช้บ่อยในการรักษาอาการปวดหลังได้แก่ยาที่อยู่ในกลุ่ม"แก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์"หรือที่เรียกกันติดปากว่ายา"เอ็นเซต" (NSAID)


None Steroidal  Anti -Inflamatory Drug  (NSAID)

ยาในกลุ่มนี้ที่ใช้กันทั่วไปเป็นชนิดแรกคือ ยาที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า "แอสไพริน" ซึ่งกันเป็นเวลานานกว่าร้อยปีแล้วว่าเป็นยาสารพัดประโยชน์ สามารถใช้ลดไข้,แก้ปวดกล้ามเนื้อ,แก้ปวดข้อ,ลดการอักเสบของข้อ,ลดการปวดหลัง เป็นต้นซึ่งต่อมาภายหลัง ได้มีการปรับปรุงสูตรของยาในกลุ่มนี้ให้ปลอดภัยในการใช้รักษาโรคมากขึ้น โดยเฉพาะลดอาการข้างเคียงทางระบบทางเดินอาการ เช่น กระเพาะอาหารอักเสบ


NSAID ประเภทNone-Specific Cox-2 Inhibitor

ยาที่ได้ผลิตต่อมาที่มีประสิทธิภาพดีเช่นเดียวกับแอสไพริน แต่เชื่อว่ามีผลต่อการเกิดปัญหาต่อโรคกระเพาะอาหารน้อยกว่า
ได้แก่ยาที่ใช้ในปัจจุบันเช่น Ibuprofen (Nurofen®) Diclofinac (Voltaren®,Cataflam®,Difenac®)Naproxen  (Synflex®,Napxen®) Piroxicam(Feldene®) และอื่นๆอีกหลายชนิดหลายยี่ห้อ ซึ่งแต่ละชนิดมีประสิทธิภาพในการลดการอักเสบข้อข้อได้ดีในแต่ละคน
ไม่เท่ากัน ผู้ป่วยบางคนดีต่อการรักษาด้วยยาตัวนี้ แต่อีกตัวไม่ดีแต่เอายาชนิดเดียวกันไปใช้กับผู้ป่วยอีกคนอาจไม่พบเหมือนกันเป็นต้น ดังนั้นจึงไม่อาจเปรียบเทียบได้ว่าผู้ป่วยแต่ละรายจะดีกับยาตัวใด อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเชื่อว่ามีผลข้างเคียงต่อกระเพาะน้อยกว่ายา แอสไพริน แต่ยังคงมีรายงานการเกิดโรคทางกระเพาะอาหารเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีการรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานานๆ หลายๆเดือน เราเรียกยากลุ่มนี้ตามการออกฤทธิ์ต่อการลดการอักเสบที่เอนไซม์ในตัวว่า ยาNSAIDในกลุ่มNone-Specific Cox-2 inhibitor





NSAID ประเภทSelective Cox-2 inhibitor

สืบเนื่องจากยาในกลุ่มที่กล่าวมา ยังมีผลข้างเคียงต่อกระเพาะในผู้ป่วยที่ใช้เวลานานและผู้ป่วยสูงอายุอยู่ จึงมีการพยายามคิด
ยาที่กลไกการออกฤทธิ์ลดการอักเสบคล้ายกัน แต่เลือกออกฤทธิ์ที่เอนไซม์ที่ไม่มีผลต่อโรคกระเพาะอาหารมากขึ้น เรียกยาในกลุ่ม
นี้ว่ากลุ่ม 
 Selective(Preferential)Cox-2 inhibitorอาทิเช่นยา Meloxicam (Mobic®)และยา Nimesulide
(Nidol®) เป็นต้น ซึ่งเชื่อกันว่ามีผลลดโอกาสเกิดปัญหาด้านกระเพาะได้ประมาณ 4-5 เท่าจากยาในกลุ่ม NSAID เดิม






NSAID ประเภท Specific  Cox-2 inhibito

ต่อมามีผู้พยายามพัฒนายาในกลุ่มNSIAD ให้ออกฤทธิ์ต่อเอนไซม์ที่ลดการอักเสบต่างๆเฉพาะตัวมากขึ้น โดยยาในกลุ่มใหม่นี้เรียกว่ายากลุ่ม Specific Cox-2 inhibitor ซึ่งในปัจจุบันมีหลายชนิดในท้องตลาดอาทิเช่น Celecoxib (Celebrex®)Etoricoxib (Arcoxia®) เป็นต้น ซึ่งเป็นยาที่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหาร หรือ ผู้ป่วยที่สูงอายุเป็นต้น อย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าเราสามารถใช้ยาในกลุ่มใหม่นี้ได้อย่างไม่ระมัดระวังต่อผลข้างเคียงแต่อย่างใด เนื่องจากยาในกลุ่ม NSAID ทั้งหมด ยังคงมีอุบัติการณ์ของผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์อยู่ ไม่ว่าจะเป็นฤทธิ์ต่อกระเพาะอาหารและลำไส้ ฤทธิ์ต่อไต ตับ หรือต่อระบบเม็ดโลหิต เป็นต้น


ข้อควรระมัดระวังในการใช้ยาในกลุ่ม NSAID 
- ไม่แนะนำให้รับประทานยากลุ่ม NSAID เป็นระยะเวลานานๆติดต่อกัน(เป็นหลายเดือนหรือเป็นปี)
- NSAID ทุกชนิดมีผลต่อการทำงานของไตไม่มากก็น้อย หากแต่ใช้ด้วยความระมัดระวัง ก็ไม่ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ
- NSAID ทุกชนิดมีผลต่อการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหาร ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง
- NSAID อาจทำให้ฤทธิ์ลดความดันของ Beta-block, ACE inhibitor, ARBs ลดลง
- NSAID ควรรับประทานหลังอาหาร, และควรทานน้ำมากกว่าปกติเล็กน้อย
-ในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไตทำงานผิดปกติ ควรต้องระมัดระวังในการรับประทานยากลุ่มนี้
-ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางระบบไต ในระหว่างการรับประทานยากลุ่มนี้ ควรต้องติดตามค่าไตเป็นระยะๆ




เรื่องสามจะเปนผลข้างเคียง ที่นอกเหนือจาก กัดกระเพาะที่เรามักรู้กันดีอยู่
จาก https://www.thairath.co.th/content/500657 หมอดิ้อ

นึกถึงยาแก้ปวดเมื่อไหร่ อย่าลืมนึกถึง ICU ด้วยนะครับ
โดย หมอดื้อ 24 พ.ค. 2558 05:01
//www.thairath.co.th/content/500657


ร้อยทั้งร้อยในชีวิตนี้ทุกคนต้องเคยทานยาแก้ปวดมาทั้งนั้น

ซึ่งก็บรรเทาเบาบาง หรือไม่ก็หายปวดเป็นปลิดทิ้ง ทำให้ต้องพึ่งยาแก้ปวดกันเป็นประจำ หนำซ้ำบางรายยังไม่ทันปวด ทานไว้ก่อนเผื่อปวด และนี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ต้องมีศูนย์ปวดท้องอาเจียนเป็นเลือด ส่องกล้อง และที่เราชอบมองข้ามไป คือ ไตวายครับ ยาแก้ปวดทำให้ไตวายได้ ต้องล้างไต ฟอกเลือดกันเป็นแถว

ในปี ค.ศ.2004 เป็นที่ฮือฮากันทั่วโลกเมื่อ ยาแก้ปวด ที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAID หรือ Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drug) และออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงโดยยับยั้ง Cyclo-Oxygenase-2 (COX-2 Inhibitor) ที่ชื่อว่า Vioxx (Rofecoxib) ถูกพบว่าทำให้เกิดคนตายจากหัวใจวายมากมาย จนทำให้บริษัทต้องถอนยาออกจากตลาด

ยาในกลุ่มนี้ยังมีอีกหลายตัวและอยู่ในตลาดของประเทศไทย ยากลุ่มนี้ไม่จริงที่ไม่กัดกระเพาะ เมื่อได้รับยากลุ่มนี้ก็มักจะได้แถมยาป้องกันโรคกระเพาะมาด้วย และก็มีผลต่อไตเช่นเดียวกัน

นอกจากนั้นยังมีผลข้างเคียงทำให้เกิดหัวใจวาย ยา ได้แก่ Cele–brex (Celecoxib) Arcoxia (Etoricoxib) Dynastat (Parecoxib) ยาในกลุ่ม NSAID และไม่ได้มีฤทธิ์เจาะจงต่อ COX-2 มีหลายตัว เช่น Voltaren (Diclofenac) Indocid (Indomethacin) Clinoril (Sulindac) (Phenylbutazone) Ponstan (Mefenamic acid) Mobic (Meloxicam) Feldene (Piroxicam) Brufen (Ibuprofen) Naprosyn (Naproxen) Aspirin (Acetylsalicylic acid) (Nimesulide)

ในประเทศไทยยาเหล่านี้มีหลายชื่อทางการค้า ถึงแม้จะเป็นยาตัวเดียวกัน ถ้าผลิตจากต่างบริษัทกัน ชื่อในวงเล็บคือชื่อสามัญ ดังนั้น เวลาใช้ต้องถามคนขายหรือเภสัชกรให้แน่ชัดว่าซ้ำซ้อนกับยาที่ใช้อยู่หรือเปล่า

ยาในกลุ่ม NSAID ทั้งที่เจาะจงและที่ไม่เจาะจงกับ COX–2 นี้ เวลาใช้ต้องระวังหรือใช้ไม่ได้ในคนที่มีตับและไตไม่สมบูรณ์

รายงานจากมหาวิทยาลัย Bern ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวารสารการแพทย์ของอังกฤษ (British Medical Journal) ในวันที่ 11 มกราคม 2011 โดย นายแพทย์ Sven Trelle และคณะ โดยมีนายแพทย์ Peter JÜni เป็นผู้นำคณะ ทำการรวบรวมวิเคราะห์การศึกษาเกี่ยวกับยา NSAID ทั้งหมด 31 ชิ้น...

ซึ่งมีการติดตามผลกระทบหรือผลข้างเคียงต่อสุขภาพในผู้ป่วย 116,429 ราย ที่ใช้ยา Naproxen Ibuprofen Diclofenac Celecoxib Etoricoxib Lumiracoxib Rofecoxib พบความเสี่ยงเพิ่มขึ้นหลายเท่าต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจ เส้นเลือดสมองตีบ และการเสียชีวิตที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและเส้นเลือดทั้งหมด (ซึ่งรวมหัวใจล้มเหลว จากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอลง หัวใจเต้นผิดปกติ ลิ่มเลือดอุดเส้นเลือดในปอดเข้าไปด้วย)

ความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบเรียงลำดับจากอันตรายมากมาหาน้อย

ได้แก่ Rofecoxib (ถอนจากตลาดทั่วโลกตั้งแต่ปี 2004) (2.12 เท่า) Lumiracoxib (2 เท่า) Ibuprofen (1.61 เท่า) Celecoxib (1.35 เท่า) Naproxen และ Diclofenac (0.82 เท่า) Etoricoxib (0.75 เท่า) เมื่อประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดอัมพฤกษ์หรือเส้นเลือดสมองตีบ ที่ลด หลั่นกันมาจากสูงไปหาต่ำ ได้แก่ Ibuprofen (3.36 เท่า) Diclofenac (2.86 เท่า) Lumiracoxib (2.81 เท่า) Etoricoxib (2.67 เท่า) Naproxen (1.76 เท่า) Celeloxib (1.12 เท่า) และ Rofelcoxib (1.07 เท่า)

และเมื่อรวมความเสี่ยงอันเกี่ยวเนื่องกับระบบหัวใจและเส้นเลือดทั้งหมด

ตัวที่อันตรายที่สุด คือ Etoricoxib หรือ ชื่อการค้าคือ Arcoxia (4.07 เท่า) 
Diclofenac หรือ Voltaren (3.98 เท่า) 
Ibuprofen หรือ Brufen (2.39 เท่า) 
Celecoxib หรือ Celebrex (2.07 เท่า) 
Lumiracoxib (1.89 เท่า) 
Rofecoxib หรือ Vioxx (1.58 เท่า) 
และ Naproxen หรือ Napro-syn (0.98 เท่า)

ยาแก้ปวดไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเจาะจงหรือไม่เจาะจงกับ COX-2 ไม่มีกลุ่มใดหรือตัวใดปลอดภัยเลย โดยที่ถ้าไม่ทำให้เส้นเลือดหัวใจตีบก็เกิดเป็นอัมพฤกษ์จากเส้นเลือดสมองแทน หรือไม่ก็มีผลทางอ้อมต่อการตายอันเกี่ยวเนื่องกับระบบเหล่านี้ ถ้าตัด Rofecoxib ไป (เพราะไม่มีจำหน่ายแล้ว) Lumiracoxib คือยาอันตรายสุดต่อเส้นเลือดหัวใจ (2 เท่า) Ibuprofen เสี่ยงสูงสุดต่ออัมพฤกษ์ (3.36 เท่า) ตามด้วย Diclofenac (2.86 เท่า) Etoricoxib เสี่ยงสูงสุดต่อการตายทั้งหมดอันเกี่ยวเนื่องกับระบบหัวใจเส้นเลือด (4.07) ตามด้วย Diclofenac (3.98)

ในประเทศสหรัฐฯ คนไข้ที่ไปพบแพทย์ มีไม่ต่ำกว่า 5% ที่จะได้รับยาแก้ปวด แก้อักเสบเหล่านี้ ในประเทศไทยน่าจะมีมากกว่านี้ ทั้งนี้ เพราะเป็นที่เคยมือของแพทย์ที่จะสั่งยาแก้ปวดให้คนไข้ที่มาด้วยอาการปวดเมื่อย ปวดข้อ กระดูก ปวดเข่า ปวดหัว และ ยาเหล่านี้สามารถซื้อหาได้ทั่วไป ต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ว่าต้องใช้ยาเมื่อมีความจำเป็น ยาที่ใช้เป็นการรักษาที่ต้นตอหรือสาเหตุ หรือเพียงเพื่อบรรเทาอาการ ยามีผลข้างเคียงหรือแทรกซ้อนอะไรบ้าง

ยาแก้ปวดจึงเป็นยาที่เพียบพร้อมมีอันตรายต่อกระเพาะ หลอดอาหาร กรดไหลย้อน ไต ตับ หัวใจ สมอง นึกถึงยาแก้ปวดเมื่อไหร่นึกถึง ICU ด้วยนะครับ.

หมอดื้อ

-----------------------------------------------------------------------.
Rational Drug Use

เอ็นเสดเป็นชื่อกลุ่มยาแก้ปวด เป็นยาขนานหนึ่งซึ่งใช้บรรเทาปวดศีรษะจากไมเกรนได้ ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ลด
การอักเสบ จึงมีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า ยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ 
เอ็นเสดในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด เช่น 
1. ไอบูโพรเฟน ชื่อการค้า บรูเฟน โกเฟน ไฮดี ดูแรน นูโรเฟน แอดวิล
2. ไดโคลฟีแนค ชื่อการค้า โวลทาเรน ไดฟีลีน โดซาแนค ฟีแนค คาตาแฟลม
3. ไพรอกสิแคม ชื่อการค้า เฟลดีน ฟีโน ฟลามิก จ๊อย นีโอติกา ป๊อก109 เพียแคม
4. แนปพรอกเซน ชื่อการค้า นาโปรซีน ซีนเฟล็ก นีโอเฟล็ก แนปซา พรอกเซน
5. อินโดเมทาซิน ชื่อการค้า อินโดสิด โดม โดสิด ฟอบ อินโด เพนตากอน
6. ไนเมซูไลด์ ชื่อการค้า ไนดอล เอ็มดอน เมซูลิด ไนไลด์ ไนโม ไนสุ ซูไลด์
7. ซีลีคอกซิบ ชื่อการค้า ซีรีเบร็ก เซลค็อก ไซเบ็ก โซเบร็ก ไซเซล เม็ดดิกคอกซิบ
8. อีโตริคอกซิบ ชื่อการค้า อาร์ค็อกเซีย และอื่น ๆ อีกมากกว่า 10 ชนิด

ผู้ใช้ยาเหล่านี้เป็นประจำโ
ดยเฉพาะที่ไม่ได้ถูกสั่งใช้โดยแพทย์  โปรดอ่านอันตรายของยาจากภาพ ร่วมกับบทความต่อไปนี้
ก. นึกถึงยาแก้ปวด นึกถึง ICU ไว้ด้วย โดย ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha
//www.thairath.co.th/content/500657
ข. ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( เอนเสด ) ... ไม่ใช่ขนมนะครับ จะได้กินกันไปเรื่อย .. โดย นพ. พนมกร หมอหมู ดิษฐสุวรรณ์
//www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-08-2008&group=4&gblog=54

*ยาเหล่านี้ควรใช้ด้วยขนาดยาต่ำที่สุด ด้วยระยะเวลาสั้นที่สุด และห้ามใช้กับผู้มีโรคประจำตัว เช่น เป็นโรคกระเพาะ (เป็นแผลที่ทางเดินอาหาร) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมองตีบ โรคไตวาย เป็นต้น

การที่ยามีอันตรายร้ายแรง ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ยานั้นไม่ได้ แต่ขึ้นกับการประเมินประโยชน์จากยาเทียบกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ร่วมกับการลดความเสี่ยงของยา ซึ่งทั้งหมดต้องกระทำโดยแพทย์

ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งจำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดกลุ่มนี้เพื่อบรรเทาการปวดจากกา
รอักเสบชนิดเรื้อรังของโรคข้อ และมักต้องใช้ยาในขนาดสูง จึงต้องใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์ ซึ่งจะคอยติดตามและป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
สิ่งที่ควรทำคือการสังเกตผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นตามอันตรายที่เห็นในภาพ เมื่อมีอาการที่น่าสงสัยให้ไปปรึกษาแพทย์ตามนัด ถ้ามีอาการรุนแรงให้ไปพบแพทย์ทันที
ก. ต่อทางเดินอาหาร สังเกตอาการปวดท้อง แสบท้อง แน่นท้อง ถ่ายดำ ซึ่งบ่งว่ามีเลือดออกในทางเดินอาหาร แพทย์อาจสั่งให้กินยาลดกรดเช่น โอมีพราโซล ชื่อการค้าเช่น ไมราซิด เพื่อป้องกันอันตรายข้อนี้ของยา
ข. ต่อหลอดเลือดหัวใจ สังเกตอาการเจ็บหน้าอก ปวดตื้อ ๆ อาจมีปวดร้าวไปที่ไหล่ โดยเฉพาะตอนออกกำลังและเบาลงเมื่อพัก
ค. ต่อไต อันนี้ดูยาก เพราะถ้าไตเสื่อมระยะแรกต้องตรวจเลือด ซึ่งคุณหมอควรจะติดตามให้อยู่แล้ว
ง. ต่อตับ สังเกตอาการตาเหลือง ฝ่ามือเหลือง ปัสสาวะสีเหลืองเข้มผิดปกติ อ่อนเพลีย เบื่่ออาหาร ปวดชายโครงด้านขวา
จ. ต่อผิวหนัง ถ้ามีผื่นขึ้น ให้หยุดยาแล้วรีบไปพบแพทย์
ฉ. ต่อหลอดเลือดสมอง สังเกตอาการอ่อนแรงของแขนขา
*ผลข้างเคียงของเอ็นเสดยังมีมากกว่า 6 ข้อที่บอกไว้ ดังนั้นหากมีความผิดปกติใด ๆ นอกเหนือจากที่กล่าวไว้ระหว่างใช้ยาให้แจ้งแพทย์ทราบเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นผลข้างเคียงจากยาหรือไม่
**เมื่อได้รับยาตามคำสั่งแพทย์แล้ว อย่าลดขนาดยาเอง อย่าหยุดยาเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์
***การปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยา เป็นเป้าหมายสำคัญของการรักษาโรคทุกโรค เพื่อป้องกันการได้รับความเสี่ยงจากยา เช่นโรคเบาหวาน ความดัน ไขมันสูง ก็จะยังไม่ให้ยาแต่เริ่มแรก แต่ให้ไปปฏิบัติตัวก่อน ยกเว้นมีอาการขั้นรุนแรงที่ต้องให้ยาในทันที