เห็นมีการสร้าง รูปเคารพเหมือน พระพุทธเจ้า ผมดกดำ มีมวยผมดกดำ ห่มจีวรเหลืองอร่ามสวยงาม
เลยมีคำถามเกิดในใจ เอ คนสร้างรูปเคารพ ทำไมไม่สร้างให้ผมพระพุทธเจ้า เหมือนโกนผมละ
เห็นมีการสร้าง รูปเคารพเหมือน พระพุทธเจ้า ผมดกดำ มีมวยผมดกดำ ห่มจีวรเหลืองอร่ามสวยงาม
เลยมีคำถามเกิดในใจ เอ คนสร้างรูปเคารพ ทำไมไม่สร้างให้ผมพระพุทธเจ้า เหมือนโกนผมละ
วันก่อน ดูรายการ "กิน อยู่ คือ" จากทีวีช่องนกพิราบ ช่วงเช้า ๆ
พูดไว้ว่า ไขมันทรานส์ เป็นไขมันไม่ดี และมีมากในอาหารปัจจุบัน เช่น ครีมเทียม
เลยไปหามาอ่านสักหน่อย
----------------------------------------------------------------------------------------------------
ในชีวิตประจำวัน อาหารที่เราบริโภคมักมีไขมัน 4 ชนิดปะปนอยู่ในสัดส่วนที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมันที่ใช้ทำอาหาร ได้แก่ ไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง ซึ่งเป็นไขมันที่ดีต่อสุขภาพ ส่วนไขมันเลว ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์
--------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไขมันทรานส์ เป็นไขมันไม่อิ่มตัว (trans unsaturated fat) ไขมันทรานส์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ไขมันทรานส์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติซึ่งมี อยู่ในปริมาณเล็กน้อยในเนื้อและนมของสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โค กระบือ แพะ แกะ และไขมันทรานส์ ที่ผลิตขึ้นโดยขบวนการทางอุตสาหกรรม
----------------------------------------------------------------
การที่พลเมืองโลกรู้ถึงพิษภัยที่มากับไขมันอิ่มตัวจึงหันมาบริโภคไขมันที่ไม่อิ่มตัวแทน เช่น เปลี่ยนจากการทอดอาหารด้วยน้ำมันสัตว์ มาเป็นใช้น้ำมันพืชแทน แต่ปัญหาก็คือ การใช้น้ำมันพืชทอดอาหารจะไม่ทำให้อาหารกรอบอร่อยเหมือนกับไขมันสัตว์ ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันพืชจำต้องอุดช่องโหว่ในเรื่องของความกรอบจากการทอด จึงมีการใช้กระบวนการดังกล่าว เปลี่ยนให้ไขมันจากพืชมีความอิ่มตัวเพื่อเพิ่มความกรอบให้แก่อาหารเมื่อนำลงไปทอด ซึ่งในระหว่างกระบวนการนี้เองที่ทำให้น้ำมันเกิดไขมันทรานส์ขึ้น
----------------------------------------------------------------------------
เนื่องจากไขมันทรานส์คือไขมันที่เกิดจากการแปรรูป จึงสามารถเก็บรักษาไว้ได้นานโดยไม่เหม็นหืน ไม่เป็นไข และสามารถทนความร้อนได้สูง รวมถึงมีรสชาดที่ใกล้เคียงกับไขมันที่มาจากสัตว์ แต่จะมีราคาที่ถูกกว่า บรรดาผู้ประกอบกิจการอาหารต่าง ๆ มักนิยมนำไขมันทรานส์มาใช้ประกอบอาหารมากมาย เช่น กลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ดซึ่งใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอดไก่ มันฝรั่ง โดนัท หรือการนำมาใช้ในการประกอบกิจการเบเกอรี่ ขนมขบเคี้ยว ครีมเทียม และวิปปิ้งครีม เป็นต้น
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ไขมันทรานส์เกิดจากการนำไขมันไม่อิ่มตัวไปผ่านกระบวนการผลิตอาหาร ซึ่งราคาถูกกว่าการใช้เนยหรือน้ำมันอื่น ในหลายประเทศเขาบังคับให้ติดสลากว่า hydrogenated หรือpartially hydrogenated หรือ shortening (เนยขาว)
เรียกกระบวนการทางเคมีนี้ว่า “การเติมไฮโดรเจน” (hydrogenation)คือการทำให้น้ำมันไม่อิ่มตัวจับกันเข้มข้น อย่างในกรณีของเนยเทียมหรือมาร์การีนที่ทำจากน้ำมันพืชในกระบวนการเดียวกันด้วยการดึงเอาไขมันที่ร่างกายต้องการออกไปหมด และอัดด้วยโมเลกุลของไฮโดรเจนเพื่อให้เหนียวข้น ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวกลับกลายเป็นไขมันอิ่มตัว เต็มไปด้วยอันตรายต่อสุขภาพ
---------------------------------------------------------------------------
การบริโภคอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์มาก ๆ จะเป็นส่งเสริมการทำงานของเอนไซม์ Cholesterol Acyltranferase ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญในการเมตาบอลิซึมของคอเลสเตอรอล ทำให้ระดับ LDL (Low Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดเลวในเลือดเพิ่มขึ้น และลดระดับ HDL (High Density Lipoprotein) ซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด และเนื่องจากไขมันทรานส์เป็นไขมันที่เกิดจากการแปรรูป ซึ่งย่อยสลายได้ยากกว่าไขมันชนิดอื่น ทำให้ตับต้องสลายไขมันทรานส์ด้วยวิธีการที่แตกต่างไปจากการย่อยสลายไขมันตัวอื่น จึงอาจก่อให้เกิดสภาวะที่ผิดปกติกับร่างกาย คือ
ไขมันทรานส์คล้ายกับไขมันอิ่มตัวตรงที่ก่อให้เกิดคอเลสเทอรอลเลว แต่เลวกว่าไขมันอิ่มตัวตรงที่ไปทำลายคอเลสเทอรอลดีด้วย
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
“ที่น่าเป็นห่วงก็คือข้อมูลจาก WHO ในปีพ.ศ.2548 ที่ระบุว่าโรคเรื้อรังนี้ได้เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของผู้คนทั่วโลกแล้วกว่า 35 ล้านคน และองค์การอนามัยโลกยังได้พยากรณ์ล่วงหน้าอีกว่า หากเราไม่หาหนทางป้องกันและแก้ไข ภายใน 10 ต่อจากนี้ทั่วโลกจะมีคนตายเพราะโรคเรื้อรังเหล่านี้ประมาณ 400 ล้านคน และที่สำคัญก็คือ ใน 400 ล้านคนนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นประชากรในประเทศกำลังพัฒนา”
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ซึ่งในขณะนี้พบว่าคนไทยประมาณ 25 ล้านคนกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อโรคเรื้อรัง
------------------------------------------------------------------------------------------------------
ในประเทศไทยยังไม่มีระเบียบให้ติดสลากเรื่องไขมันทรานส์ แต่อ่านดูทุกถุงขนมกรุบกรอบจะมีส่วนประกอบน้ำมันพืช ไขมันอิ่มตัว 10%และมากกว่า คงไม่ใช่อะไรอื่นนอกจากไขมันทรานส์นั่นเอง แล้วยังทำให้ผู้บริโภคตายใจด้วยคำว่า “ไม่มีคอเลสเทอรอล” บนซองคอฟฟีเมตชื่อดัง ทั้งๆ ที่เป็นน้ำมันพืชและมีไขมันทรานส์ที่อันตรายยิ่งกว่าคอเลสเทอรอลเสียอีก
แปลก รณรงค์เรื่องเหล้าเรื่องบุหรี่กันจังเลย แต่ไม่เห็นทำอะไรกับไขมันทรานส์ ซึ่งเด็กๆ กินกันสนุกสนานปีละเป็นแสนล้านบาท จะต้องให้คนไทยตายเพราะไขมันทรานส์อีกเท่าไร เราจึงจะลุกขึ้นมารณรงค์และต่อต้านนักฆ่าหน้าเก่าแต่เพิ่งโผล่มาให้เห็นหน้ากันวันนี้
-----------------------------------------------------------------------------
ลองดูว่ามีไขมันทรานซ์ หรือข้อความ "partially hydrogenated oil" หมายถึงน้ำมันแปรรูปจากการเติมไฮโดรเจนบางส่วน หรือไม่ในฉลากอาหาร
-------------------------------------------------------------------------
จากการศึกษาพบว่า ผู้ซึ่งเปลี่ยนจากการกินอาหารที่มีไขมันทรานส์สูงมาเป็นการกินอาหารที่มีไขมันทรานส์ต่ำ จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (heart attack) ลงได้ถึงร้อยละ 50
มีรายงานจากประเทศสหรัฐอเมริกายืนยันว่า หากลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์เพียงครึ่งเดียวจะสามารถป้องกันการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดได้ร้อยละ 10-12 และหากไม่รับประทานเลยจะป้องกันได้ถึงร้อยละ 18-22 โดยหันไปรับประทานอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน”
-------------------------------------------------------------------------------------
ตัดต่อความมาจาก
http://news.sanook.com/social/social_254738.php
http://www.horapa.com/content.php?Category=Healthy&No=733
http://th.wikipedia.org/wiki/ไขมันทรานส์
http://www.thaihealth.or.th/node/4946
http://women.thaiza.com/detail_54594.html
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=33619
http://www.phongphit.com/index.php?option=com_content&task=view&id=525&Itemid=2
------------------------------------------------------------------------------------------
สรุปแล้ว ฉันควร บริโภคกาแฟดำขมปี๋ กาแฟดำหวานเจี๊ยบ หรือกาแฟครีมข้นหวานมันส์ ต่อไปดีน้อ เง้อ
คู่มือบรรณาธิการ
การเขียนและการบรรณาธิการ
1. การเขียน
การเขียน คือ การแสดงความคิด ความรู้สึก และความรู้
ซึ่งอยู่ในใจของผู้เขียน ออกมาเพื่อให้ผู้อื่นรับรู้
เนื้อหาและแนวคิด
เนื้อหาและแนวคิดเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเรียน เนื้อหา คือ สิ่งที่จะเขียนถึง ส่วนแนวคิด คือ สิ่งที่จะเขียนออกมา
ในการเขียนเนื้อหาซึ่งยากซับซ้อนที่ดีนั้น จะต้องมีการวางแนวการเขียนอย่างชัดเจนไว้ล่วงหน้าก่อน โดยให้มีความต่อเนื่องในเนื้อหาตั้งแต่ต้นจนจบได้ ต้องรู้จักเลือกประเด็น รู้จักนำมาเน้น และตั้งข้ออภิปรายถกเถียงในประเด็นที่นำมาเขียน รวมทั้งข้อคิดหรือมุมมองต่อการพิสูจน์ข้อถกเถียงประเด็นนั้นๆ ด้วย เมื่อลงมือเขียนก็ต้องเน้นสิ่งเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอตลอดข้อเขียนนั้นด้วย
วิธีจัดเนื้อหา/โครงสร้างเนื้อหา
การจัดเนื้อหาอาจแบ่งเป็น 2 วิธี คือ 1) หากเขียนให้มีเนื้อเรื่อง ให้จัดเนื้อหาเรียงลำดับเหตุการณ์ไปตามลำดับระยะเวลาก่อนหลัง หรือเหตุการณ์หนึ่งๆ อาจจัดเป็นหัวเรื่องในบท หรืออาจเป็นบทๆ เรียงลำดับต่อกันไปก็ได้ 2) จัดเนื้อหาตามหัวข้อ คือ เนื้อหาออกเป็นข้อ ๆอย่างชัดเจน แต่ละข้อประกอบด้วยความรู้ หรือแนวคิดต่างๆ เริ่มตั้งแต่เรื่องทั่วไป จนถึงเรื่องพิเศษเฉพาะ
เนื้อหาบางอย่าง การกำหนดหัวข้ออาจแบ่งตามขนาด ปริมาณ ระยะเวลา สถานที่ หรือผลที่ออกมา แต่วิธีที่จะจัดลำดับหัวข้อที่ดีมีความเหมาะสมที่สุดนั้นให้พิจารณาจากเนื้อหาของสิ่งที่จะเขียนโดยตรง วัตถุประสงค์ของการเขียนและกลุ่มผู้อ่านเป้าหมาย
กำหนดเนื้อหาที่จะเขียนลงไปในแต่ละบทตามโครงสร้าง ทั้งนี้อาจจำเป็นต้องแบ่งออกเป็นส่วนๆ ย่อยลงไปอีกก็ได้ โดยเฉพาะในงานเขียนหนังสือเรียน ตำราวิชาการ หรือรายงาน/เอกสารวิชาการ จำเป็นต้องซอยเนื้อหาภายในออกเป็นส่วยย่อยลงไปอีก
หนังสือและเอกสารรายงาน จำเป็นต้องมีการแบ่งย่อยภายในของแต่ละบท ให้แบ่งออกเป็นส่วนหรือตอน และส่วนหรือตอนรอง โดยมีหัวเรื่องย่อยต่างๆ ภายใต้หัวเรื่องรองกำกับอยู่ หรือจะใช้วิธีให้เลขไปตามย่อหน้าทุกย่อหน้า หรือจะใช้สองวิธีผสมกันโดยใช้ทั้งเลขประจำบทและเลขย่อหน้า แต่ถ้าจะใช้ให้เลขย่อหน้าควรจะให้เลขเมื่อเขียนต้นฉบับเรียบร้อยแล้ว
สัดส่วนและลำดับขั้นตอน
การเลือกวิธีเขียนเนื้อหาหรือเลือกโวหารการเขียนเนื้อหาบางตอนที่สำคัญๆ อาจใช้โวหารการให้เหตุผลข้อโต้แย้ง ถกเถียงหรืออาจใช้โวหารอธิบายความบอกเล่า หรือการจำแนกแยกประเภท หรืออาจใช้การสรุปความ หรือการวิเคราะห์ หรือการเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่าง หรือแม้แต่การใช้โวหารบรรยายความ ในงานเขียนที่ซับซ้อนอาจต้องใช้โวหารเหล่านี้ทั้งหมดหรือใช้หลายๆ โวหารคละกันไป โดยมีหลักสำคัญ คือ มีสัดส่วนที่เหมาะสมกับส่วนต่างๆ ของเนื้อหาและเชื่อมต่อกันอย่างกลมกลืนและมีเหตุมีผล
สัดส่วนที่เหมาะสม หมายความว่า หัวข้อเรื่องที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีความสำคัญเหมือนกัน จะต้องมีสัดส่วนเนื้อหารายละเอียดที่ใกล้เคียงกัน
นอกจากจะมีเหตุผลเฉพาะ ซึ่งควรแจ้งให้ผู้อ่านทราบในเบื้องต้นก่อน
การเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าด้วยกัน ทำได้โดยใช้ย่อหน้าเชื่อมโยงหรือใช้ประโยคเชื่อมโยงต่อกันระหว่างบทต่อบท หรือส่วนต่อส่วน อีกทั้งระหว่างย่อหน้าต่อย่อหน้า ยังสามารถสร้างประโยคให้เชื่อมต่อกันได้อีกด้วย หรืออาจใช้คำสันธาน เช่น ดังนั้น เพราะฉะนั้น แม้กระนั้น ก็ตาม ฯลฯ มาเชื่อมประโยคให้ต่อเนื่อง หรือแม้แต่การเขียนประโยคต่อประโยคควรเขียนให้มีความเชื่อมโยงกันด้วย
ย่อหน้า
การเขียนความเรียงอธิบายความนานาประเภท นิยมใช้ย่อหน้าเพื่อแบ่งเนื้อหาสาระ แต่ละย่อหน้าบรรจุเนื้อหาหนึ่งหน่วยความคิดที่มีเหตุผลต่อกัน
ย่อหน้าที่ดีในการเขียนอธิบายนั้น ประโยคทุกประโยค ต้องเขียนต่อเนื่องเดียวกันกับจุดมุ่งหมายของข้อเขียนนั้น ความคิดหลักปรากฏอยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง เรียกว่า “ประโยคใจความหลัก” ส่วนใหญ่ในความเรียงอรรถาธิบายมักอยู่ที่ประโยคตอนต้นของย่อหน้า ส่วนงานเขียนประเภทอื่นๆ มักอยู่ในตอนท้ายย่อหน้า บางครั้งย่อหน้าอาจเขียนให้ประโยคต้นและประโยคท้ายเป็นประโยคใจความหลักเหมือนๆ กัน แต่ต้องใช้ถ้อยคำที่แตกต่างกัน อาจเลือกใช้วิธีจัดระบบย่อหน้าจากวิธีหนึ่งวิธีใดต่อไปนี้
เขียนจากเรื่องทั่วไปแบบกว้าง ไปหา เรื่องเฉพาะเจาะลึก
เขียนจากเรื่องเฉพาะเจาะลึก ไปหา เรื่องทั่วไปแบบกว้าง
เขียนสลับกันไป ระหว่างการเขียนเรื่องทั่วไปกับเรื่องเฉพาะ
เขียนตามลำดับเวลาที่เกิดขึ้น
เขียนตามลำดับสถานที่ที่ไป
เขียนจากสถานการณ์ที่สร้างขึ้นจากปรกติไปจนถึงจุดสุดยอดของเรื่อง
ย่อหน้าโดยทั่วไป มักนิยมเขียนประโยดแรกให้เป็นประโยคหลักซึ่งอธิบายบอกข้อความกว้างๆ (ถึงสิ่งที่จะเขียนในย่อหน้า) ส่วนประโยคต่อๆ ไปเป็นข้อความสนับสนุนประโยคหลัก ซึ่งจะค่อยๆ เพิ่มรายละเอียดมากขึ้นๆ โดยอาจมีตัวอย่าง เหตุการณ์ หรือพยานหลักฐาน สนับสนุน จนจบความในย่อหน้า
ประโยค
เลือกใช้ประโยคสั้นกะทัดรัดแต่ได้ใจความเป็นส่วนใหญ่ บางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใช้ประโยคยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในข้อเขียนที่มีความยากและซับซ้อนทางวิชาการหรือต้องการคำอธิบายอย่างมีเหตุมีผลซึ่งจำเป็นต้องใช้โครงสร้างประโยคเข้ามาช่วย
บทเชื่อม
ก. แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำและประโยค เช่น ด้วย เมื่อ ตาม เพื่อ ตั้งแต่
ข. เป็นสันธาน เชื่อมคำกับคำและประโยคกับประโยค เช่น และ กับ จึง ก็ จน
ค. เป็นสันธานเชื่อมความให้เด่น และให้สละสลวย เช่น ฝ่าย อัน แม้ว่า
คำและข้อความ ควรแยกแยะคำที่มีโอกาสเขียนผิดง่ายหรือมีความหมายใกล้เคียงกันรวบรวมไว้ คำและข้อความคลุมเครือ หลีกเลี่ยงคำและข้อความที่มีความหมายคลุมเครือ อ่านแล้วไม้เข้าใจความ เกิดความสับสน ไม่สร้างสรรค์ความคิด และก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย คำ วลี และข้อความที่เลือกมาต้องสื่อความหมายได้ง่ายด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องแปลความหมายอีกทีหนึ่ง คำและข้อความนุ่มนวลเพื่อหลีกเลี่ยงคำที่รุนแรง หรือคำทื่อๆ ตรงๆ คำและข้อความเกินจริง งานเขียนที่ให้ความรู้ ความคิด และข่าวสารข้อมูลที่ไม่ใช่งานบันเทิงคดี หรือด้านวรรณกรรม ระวังการใช้คำอย่าให้เกินความเป็นจริง
สรุป การเขียนควรเขียนให้ตรงเป้า มีความชัดเจน สั้นกะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อและต้องจูงใจให้เชื่อถือได้มากที่สุด ในข้อเขียนที่ดีมักมีบทสรุปใจความสำคัญหรือแนวความคิดของเรื่องไว้ด้วย
2. การบรรณาธิกรต้นฉบับ
บทบาทของบรรณาการ
ทำให้หนังสือมีความน่าอ่าน พึงระมัดระวังตรวจสอบต้นฉบับก่อนเสมอเพราะอาจเกิดปัญหารุนแรงที่ส่งผลต่อแนวคิด หรือกำหนดการจัดพิมพ์ของเอกสารนั้นได้ เช่น มีปัญหาด้านลิขสิทธิ์ ข้อผิดพลาดด้านโครงสร้างเนื้อหา เนื้อหาไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วน
การตรวจสอบต้นฉบับ
สิ่งแรกที่ควรทำคือ อ่านให้จบทั้งแฟ้ม เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นฉบับนั้นให้มากที่สุด จากนั้นตรวจสอบความสมบูรณ์ของต้นฉบับ และต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งต่อไปนี้ครบถ้วนหรือไม่ คือ
1) คำปรารภหรือคำนิยม (foreword--เขียนโดยบุคคลอื่น)
2) คำนำ (ledgements)
3) คำกิตติกรรมประกาศ (acknowledgements)
4)ภาพประกอบพร้อมคำบรรยายภาพ (illustration/caption)
5) ส่วนท้าย (endmatter)
ถ้าหากแก้ไขแล้วแต่ในหน้าหลังๆ กลับพบว่ามีการที่ใช้คำที่ได้แก้ไขไปแล้วมากกว่า ทำให้ต้องเสียเวลากลับไปแก้ไขอีก วิธีที่ดีที่สุด คือ การใช้ “แผ่นคู่มือบรรณาธิกร” (stye sheet) โดยการบันทึกหรือเขียนคำ/สิ่งที่มีปัญหาลงใน แผ่นคู่มือบรรณาธิกร ซึ่งเป็นแผ่นหรือแบบฟอร์มสำหรับบันทึกปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการอ่านครั้งแรก แผ่นนี้จะช่วยให้ตัดสินใจได้ว่า จะใช้วิธีการแก้ไขใดเข้ามาช่วย เมื่อจะต้องอ่านต้นฉบับอย่างละเอียดในครั้งต่อไป
การตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาและระบบการจัดโครงสร้างเนื้อหา เป็นไปตามเหตุผลหรือไม่ บรรณาธิการต้องเผชิญกับปัญหาด้านกฎหมาย จึงต้องมีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ทั้งในด้านเนื้อหาและเครื่องช่วยอ่าน เช่น ภาพ แผนที่ แผนภูมิ แผนภาพ เป็นต้น รวมทั้งกฎหมายด้านการดูหมิ่นเสียหาย ด้านลามกอนาจาร และการละเมิด เป็นต้น ซึ่งจะอยู่ในกฎหมายการพิมพ์และกฎหมายอาญาและแพ่ง เป็นต้น หากเกิดปัญหาควรหารือกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน
เมื่ออ่านต้นฉบับครั้งแรกต้องตรวจสอบความถูกต้องในสิ่งที่ผู้เขียนได้เขียนเอาไว้ หากพบว่าไม่ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ให้ส่งคืนผู้เขียนเพื่อตรวจสอบหรือแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อนที่จะทำงานบรรณาธิกรต่อไป
บรรณาธิการจะต้องพิจารณาหาวิธีปรับปรุงวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อที่จะทำให้เนื้อหาเพิ่มประโยชน์ยิ่งกว่าของเดิม หรือถ้าพบคำยาก อาจจะทำอภิธานศัพท์เพิ่มเข้าไปขยายความหมายของศัพท์วิชาการนั้น เนื้อหาต้นฉบับที่ยังใช้ได้ ก็ไม่ควรไปแตะต้องแก้ไข และไม่ควรบรรณาธิกรในสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและเวลาโดยไม่จำเป็น บรรณาธิการไม่ควรแสดงภูมิรู้หรือรสนิยมของตนต่องานผู้เขียน แต่ถ้าเป็นการแก้ไขในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม หรือสิ่งที่ผิดหลักข้อเท็จจริงก็สามารถทำได้ หรือทำการแก้ไขให้สิ่งที่คลุมเครือกระจ่างขึ้นชัดเจนขึ้น แต่ต้องตระหนักว่าผู้เขียนมีสิทธิในงานของตน สำหรับต้นฉบับที่มีผู้เขียนหลายคน การนำเสนอเนื้อหาสาระต้องมีแบบแผนสอดคล้องไปในทำนองเดียวกัน
บรรณาธิกรเนื้อหา
วิธีการที่ดีที่สุด คือ การเริ่มอ่านเนื้อหาสาระก่อนโดยแยกส่วนที่ไม่ใช่เนื้อหาออก ซึ่งได้แก่ คำ/ข้อความที่ยกอ้างมาจากที่อื่นที่มีเครื่องหมาย (“…….”) กำกับไว้ ภาพและคำบรรยายภาพ ตาราง ส่วนท้ายของหนังสือ แต่ก่อนจัดแยกต้องแน่ใจก่อนว่า ได้ใส่เครื่องหมายเลขหน้ากำกับทุกหน้าไว้เรียบร้อยแล้วหรืออาจทำเครื่องหมายสีใส่ไว้ในส่วนที่ไม่ใช่เนื้อหาก็ได้ การใช้เครื่องหมายสี ข้อพึงระวัง คือ การใช้เส้นสีที่หลากหลายเกินไป จะก่อให้เกิดความสับสนได้
ความถูกต้อง
ถ้ามีความสงสัยในเนื้อหาข้อเท็จจริงประการใด ต้องตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ หรือปรึกษาหารือกับผู้เขียนโดยตรง อย่าเสียเวลาในการแก้ไขเนื้อหาต้นฉบับให้ถูกต้องด้วยตนเอง เพราะบรรณาธิการไม่ใช่ผู้ช่วยทำงานวิจัยหรือผู้หาข้อมูลอ้างอิงสิ่งใด ความถูกต้องของเนื้อหาเป็นหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียน ไม่มีหน่วยงานใด หรือสำนักพิมพ์เอกชนที่มุ่งการค้าการจำหน่าย ทำลายชื่อเสียงของตนเองโดยผลิตงานที่มีคุณภาพเลวออกมา
รูปแบบบรรณาธิกรสำนักพิมพ์
การปฏิบัติตามรูปแบบที่กำหนดไว้อย่างเคร่องครัดมักก่อให้เกิดปัญหาได้ จึงควรใช้อย่างมีวิจารณญาณ ถ้าผู้เขียนใช้รูปแบบการเขียนของตนเองอย่างมีเหตุมีผลและใช้อย่างสม่ำเสมอสอดคล้องตลอดเล่ม พึงควรอะลุ่มอล่วยไว้เช่นเดิม หากผู้เขียนไม่มีระบบ จึงควรใช้รูปแบบของสำนักพิมพ์
ภาษาและความหมาย
มีความสำคัญมากมากกว่าการทำงานในเรื่องรูปแบบการบรรณาธิกรเสียอีก และยังต้องระวัง ใช้เวลาคิดพิจารณาให้เข้าใจถึงความหมายที่ผู้เขียนใช้อย่างถ่องแท้ ก่อนทำการแก้ไขคำ/ข้อความ ถ้าความหมายไม่ชัดเจนคลุมเครือ ต้องปรึกษาหารือผู้เขียนเพื่ออธิบาย บรรณาธิกรต้องให้ความสนใจในลีลาหรือแนวการเขียนของผู้เขียน และระดับผู้อ่านงานนั้น ตลอดจนความยากง่าย ซับซ้อนของคำและประโยค ที่ต้องมีความเหมาะสมกับระดับผู้อ่านเป้าหมาย การใช้ศัพท์วิชาการ ไม่พึงนำไปใช้ในหนังสือสำหรับผู้อ่านทั่วไป
หัวเรื่อง/หัวข้อเรื่อง
หัวเรื่อ/หัวข้อเรื่องที่อยู่ในต้นฉบับเหมาะสมกับเนื้อหาตลอดทั้งบท หรือตลอดทั้งเล่มหรือไม่โดยเฉพาะหนังสือวิชาการ หนังสือเรียนหรือตำราเรียน
การย่อหน้า
การย่อหน้าอาจมีได้หลายร้อยคำแต่บางที ย่อหน้าอาจมีเพียงประโยคเดียวที่มีความสมบูรณ์ บรรณาธิกรต้องทำเครื่องหมายที่ชัดเจนไว้ที่จุดเริ่มต้นของแต่ละย่อหน้าที่จัดใหม่ หากต้นฉบับไม่มีหัวเรื่องย่อย หรือเนื้อหาบางส่วนมีหลายย่อหน้าต่อกันไป ย่อหน้าเหล่านี้อาจจับแยกส่วนจากกันได้ โดยเว้นห่าง 1 บรรทัดและบรรทัดแรกของย่อหน้าแรกให้เรียงเต็มบรรทัด โดยไม่ต้องย่อหน้า
ศัพท์วิชาการและภาษาเฉพาะกลุ่ม
บรรณาธิการจำเป็นต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้คำ/ข้อความเฉพาะที่ใช้ในวงการที่ผู้เขียนชอบที่จะเขียนตามความเคยชิน เพื่อให้ผู้อ่านจำนวนมากเข้าใจข้อความได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในข้อความที่ไม่ระบุความชัดเจน ควรพิจารณาแก้ไขให้ชัดเจนขึ้นโดยกำหนด วันที่ เดือน ปี ที่แน่นอนลงไป ส่วนเนื้อหาข้อเท็จจริงในข้อความใดที่ล้าสมัน ควรตั้งข้อสังเกตและหารือกับผู้เขียน เพื่อปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้เป็นข้อมูลที่ปัจจุบัน โดยเฉพาะตัวเลข ตาราง แผนภูมและสถิติต่างๆ หากมีคำศัพท์เฉพาะหรือคำศัพท์วิชาการพึงมีคำอธิบายไว้ในเนื้อหาข้อความ หรือมีอภิธารศัพท์ไว้ท้ายเล่มด้วย การใช้ศัพท์วิชาการ พึงยึดหลักตามพจนานุกรมเฉพาะสาขาวิชานั้น
ปัญหาเฉพาะด้าน
หนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานในอดีต ต้องหาทางให้ผู้อ่านยอมรับการใช้คำและถ้อยคำ ซึ่งในปัจจุบันอาจเลิกใช้ไปแล้ว คำประเภทนี้หากนำมาใช้ต้องมีคำอธิบายด้วย
การทำเครื่องหมาย
สิ่งที่ต้องทำให้สังเกตได้สังเกตได้โดยง่ายและชัดเจน หากมีข้อความใดเป็นพิเศษที่ต้องพิมพ์เพิ่มเติมขึ้นแล้ว ต้องเขียนอย่างชัดเจนไว้
การบรรณาธิกรหน้าอื่น
เมื่อเนื้อหาส่วนใหญ่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ต้องตรวจต้นฉบับส่วนอื่นๆ ต่อไป ขั้นแรกให้พิจารณาดูความเหมาะสมสอดคล้องเข้ากับเนื้อหาของต้นฉบับตลอดเล่มหรือไม่ แล้วพิจารณาลงลึกในรายละเอียดเฉพาะส่วนที่เป็นประเภทเดียวกัน
ส่วนนำ/หรือบทเกริ่น
ส่วนนำของหนังสือหรือบทเกริ่นนี้ ไม่นิยมใส่เลขหรือเครื่องหมายใดลงไป จนกว่าหนังสือจะพิมพ์เลขหน้าใส่เรียบร้อยแล้ว
การจัดลำดับหน้าหนังสือ
ชื่อหนังสือ…………
(หน้า) ชื่อเรื่องเสริม (half title) น i (ii ไม่ใส่เลขหน้า)
(หน้า) ชื่อเรื่อง/ปกใน (title) iii
(หน้า) พิมพ์ลักษณ์ (imprint) iv
(หน้า) คำอุทิศ (dedication) v (ไม่ใส่เลขหน้า)
(หน้า) กิตติกรรมประกาศ (acknowledgement) vii…vii
(หน้า) สารบัญ (contents) ix…x
(หน้า) สารบัญภาพ (list of illustrations) xi…(xii ไม่ใส่เลขหน้า)
บทนำ/คำชี้แจง (introduction) 1
บทที่ 1………………….10 2………
ปัจฉิมบท (epilogue) (เลขหน้าเรียงต่อๆ จน จบ ดรรชนี)
ภาคผนวก (appendixes 1…3)
อภิธานศัพท์ (glossary)
เชิงอรรถ (notes)
บรรณานุกรม (bibliography)
ดรรชนี (index
การขออนุญาตลิขสิทธิ์
การนำงานมีลิขสิทธิ์ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์และจำเป็นต้องรู้จักกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับลิขสิทธิ์ด้วย
การอ้างอิง
การอ้างอิงโดยมากจะนิยมจะใช้ “ระบบผู้แต่ง-ปีที่พิมพ์” แต่ไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อเกินไป หนังสือตำราวิชาการ หนังสือใช้ในการเรียนการสอนและหนังสือที่ให้ข้อมูล ความรู้ส่วนใหญ่จะต้องมีบรรณนุกรมอยู่ด้วย ซึ่งอาจทำเป็น “บรรณานุกรมประกอบบรรณนิทัศน์” หรือ “บรรณานุกรมคัดเลือก” หรือ “บรรณานุกรมหนังสือกล่าวอ้าง” แต่ถ้าเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นเพื่อกลุ่มผู้อ่านทั่วไปแล้ว หากใช้คำว่า “รายชื่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม”จะลดความเป็นวิชาการลงไปได้
การอ้างถ้อยคำ/อัญพจน์
หลักเกณฑ์ในการจัดทำอัญพจน์หรือการอ้างถ้อยคำ มีอยู่ว่าถ้าข้อความไม่เกิน 30 คำ ให้จัดไว้ในเนื้อหา โดยอยู่ในเครื่องหมายคำพูดหรืออัญประกาศ แต่ถ้าข้อความที่อ้างเป็นบทสนทนา หรือมีรายละเอียดมากกว่า 30 คำ ให้จัดแยกออกจากเนื้อหาออกมาต่างหาก โดยให้ถ้อยคำขึ้นต้นอยู่อีกบรรทัดหนึ่ง โดยไม่ต้องมีเครื่องหมายคำพูดกำกับข้อความ
ภาพประกอบ
การให้ลำดับหมายเลขและประเภท/ชนิดของภาพวาด ควรปรึกษาหารือกับผู้เขียนและคณะบรรณาธิการที่ร่วมกันทำด้วย หนังสือที่มีภาพประกอบจำนวนมาก จำเป็นต้องทำ “คู่มือการจัดรูป” ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับรูปที่จะใช้ในหนังสือเล่ม ต้องแยกจัดให้ชัดเจนว่า ข้อมูลใดจะนำไปเรียงพิมพ์และสิ่งใดจะใช้เป็นข้อมูลเท่านั้น
ตาราง
ทุกถ้อยคำในตารางต้องมีการแก้ไข ปรับปรุงตรวจสอบและตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออก ตารางที่แสดงข้อมูลการเปรียบเทียบควรจัดทำให้เหมือนๆ กันเพื่อเอื้อต่อการเปรียบเทียบ ข้อมูลเพิ่มเติมต่อจากหัวเรื่องตาราง หรือหมายเหตุท้ายตาราง ควรแสดงให้ชัดเจนโดยให้เป็นส่วนหนึ่งของตาราง ไม่ใช่เป็นส่วนของเนื้อเรื่อง ในบางครั้ง ผู้เขียนมักเขียนข้อความอธิบายเนื้อหาซ้ำซ้อนกับข้อมูลที่นำเสนอไว้ในตารางแล้ว อันที่จริงแล้วข้อมูลเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีอีก ข้อมูลในตารางเป็นจุดเด่นอยู่แล้ว ควรปรึกษาผู้เขียนว่า จะเลือกตาราง หรือข้อความอธิบายเนื้อหาเพียงอย่างเดียว
การอ้างโยง
หากผู้เขียนใช้ระบบการอ้างโยง บรรณาธิการควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อความที่โยงด้วยเพราะบางครั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงลำดับที่หรือเนื้อหาบางส่วนถูกตัดออกในขณะที่ปรับปรุงต้นฉบับก็ได้ การอ้างอิงภาพประกอบ จำเป็นต้องใส่ลำดับเลขที่ภาพลงในต้นฉบับคำบรรยายภาพไว้ด้วย บางครั้งอาจมีการเพิ่มการอ้างโยงขึ้นใหม่ก็ได้ หากเห็นสมควรและช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจได้ดีขึ้น แต่ควรอ้างเฉพาะเลขที่ของบทหรือภาพเท่านั้น
3. ภาษาและตัวสะกด
ภาษาเขียนและภาษาพูด
งานเขียนที่ให้ความรู้ด้านวิชาการและในสารคดีทั่วๆไป นิยมใช้ภาษาเขียนที่ตรงไปตรงมา กะทัดรัด ไม่เยิ่นเย้อ ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย จึงต้องพิจารณาอย่างระมัดระวัง ถ้าภาษาที่ใช้ในต้นฉบับ มีความแตกต่างจากความนิยมปฏิบัติ โดยเฉพาะงานเขียนกึ่งวิชาการและกึ่งสารคดี ควรหารือกับผู้เขียนก่อนลงมือทำงาน งานเขียนวรรณกรรมนานาประเภท เช่น นวนิยาย นิทาน เรื่องสั้น บทละคร ในบางครั้งมีความจำเป็นในด้านวรรณศิลป์ ต้องใช้ภาษาพูดเพื่อแสดงสถานภาพที่แท้จริงของตัวละคร ซึ่งมักจะอยู่ในเครื่องหมายคำพูด คำที่ใช้ในภาษาไทย มีการเปลี่ยนแปลงความหมายอยู่ตลอดเวลา จึงต้องพิจารณาพื้นฐานของผู้อ่านเป็นหลักในงานเขียนนั้น
คำที่ใช้ในภาษาไทยมีระดับ
มีการแบ่งวชั้นวรรณะของคำอย่างละเอียดจนรู้ฐานะผู้รู้และผู้ฟังได้ ในภาษาไทยยังมีคำประเภทอื่นอีก ที่ในสมัยก่อนกำหนดเป็นข้อตายตัว ไม่ใช้ในภาษาเขียน แต่ปัจจุบันกลับมีการยอมรับเพียงแต่ใช้ด้วยความระมัดระวัง หรือในเงื่อนไขกำหนด หรือผู้อ่านต้องเข้าใจ โดยอาจทำเป็นเชิงอรรถหรือข้อความอธิบายความหมาย
เช่น
คำผวน - ผักบุ้ง ผักตบ
คำตลาด - โคราช โม้
คำพื้นเมือง - กาด แล
คำตัดสั้น - ทาน (รับประทาน)
คำพ้นสมัย - ราชปะแตน หมากตีน (ฟุตบอล)
คำบัญญัติ/คำตั้งใหม่ - วีดีทัศน์ โทรสาร
คำเขียนทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ
หลักเกณฑ์การทับศัพท์ ที่ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดไว้ว่า การเขียนทับศัพท์ ไม่ใส่วรรณยุกต์ ยกเว้นคำที่เคยใช้จนกลายเป็นคำไทยและปรากฎในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว ได้แก่ เชิ้ต ก๊าซ แก๊ส และคำที่เมื่อเขียนทับศัพท์แล้ว มีเสียงซ้ำกับคำไทยจนเกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ เช่น เค้ก ปรู๊ฟ โคม่า เช่นเดียวกับการใช้ไม้ไต่คู้ ควรใช้ในกรณีเพื่อแยกให้เห็นแตกต่างจากคำไทยและเพื่อให้แยกพยางค์ได้ถูกต้อง ล็อก ช็อก
โอค็อตสก์
คำและภาษาเฉพาะกลุ่ม
คำหรือภาษาหนังสือพิมพ์ ถือเป็นหนังสือที่ไม่มีระเบียบ ไม่พึงนำมาใช้ในต้นฉบับที่เขียนเป็นความเรียงหรืองานเขียนด้านวิชาการ
คำแสลง คำแสลงไม่นำมาใช้ในงานเขียนที่เป็นวิชาการ หรือมีเนื้อหาสาระเป็นหลักเป็นฐาน แม้แต่ในงานเขียนบันเทิงคดี เพราะข้อเขียนอาจล้าสมัยได้ หากเวลาพ้นยุคสมัยนั้นไปแล้ว เช่นเดียวกับคำเฉพาะหมู่ ซึ่งคล้ายกับคำแสลงแต่ต่างกันโดยใช้เป็นคำในเฉพาะหมู่และอาชีพเดียวกัน เช่น จำวัด ฉัน ปรู๊ฟ ฯลฯ คำเหล่านี้เป็นที่เข้าใจในกลุ่มของตน จะนำไปใช้ที่อื่นก็ได้ แต่เป็นการใช้ผิดที่และก่อให้เกิดความไม่เข้าใจได้นอกจากจะมีคำอธิบายความหมายไว้ด้วย หรือใช้เพื่อให้เกิดบรรยากาศ
คำแยกพยางค์ระหว่างบรรทัด ในสิ่งพิมพ์ที่เป็นราชการและงานวรรณกรรม ไม่นิยมให้มีการแยกพยางค์คำในระหว่างบรรทัดซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ตัดคำที่ไม่จำเป็นออกเพื่อให้ลงคำพอดี หรือใช้การเว้นวรรคในที่ที่เหมาะสมเพื่อเลื่อนคำทุกพยางค์ขึ้นบรรทัดใหม่เป็นต้น หากเกิดความจำเป็นต้องแยกคำระหว่างบรรทัด ควรแยกอย่างระมัดระวังโดยใช้เครื่องหมาย - (ยัติภังค์) ที่สุดบรรทัดเพื่อแสดงว่ายังมีพยางค์อื่นอีกและใช้ตามข้อปฎิบัติดังนี้
- ไม่แยกตัวอักษร (จากคำ) ให้แยกเป็นพยางค์
- ไม่แยกคำพยางค์เดียว เช่น เปรี้ยว กลม แหลม
- ไม่แยกคำ (มูล) ที่มี 2 พยางค์ขึ้นไป โดยที่แต่ละพยางค์ไม่มีความหมายในตัวเอง เช่น อเนก ถนน ทหาร ฯลฯ
- ในกรณีที่จำเป็นต้องแยกพยางค์คำมูลที่มีสองพยางค์ขึ้นไปด้วยสาเหตุหลายอย่าง เช่นอยู่ในเชิงอรรถขอบหน้า(ที่มีบรรทัดเรียงพิมพ์แคบ) หรือข้อความอยู่ด้านข้างรูปภาพ หรืออยู่ในตารางสถิติเป็นต้น ให้แยกพยางค์ โดยที่แต่ละคำมีความหมายในตัวเอง
- แยกคำประสม คำซ้อน และคำสมาสได้ โดยพยางค์ที่แยกมีความหมาย เช่น แม่น้ำ แปรงสีฟัน ท้องฟ้าจำลอง มากมาย ข้าพระพุทธเจ้า ฯลฯ
- ไม่แยกคำที่มีไม้ยมกอยู่ด้วย
คำที่เขียนผิดเสมอ ควรตรวจสอบกับพจนานุกรมก่อน มีข้อสังเกตต่อไปนี้
วรรณยุกต์ผิด คำที่มักใช้วรรณยุกต์ผิดอยู่เสมอ คือ ใช้ไม้ตรีกับอักษรต่ำ แท้จริงแล้ว ไม้ตรีใช้ได้กับอักษรกลางเท่านั้น ส่วนคำที่มีวรรณยุกต์ตรี โดยมีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต่ำ จะไม่ใช้ไม้ตรี ต้องใช้ไม้โท เช่น โน้ต เพล้ง อุ้ยฯลฯ หรืออาจใช้ใน
คำตายที่ประสมกับสระเสียงสั้น โดยไม่ต้องมีวรรณยุกต์ เช่น ซิ นะ นะคะ
คำที่มาจากภาษาจีน ซึ่งมีรูปวรรณยุกต์และเสียงวรรณยุกต์ จะเขียนตามเสียงที่ออกและผันตามเสียงที่ออกและผันตามหลักไตรยางค์ โดยมีรูปวรรรยุกต์อยู่ด้วย เช่น ก๋วยเตี๋ยว เซี่ยงไฮ้ ฮกเกี้ยน ซิ้ม ฯลฯ
คำที่มาจากภาษาที่ไม่มีรูปและเสียงวรรณยุกต์ เช่น ภาษายุโรป บาลี สันสกฤต เขมร มักไม่ใส่รูปวรรณยุกต์ เช่น ยุโรป ไลออน โกง แข ปริศนา เช่นเดียวกับคำที่ศัพท์บัญญัติจากภาษาต่างประเทศหรือคำที่เป็นชื่อเฉพาะ เช่น ชื่อเมือง ชื่อประเทศ ชื่อบุคคล ฯลฯ
คำสะกดยาก คำที่มีตัวสะกดยากมักเป็นคำสมาส เช่น อุกฤษฏ์ ปลาสนาการ อฐิษฐาน บัณเฑาะว์ บริคนห์สนธิ ยัติภังค์ สังฆาฏิ อัจกลับ
อัฒจันทร์ รยางค์ ผลานิสงค์ ราชทัณฑ์ ยุทโธปกรณ์ สาธารณูปโภค จุลินทรีย์ นิทรรศการ สุขภัณฑ์ จตุรพิธพร ทูตานุฑูต มรรคทายก ศิษยานุศิษย์ สรรพางค์ รัฐประศาสนศาสตร์ ราพาณสูตร จัณฑาล ฯลฯ
คำประวิสรรชนีย์และไม่ประวิสรรชนีย์
หลักประวิสรรชนีย์มีข้อสังเกตดังนี้
- คำที่มีเสียงหน้ากร่อน เช่น ฉะนั้น (ฉันนั้น) มะพร้าว (หมากพร้าว) ตะวัน (ตาว) ฯลฯ
- คำที่มีเสียง อะ ในพยางค์กลาง เช่น กำมะถัน ฉุกละหุก สับปะรด สาระแน อาละวาด ฯลฯ
- คำที่มาจากคำที่มี “ป-ปร” ในภาษาบาลีสันสกฤต เช่น ประถม (ปฐม) ประติมา (ปฏิมา) ประทุม (ปทุม)
- คำที่มีเสียง “อะ” พยางค์ท้ายของคำที่มาจากบาลี-สันสกฤต เช่น คณะ ศิลป ชาตะ เถระ ฯลฯ
- คำที่ต้องประวิสรรชนีย์เสมอ ได้แก่คำต่อไปนี้
กะเง้ากะงอด สะอาง ทะมัดทะแมง ปะการัง ระเกะระกะ (ดูในหนังสือหน้า 77)
คำที่ไม่ประวิสรรชนีย์ มีข้อสังเกตดังนี้
- มักเป็นคำสมาสและคำที่มาจากภาษาเขมร ซึ่งมีเสียง “อะ” กึ่งเสียงอยู่ ระหว่างพยางค์ เช่น คำสมาส : วิทยบริการ จักรยาน พลศึกษา ฯลฯ
คำจากภาษาเขมร : ขจร ขจัด ขโมย จมูก จรวด จรัล ฉกาจ ฯลฯ
- คำที่ไม่ต้องประวิสรรชนีย์ ได้แก่ กบิล กบี่ กนก พญา ลออ สไบ อนงค์ สล้าง มนิลา (เชือก) ฉนวน ฉนำ (ดูในหนังสือหน้า 78)
คำออกเสียงอำ มักเขียนสับสนกันในระหว่างคำที่ใช้รูปสระ อำ-อัม-รรม การใช้ให้ถูกต้องมีข้อสังเกตดังนี้
- คำไทยที่มีเสียง “อำ” และคำที่มาจากภาษาเขมร คำแผลง และคำที่มาจากภาษาอื่นๆ ที่นำมาใช้ในภาษาไทย จะใช้ อำ ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก เช่น
1) คำไทย : จำ ดำ คำ ฯลฯ
2) คำแผลง : ชำร่วย (ช่วย) ฯลฯ
3) คำจากภาษาเขมร : สำราญ ตำนาน ฯลฯ
4) คำจากภาษาอื่น : ธำมรงค์ ปะรำ ฯลฯ
- คำจากภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียง “อะ” และ “ม”สะกดจะใช้
“อัม” เช่น สัมผัส สัมพันธ์ สัมมนา ปรัมปรา อัมพาต ฯลฯ
- คำในภาษาเดิมใช้ “ร” และมี “ม”ตาม จะใช้ -รรม เช่น กรรม ธรรม
คำพ้องเสียง ให้พิจารณาดูความหมายของคำ และบริบทของประโยคเป็นหลัก ดังตัวอย่าง
- การ (งาน) กาล (เวลา) กาฬ (ดำ) การณ์ (เหตุ เค้ามูล) กาญจน์ (ทอง) กานต์ (เป็นที่รัก) กานท์ (บทกลอน)
- กัน (ร่วมกระทำกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด) กรรร (หู) กัณฑ์ (เรื่อง หมวด ตอน) กัณฐ์ (คอ) กัลย์ (งาม) กัลป์ (ระยะหนึ่งในช่วงเวลา) ดูในหนังสือหน้า 80
คำเขียนด้วยไม้ม้วน (ใ-) กับไม้มลาย (ไ-) และอัย กับ ไอย (ไ-ย)
คำที่มักเขียนผิดบ่อยครั้ง ได้แก่ หลงใหล–น้ำไหล น้ำใส–หัวใส
ใยไหม-ไยดี ใต้ตู้-ไต้ไฟ ผู้ใด-บันได ใคร่ดู-ตะไคร่
คำมีตัวการันต์ คำที่มีการันต์ ส่วนใหญ่เป็นคำบาลี-สันสกฤตและภาษา
ยุโรป คำบาลี-สันสกฤตส่วนใหญ่แล้วจะใช้ไม้ทัณฑฆาตที่พยัญชนะตัวสุดท้าย แม้จะมีพยัญชนะหลายตัวอยู่หลังตัวสะกด เช่น จันทร์ พักตร์ เป็นต้น ส่วนคำภาษายุโรปใส่ไม้ทัณฑฆาตที่ตัวอักษรที่ไม่ออกเสียง เพื่อรักษารูปศัพท์เดิมและสะดวกในการออกเสียง
คำใช้ รร (ร หัน) หลักการใช้ รร มีดังนี้
- เป็นคำที่แผลงมาจากทำที่มีตัว ร กล้ำกับพยัญชนะอื่น และหลัง ร มีสระอะหรือ สระอื่น เช่น กระโชก – กรรโชก กระเชียง – กรรเชียง
- เป็นคำมาจากสันสกฤต รร จะออกเสียงเป็น อะ เช่น กรรม ธรรม มรรค
หลักการเขียนคำด้วย บรร – บัน นั้น ใช้หลักเช่นเดียวกัน คือ บรร ใช้ในคำที่แผลงมาจาก ประ หรือ บริ หรือปริ เช่น ประจุ – บรรจุ ปริยาย – บรรยาย
ส่วน บัน ใช้กับคำต่อไปนี้ บันได บันทึก บันดาล บันเทิง บันลือ บันดล และคำโบราณอีก 5 คำ คือ บันเดิน บันโดย บันทึง บันจอย
คำมักเขียนผิดด้วยนานาเหตุผล เช่น
คำถูก คำผิด
เบญจเพส เบญจเพศ
ทะเลสาบ ทะเลสาป
ดำรง ดำรงค์
โครงการ โครงการณ์
เกษียณอายุ เกษียรอายุ
เลือกสรร เลือกสรร
ดูในหน้า 83-84
คำใช้ “กระ” และะ “กะ”
โดยทั่วไป คำประเภทนี้มักมีพยางค์หน้า “กระ”เสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น กระจก กระจัดกระจาย กระชัง กระดาน กระต่าย กระทง กระนี้ กระบวนการ กระป๋อง กระผม กระพรวน กระวนกระวาย กระสับกระส่าย ฯลฯ
คำที่ขึ้นต้นพยางค์ “กะ” แต่ใช้เป็น “กระ”ก็ได้ เช่น กะง่อนกะแง่น – กระง่อนกระแง่น กะจก – กระจก กะลอก – กระลอก กะซิบ – กระซิบ
กะดาก – กระดาก กะติก – กระติก
คำที่ใช้ “ กะ”เป็นพยางค์ต้น มีดังนี้
กะกร้าว กะเกณฑ์ กะแจะ กะชะ กะแช่ กะซวก กะซี่ กะดง กะดำกะด่าง กะซี่ กะโซ่ กะตัก กะต๊าก กะติ๊กริก เป็นต้น ดูในหน้า 85-86
คำที่มีเสียง ร-ล และคำควบกล้ำ ร-ล
คำที่มีเสียง ร-ล และคำควบกล้ำ ร-ล มีทั้งการใช้ผิดและการสะกดตัวผิด เช่น เกร็ด – เกล็ด พรั่ง – พลั่ง
ขริบ – ขริบ พร่า – พล่า
ครอก – คลอก พราง – พลาง
แปร – แปล พราด – พลาด
แปรง – แปลง ร่วง – ล่วง
รุ่มร่าม – ลุ่มล่าม พรางตา – พลางตา
ดูในหน้า87
สุภาษิตและสำนวนไทยที่มักเขียนผิด
ถูก ผิด
กงเกวียนกำเกวียน กงกำกงเกวียน
กำแพงมีหู ประตูมีช่อง กำแพงมีหู ประตูมีหน้าต่าง
กินบนเรือน ขี้บนหลังคา กินบนหลังคา
แกว่งตีนหาเสี้ยน แกว่งเท้าหาเสี้ยน
ขายผ้าเอาหน้ารอด ขายผ้าเอาตัวรอด
ดูในหน้า 88
ลักษณนามในภาษาไทย
เช่น กฎหมาย – ฉบับ ดราฟต์ – ฉบับ ใบ
กล้ามเนื้อ – มัด ตลาดหุ้น – แห่ง
ขอบตา – ข้าง แถบบันทึกภาพ, แถบวิดีทัศน์ – ตลับ
ม้วน แถบ
คติธรรม – ข้อประการ ทรานซิสเตอร์ – ตัว
ครอบครัว – ครอบครัว บัตรเชิญ – บัตร ใบ แผ่น
แชร์ – มือ วง ปั๊มน้ำ – ปั๊ม
ซากศพ – ซาก แผนผัง – ผัง
ประโยคในงานเขียน
ประโยคตามหลักวาทศิลป์หรือการประพันธ์ คือ ประโยคที่มุ่งสร้างความชัดเจน มีน้ำหนัก น่าฟัง กระชับ ตรงความหมาย ไม่กำกวม ไม่อ้อมค้อมวกวน และไม่ซ้ำซ้อน มีส่วนขยสยใกล้ชิดกับส่วนที่ต้องขยาย และควรเป็นประโยคสมบูรณ์
4.การใช้ตัวเอน
ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่องที่ต้องใช้ตัวเอน ได้แก่ ก) หนังสือ จุลสาร งานเขียน สุนทรพจน์ ปาฐกถา คำปราศรัย (ที่อยู่ในรูปหนังสือหรือสิ่งพิมพ์และสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึง) ข) บทละคร โทรทัศน์ ค) กวีนิพนธ์ บทร้อยกรองขนาดยาว งฉ งานดนตรี/ชิ้นงานบทประพันธ์เพลง (ที่ไม่มีชื่อเพลงในละครเพลงและอุปรากร) จ) ภาพยนตร์และ ช) ภาพเขียน/ประติมากรรมและสิ่งที่คล้ายคลึงกัน เช่น
ก. หนังสือ ข. บทละคร
นิรมิต พระร่วง
การปกครองท้องถิ่นไทย แมคเบธ
วรรณคดีทัศนา อิเหนา
ค. กวีนิพนธ์/บทร้อยกรอง ง. ดนตรี
กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน ใกล้รุ่ง
พระอภัยมณี ยามเย็น
พระสุริโยทัยพาดคอช้าง ดอกแก้ว
จ. ภาพยนตร์ ช. ภาพเขียนและรูปปั้น
2499 อันธพาลครองเมือง สงกรานต์ (สีน้ำมัน)
สมศรี 4225 บ้านชาวเหนือ (สีฝุ่น)
คู่กรรม ตะกร้อ (ภาพพิมพ์ไม้)
ส่วนชื่อในบทหนังสือ บทความ ความเรียง คำบรรยายขนาดสั้น บทร้อยกรองขนาดสั้น รายการวิทยุ และโทรทัศน์ จะไม่ใช้ตัวเอน
ชื่อเพลงตามสมัยนิยม นอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้ว ส่วนใหญ่ไม่ใช้ตัวเอน แต่บางที่นิยมใช้ มีความแตกต่างในการปฏิบัติ
ในข้อความที่มีชื่อเรื่องซึ่งละไว้ ไม่เขียนเต็ม ให้ใช้ตัวเอนเฉพาะชื่อเรื่องนั้นๆ เช่น ละครแห่งชีวิต ของหม่อมเจ้าอากาศดำเกิง
ชื่อหนังสือพิมพ์และนิตยสาร/วารสาร เช่น ไทยรัฐ มติชนรายสัปดาห์ สยามรํฐ สกุลไทย ผู้จัดการ วารสารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ชื่อเรือ เครื่องบินและราชพาหนะ โดยทั่วไปจะใช้ตัวเอนกับชื่อเรือและเครื่องบิน รวมทั้งราชพาหนะประเภทต่างๆ เช่น
มุกดาหาร (เครื่องบิน) ศรีตรัง (เครื่องบิน)
จักรีนฤเบศร์ (เรือรบหลวง) ซุปเปอร์มด (เรือใบหลวง)
ชื่อสายการบิน ชื่อตึก ชื่อสถานที่ต่างๆ เช่น ทำเนียบรัฐบาล ชื่อยี่ห้อและเครื่องหมายการค้าและชื่อเฉพาะสิ่งอื่นๆ ไม่ใช้ตัวเอน
พระราชบัญญัติและเอกสารกฎหมายที่ยกอ้าง
ชื่อพระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และกฎหมายอื่นๆ เมื่อกล่าวอ้างในต้นฉบับ ต้องเขียนเต็มอย่างถูกต้องตามประกาศราชการ ราชกิจจานุเบกษา โดยใช้ตัวเอนทั้งหมด รวมทั้งปีพุทธศักราชด้วยถ้าหากมี เช่น พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ส่วนระเบียบและข้อบังคับอื่นๆ ที่ออกโดยหน่วยงานไม่ใช้ตัวเอน
ชื่อพืชและสัตว์ทางวิทยาศาสตร์
นาม หรือชื่อเรียกมนุษย์ พรรณไม้ และสัตว์ ซึ่งจำแนกตามหลักวิชาอนุกรมวิธารธรรมชาติวิทยา แยกออกเป็นชื่อสกุล ชื่อชนิด ชนิดย่อยให้ใช้ตัวเอน
เช่น กกสกุลไซเปอรัส มีหลายชนิด เช่น กกอียิปต์ (ซี พาไซรัส แอล)
มนุษย์นีแอนเดอทัล
หมีขั้วโลกอูรซัส มาริทิมัส
ชื่อสามัญหรือชื่อภาษาท้องถิ่นของสัตว์และพรรณไม้นานาชนิดใช้ตัวธรรมดา ไม่ต้องใช้ตัวเอน เช่น หญ้าคา ตันยางพารา กุ้งก้ามกราม ปลาเบี้ยว
ชื่อวิทยาศาสตร์เรียกสกุล/ชนิดของสัตว์และพรรณไม้ ซึ่งกลายป็นคำเรียกทั่วไป ใช้ตัวธรรมดา ไม่ใช้ตัวเอน เช่น แอสพารากัส อะมีบา ยูคาลิป มอส แพลงก์ตอน อะซีเลีย
คำและตัวอักษรที่ยกอ้าง คำหรือตัวอักษรที่ยกอ้าง ใช้ตัวพิมพ์ตัวเอน เช่น
คำวิสามานยนาม คือ คำเชื่อมเฉพาะของบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่
ตัวอักษร ก มีการใช้บ่อยมาก
ให้ระมัดระวังในการใช้คำว่า ความและการ
ข้อสังเกต มนบางครั้งนิยมใช้เครื่องหมายอัญประกาศ แทนการใช้ตัวเอนก็ได้ หากในข้อความนั้นมีการใช้ตัวเอนบ่อยครั้ง
บทกำกับในบทละคร ข้อความแสดงบทกำกับในบทละคร ให้ใช้ตัวเอนอยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] เช่น [ออกมาอย่างเร่งรีบ ตามมาด้วยหมี]
ส่วนนำเรื่อง ส่วนนำบท หรือสิ่งเพิ่มเติม โดยทั่วไป จะใช้ (แต่ไม่เป็นการบังคับ) ตัวเอนกับข้อความที่เป็นส่วนนำเรื่อง หรือส่วนนำบท หรือข้อความที่เพิ่มเติม เพื่อให้ดูแตกต่างจากเนื้อหาเรื่องส่วนใหญ่ โดยมากมักเป็นข้อความที่ยกอ้างก่อนเริ่มต้นคำอุทิศ หัวเรื่องใหญ่/หัวเรื่องรอง/ย่อย คำกลอนยกอ้างขนาดสั้น คำและข้อความชี้แนะ เช่น พลิก หน้าต่อไป ต่อหน้า ด้านหลัง โปรดดูที่ ดูหน้า ฯลฯ
คำและข้อความเน้น ตัวเอนนิยมใช้กับคำ วลี และข้อความที่เน้นในเนื้อหาหรือย้ำความแตกต่างที่สำคัญ เช่น พวกเราต้องแสดงความมุ่งมั่นให้มากกว่านี้
คำและวลีที่แสดงความรู้สึกพิเศษ คำและข้อความที่แสดงอารมณ์ หรือความรู้สึกผิดปรกติวิสัยไปในทำนองที่อาจมีสิ่งผิดพลาด กรือไม่สอดคล้องกับเนื้อหา เช่น เสียงพระสวดมนต์วังเวง
เขาตกเป็นเหยื่อแอลกอฮอล์
พระพุทธรูปใหญ่ตระหง่านอยู่ในโบสถ์มืดทึม
คำและวลีที่เป็นภาษาต่างประเทศ โดยทั่วไป นิยมใช้คำและวลีภาษาต่างประเทศในกรณีที่หาคำและวลีภาษาไทยที่มีความหมายตรง หรือเทียบแทนกันไม่ได้ เมื่อต้องใช้คำภาษาต่างประเทศเข้ามาอยู่ในส่วนของเนื้อหา (ไม่ได้อยู่ในวงเล็บ) จึงต้องใช้ตัวเอนเพื่อแสดงความแตกต่าง แต่ถ้าเป็นคำเขียนทับศัพท์ให้ใช้ตัวตรงธรรมดา ไม่ต้องใช้ตัวเอน
เช่น resume
Konig
5. เครื่องหมายวรรคตอน
หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอน
เครื่องหมายมหัพภาค . มีหลักการใช้ดังนี้
1. ใช้เพื่อแสดงว่าจบประโยคหรือจบความ เช่น แม้มาสาย วันนี้ฉันก็ยังลงชื่อทันเวลา.
2. ใช้เขียนไว้หลังตัวอักษรที่เป็นอักษรย่อ เช่น พ.ศ. มาจาก พุทธศักราช
3. ใช้เขียนไว้ข้างหลังตัวอักษร หรือตัวเลขที่บอกลำดับ เช่น 1. ก. 2. ข.
4. ใช้เขียนแสดงตำแหน่งทศนิยมและทศนิยมไม่รู้จบ แสดงตำแหน่งนาที และใช้คั่นสูตรเคมี เพื่อแสดงสูตรของสารย่อยในสารประกอบใหญ่ (ในทางวิทยาศาสตร์)
เช่น 1) 20.50 บาท
2) 4.3 = 4.3333…
3) 12.45 น.
5. ในประโยคมีเครื่องหมาย “ ” หรือเครื่องหมาย ( ) อยู่ด้วยให้ใช้เครื่องหมายไว้หลังสุด เช่น
1) หล่อนหน้าบึ้งตวาดว่า “ไม่ต้อง ฉันไปเอง”.
2) รายชื่อผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกได้จัดส่งมาแล้ว ดังเอกสารแนบ).
เครื่องหมายจุลภาค , หลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้คั่นจำนวนเลข นับจากหลักหน่วยไปทีละ 3 หลัก เช่น 1,000 200,000 1,000,000
2. ใช้แยกวลีหรืออนุประโยค เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน
เช่น การทำจิตใจให้แจ่มใสร่าเริง, การรักษาสุขภาพ
การอยู่อย่างสมถะ, การทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และการทำงานยู่ตลอดเวลาเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ผู้สูงวัยควรพึงปฏิบัติ เพื่อให้ชีวิตวัยชราดำเนินไปด้วยดี
3. ใช้คั่นรายการที่เขียนต่อๆ กันไป จั้งแต่ 3 รายการขึ้นไป โดยเขียนคั่นแต่ละรายการ ส่วนหน้าคำ และ หรือที่อยู่หน้ารายการสุดท้ายไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมายนี้ เช่น รถบรรทุก, รถยนต์, รถโดยสาร, โรงงานอุตสาหกรรม
4. ใช้คั่นเมื่อมีการสับที่กันระหว่างนามสกุลกับชื่อ หรือชื่อและนามสกุลกับคำนำหน้านาม หรือยศและศักดิ์ หรือระหว่างคำซึ่งเป็นใจความหลักกับคำประกอบ หรือคำอธิบายในการเขียนบรรณานุกรม ดรรชนี นามานุกรม และเชิงอรรถ เป็นต้น
เช่น 1. มิเชล, มาร์กาเรต
2. เปรม ติณสูลานนท์, พลเอก
3. นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่น
4. ไทย, ประเทศ
5. ใช้ในหนังสือประเภทพจนานุกรม เพื่อคั่นความหมายหรือนิยามของคำที่มีความหมายหลายอย่าง แต่มีความหมายคล้ายกัน
เช่น radical มูลวิวัติ, ที่เปลี่ยนรากฐาน, รุนแรง
(ศัพท์รัฐศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2529)
เครื่องหมายอัฒภาค ; มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้แยกประโยคเปรียบเทียบออกจากกัน
เช่น กล้วยไม้มีดอกช้าฉันใด; การศึกษาเป็นไปฉันนั้น
(ม.ล.ปิ่น มาลากุล)
2. ใช้คั่นระหว่างประโยคที่มีรูปประโยคและใจความสมบูรณ์อยู่แล้ว เพื่อแสดงความต่อเนื่องอย่างใกล้ชิดของประโยคนั้นๆ
เช่น ประธานเปิดงานยังเดินมาไม่ถึง; ทุกคนจึงต้องรอคอยต่อไป
3. ใช้แบ่งประโยค กลุ่มคำ หรือกลุ่มตัวเลขที่มีเครื่องหมายอยู่แล้วออกเป็นส่วนเป็นตอนให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดสับสน
เช่น ชายชรากำลังตกแต่งตะโกดัด; ขริบใบ, ตัดแขนง, ดัดกิ่ง
4. ใช้คั่นคำในรายการที่มีจำนวนมากๆ เพื่อจำแนกรายการออกเป็นพวกๆ
เช่น คณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนจากกรมสามัญศึกษา, กรมอาชีวศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ, สำนักงานคณะกรรมการการจัดการศึกษาเอกชน, กรมพลศึกษา ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ; สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย; การกีฬาแห่งประเทศไทยในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
5. ใช้ในหนังสือประเภทพจนานุกรม เพื่อคั่นบทนิยามของคำ ที่มีกลายความหมาย แต่ความหมายนั้นเกี่ยวข้องกับความหมายเดิม และเพื่อคั่นอักษรย่อบอกที่มาของคำ
เช่น จบเห่ (ปาก ) ก. หมดเสียง; สิ้นท่า, หมดท่า; ยุติ, ตาย
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)
เครื่องหมายทวิภาค : มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้แสดงมาตราส่วน อัตราส่วน และสัดส่วน
เช่น 1) แผนที่นี้ใช้มาตราส่วน 1 : 1,000
2. ใช้แสดงปฏิภาค
เช่น 5 : 20 = 1 : 4
3. ใช้บอกความหมายหรือแทนคำ คือ
เช่น มัทนพาธา : ตำนานแห่งดอกกุหลาบ พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 6
4. ใช้หลังคำ ดังนี้ ดังต่อไปนี้ ฯลฯ เพื่อแจกแจงรายการ
เช่น ในตู้มีสิ่งของต่างๆ ดังนี้ : หนังสือนิทาน ตุ๊กตา ปากกา
กล่องดินสอสี สมุด ไม้บรรทัด และเสื้อผ้าเด็กผู้หญิง
เครื่องหมายวิภัชภาค :- มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
ใช้หลังคำ ดังนี้ ดังต่อไปนี้ ดังตัวอย่าง ฯลฯ เมื่อแจงแจงรายการ (คล้ายเครื่องหมายทวิภาค) แต่รายการที่ตามหลังเครื่องหมาย :- ให้ขึ้นย่อหน้าใหม่ และใช้กับรายการที่แจกแจงครบทุกรายการ
เช่น หนังสือที่ใช้ในการเรียนมีดังนี้
1) หนังสิอเรียน
2) หนังสืออ่านนอกเวลา
3) หนังสืออ่านเพิ่มเติม
4) หนังสืออุเทศ
5) หนังสือส่งเสริมการอ่าน
6) แบบฝึกหัด
เครื่องหมายยัติภัง -
เครื่องหมายนี้อาจเขียนได้หลายขนาดตามความเหมาะสม แต่ไม่ควรเกิน 2 ช่วงตัวอักษร มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้เขียนสุดบรรทัด เพื่อต่อพยางค์หรือคำสมาส ซึ่งจำเป็นต้องเขียนแยกพยางค์กัน เพราะอยู่ตรงสุดบรรทัดพอดี ไม่มีที่จะใส่คำเต็มได้
2. ในบทร้อยกรอง ใช้เขียนไว้ที่ท้ายวรรคหน้าเพื่อต่อพยางค์ หรือคำสมาส ซึ่งบางครั้งตำเป็นต้องเขียนคาบวรรคกันเพื่อให้ถูกต้องตามข้อบังคับของ
ฉันทลักษณ์
3. ใช้แยกพยางค์เพื่อบอกคำอ่าน โดยเขียนไว้ระหว่างพยางค์แต่ละพยางค์
เช่น ราชการ อ่านว่า ราด-ชะ-กาน
4. ใช้ในหนังสือพจนานุกรม เพื่อแสดงว่าคำนั้นมีคำอื่นมาต่อท้ายหรือเพื่อแทนคำอ่านที่ไม่มีปัญหาในการอ่าน หรือแทนส่วนหน้าของคำคู่ที่ละส่วนหน้าไว้ หรือแทนคำที่มาข้างต้นที่ละไว้ ไม่ต้องเขียนซ้ำมักใช้ในกรณีที่เป็นรายการชุดเดียวกัน
5. ใช้ในความหมายว่า และ กับ เช่น สามี-ภรรยา
6. ใช้ขยายความ เช่น จี่จู้ (ถิ่น-อีสาน) น. นกกางเขน
7. ใช้ในความหมายว่าถึง เพื่อแสดงช่วงเวลา จำนวน สถานที่ ฯลฯ
เช่น 1) ช่วงเวลาข่าว 19.30 - 20.30 น.
2) ทำงานตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เป็นต้น
8. ใช้แทนคำว่า เป็น - เป็น
เช่น 1) ล่ามไทย – จีน
2) ผทม - บรรทม
(ข้อ 7 และ 8 ควรเว้นวรรคหน้าและหลังเครื่องหมายยัติภังค์ประมาณ 1 ช่วงอักษร)
9. ใช้แสดงลำดับย่อยของรายการที่ไม่ต้องการใส่ตัวอักษร หรือตัวเลขบอกลำดับที่
เช่น งบประมาณ 967,580 บาท
- หมวดค่าตอบแทน ใช้สอย และวัสดุ 738,780 บาท
- ค่าตอบแทน 457,000 บาท
- ค่าใช้สอย 229,780 บาท
-ค่าวัสดุ 52,000 บาท
- หมวดรายจ่ายอื่น 218,800 บาท
-หมวดค่าสาธารณูปโภค 10,000 บาท
10. ใช้เขียนแยกกลุ่มตัวเลขรหัสที่กำกนดไว้
เช่น 1) หมายเลขโทรศัพท์ 282-9222
2) ISBN 947-7702-93-2
11. ใช้แยกตัวอักษรเพื่อให้เห็นการสะกดตัว
เช่น ว-ร-ร-ค
เครื่องหมายวงเล็บหรือนขลิขิต ( ) มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้กำกับข้อความที่ขยาย หรืออธิบายข้อวามอื่น ให้เข้าใจชัดเจนขึ้น
เช่น 1) เขาทำวานหนักมาก (วันละ 8 – 9 ชั่วโมง) ร่างกายจึงทรุดโทรมเร็ว
2) พระยาเทพอรชุน ราชลัดทูลฉลอง (สมุหพระกลาโหม)
3) เรื่อง มหาชนกคำฉันท์ ของพระราชรัตนดิลก (ก.ศรนรินทร์)
2. ใช้กำกับข้อความ ซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ
เช่น 1) คำโบล (โบ) ก. ลูบ, ลูบคลำ, ลูบไล้ (ดู กำโบล)
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525)
2) สารานุกรมเป็นพวกหนังสืออ้างอิงฉบับใหญ่ เรียกในภาษาอังกฤษว่า เอนไซโคปีเดีย (encyclopedia)
3) ใช้กำกับนามเต็ม ที่เขียนใต้ลายมือชื่อ
4) ใช้กำกับตัวอักษร หรือตัวเลขที่เป็นหัวข้อ หรือที่เป็นหมายเลขแสดงเชิงอรรถ
เช่น 1) เขียนเครื่องหมาย / หน้าข้อความต่อไปนี้
(1) ……………… (ก) ………………
(2) ……………… (ข) ………………
(3) ………………(ค) ………………
(4) ……………… (ง) ………………
5) ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกำหนดหรือสัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม
เครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [ ] มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้กำกับคำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นและในกรณีที่ข้อความนั้นมีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย
เช่น ฉาก 1
หน้าบ้านกำนันในหมู่บ้าน
[ใต้ต้นมะม่วง มีแคร่ไม้ไผ่ตั้งอยู่]
(กำนันอ้วนยืนอยู่ใต้ต้นมะม่วงกับลูกบ้านอีก 4 – 5 คน แต่งตัวเครื่องแบบ เตรียมพร้อมออกตามจับคนร้าย)
2.ใช้ในหนังสือประเภทพจนานุกรมเพื่อบอกคำอ่าน
เช่น เจริด [เจริด] (แบบ) ว. งาม, เชิด, สูง เช่น ป่านั้นเจริดจรุงใจก็มี
(ม. คำหลวง มหาพน)
3. ใช้ในการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถเพื่อกำกับความที่ไม่ปรากฏในหนังสือแต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐานยืนยัน
เช่น [จินตนา ใบกาซูยี, บรรณาธิการ]. สาระการเรียนรู้ : มาตรฐานและระดับมาตรฐาน แปลจากหนังสือ Content Knowedge :
A Compendium of Standards and benchmarks for K – 12 Education Reserch ans Improvement คณะกรรมการการศึกษา สหรัฐอเมริกา กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ, 2541
4. ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อกำกับกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้ว ให้เป็นกลุ่มเช่นกัน
เช่น a = n[1+(-)ⁿ]
5. ใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อกำกับกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อแสดงความหมายต่างๆ
เครื่องหมายวงเล็บปีกกา { }
1. ใช้กำกับข้อความที่อยู่คนละบรรทัดกันเข้าด้วยกัน เพื่อแสดงว่าเป็นกลุ่มเดียวกันหรือเชื่อมโยงกัน (อาจใช้เพียงข้างหนึ่งได้)
2. ใช้ในวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อกำกับสมาชิก หรือกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์ที่เป็นพวกเดียวกันโดย มีวงเล็บแบบอื่นอยู่แล้ว
เครื่องหมายปรัศนี ? มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้เขียนหลังประโยคหรือข้อความที่เป็นคำถาม โดยทั่วไปจะใช้หรือไม่ใช้ในประโยคคำถามก็ได้ แต่นิยมใช้ในคำถามวิชาคณิตศาสตร์
เช่น 1) ใครมาหา ?
2) ทำไมเธอต้องทำด้วย ?
3) คุณจะไปไหน ?
4) 5 + 5 = ?
2. ใช้หลังคำหรือข้อความที่แสดงความสงสัย หรือไม่แน่ใจ แต่มักเขียนในวงเล็บ เช่น คนขายบอกว่ามีดด้ามนี้เป็นมีดอรัญญิกแท้ (?)
เครื่องหมายอัศเจรีย์ ! มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้เขียนหลังคำวลี หรือประโยคที่เป็นคำอุทาน หรือข้อความแสดงอารมณ์
เช่น ว้ายตายแล้ว ! อุ้ย ขอโทษ ! น่าสงสารจังเลย !
2. ใช้เขียนหลังคำเลียนเสียงธรรมชาติ เพื่อให้เกิดภาพพจน์ ตามเหตุการณ์เช่นนั้นขณะอ่าน
เช่น เอี๊ยด ! โครม !
2. ใช้ในคณิตศาสตร์เป็นเครื่องหมายเรียกว่า “แฟกทอเรียล” ใช้เขียนหลังตัวเลขหรือตัวอักษรแสดงจำนวน เพื่อแสดงถึงผลคูณต่อเนื่องจากหนึ่งถึงจำนวนหนึ่ง
3. เครื่องหมายอัญประกาศ “ ” มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้กำกับคำหรือข้อความที่เป็นคำพูด หรือความนีกคิด
เช่น เขาพูดกับลูกว่า “ไปโรงเรียนนะ ไม่งั้นโดนตีแน่”
2. ใช้กำกับคำหรือข้อความที่คัดมาจากที่อื่น ไม่ใช่ข้อเขียนของผู้เขียนเอง
เช่น เด็กๆ ควรขวนขวายหาความรู้ใส่ตัวตั้งแต่ยังเยาว์วัย ดังคำกลอนดอกสร้อย สุภาษิตบทหนึ่งไว้ว่า
“เด็กเอ๋ยเด็กน้อย ความรู้เรายังด้อยเร่งศึกษา
ครั้งเติบใหญ่เราจะได้มีวิชา เป็นเครื่องหาเลี้ยงชีพสำหรับตน
ได้ประโยชน์หลายสถานเพราะการเรียน จงพากเพียรไปเถิดจะเกิดผล
ถึงลำบากตรากตรำก็จำทน เกิดเป็นคนควรหมั่นขยันเอย”
3. ใช้กำกับคำหรือข้อความให้มีความเด่นชัดขึ้น
เช่น อันที่จริงสื่อการเรียนการสอนประเภท “ตำราเรียน หรือหนังสือเรียน” ยังมีความสำคัญต่อทั้งครูและนักเรียน
4. ใช้กำกับคำหรือข้อความที่ใช้ในความหมายผิดไปจากความหมายปรกติ
เช่น นักการเมืองบางคนทำตนเป็น “ร่างทรง” ของนักธุรกิจผู้หวังร่ำรวยมหาศาล
5. ถ้าข้อความในเครื่องหมาย “ ” มีความยาวหลายย่อหน้า ให้ใส่เครื่องหมายอัญประกาศเปิดไว้ข้างหน้าแต่ละย่อหน้า ส่วนเครื่องหมายอัญประกาศปิด ให้ใส่ไว้เฉพาะย่อหน้าสุดท้ายเท่านั้น
6. ถ้าข้อความใดมีเครื่องหมายอัญประกาศอยู่แล้ว และประสงค์จะใช้เครื่องหมายอัญประกาศซ้อนในข้อความนั้นอีก ให้ใข้เครื่องหมยอัญประกาศเดียว ดังรูป ‘ ’
เช่น นายอ้วนชวนนายผอมว่า “ไป…แกไปกับฉัน กลัวอะไร
‘เดินตามหลังผู้ใหญ่ หมาไม่กัด’ จำไม่ได้หรือไงเพื่อน”
เครื่องหมายไม้ยมกหรือยมก ๆ มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้เขียนหลังคำวลีหรือประโยค เพื่อให้อ่านซ้ำหรือประโยคนั้นอีกครั้งหนึ่ง ข้างหน้าและหลังไม้ยมก เว้น 1 ช่วงตัวอักษร
เช่น 1) ไป ๆ มา ๆ
2) ปีหนึ่ง ๆ
3) ช่วยด้วย ๆ !
2. คำที่เป็นคำซ้ำต้องเขียนด้วยไม้ยมกเสมอ
เช่น มาก ๆ ทุก ๆ วัน เขียว ๆ แดง ๆ
3. ไม่ใช้ไม้ยมก ในคำและข้อความในกรณีต่อไปนี้
(1) เป็นคำคนละความหมายกัน
เช่น (1) ผิด ถ้าเขียน “แถวประตูน้ำ ๆ ท่วมมาก”
ต้องเขียน “แถวประตูน้ำ น้ำท่วมมาก”
(2) ผิด ถ้าเขียน “ซื้อแฟ้ม 5 แฟ้ม ๆ ละ 20 บาท”
ต้องเขียน “ซื้อแฟ้ม 5 แฟ้ม แฟ้มละ 20 บาท”
(3) ผิด ถ้าเขียน “ลุงสี ๆ ข้าวเปลือก”
ต้องเขียน “ลุงสีสีข้าวเปลือก”
(2) คำเดิมเป็นคำ 2 พยางค์ซึ่งมีเสียงซ้ำกัน
เช่น (1) นานาประเทศ นานาชนิด
(2) เห็นกันอยู่จะจะ
(3) เป็นคำคนละชนิด/ประเภทกัน
เช่น สถานที่ที่คนไม่ควรไป
(4) เป็นคำประพันธ์
เช่น ซากเรือลอยอยู่ตะคุ่มตะคุ่มไกลไกล
เครื่องหมายไปยาลน้อย ฯ มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้ละคำส่วนสุดท้ายของคำซึ่งรู้จักกันดีแล้ว โดยเหลือไว้แต่ส่วนหน้าของคำพอเป็นที่เข้าใจ เช่น กรุงเทพฯ (กรุงเทพมหานคร)
โปรดเกล้าฯ (โปรดเกล้าโปรดเกล้ากระหม่อม) เป็นต้น
2. ใช้เขียนในคำ ฯพณฯ (อ่านว่า พะ -นะ- ท่าน) ที่เป็นคำนำ หน้าชื่อ หรือตำแหน่งข้าราชการผู้ใหญ่ ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรีขึ้นไปและเอกอัครราชฑูต เป็นต้น
เครื่องหมายไปยาลใหญ่ ฯลฯ มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้ละคำและข้อความที่อยู่ข้างท้าย ซึ่งอยู่ในประเภทเดียวกันและยังมีอีกมากโดยไม่ต้องนำมาเขียนแสดงไว้ เป็นการประหยัดการเขียน
2. ในสมัยโบราณใช้ละคำหรือข้อความที่อยู่ตรงกลางได้ โดยบอกตอนต้น และตอนจบไว้
เครื่องหมายไข่ปลาหรือจุดไข่ปลา ………(อย่างน้อย 3 จุด) มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้เขียนละข้อความที่ไม่จำเป็นหรือไม่ต้องการ เพื่อแสดงว่าเป็นข้อความที่ตัดมาเพียงบางส่วน ใช้ได้ทั้งตอนต้น หรือตอนกลาง หรือตอนลงท้ายข้อความ โดยใช้ละด้วยจุดอย่างน้อย 3 จุด
เช่น คำพูดเป็นสิ่งมหัศจรรย์เป็นสิ่งที่ทำให้เราซึ่งเป็นสัตว์โลกพันธุ์หนึ่งได้ชื่อว่ามนุษย์ คือ ผู้มีจิตใจสูง
2. ในบทร้อยกรอง ใช้เขียนละข้อความตั้งแต่หนึ่งบรรทัดขึ้นไปโดยใช้เครื่องหมายยาวตลอดบรรทัด หรือเส้นประ
3. ใช้เขียนแสดงลวดสัมผัสที่ไม่บังคับของคำประพันธ์
4. ใช้เขียนแสดงช่องว่าง เพื่อให้กรอกข้อความในแบบฟอร์ม แบบพิมพ์ แบบสอบถาม ข้อสอบ เป็นต้น
4. ใช้แสดงว่ามีตัวอักษร หรือคำ หรือข้อความที่ละเอาไว้ ไม่เขียน
เครื่องหมายเสมอภาคหรือเท่ากับ = มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้เขียนระหว่างคำหรือข้อความ เพื่อแสดงว่าทั้งสองข้างเท่ากันหรือเสมอกัน
2. ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์เพื่อแสดงว่าข้อความทั้งสองข้างเท่ากัน
เครื่องหมายสัญประกาศ 
มีหลักเกณฑ์การใช้ คือ ใช้ขีดไว้ใต้ข้อความหรือคำที่สำคัญ เพื่อแสดงเน้นใหเห็นอย่างเด่นชัดเป็นพิเศษ
เครื่องหมายบุพสัญญา ”
มีหลักเกณฑ์การใช้ คือ ใช้เขียนแทนคำ หรือข้อความที่อยู่บรรทัดบนเพื่อไม่ต้องเขียนซ้ำอีกครั้ง แต่ถ้าเป็นคำคำเดียว หรือเป็นข้อความไม่ยาวนัก ให้ใส่เครื่องหมายนี้ 1 ตัว ถ้าเป็นข้อความยาว จะใส่เครื่องหมายนี้เกินกว่า 1 ตัวก็ได้ (ใส่ในตำแหน่งที่เหมาะสม)
เครื่องหมายหัตสัญญาหรือย่อหน้าขี้นบรรทัดใหม่ มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้เมื่อขึ้นต้นเรื่อง หรือขึ้นข้อความใหญ่ หรือขึ้นข้อความใหม่ที่เป็นข้อคิดใหม่ ซึ่งไม่ซ้ำกับย่อหน้าที่มีอยู่ก่อนแล้ว ถ้ามีข้อความซับซ้อนกันเป็นชั้นลดลงไป ให้ใช้การย่อหน้าที่ลดเหลื่อมกันเป็นชั้นๆ เพื่อให้เห็นชัด หรือเพื่อเป็นหมวดเป็นหมู่
2. ใช้เมื่อขึ้นต้นบทคำประพันธ์ตามรูปแบบของคำประพันธ์นั้น
เครื่องหมายทับ / มีหลักเกณฑ์การใช้ดังนี้
1. ใช้ขีดหลังจำนวนเลข เพื่อแบ่งจำนวนย่อยออกจากจำนวนใหญ่ เมื่อเวลาเขียนไม่ต้องเว้นวรรคหน้าและหลังเครื่องหมายนี้
2. ใช้ขีดคั่นระหว่างเลขบอกลำดับกับเลขศักราช
3. ใช้สำหรับขีดคั่นระหว่างตัวเลขที่แสดง วัน เดือน ปี
4. ใช้ขีดคั่นระหว่างคำ และ กับ หรือ เป็น และ/หรือ หมายความว่า อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างก็ได้
5. ใช้ขีดคั่นระหว่างคำแทนคำว่า หรือ หมายความว่าอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง
6. ใช้ขีดคั่นระหว่างคำมีความหมายว่า ต่อ
7. ใช้ขีดคั่นระหว่างรหัส ทั้งที่เป็นตัวเลขและตัวหนังสือ
ตัวพิมพ์เครื่องหมายวรรคตอน
ตัวพิมพ์เครื่องหมายวรรคตอน ใช้ชนิดและขนาดตัวพิมพ์เช่นเดียวกับคำและข้อความที่อยู่ด้านหน้า ซึ่งเครื่องหมายดังกล่าวทำหน้าที่ เป็นส่วนหนึ่งของคำและข้อความนั้น และหากต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาข้อเขียนทั้งหมด ให้ใช้ตัวพิมพ์เช่นเดียวกับตัวพิมพ์เนื้อหา ข้อเขียนทั้งหมด ให้ใช้ตัวพิมพ์เช่นเดียวกับตัวพิมพ์ของเนื้อหานั้นด้วย
6. การเว้นวรรค
ขนาดของการเว้นวรรค การเว้นวรรคตามหลักเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 2 ขนาด กล่าวคือ ก วรรคเล็กหรือวรรคน้อยหรือวรรคแคบ คือ การเว้นช่องว่างให้ห่างเท่ากับขนาดตัว ก ช่องไฟของวรรคเล็กจะมีขนาดเล็กกว่าวรรคใหญ่
ข วรรคใหญ่หรือวรรคห่าง คือ การเว้นช่องว่างให้ห่างกว่าวรรคเล็ก 1 เท่า คือ ให้มีขนาดเท่ากับ 2 เท่าของตัว ก
การจะใช้วรรคเล็กหรือวรรคใหญ่ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ซึ่งจะกล่าวต่อไป นอกจากนี้การเว้นวรรคระหว่างคำ วลี และประโยค จะต้องพิจารณาเป็นพวกเป็นกลุ่มไป จะใช้ปนเปกันไปไม่ได้
ข้อพิจารณาการเว้นวรรค การเว้นวรรคในการเขียนหนังสือไทยแยกออกเป็น 3 กรณี ดังนี้ ก. กรณีที่ต้องเว้นวรรคเสมอ และขนาดที่จะเว้น – กี่ช่วงตัวอักษร
ข. กรณึที่ไม่ต้องเว้นวรรค
ค. กรณึที่เว้นก็ได้ ไม่เว้นก็ได้ ไม่บังคับ
การเว้นวรรค (ใหญ่ ) เสมอ
กรณีที่ต้องเว้นวรรค (ใหญ่) เสมอ คือ เมื่อเขียนจบประโยคสมบูรณ์ให้เว้นวรรคใหญ่ ก่อนขึ้นประโยคใหม่ แต่ถ้าใช้เครื่องหมายมหัพภาค . ให้เว้นวรรคเล็กหลังเครื่องหมายนี้
การเว้นวรรค (เล็ก) เสมอ
กรณึที่ต้องเว้นวรรค (เล็ก) เสมอ ได้แก่
ประโยค
เมื่อเขียนจบความของ ประโยคย่อย ในประโยคซ้อนตอนหนึ่งให้ เว้นวรรคเล็ก ก่อนขึ้นประโยคซ้อนที่เหลือ หรือในประโยคอเนกรรถประโยค (ประโยคสมบูรณ์ 2 ประโยคเรียงกัน) ที่มีสันธาน และ หรือ แต่ เพราะ ฯลฯ เชื่อม ก็เช่นเดียวกัน ให้เว้นวรรคเล็ก หน้าประโยคที่ขึ้นต้นคำสันธานนั้น
กลุ่มคำ เมื่อเขียนกลุ่มคำให้เว้นวรรคเล็ก ดังนี้
1. ระหว่างชื่อกับนามสกุล
2. ระหว่างชื่อบุคคลกับตำแหน่ง
3. ระหว่างยศกับชื่อ
4. ระหว่างตัวหนังสือกับตัวเลข
5. ระหว่างตัวหนังสือไทยกับตัวหนังสือภาษาอื่น
6. ระหว่างรายการต่างๆ เพื่อแยกรายการเหล่านี้ออกให้เห็นแต่ละรายการ
7. ระหว่างวันและเวลา
8. ระหว่างชื่อสถานที่ต่างๆ เช่น ถนน ตำบล แขวง เขต เป็นต้น
9. ระหว่างกลุ่มอักษรย่อ
10. ระหว่างจำนวนและกลุ่มตัวเลข
11. หลังเครื่องหมายวรรคตอน ตลอดจนเครื่องหมายอื่นๆ เฉพาะที่เป็นข้อความ ซึ่งได้แก่ เครื่องหมาย . เครื่องหมาย - เครื่องหมาย , เครื่องหมาย ; เครื่องหมาย : เครื่องหมาย ? เครื่องหมาย !
12. หน้าและหลังเครื่องหมาย ( ) เครื่องหมาย [ ] เครื่องหมาย{ } เครื่องหมาย ฯลฯ เครื่องหมาย ๆ และเครื่องหมาย =
13. หลังเครื่องหมาย ฯ ที่ใช้ละข้อความที่เขียนติดกับข้อความข้างหน้า
14. หลังข้อความที่เป็นหัวข้อ
15. หลังหน่วยต่างๆ (เป็นชุด เป็นเนื้อความเดียวกัน)
16. หลังวลีหรือข้อความบอกเวลา ที่เป็นกลุ่มคำยาวๆ
17. ระหว่างคำนำหน้านามแต่ละชนิด
18. หลังคำนำหน้าพระนามพระบรมวงศานุวงศ์ และระหว่างพระนามกับฐานันดรศักดิ์
19. ระหว่างชื่อบริษัท ธนาคาร ฯลฯ กับคำ จำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด และห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล กับชื่อ
คำ
เมื่อเขียน คำ ให้ เว้นวรรคเล็ก ดังนี้
1. หน้าและข้างหลังคำ ณ ธ
2. ข้างหน้าและข้างหลังคำ ได้แก่ (ที่ตามด้วยรายการ)
3. หน้าคำสันธาน และ หรือ ในข้อความที่เป็นรายการ
4. หน้าคำ เป็นต้น (ที่ตามหลังข้อความซึ่งเป็นรายการ)
5. หลังคำ ว่า ที่มีข้อความต่อเป็นประโยค
การไม่ต้องเว้นวรรค กรณีที่ไม่ต้องเว้นวรรค มีดังนี้
1. ไม่เว้นวรรคคำนำหน้าชื่อ
2. ไม่เว้นวรรคระหว่างบรรดาศักดิ์ สมณศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ กับนาม หรือราชทินนาม
3. ไม่เว้นวรรคระหว่างคำนำหน้าชื่อ ที่เป็นตำแหน่งหรืออาชีพกับชื่อ
4. ไม่เว้นวรรคระหว่างคำนำหน้าชื่อ ที่แสดงฐานะของนิติบุคคล หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคล กับชื่อ
5. ไม่เว้นวรรคเมื่อใช้เครื่องหมาย - และเครื่องหมาย / ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
7. การใช้คำย่อ หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ
ตัวย่อของคำคำเดียว
คำเดียว (ที่มีความหมาย) แม้จะมีหลายพยางค์ ให้ใช้ตัวย่อตัวเดียว โดยใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกของคำ พร้อมด้วยจุดกำกับเป็นตัวย่อ แต่ถ้าใช้เพียงตัวเดียว ทำให้เกิดความสับสน อาจใช้พยัญชนะต้นของคำถัดไป เป็นตัวย่อด้วยก็ได้ โดยมีจุดกำกับที่ตัวท้าย
ตัวย่อของคำสมาส
คำสมาสให้ถือเป็นคำคำเดียว ตัวย่อของคำสมาสใช้พยัญชนะต้นของพยางค์แรกเพียงตัวเดียว พร้อมกับมีจุดกำกับ
ตัวย่อของคำประสม
คำประสมให้ใช้พยัญชนะต้นของคำแต่ละคำ ที่เป็นใจความสำคัญ โดยไม่เกิน 4 ตัว พร้อมกับมีจุดที่ตัวท้ายเป็นตัวย่อของคำประสมนั้น
ตัวย่อของคำประสมที่จำนวนคำจำนวนมาก
คำประสมที่มีจำนวนคำมาก ให้เลือกเฉพาะพยัญชนะต้นของคำที่เป็นใจความสำคัญ โดยไม่เกิน 4 ตัว พร้อมกับมีจุดกำกับที่ตัวท้ายเป็นตัวย่อของคำประสมนั้น หากใช้พยัญชนะต้นของแต่ละคำ แล้วก่อให้เกิดความสับสนซ้ำกัน ให้ใช้พยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไปแทน
ตัวย่อของคำที่มีอักษร ห เป็นอักษรนำ
คำที่มี ห เป็นอักษรนำ เช่น หญ หล ให้ใช้พยัญชนะตัวถัดจาก ห เป็นตัวย่อพร้อมด้วยมีจุดกำกับ
ตัวย่อของคำที่มีอักษรควบกล้ำ หรืออักษรนำ
คำที่มีอักษรควบกล้ำ หรืออักษรนำ ให้ใช้อักษรตัวหน้าตัวเดียวเป็นตัวย่อ พร้อมด้วยมีจุดกำกับ
ตัวย่อไม่ใช้สระ
ในตัวย่อไม่ใช้สระยกเว้นคำที่เคยใช้กันมาก่อนแล้ว เช่น
เมษายน = เม.ย.
มีนาคม = มี.ค.
จุดกำกับตัวย่อ โดยทั่วไปต้องมีจุดกำกับตัวย่อเสมอ ตัวย่อตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป ให้ใส่จุดกำกับที่หลังตัวย่อตัวสุดท้าย (ยกเว้นตัวย่อที่ใช้กันมาก่อนแล้ว)
ตัวย่อที่มีจุดกำกับระหว่างตัวย่อ
ตัวย่อที่มีจุดอยู่ระหว่างตัวย่อ ซึ่งอาจมีพยัญชนะตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป โดยมากเป็นคำที่ใช้กันมาก่อน เช่น ด.ช. = เด็กชาย จ.ม. = จดหมาย เป็นต้น
ข้อสังเกต
1) กรณีตัวย่อซ้ำกันทั้งสองตัว ก่อให้เกิดความสับสนได้ จึงจำเป็นต้องใส่พยัญชนะตัวที่ 2 ของคำเข้าไปด้วย แล้วใส่จุดกำกับไว้หลังพยัญชนะตัวที่ 2
เช่น ศิลปศาสตรบัณฑิต = ศศ.บ.
2) กรณียศตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ ฐานันดรศักดิ์ ชั้นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฯลฯ ให้ใส่จุดกำกับระหว่างตัวย่อ
คำย่อชื่อจังหวัด
ชื่อจังหวัดและหน่วยงานราชการระดับจังหวัดทั้งหมด ให้ใช้อักษรย่อ 2 ตัว ไม่ว่าชื่อจังหวัดนั้นมีเพียงพยางค์เดียว หรือมากกว่า 2 พยางค์ ขึ้นไปและไม่ต้องมีจุดกำกับ
คำย่อชื่อกระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการอิสระ
ชื่อย่อของหน่วยราชการระดับกระทรวงทั้งหมดและส่วนราชการอิสระที่มีฐานะเท่ากัน ให้ใช้อักษรย่อ 2 ตัว และไม่มีจุดกำกับท้ายตัวย่อ
คำย่อชื่อส่วนราชการทั่วไป
ส่วนราชการระดับต่ำกว่ากระทรวง ซึ่งได้แก่ กรม กอง สำนักงาน หรือหน่วยงานเรียกชื่ออื่น ใช้ตัวย่อตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป แต่ไม่เกิน 4 ตัว โดยมีจุดกำกับอยู่ที่ตัวสุดท้าย
คำย่อที่ใช้พยางค์หน้าเป็นตัวย่อ
คำย่อบางคำมีความนิยมใช้พยางค์หน้าของคำเป็นตัวย่อ พร้อมกับมีจุดกำกับข้างท้าย นิยมใช้กันมากในชื่อเดือน ในบางครั้งคำย่อที่มีตัวสะกดตามหลัง แต่ไม่ต้องการออกเสียง ก็สามารถใส่เครื่องหมายการันต์กำกับไว้ เช่น สิงหาคม = สิงห์
การเว้นวรรคคำย่อ
คำย่อทุกชนิด ให้เว้นวรรค (เล็ก) หน้าตัวย่อและหลังจุดที่กำกับ และให้เว้นวรรคระหว่างกลุ่มอักษรย่อด้วย
คำย่อภาษาต่างประเทศ
1.คำย่อที่เป็นภาษาต่างประเทศ ให้เขียนชื่อตัวอักษรนั้นๆ เป็นภาษาไทย (ตามหลักเกณฑ์ของราชบัณฑิตยสถาน) โดยไม่ใส่จุดและไม่เว้นช่องไฟ
2. คำย่อที่อ่านออกเสียงได้เหมือนคำคำหนึ่ง (ไม่ได้ออกเสียงเรียงตัวอักษร) ให้เขียนตามเสียงที่ออก โดยไม่ต้องใส่จุดและไม่เว้นช่องไฟ เช่น NATO = นาโต
3. คำย่อชื่อบุคคล ให้เขียนชื่อตัวอักษรนั้นๆ โดยมีจุดและเว้นช่องไฟระหว่างชื่อและนามสกุล
4. การเขียนคำย่อภาษาต่างประเทศ (ที่เป็นองค์การหรือชื่อเฉพาะที่สำคัญๆ ) ในข้อความ บางครั้งอาจใช้วิธีเขียนตามข้อ คำย่อที่ใช้พยางค์หน้าเป็นคำย่อ แล้วเขียนคำเต็มอยู่ในวงเล็บตามทันทีก็ได้ แต่ต้องพิจารณาดูความเหมาะสมของกลุ่มผู้อ่านเป้าหมายด้วย
8. หนังสืออ้างอิง เชิงอรรถและบรรณานุกรม
การอ้างอิงต้องจัดทำอย่างมีระบบ ซึ่งก็มีหลายวิธีการหรือหลายระดับด้วยกัน จะเลือกใช้ระบบใด หรือนำเสนออย่างใด จะต้องกำหนดวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อน อีกทั้งการเลือกใช้ระบบใด ยังต้องเกี่ยวข้องกับธรรมชาติเนื้อหาของต้นฉบับที่เขียนอีกด้วย ให้ใช้ระบบนั้นไปตลอดเล่ม อย่านำระบบอื่นหรือวิธีอื่นๆ เข้ามาใช้ผสมกัน จะเกิดความสับสนได้
ระบบผู้แต่ง – ปีที่พิมพ์
ระบบผู้แต่ง – ปีที่พิมพ์ (ระบบฮาร์วาด) นิยมใช้ในการเขียนด้านวิชาการและด้านวิทยาศาสตร์ ทำได้โดยใส่ “วงเล็บชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์” ของหนังสือที่กล่าวอ้างอิง ในบางครั้งอาจมีความจำเป็นต้องใส่เลขหน้า หรือเล่มลงไปด้วยก็ได้ เมื่อผู้อ่านต้องการข้อมูลที่สมบูรณ์ของหนังสืออ้างอิงท้ายบท หรือท้ายเล่มที่เรียงตามลำดับตัวอักษรผู้แต่งเอาไว้ ในหนังสือบางประเภท โดยเฉพาะหนังสือทั่วไปที่มีจุดประสงค์เขียนสำหรับผู้อ่านจำนวนมาก (ไม่ใช่นักวิชาการ) หรือหนังสือที่มีการอ้างอิงน้อยควรใช้การอ้างอิงให้น้อยที่สุด
การอ้างอิงในเนื้อเรื่อง (textual references)
โดยทั่วๆ ไปหลักฐานอ้างอิงในเนื้อเรื่อง จะเขียนเพียงชื่อผู้แต่งและปีที่พิมพ์ (หนังสือที่ยกมาอ้าง) อยู่ในวงเล็บ โดยไม่มีจุดกำกับระหว่างรายการทั้งสอง และเขียนอยู่ท้ายประโยคที่ยกมาอ้าง หรือจะใช้ชื่อผู้แต่ง แล้วตามด้วยวงเล็บปีที่พิมพ์ของหนังสือที่กล่าวอ้างนำหน้าข้องความที่ยกมาอ้าง หลักฐานอ้างอิงในเนื้อเรื่องที่จำเป็นต้องใส่เลขหน้า ให้ใส่เลขหน้าหลังปีที่พิมพ์ พร้อมกับมีเครื่องหมายจุลภาคคั่น
หลักฐานอ้างอิงในเนื้อเรื่องที่จำเป็นต้องใส่ทั้งลำดับเล่ม (เล่มที่) และหน้า มีวิธีเขียนดังนี้ (เปลื้อง ณ นคร 2540, ล.2 น. 10 : ล. 3 น. 20)
หลักฐานอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ที่มีจำนวนเกินกว่าหนึ่งเรื่อง ให้เขียนดังนี้
(วิทย์ ศิวะศริยานนท์ 2540, น. 183 : เปลื้อง ณ นคร 2540, ล.2 น.10)
หลักฐานอ้างอิงในเนื้อเรื่องที่ใช้หนังสือหลายๆ เรื่องของผู้แต่งคนเดียวกัน ให้จัดเรียงตามลำดับเวลาของปีที่พิมพ์ โดยให้เรื่องที่พิมพ์เล่มล่าสุด อยู่ท้ายสุด
หลักฐานอ้างอิงในเนื้อเรื่องที่เป็นงานของบรรณาธิการให้เขียนดังนี้
(บรรณาธิการ วุฒิชัย มูลศิลป์ 2535)
บรรณาธิการ โดย วุฒิชัย มูลศิลป์ (2535) กล่าวว่า …
หลักฐานอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ที่ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์ ให้เขียนดังนี้
วิริยะ สิริสิงห (ม.ป.ป.)
(วิริยะ สิริสิงห ม.ป.ป.)
หลักฐานอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ที่หน่วยงานราชการ สมาคม และองค์กร เป็นผู้จัดทำ โดยไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนอยู่ในหน้าปกใน ให้ระบุชื่อหน่วยราชการ สมาคม และองค์กรนั้น
กรมวิชาการเกษตร (2535) ในคู่มือหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) กล่าวว่า…
แหล่งอ้างอิงในเนื้อเรื่อง ที่อ้างจากบทความในหนังสือพิมพ์รายวัน ถ้าปรากฏชื่อผู้เขียน ให้เขียนตามระบบผู้แต่ง – ปีพิมพ์ แต่ถ้าไม่ปรากฏชื่อผู้เขียน ให้เขียนโดย ใช้ชื่อหนังสือพิมพ์และวันเดือนปีที่พิมพ์บทความนั้น พร้อมระบุหน้าที่พิมพ์ เช่น
(มติชนรายวัน 12 พ.ค. 2542, น.4)
มติชนรายวัน (12 พ.ค. 2542, น.15) กล่าวว่า
(มติชนรายวัน 12 พ.ค. 2542, บทบรรณาธิการ)
รายชื่อหนังสืออ้างอิง
รายชื่อหนังสืออ้างอิง (list of references) การจัดเรียงรายชื่อหนังสืออ้างอิง ใช้เช่นเดียวกับการจัดทำบรรณานุกรม คือ จัดเรียงลำดับอักษรชื่อผู้แต่ง ในกรณีที่รายชื่ออ้างอิงมีเป็นจำนวนมาก และแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น หนังสือ บทความ บทบัญญัติกฎหมาย ฯลฯ หรืออาจแบ่งเป็นหมวดตามสาขาวิชา เช่น รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ กฎหมาย ฯลฯ รายชื่อหนังสืออ้างอิงเช่นนี้ควรจัดแยกและเรียงลำดับอยู่เป็นประเภท หรือเป็นหมวด จะสะดวกในการใช้มากกว่าการจัดรวมกันไป
ข้อมูลที่จำเป็นในการเขียนรายชื่อหนังสืออ้างอิง ที่จัดเรียงตามลำดับมีดังนี้
- ชื่อผู้แต่ง (เรียงไปตามลักษณะการเขียนบรรณานุกรม)
- ปีที่พิมพ์
- ชื่อบทความ (ถ้าใช้)
- ชื่อเรื่อง / ชื่อวารสาร / ชื่อสิ่งพิมพ์
- ชื่อชุด (ถ้าใช้)
- พิมพ์ครั้งที่
- บรรณาธิการ, ผู้รวบรวม, ผู้แปล, ผู้ปรับปรุงแก้ไขอื่นๆ นอกจากผู้แต่ง
- ผู้จัดพิมพ์ (สำนักพิมพ์)
- สถานที่พิมพ์ (จังหวัด-ถ้าใช้)
- เล่มที่หรือจำนวนเล่ม (ถ้าใช้)
- เลขหน้า, จำนวนหน้า (ถ้าใช้)
โดยที่แต่ละรายการใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่น
ส่วนรายการหนังสือที่นำข้อมูลมาเขียนเนื้อเรื่อง แต่ไม่ได้นำมากล่าวอ้างอิงในเนื้อเรื่องตอนใดตอนหนึ่ง ให้จัดแยกไว้ในรายการ “บรรณานุกรม” บรรณานุกรมนี้จัดเรียงลำดับตามอักษรชื่อผู้แต่งหรือชื่อแหล่งข้อมูล โดยจัดไว้ท้ายเรื่อง หรือตอนท้ายของหนังสือ
ระบบหมายเหตุ
ในงานเขียนด้านวิชาการมักพบเห็นในรูปเชิงอรรถ หรือเชิงอรรถท้ายเรื่อง
เชิงอรรถและเชิงอรรถท้ายเรื่อง
ต้องพยายามทำให้รบกวนเนื้อเรื่องน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยวิธีทำให้ผู้อ่านไปดูข้อความอ้างอิงในที่อื่น ไม่ว่าจะอยู่ที่บริเวณด้านล่างของหน้า หรือท้ายเรื่อง หรือท้ายบท หรือท้ายหนังสือก็ตามแต่ นอกจากนี้เชิงอรรถอาจก่อให้เกิดปัญหาในการจัดหน้าเมื่อถึงขั้นตอนการพิมพ์ด้วย ส่วนใหญ่ถ้าเป็นเชิงอรรถ(ที่อยู่ด้านล่าง) จะใช้ตัวพิมพ์ชนิดบางขนาด 10 - 12 พอยต์ ในบางครั้งจึงนิยมนำระบบผู้แต่ง – ปีที่พิมพ์ ซึ่งใช้อ้างอิงในเนื้อเรื่อง มาใช้แทนการใช้เชิงอรรถกัน แต่ในบางกรณี การใช้ระบบหมายเหตุหรือเชิงอรรถกลับมีความเหมาะสมกว่า โดยเฉพาะถ้ามีการใช้อยู่บ่อยครั้ง และเป็นเรื่องข้อคิดเห็น อย่างไรก็ตาม แม้จะมีปัญหาในการใช้ แต่เชิงอรรถที่แท้จริงนั้น คือ วิธีการหนึ่งที่ใช้แสดงเอกสารอ้างอิง ซึ่งนิยมใช้กันมากในข้อเขียนด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
:ด้วยเลขกำกับเหนือตัวพิมพ์ข้อความ 1…2…3…4… ตามลำดับ หรือเขียนแสดงด้วยสัญลักษณ์ต่างๆ กำกับ เช่น เครื่องหมายดอกจัน * เครื่องหมาย +
เครื่องหมาย : : เครื่องหมาย # ฯลฯ เหนือตัวพิมพ์ข้อความ เมื่อเลือกใช้วิธีการเขียนอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงใช้วิธีการนั้นตลอดทั้งเล่ม
เลขแสดงลำดับเชิงอรรถ
เครื่องหมายแสดงเชิงอรรถที่ใช้เลขกำกับ จะเริ่มต้นนับ 1 ทุกครั้งที่ขึ้นหน้าใหม่ หรือขึ้นบทใหม่ หรือนับเรียงต่อกันไปตลอดเล่มก็ได้ เช่นเดียวกับเครื่องหมายแสดงเชิงอรรถท้ายเรื่อง จะนับต่อกันไปในแต่ละบทหรือต่อเนื่องตลอดเล่มก็ได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่จะใส่ข้อมูลเชิงอรรถนั้นๆ เลขแสดงลำดับเชิงอรรถที่อยู่ด้านล่างของหน้าแต่ละหน้า หรือท้ายบทแต่ละบทหรือท้ายเรื่อง ต้องเป็นตัวเลขเช่นเดียวกับเลขที่กำกับข้อความด้านบน โดยใช้ชนิดและขนาดตัวพิมพ์เดียวกัน โดยมากนิยมใช้ขนาด 10 –12 พอยต์
สัญลักษณ์แสดงลำดับเชิงอรรถ
เครื่องหมายแสดงเชิงอรรถที่ใช้สัญลักษณ์ต่างๆ กำกับมีวิธีเขียน คือ เขียนเครื่องหมายสัญลักษณ์ต่างๆ เรียงตามลำดับไปจนครบและหากต้องใช้จำนวนมาก ให้เพิ่มจำนวนครั้งต่อไป ดังเช่น
* + ^  # , ** + +^^ # #  
หรือใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์ชนิดเดียว และให้เพิ่มจำนวนครั้งที่ใช้ เช่น * ** *** **** … แต่ถ้ามี่จำนวนมาร จะดูรกรุงรังเป็นอุปสรรคแก่การอ่านมาก หรืออาจใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์พร้อมกับเลขกำกับ เช่น *1 *2 *3 ก็ได้ แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว การใช้เลขกำกับมีความสะดวก และใช้ได้ง่ายกว่ามาก
เชิงอรรถในตาราง
ตาราง แผนที่ แผนภูมิที่แสดงสถิติ ข้อมูล และตัวเลข ฯลฯ ซึ่งจำเป็นต้องใช้อรรถ เพื่อแสดงแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อกันไม่ให้เกิดสับสนในการใช้ตัวเลข (ทั้งที่อยู่ในตาราง และเลขกำกับเชิงอรรถ) จึงกำหนดให้เขียนเชิงอรรถต่อจากตาราง หรือแผนภูมิทันที ไม่นำไปเขียนไว้ด้านล่างของหน้าหรือท้ายบท หรือท้ายเรื่อง ทั้งนี้ใช้ขนาดและชนิดตัวอักษร เช่นเดียวกับที่ใช้เชิงอรรถอื่นๆ ในเล่ม
ในกรณีที่ข้อเขียนใช้ทั้งเชิงอรรถเนื้อเรื่องและเชิงอรรถท้ายเรื่อง(ซึ่งพึงหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด) ต้องใช้ตัวเลขกำกับและเครื่องหมายสัญลักษณ์กำกับ เพื่อให้เห็นความแตกต่างระหว่างกัน ทั้งนี้นิยมใช้เครื่องหมายสัญลักษณ์สำหรับเชิงอรรถเนื้อเรื่องและตัวเลขกำกับสำหรับเชิงอรรถท้ายเรื่อง
การที่จะเลือกใช้เชิงอรรถที่ท้ายหน้า หรือใช้เชิงอรรถท้ายเรื่องขึ้นอยู่กับปริมาณและขนาดของเนื้อหารข้อเขียน/ต้นฉบับ จำนวนเชิงอรรถและความสะดวกในการอ่านและการใช้ประโยชน์
ในกรณีที่หนังสือมีการแก้ไขปรับปรุงเนื้อหา และจัดพิมพ์ใหม่โดยมีการเพิ่มเชิงอรรถใหม่เข้ามา เชิงอรรถใหม่เช่นที่ว่านี้ ผู้เขียนและบรรณาธิการต้องจัดแทรกเข้าไปอยู่ในระหว่างเชิงอรรถด้วย โดยใช้เลขและอักษร แต่ถ้าเป็นหนังสือที่จัดพิมพ์ครั้งแรก ไม่พึงกระทำการแทรกเช่นนี้อย่างเด็ดขาด เพราะแสดงถึงขาดความพอใจใส่ในการเตรียมต้นฉบับก่อนพิมพ์ที่ดี
ตำแหน่งที่ใส่เครื่องหมายแสดงเชิงอรรถ
เมื่อข้อเขียนใช้เชิงอรรถท้ายเรื่อง ต้องจัดลำดับเรียงเครื่องหมายแสดงเชิงอรรถทั้งหมดตลอดทั้งเล่ม รวมทั้งตัวเชิงอรรถที่อยู่ท้ายเล่มด้วย
เมื่องานเขียนมีข้อความหมายเหตุที่ต้องการเชิงอรรถ นิยมเขียนเครื่องหมายแสดงด้วยตัวเลข หรือสัญลักษณ์ไว้ที่ท้ายประโยคหรือท้ายข้อความ ไม่นิยมเขียนไว้ที่ท้ายคำหรือวลีที่จะอ้างถึงทันทีเพราะทำให้การอ่านสะดุด ไม่ราบรื่น ในกรณีที่ย่อหน้าหนึ่ง มีการกล่าวอ้างถึงข้อมูลและข้อคิดเห็นหลายประการ จากเอกสารแหล่งอ้างอิงเดียวกัน ให้เขียนเครื่องหมายแสดงเชิงอรรถไว้ที่ท้ายย่อหน้าเพียงแห่งเดียว แต่ถ้าหากข้อคิดเห็น หรือข้อมูลอย่างน้อยอย่างหนึ่งอย่างใดมาจากหลักฐานอ้างอิงหลายเล่ม ในข้อความเชิงอรรถจะต้องบอกหลักฐานอ้างอิงให้ครบถ้วน
เชิงอรรถแรก
เชิงอรรถแรก คือ เชิงอรรถอ้างครั้งแรก ประกอบด้วยข้อมูลรายละเอียดที่จำเป็น เพื่อให้ผู้อ่านสามารถค้นหาแหล่งอ้างอิงได้ ข้อมูลเหล่านี้คล้ายคลึงกับรายชื่อหนังสืออ้างอิงในระบบผู้แต่ง – ปีที่พิมพ์ แต่มีรูปแบบการเขียนที่แตกต่างกันบ้าง กล่าวคือ ใช้ชื่อผู้เขียนนำหน้าและตามด้วยนามสกุล ส่วนปีที่พิมพ์ตามหลังสถานที่พิมพ์ สำหรับเครื่องหมายวรรคตอนใช้ จุลภาค คั่นแต่ละรายการ (ดูในหน้า 15O - 153)
เชิงอรรถซ้ำ/เชิงอรรถที่สองและต่อๆ ไป
เชิงอรรถซ้ำหรือเชิงอรรถที่สอง ซึ่งหมายถึง เชิงอรรถที่ซ้ำกับเชิงอรรถแรก ไม่จำเป็นต้องแสดงรายละเอียดเช่นเดียวกับในเชิงอรรถแรก เพราะต้องการแค่บอกผู้อ่านว่า จะหาข้อมูลรายละเอียด หรือข้อคิดเห็น หรือข้อความยกอ้างได้จากที่แห่งใด วิธีการที่ง่ายที่สุดในการทำเชิงอรรถซ้ำ หรือเชิงอรรถที่สองหรือเชิงอรรถครั้งต่อๆไป คือ การย่อเชิงอรรถครั้งแรก โดยระบุชื่อผู้แต่งและหน้า
บรรณานุกรม หรือ รายชื่อหนังสืออ้างอิง
ในงานเขียนด้านวิชาการที่มีการอ้างอิงหลักฐานในเนื้อหา นอกเหนือจากการใช้ระบบผู้แต่ง – ปีที่พิมพ์แล้ว การใช้ระบบหมายเหตุเชิงอรรถ ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่ง ที่ให้รายการหลักฐานหรืองานที่งานที่ยกมากล่างอ้างได้ เพราะระบบเชิงอรรถให้รายละเอียดข้อมูลดังกล่าวได้เช่นเดียวกันและหากเลือกที่จะใช้วิธีการนำแหล่งอ้างอิงหรือหลักฐานที่กล่าวอ้างทั้งหมดในเชิงอรรถ มาจัดรวมกันไว้หรือจัดเป็นบรรณานุกรมต่างหากก็ได้ โดยใช้หลักการเช่นเดียวกันกับระบบการเขียนผู้แต่ง – ปีที่พิมพ์
ความแตกต่างระหว่างบรรณานุกรมกับรายชื่อหนังสืออ้างอิง (ของเชิงอรรถ) มีดังนี้ 1) การเขียนชื่อผู้แต่ง กล่าวคือ รายชื่อผู้แต่งหรือผู้จัดทำ (หน่วยราชการ/องค์กร) ของรายชื่อหนังสืออ้างอิง (ของเชิงอรรถ) เขียนเรียงไปตามลำดับที่ปรากฏอยู่ในหน้าปกในของหนังสือ ไม่ต้องแยกส่วนประกอบของชื่อออกจากกัน เหมือนดังการเขียนชื่อผู้แต่งในบรรณานุกรม 2) การใช้ชื่อสำนักพิมพ์กับสถานที่พิมพ์ กล่าวคือ ในบรรณานุกรมใส่สถานที่พิมพ์ก่อนสำนักพิมพ์ ในขณะที่รายชื่อหนังสืออ้างอิงใส่ชื่อสำนักพิมพ์ก่อนสถานที่พิมพ์ 3) เครื่องหมายวรรคตอนที่ใช้กล่าว คือ ในรายชื่อหนังสืออ้างอิง (ของเชิงอรรถ) ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นทุกรายการ แต่ในบรรณานุกรมใช้เครื่องหมายมหัพภาคคั่นระหว่างรายการ ส่วนสถานที่พิมพ์และสำนักพิมพ์ใช้เครื่องหมายทวิภาค : คั่น และระหว่างสำนักพิมพ์กับปีที่พิมพ์ใช้เครื่องหมายจุลภาค , คั่น
เลขหนังสือและรายการลงหนังสือ
เลขประจำหนังสือสากลและเลขประจำวารสารสากล
เลขประจำหนังสือสากล หรือใช้ตัวย่อว่า ISBN* และเลขประจำวารสารสากล ซึ่งใช้ตัวย่อว่า ISSN** คือ หมายเลขที่กำหนดประจำหนังสือ และวารสารแต่ละเล่ม มักปรากฏอยู่ในที่เดียวกับข้อมูลลิขสิทธิ์ของหนังสือหรือวารสารเล่มนั้น ข้อมูลเลขหนังสือและวารสารสากลนี้จำเป็นต้องมีในสิ่งพิมพ์ทุกชนิด แสดงไว้ในหนังสือทุกเล่มที่พิมพ์ในประเทศไทย สำหรับเลขหนังสือสากลหนังสือสากลและวารสารสากกลนี้ขอได้จากหอสมุดแห่งชาติ
ข้อมูลทางบรรณานุกรมสากล (International Standard Bibliographical Description - ISBD)
ในการทำบรรณานุกรมสากล จะใช้ระบบสากล 2 ระบบ คือ ระบบบรรณานุกรมสากลสำหรับหนังสือ และระบบบรรณานุกรมสากลสำหรับวารสาร ระบบทั้ง 2 นี้ ให้ข้อมูลรายการหนังสือหรือวารสารที่จะเก็บบันทึกไว้ในข้อมูลบรรณานุกรมแห่งชาติ ข้อมูลเหล่านี้ให้ประโยชน์แก่ผู้ใช้หนังสือทั้งผู้ที่อยู่ในประเทศ รวมทั้งยังสามารถแปลงเป็นรูปแบบที่พร้อมใช้ในเทคโนโลยีสมัยใหม่ได้ด้วย
บรรณานุกรมสากล
การลงรายการข้อมูลทางบรรณานุกรมสากล ข้อมูลทางบรรณานุกรมประกอบด้วย 4 รายการ จัดเรียงตามลำดับ โดยมีเครื่องหมายวรรคตอนคั่นแต่ละรายการ ดังนี้
1. เลขเรียกหนังสือ (call number) ประกอบด้วย 1) เลขหมู่หนังสือตามระบบการจัดหมู่หนังสือ 2) อักษรตัวแรกของผู้แต่ง 3) เลขประจำตัวผู้แต่ง (ของสมุดแห่งชาติ) 4) อักษรตัวแรกของชื่อเรื่องห้องสมุดขนาดเล็กและกลางอาจไม่ใส่ 2-4 ได้
2. รายการหัวเรื่อง (heading) ประกอบด้วย 1) ชื่อผู้แต่งที่เป็นบุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งได้แก่ หน่วยงานหรือสมาคม/องค์กรผู้จัดทำ
3. ข้อมูลทางบรรณานุกรมของหนังสือ ประกอบด้วย 1) ชื่อผู้เรื่องและผู้รับผิดชอบในหนังสือ ได้แก่ ผู้แต่งและผู้ร่วมแต่ง หรือบรรณาธิการหรือผู้แปล หรือผู้รวบรวม ฯลฯ 2) ครั้งที่พิมพ์ 3) สถานที่พิมพ์ (จังหวัด) 4) สำนักพิมพ์ หรือผู้จัดพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ 5)ปีที่พิมพ์หรือปีลิขสิทธิ์ 6) จำนวนหน้าหรือจำนวนเล่ม 7)ภาพประกอบ 8) ขนาดหนังสือ 9) ชื่อชุดหนังสือ 1O) เลขประจำหนังสือสากล (ISBN) 11)ราคาหนังสือ 12)หมายเหตุ (รายละเอียดหนังสือที่เป็นประโยชน์ ) บางรายการอาจไม่จำเป็น
ต้องใส่
4. แนวสืบค้น (tracing) ประกอบด้วย 1) หัวเรื่องและผู้รับผิดชอบอื่นๆ ในหนังสือ ได้แก่ ผู้แต่งร่วม บรรณาธิการ ผู้แปล ผู้รวบรวม เป็นต้น 2) ชื่อเรื่อง และชุดหนังสือ
แบบฟอร์มการขอ CIP
การขอ CIP จากหอสมุดแห่งชาติหากบรรณาธิการหรือสำนักพิมพ์ไม่สามารถจัดทำเองได้ สามารถขอใช้บริการจากหอสมุดแห้งชาติได้ (ดูแบบฟอร์มในหน้า 159)
9. จำนวน
การเขียนจำนวน
การเขียนจำนวนในงานเขียน ทำได้ทั้งในรูปการเขียนด้วยตัวเลขและในรูปตัวอักษร ตัวเลขมักใช้ในหนังสือด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคนิค และสถิติ เพราะตัวเลขแสดงความเป็นระเบียบอย่างมีเหตุผลให้ข้อมูลได้รวดเร็ว กระจ่าง ชัดเจน และเด่นชัดมากกว่าตัวอักษร ส่วนการเขียนจำนวนด้วยตัวอักษรหรือตัวหนังสือ นิยมใช้ในงานเขียนเชิงพรรณนาหรือบรรยายโวหาร ซึ่งไม่จำเป็นหรือต้องการข้อมูลแสดงจำนวนออกมาอย่างรวดเร็วและเด่นชัด โดยมากเป็นข้อความแสดงจำนวนโดยทั่วๆ ไปไม่จำเพาะเจาะจง
การที่จะใช้ตัวเลขหรือตัวหนังสือ ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของบรรณาธิการแต่ละคนย่อมมีแนวคิดที่แตกต่างกันออกไป ควรเลือกใช้ให้สอดคล้องกับบริบทเนื้อหา หรือข้อความและใช้สามัญสำนึกของบรรณาธิการเองในการตัดสินใจ
การเขียนจำนวนด้วยตัวเลข
ถ้าเนื้อหาบริบทของงานเขียน มีความเหมาะที่จะใช้ตัวเลขแสดงจำนวนตัวเลขนั้น ควรแสดงจำนวนที่มากกว่าสิบขึ้นไป แต่ถ้าต้องการความถูกต้องแม่นยำ หรือความแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนมากกว่าสิบหรือต่ำกว่าสิบ โดยเฉพาะถ้าตามหลังด้วยสัญลักษณ์หรือมาตรฐานหน่วยวัด ให้ใช้ตัวเลข แม้จะไม่ถึงสิบก็ตาม การเขียนตัวเลขโดยทั่วไปใส่เครื่องหมายจุลภาค คั่นด้วยกลุ่มตัวเลขทุกๆ สามตัวที่มีจำนวนเกินกว่า 999 ขึ้นไป บางแห่งใช้ระบบการเว้นวรรคแทนการใช้เครื่องหมายจุลภาค เพื่อป้องกันความสับสนในการอ่าน
เมื่อเขียนตัวเลขสี่หลักอยู่ในเนื้อเรื่อง อาจเขียนโดยไม่ต้องใช้เครื่องหมายจุลภาคหรือการเว้นวรรคเลยก็ได้ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในตาราง เพราะการเรียงหลักตัวเลขแนวตั้ง มีความสำคัญต่อการเปรียบเทียบจำนวนและการคำนวณมาก การแสดงจำนวนเงินในเนื้อเรื่อง ก็ไม่ต้องใช้เครื่องหมายจุลภาค ยกเว้นเมื่อมีการเพิ่มหรือการแก้ไขจำนวนเงิน ก็ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นได้
จุดทศนิยม
ให้ใช้เครื่องหมายมหัพภาคหรือจุด แสดงจุดทศนิยมโดยที่หากมีตัวเลขน้อยกว่า 1 ให้ใส่ตัวเลข O หน้าทศนิยม
ช่วงตัวเลข
เมื่อต้องการเขียนช่วงเวลา จำนวน สถานที่ ฯลฯ ในความหมาย “จาก…ถึง”
“และ” “กับ” ให้ใช้เครื่องหมายยัติภังค์ขนาด 1 ช่วงตัวอักษรแสดง โดยที่ช่วงตัวเลขไม่ควรห่างกันมากนัก เช่น เปิดเวลา 1O.OO – 11.OO น.
เมื่อใช้เครื่องหมายยัติภังค์ (ขนาด 1 ช่วงตัวอักษร) ในการเขียนช่วงเลขหน้าหนังสืออ้างอิง ต้องเป็นช่วงเลขที่ไม่ห่างมากนัก
นอกจากจะใช้เครื่องหมายยัติภังค์ เขียนคั่นช่วงเลขหน้าหนังสืออ้างอิง (ที่ไม่มากนัก ) แล้ว ยังใช้ได้ในเลขหน้าภาคผนวกได้อีกด้วยแต่จะไม่ใช้คั่นช่วงปีหรือคั่นช่วงวันในบางกรณี เพราะการใช้ตัวเลข ช่วงสั้นๆ เหล่านี้ อาจทำให้เกิดความผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ ส่วนช่วงเลขที่บ้านในการเขียนสถานที่อยู่นั้น ให้เขียนเต็ม เพื่อให้เกิดความชัดเจน
ระยะห่างระหว่างตัวเลขและสัญลักษณ์
การเขียนจำนวนตัวเลข ที่มีสัญลักษณ์หรือตัวอักษรประกอบอยู่ด้วย ไม่ต้องเว้น(วรรค) ระยะระหว่างตัวเลขกับสัญลักษณ์หรือตัวอักษรแต่ถ้าจำนวนตัวเลขอยู่กับข้อความแสดงหน่วยเวลา มาตราวัด ชั่ง ตวง ฯลฯ ให้เว้นวรรค
ตัวเลขโรมัน
การใช้ตัวเลขโรมันในงานเขียนภาษาไทย ไม่เป็นที่นิยมกัน นอกจากงานเขียนด้านประวัติศาสตร์สากล ที่แสดงลำดับตำแหน่งกษัตริย์ราชวงศ์ แต่ในงานบรรณาธิกรทั่วไป จำเป็นต้องมีความรู้ตัวเลขโรมันบ้าง โดยเฉพาะ อาจนำมาใช้ใส่เป็นเลขหน้าหนังสือ ที่อยู่ในส่วนนำของหนังสือ ในบางเล่มใช้แสดงลำดับเล่มที่ของหนังสือ ภาคผนวก และตาราง ส่วนเลขโรมันใหญ่มักใช้กับตำแหน่งดับของพระมหากษัตริย์ สันตะปาปา และจักรพรรดิแต่ในประเทศไทย มักใช้เลขอารบิกแทน
การเขียนจำนวนด้วยตัวหนังสือ
ในข้อเขียนที่มีเนื้อหามีลักษณะเขียนเป็นพรรคหรือบรรยายหากมีการกล่าวถึงจำนวน ให้ใช้ตัวหนังสือแสดงจำนวน แต่ถ้าเป็นข้อความพรรณนาหรือบรรยายความ หากมีกลุ่มจำนวนเลข ควรจะเขียนด้วยตัวเลข ดีกว่าเขียนด้วยตัวหนังสือเพราะอ่านได้ง่ายกว่า ถ้าเป็นจำนวนที่แน่ชัดและจำนวนไม่เกินเก้าสิบเก้า ให้เขียนเป็นตัวหนังสือได้ ยกเว้นจำนวนที่เป็นส่วนของหน่วยวัด หน่วยเวลา มาตราเงิน และมาตราอื่นๆ
ในข้อเขียนที่มีจำนวนอยู่ต้นประโยค ให้เขียนด้วยตัวหนังสือ ส่วนจำนวนที่อยู่ในประโยคอื่นในย่อหน้าเดียวกัน อาจใช้ตัวเลขได้ และในข้อเขียนที่มีจำนวนอยู่ต้นประโยค และตามด้วยสัญลักษณ์ เช่น หน่วย/มาตราเงิน ทำให้ต้องเขียนจำนวนเป็นตัวเลข ให้เปลี่ยนการเขียนรูปประโยคใหม่ โดยย้ายจำนวนดังกล่าวไปไว้ในส่วนอื่นของประโยค จำนวนที่อยู่ท้ายประโยค โดยทั่วไปควรเขียนเป็นตัวหนังสือ แต่การเขียนจำนวนในลักษณะนี้ อาจใช้ตัวเลขก็ได้ ถ้าจำนวนอื่นๆ ในประโยคเป็นตัวเลขแต่ถ้าจำนวนเป็นมาตรา/หน่วยเงินและปี ให้ใช้ตัวเลข
เศษส่วน
การเขียนเศษส่วนในภาษาไทย เขียนได้ทั้งตัวเลขและตัวหนังสือ การเขียนด้วยตัวหนังสือ ใช้คำว่า ‘ ใน’ แทน เช่น หนึ่งในห้า สองในสาม
ในต้นฉบับที่มีการเขียนเศษส่วนด้วยตัวเลข ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการเตรียมต้นฉบับก่อนพิมพ์ โดยเฉพาะต้นฉบับที่สำหรับผู้เรียงพิมพ์ ควรเขียนหรือพิมพ์ให้ชัดเจน หากไม่มีเครื่องพิมพ์ จะต้องเขียนด้วยลายมืออย่างชัดเจน เพื่อกันความผิดพลาด
จำนวนแสดงลำดับที่
ในเนื้อเรื่องข้อเขียนที่แสดงจำนวนลำดับที่ ให้เขียนเป็นตัวหนังสือจนถึงจำนวนที่เก้าสิบเก้า ต่อจากนั้นจึงใช้ตัวเลข
เอกสารอ้างอิง หมายเหตุ เชิงอรรถ รายการ
ในการเขียนนิยมเขียนจำนวนแสดงงลำดับที่ด้วยตัวเลย เพราะมีเนื้อที่จำกัด
อัตรากำลังกองทัพ
ในการเขียนชื่อกองทัพซึ่งต้องแสดงจำนวนลำดับที่ มักนิยมเขียนด้วยตัวเลข เช่น กองทัพภาคที่ 1 เป็นต้น
เลขจำนวนมาก
ในข้อความที่มีการแสดงตัวเลขจำนวนมาก เกินกว่าล้านขึ้นไป แม้มีความนิยมใช้ตัวเลขแต่อาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ในบางครั้งจึงอาจใช้เขียนด้วยตัวหนังสือได้ด้วยอีกทางหนึ่ง คือ ใช้ผสมกันทั้งตัวหนังสือและตัวเลข ในหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ บางครั้งอาจใช้ในลักษณะการยกกำลัง แต่การเขียนเช่นนี้ก่อให้เกิดความสับสนในการอ่าน และการตีความหมาย อีกททั้งผู้อ่านส่วนใหญ่ไม่เข้าใ จระบบการเขียนเช่นนี้ด้วย จึงควรใช้ในให้น้อยที่สุด
วันที่ เดือน ปี
การเขียนวัน เดือน ปีในต้นฉบับ ถ้าเขียนเต็มรูป จะเขียนโดยใช้ตัวหนังสือและตัวเลข เรียงจากชื่อวันหรือวันที่ เดือน และปี เช่น วันจันทร์ที่ 12 กันยายา พ.ศ. 2542 อาจเขียนในรูป 12 กันยายน 2542 ก็ได้ ในบางครั้งอาจเขียนโดยให้เดือนมาก่อน แล้วตามด้วยวันที่และปี ดังเช่น กันยายน 12, 2542 แต่จะเกิดความยุ่งยากในการใช้เครื่องหมายคั่นระหว่างตัวเลขวันที่และปี โดยเฉพาะหากมีชื่อวันอยู่ด้วย
การเขียนวันที่ให้เป็นสากล โดยเขียนเรียงจากปี เดือน วัน ตามลำดับ ทั้งนี้การเขียนอาจใช้เครื่องหมายยัติภังค์ หรือการเว้นวรรคระหว่างตัวเลขก็ได้
เวลา
การเขียนบอกเวลาในประเทศไทย มีรูปแบบการใช้ทั้งในภาษาเขียนและภาษาพูด ในงานเขียนด้านบันเทิงคดี อาจเขียนเวลาโดยใช้ภาษาพูดได้ นอกเหนือจากนี้แล้วใช้รูปแบบการเขียนแบบราชการ
อุณหภูมิ
ในงานเขียนบรรยายและพรรณนาความ ที่มีข้อความแสดงจำนวนอุณหภูมิ ให้เขียนโดยใช้ตัวหนังสือบอกอุณหภูมิ ในงานเขียนด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคนิค และงานสถิติ ตาราง รายการ และการอ่านอุณหภูมิอากาศ ล้วนต้องการความกระชับและความชัดเจน จึงจำเป็นต้องใช้ตัวเลขแสดง พร้อมกับมีเครื่องหมายสัญลักษณ์อุณหภูมิ คือ ° อยู่ตอนท้ายของตัวเลขสุดท้าย ถ้าอุณหภูมิลดต่ำกว่าหนึ่งองศา ให้เขียนเลขศูนย์หน้าจุดทศนิยมพร้อมกับมีเครื่องหมาย - แสดงจุดต่ำกว่าหนึ่ง
การเตรียมต้นฉบับก่อนพิมพ์
10. วิธีการเตรียมต้นฉบับก่อนพิมพ์
ต้นฉบับส่งเรียงพิมพ์
โดยทั่วไป สำนักพิมพ์มักต้องการต้นฉบับ 2 ฉบับและอีกหนึ่งฉบับผู้เขียนควรเก็บไว้ การพิมพ์ที่มีการแก้ไขเล็กน้อย ให้แก้ด้วยหมึก ข้อความแต่ละบรรทัดต้องกระจ่าง สะอาด ชัดเจน และไม่มีการแก้ไขที่ขอบข้าง ในหน้าที่มีการแก้ไขมาก ต้องพิมพ์หน้านั้นใหม่ คำสั่งแก้ไขด้านบรรณาธิการและการเรียงพิมพ์ ต้องเขียนให้ชัดเจน ปราศจากข้อสงสัยใด เพื่อไม่ต้องเสียเวลาในการตีความอีก
ต้นฉบับพิมพ์พร้อมถ่าย
ต้นฉบับต้องมีความถูกต้องและสมบูรณ์แบบ มีเลขหน้าทุกหน้าอย่างถูกต้อง หรือมิฉะนั้นต้องมีคำอธิบายประกอบด้วย ภาพวาดลายเส้น และแผ่นพับใดๆ ทั้งหมด ต้องติดไว้หรือคีย์เข้าไว้ตามจุดที่กำหนดไว้ รวมทั้งภาพฮาล์ฟโทนก็เช่นกัน ต้องคีย์เข้าไว้ด้วยกันทั้งหมด ต้นฉบับต้องพิมพ์อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องกันไป ตัวพิมพ์ขนาดเดียวกัน วางหัวข้อ ย่อหน้า และเว้นบรรทัดอย่างสม่ำเสมอเป็นรูปแบบเดียวกัน เว้นที่ว่างสำหรับใส่คำบรรยายภาพประกอบ และตารางอย่างสม่ำเสมอ เนื้อที่ที่บรรจุข้อความที่ใส่ในภาคผนวกต้องจัดเตรียมให้พร้อม เหมือนต้นฉบับเนื้อหา คือ ต้องเป็นสำเนาถ่ายเอกสารที่คมชัดเหมือนต้นแบบ ถ้าต้นฉบับทำให้ชัดเจนไม่ได้ต้องบอกคนพิมพ์ไว้ เอกสารที่ไม่มีความชัดเจน ต้องพิมพ์ใหม่
ตาราง เชิงอรรถ สิ่งอ้างอิง อัญประกาศ และสิ่งอื่นๆ จะต้องมีความสม่ำเสมอคงที่ตลอดทั้งเล่ม ถ้าผู้เขียนและบรรณาธิการมีโอกาส ปรึกษากันก่อนเริ่มกระบวนการยกร่างต้นฉบับ จะทำให้การบรรณาธิกร มีคุณภาพ อีกทั้งการใช้รูปแบบต่างๆ มีความสม่ำเสมอคงที่มากยิ่งขึ้น
ต้นฉบับเรียงพิมพ์จากเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
ต้นฉบับที่เรียงพิมพ์ด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ จะออกมามีลักษณะ 2 แบบ คือ ต้นฉบับอิเล็กทรอนิกส์ ในรูปแผ่นดิสก์ หรือเทปหรือส่งสายผ่านโมเดมไปยังฐานข้อมูลเครื่องพิมพ์ และต้นฉบับ แผ่นพิมพ์(ด้วยแผ่นกระดาษ) ซึ่งต้องพิมพ์จากแผ่นดิสก์ตัวจริงหรือแผ่นเทปที่ทำให้ช่างเรียงพิมพ์ใช้โดยเฉพาะ เมื่อจะนำมาจัดหน้าต้องมีการหารือกับผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์ เพื่อกำหนดการออกแบบ จัดหน้าเสียก่อนในขั้นตอนร่างระยะแรกเพราะซอพต์แวร์เรียงพิมพ์นี้สามารถเปลี่ยนคำสั่งเหล่านี้ต้องปรึกษากับช่างเรียงพิมพ์ด้วย ก่อนจะลงมือและตัวแบบพิมพ์ รวมทั้งชนิดของแผ่นดิสก์ที่ใช้ ถ้าจะใช้เทปต้องเป็นเทปชนิดใช้งานเฉพาะ ซึ่งควรได้รับคำแนะนำก่อนเริ่มลงมือทำงาน
การบรรณาธิกรเนื้อหาต้องทำให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์ ก่อนส่งร่างสุดท้ายซึ่งได้แก้ถูกต้องทุกอย่างไปยังเรียงพิมพ์ รายการสิ่งพิเศษอื่นใด หรือคำและข้อความที่ต้องใช้อักขระผิดปกติ ต้องแจ้งให้ช่างเรียงพิมพ์รู้เร็วที่สุด ยิ่งในกรณีที่จำเป็นต้องทำตามสิ่งนั้นด้วย
แม้ว่าจะมีการแก้ไขอีกในขั้นตอนตรวจปรู๊ฟ เพราะสามารถเปลี่ยนตัวเรียงได้ แต่สิ้นเปลือง และทำให้กระบวนการเรียงพิมพ์ทุกจุดเกิดอุปสรรคชะงักลงไป เช่นเดียวกับการแก้ไขต้นฉบับแผ่นพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ ที่ไม่ได้แก้ไขที่แผ่นดิสก์ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายและเวลามาก เนื่องจากผู้พิมพ์ต้องถูกขัดจังหวะการพิมพ์ต้องหยุดมาแก้ไขสิ่งที่ผิด ค่าโสหุ้ยสิ้นเปลืองเหล่านี้คิดในอัตราเดียวกับที่ผู้เขียนแก้ไข ดังนั้นจึงควรตรวจครั้งสุดท้ายให้ถูกต้อง ไม่มีข้อผิดพลาดใด ก่อนส่งให้ช่างเรียงพิมพ์ เพื่อว่าเมื่อเวลาปรู๊ฟส่งคืนมาจะได้ไม่เสียเวลาแก้มากนัก ยิ่งการปรับปรุงเนื้อหา ในขั้นการตรวจแก้ปรู๊ฟด้วยแล้ว ไม่ควรให้เกิดขึ้นเลย
ต้นฉบับแผ่นพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ ต้องส่งมาพร้อมกับแผ่นดิสก์หรือเทปด้วย หรือถ้าส่งสายถ่ายข้อมูลโดยตรง ข้อมูลนี้ควรถึงมือผู้เรียงต้นฉบับพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์จะมาถึง ต้นฉบับสุดท้าย (ที่ถูกต้อง) จะต้องสำเนาไว้ในแผ่นดิสก์หรือในเทปหนึ่งชุดก่อน จนกว่างานชิ้นนั้นจะพิมพ์เสร็จเป็นเล่ม หรือในอนาคต ถ้าจะมีการปรับปรุงแก้ไขงานชิ้นใหม่ ต้นฉบับที่เก็บรักษาไว้ก็นำมาใช้ได้ แผ่นดิสก์และต้นฉบับแผ่นพิมพ์ จะต้องมีการแก้ไขถูกต้องแล้ว และต้องมีการทำเครื่องหมายเหมือนกัน จะต้องมีการแก้ไขถูกต้องแล้ว และต้องมีการทำเครื่องหมายเหมือนกัน เพื่อป้องกันไม่ให้สับสนปนกับชิ้นอื่น ถ้าเป็นต้นฉบับในรูปแผ่นดิสก์ ต้องเก็บรักษาอย่างดี เพื่อป้องกันความเสียหาย
ต้นฉบับแผ่นพิมพ์จากคอมพิวเตอร์ ควรใช้ระยะพิมพ์ 1O ถึง 12 พิตซ์ เว้นบรรทัดสองช่วง เพื่อช่วยให้นักออกแบบหนังสือ หรือช่างพิมพ์ คำนวณเนื้อหาและความยาวของหน้ากระดาษได้งายขึ้น ส่วนการเว้นสองช่วงบรรทัด ช่วยให้ทำเครื่องหมายตรวจแก้ต้นฉบับได้ง่ายขึ้น
การจัดพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ (ดีทีพี – desktop publishing)
การพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ คือ การจัดเรียงพิมพ์ในตัว โดยใช้ซอพต์แวร์ที่เหมาะสมจัดเนื้อหาลงบนหน้าจอ เป็นวิธีที่ประหยัดและจัดเรียงได้ผลดีเหมือนเรียงด้วยเครื่องเรียงพิมพ์ราคาแพง แต่ต้องขึ้นอยู่กับความชำนาญ และความรู้ด้านการเลือกตัวพิมพ์ของผู้จัดทำ แต่ในแง่คุณภาพของตัวพิมพ์ และการเว้นช่องไฟหรือการเว้นวรรคคำและข้อความ ไม่ดีเท่าเครื่องเรียงพิมพ์ชนิดราคาแพง
แบบตัวพิมพ์ของดีทีพีมีหลายแบบหลายขนาดต่างๆ กันตั้งแต่ขนาด 4 ถึง 128 พอยต์ โดยเพิ่มขึ้นทีละ 1 พอยต์ แต่ถ้าเกินขนาด 72 พอยต์ ตัวพิมพ์อาจไม่หนา นอกจากนี้ยังทำตัวพิมพ์เป็นแบบมีกรอบล้อม หรือมีเงา ซึ่งจะใช้ประยชน์ได้ดีในกรณีที่ต้องการตกแต่งด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ ด้วยระบบการทำงานบนหน้าจอ ทำให้ผู้จัดทำมองเห็นผลของการเรียงข้อความและวัสดุที่พิมพ์เข้าด้วยกัน ผู้จัดทำจึงสามารถเปลี่ยนตำแหน่ง หรือเปลี่ยนขนาดได้ จนกว่าจะได้รูปแบบที่ต้องการ
รูปแบบหนังสือ
คำว่า “รูปแบบหนังสือ” หมายถึง ขนาดและรูปร่างหน้าตา ลักษณะภายนอก และลักษณะการจัดหน้าภายในเล่มของหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ชนิดอื่น การตัดสินใจในด้านการออกแบบหนังสือในขั้นเริ่มต้นมีผลสำคัญที่สุดต่อรูปแบบของหนังสือมาก อีกทั้งยังมีผลต่อการพิมพ์ต้นฉบับหนังสือเล่มนั้นด้วย
รูปแบบภายนอกของหนังสือ ไม่ขึ้นอยู่กับความคิดของนักออกแบบหนังสือหรือสำนักพิมพ์เท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงสิ่งที่ผู้อ่านต้องการหรือคาดว่าผู้อ่านต้องการอย่างแท้จริง รวมทั้งกรรมวิธีการผลิต ในบางครั้งต้องพิจารณาไปถึงการจัดจำหน่าย เผยแพร่ด้วย แต่ที่จริงแล้วรูปแบบหนังสือขึ้นอยู่กับขนาดของกระดาษที่ใช้พิมพ์เป็นส่วนใหญ่อีกด้วย นอกจากนี้สำนักพิมพ์บางแห่งยังมีอิทธิพลของขนาดเครื่องจักรที่กระดาษป้อนเข้าไปพิมพ์และระบบการผลิตเป็นตัวกำหนดอีกด้วย
รูปแบบหนังสือขนาดมาตรฐาน ยังมีความนิยมใช้ในหนังสือแบบดั้งเดิม และหนังสือที่มีอายุการใช้ยาวนาน การเลือกรูปแบบหนังสือที่ผิดไปจากรูปแบบเดิมๆ ให้มีลักษณะพิเศษ หรือดูไม่เหมาะสมกับเนื้อหา อาจก่อให้เกิดอุปสรรคในการผลิตและเพิ่มค่าใช้จ่ายที่ไม่สมควรขึ้น รูปแบบขนาดพิเศษนี้เป็นที่ยอมรับกันในการพิมพ์สิ่งพิมพ์ขนาด/ชิ้นเล็กๆ เช่น จุลสารเผยแพร่ ทั้งนี้เพราะต้องการให้ขนาดและรูปร่างสะดุดตา
ขนาดความหนาที่แท้จริงของหนังสือต้องนำมาพิจารณาด้วย เมื่อกำหนดรูปแบบหนังสือ ถ้าเลือกแบบผิด อาจส่งผลให้หนังสือมีขนาดใหญ่เกินไป จนล้มคว่ำได้โดยง่าย หรือถ้าเล่มหนาปึกมาก ควรแบ่งออกเป็น 2 หรือ 3 เล่ม ความหนาปึกของหนังสือขึ้นอยู่กับความหนาของเนื้อกระดาษที่ใช้พิมพ์ และจำนวนหน้าที่บรรจุอยู่ในเล่ม การเลือกกระดาษต้องพิจารณารวมไปถึงการยกถือหนังสือและน้ำหนักของหนังสือด้วย
หนังสือโดยทั่วไป มักพิมพ์ขนาด 8, 16, 32, 64 หน้ายกพิมพ์ ถ้าหน้ายกพิมพ์ยิ่งเล็กมากยิ่งทำให้พิมพ์ได้ช้ามาก และเพิ่มค่าใช้จ่ายทั้งด้านการพิมพ์และการทำเล่ม หนังสือทุกขนาดต้องแสดงความหนา ในรูปของความหนาของสันหนังสือนั่นเอง ดังนั้นหนังสือทุกเล่มจึงต้องมีสันหนังสือ
พื้นที่พิมพ์
จำนวนคำในหนึ่งหน้า และจำนวนหน้าของหนังสือย่อมแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับแบบพิมพ์ ขนาดพอยต์หรือช่วงบรรจุตัวอักษร/พิตซ์ที่เลือกใช้ ช่องไฟระหว่างบรรทัด และพื้นที่พิมพ์ในหน้า ถ้าจำนวนคำในหน้าต้องเพิ่มขึ้นเพื่อต้องลดจำนวนหน้าลง ต้องระวังความสัมพันธ์ของขนาดตัวพิมพ์และความยาวของบรรทัดด้วย ถ้าในหน้าหนังสือใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กและช่วงบรรทัดยาว จะทำให้เกิดความล้าในการอ่าน แต่ถ้าบรรทัดหนึ่งมีตัวอักขระน้อยเกินไปก็ไม่ถูกต้อง ดังนั้น ควรให้ทุกบรรทัดบรรจุความยาวเท่ากัน การเว้นวรรคคำ และข้อความไม่ควรแตกต่างกันมาก การจะเพิ่มจำนวนคำในหน้ากระดาษ อาจทำได้โดยขยายพื้นที่พิมพ์และคงขนาดตัวพิมพ์เอาไว้ หรือคงพื้นที่พิมพ์เอาไว้และลดขนาดตัวพิมพ์ลงก็ได้แต่ถ้าเพิ่มจำนวนคำในหน้าเรียงพิมพ์ ซึ่งต้องขยายพื้นที่พิมพ์ และลดขนาดตัวพิมพ์ลงแล้วให้ทำเป็น 2-3 คอลัมน์ดีกว่า การทำ 2 คอลัมน์ หรือหลายคอลัมน์ใช้ได้ดีกับกระดาษที่มีขนาดใหญ่
การจัดหน้าเป็น 2-3 คอลัมน์ ทำได้ยากขึ้น ถ้าในหน้านั้นมีตารางหรือภาพประกอบอยู่ด้วย การแก้ปัญหา คือ ใส่ตารางหรือภาพเหล่านั้นไว้ข้างบนหรือไว้ข้างล่างของหน้า จะสะดวกดีกว่าจัดวางไว้ตรงกลางหน้ากระดาษโดยมีเนื้อความอยู่ข้างบนและข้างล่างของหน้า
ขอบว่าง
ขอบว่าง คือ บริเวณที่ว่างรอบข้อความที่พิมพ์ในหน้าหนังสือ ซึ่งได้แก่ ขอบบน ขอบล่าง ขอบ(ว่าง) ด้านเปิด และขอบ(ว่าง) ด้านใน
เมื่อผู้อ่านเปิดหนังสือออกทุกครั้ง หน้าหนังสือทั้งสองหน้าจะปรากฏต่อสายตาผู้อ่าน หน้าหนังสือทั้งสองที่ปรากฏนี้ ถือว่าเป็นหน่วยเดียวกัน เมื่อต้องจัดหน้าและกำหนดขอบว่าง ขอบว่างที่กำหนดไว้อย่างได้สัดส่วน มีส่วนทำให้หนังสือสวยงามเมื่อเปิดอ่าน มีการพัฒนาสูตรกำหนดความสมดุลของขอบว่างหน้าหนังสืออยู่หลายสูตรแต่สูตรเหล่านี้มีข้อจำกัดอยู่มากเวลาใช้ เป้าหมายหลักของการกำหนดขอบว่าง คือ การสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดึงดูดใจ ระหว่างข้อความที่พิมพ์ในหน้ากับขอบว่าง และระหว่างขอบว่างทั้ง 4 ด้านด้วยกัน รวมทั้งเป็นการย้ำว่าหนังสือต้องมีขอบว่าง
ในหนังสือที่มีการกำหนดขอบว่างแบบดั้งเดิม พื้นที่พิมพ์ข้อความจะต้องวางให้ถูกต้องตามตำแหน่ง ถ้าข้อความที่พิมพ์อยู่ค่อนไปกลางหน้ากระดาษหรือค่อนไปทางด้านบน จำเป็นต้องเพิ่มขนาดความกว้างของขอบด้านใน ขอบบน ขอบด้านเปิด และขอบล่างตามลำดับ
ในการพิมพ์สิ่งพิมพ์และหนังสือที่มีคุณภาพสูง การเว้นขอบว่างนิยมทำให้ดูสุภาพเหมือนเช่นในหนังสือคลาสสิกทั้งหลาย คือ ขอบด้านในทั้งสองด้านรวมกันโดยประมาณ จะเท่ากับขอบด้านเปิดด้านเดียว และขอบล่างจะกว้างเป็นสองเท่าของขอบบน ถ้าเป็นหนังสือราคาถูกซึ่งได้แก่ สิ่งพิมพ์พวกวารสารและหนังสือพิมพ์ ซึ่งมีพื้นที่พิมพ์ครอบคลุมหน้าเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นขอบว่างจึงแทบไม่มีความแตกต่างระหว่างขอบว่างทั้ง 4 ด้าน ส่วนงานพิมพ์ทั่วๆ ไป ซึ่งรวมถึงสิ่งพิมพ์ของรัฐบาลด้วย การเว้นขอบว่างมักใช้ 2 ประเภทคละกันไป แต่ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทใด สิ่งที่ไม่ควรกระทำ คือ การเว้นขอบด้านในแคบ เพราะข้อความหรือคำอาจหายไป เมื่อเข้าเล่มเรียบร้อยแล้ว ถ้าเว้นขอบด้านเปิดแคบไปทำให้หนังสือเอียง ดูไม่เป็นสี่เหลี่ยม ( ดูรูปในหน้า 186 - 188)
การจัดหน้ากริด
ในการจัดหน้าสิ่งพิมพ์จำพวกวารสาร รายการสินค้า แคตตาล็อก และสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่ โดยทั่วๆ ไปมักมีความแตกต่างกันมากในการจัดหน้า เช่น เนื้อเรื่อง หัวเรื่องตกแต่ง ภาพประกอบ ตาราง เชิงอรรถและสิ่งอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกันนี้ เมื่อออกแบบสิ่งพิมพ์เหล่านี้ จะต้องจัดองค์ประกอบออกมาในรูปกริด
กริดจะออกแบบเป็นสองหน้าคู่กันเสมอ เพื่อให้เห็นหน้าตาทั้งหมดของหน้าหนังสือ แต่การจัดกริดหน้าคู่ก็ไม่จำเป็นต้องจัดให้เหมือนกันทุกคู่ไป การจัดหน้าคู่ที่แตกต่างกันออกไปบ้าง มีส่วนทำให้นิตยสารเล่มนั้นๆ ดูไม่น่าเบื่อซ้ำซาก แต่ไม่ใช่เป็นการออกแบบที่ดี ถ้าต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเพียงเพื่อประสงค์จะเปลี่ยนแปลงเท่านั้น หลักของการออกแบบสร้างกริดที่ดี คือ ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกริดที่จัดอยู่ในรูปที่แตกต่างกันออกไปด้วย ไม่ว่ากริดนั้นจะทำด้วยมือหรือเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ก็ตามแต่ในปัจจุบันมีเครื่องมือ สามารถพิมพ์ออกมาเป็นต้นฉบับพร้อมถ่ายได้เลย ด้วยเหตุนี้การจัดหน้ากริดจึงไม่จำเป็นอีกต่อไป ยกเว้นการจัดหน้าหนังสือที่ต้องการออกแบบเป็นพิเศษ และการจัดพิมพ์หนังสือที่มีคุณภาพสูง โดยเฉพาะหนังสือปกแข็ง ซึ่งมีภาพประกอบจำนวนมาก การจัดหน้าบนกริดก่อน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง จึงยังคงมีความจำเป็นอยู่
การทำเล่มและการเจียน
รูปแบบการทำเล่มหนังสือเล่มใดเล่มหนึ่ง ต้องกำหนดไว้ล่วงหน้าก่อนการจัดหน้าที่สมบูรณ์ รวมทั้งการกำหนดขอบว่างด้วย ขอบว่าง ด้านในจะต้องเว้นขยายเพิ่มขึ้น ถ้างานพิมพ์นั้นใช้การทำเล่มเย็บลวดสันหรือใช้การทำเล่มแผ่นปล่อยด้วยตัวยึดนานาชนิด
ในการเย็บกี่หนังสือปกแข็ง ขอบด้านในที่สำคัญบางส่วนจะหายไปในกระบวนการทำมน (rounding) และการยึดเล่มยึดปก (backing) ดังนั้นจึงควรเพิ่มขอบด้านในให้กว้างออกไปจากปกติอีก 3 พอยต์ (1มม.) ทุกๆ หน้า เพื่อชดเชยกับส่วนที่เสียไป นอกจากนี้ยังต้องเพิ่มที่ว่างเป็นพิเศษที่ขอบบนเผื่อไว้สำหรับการเจียน สำหรับหนังสือที่ทำเล่มด้วยวิธีไสสันทากาว ขอบด้านในจะต้องเจียนออกประมาณ 6 พอยต์
ถ้าหนังสือมีหัวเรื่องกำกับหน้า ต้องเว้นที่ว่างเล็กน้อยที่ขอบบน หากมีเชิงอรรถในหน้า ต้องปรับความกว้างของหน้า และขอบด้านเปิดเล็กน้อย
ศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ในสิ่งพิมพ์
ความชัดเจนหรือประจักษ์ภาพและความน่าอ่าน คือ หลักการพื้นฐานของศิลปะการใช้ตัวพิมพ์ที่ดี ลักษณะ 2 ประการนี้ดูเหมือนคล้ายคลึงกัน แต่ที่จริงแตกต่างกันมาก คือ ประจักษ์ภาพเกี่ยวข้องกับความกระจ่างชัดเจนของการอ่านข้อความที่ผลิตออกมาเป็นสิ่งพิมพ์ ในขณะที่ความน่าอ่านเกี่ยวข้องกับความสบายตาสบายใจของสิ่งที่อ่านในรูปสิ่งพิมพ์ ความน่ารวมถึงการเว้นช่วงบรรทัดหรือช่องไฟ ซึ่งมีส่วนทำให้การอ่านง่ายขึ้น
ตัวพิมพ์
แบบตัวพิมพ์ ชุดภาษาอังกฤษ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ แบบตัวพิมพ์ที่เซอริฟ หรือเชิงและแบบตัวพิมพ์ที่ไม่มีเซอริฟหรือไม่มีเชิงที่เรียกว่า แซนเซอริฟ (ดูในหน้า194) งานพิมพ์หนังสือนิยมใช้แบบเซอริฟเป็นส่วนใหญ่ แต่ผู้คนส่วนมากกลับเห็นว่าตัวพิมพ์แบบแซน
เซอริฟมีความทันสมัย หาได้ง่าย โดยเฉพาะประเทศที่ใช้อักษรโรมันทั้งหลาย ตัวแซน
เซอริฟนิยมใช้พิมพ์เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์มากแต่ตัวพิมพ์นี้จะไม่เหมาะสมกับสิ่งพิมพ์ ซึ่งมีเนื้อหาที่มีปริมาณมาก เช่น นิตยสาร หรือวารสาร หรือหนังสือเล่ม
แบบตัวพิมพ์ชุดอักษรไทย
ตัวอักษรไทยมีโครงสร้างแน่นอน โครงสร้างตัวอักษรไทย ที่เป็นมาตรฐานสำหรับตัวบรรจงกรือที่เป็นตัวพิมพ์ธรรมดาที่ใช้ในการพิมพ์โดยทั่วไป ซึ่งไม่ในใช่ตัวหนา ตัวตกแต่ง ตัวบาง ตัวแคบ ตัวกว้าง หรือตัวเอน โดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ดังที่ปรากฏอยู่ในหนังสือ เรื่องมาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน 2540 มีลักษณะเป็นอักษรตัวกลม เส้นมีน้ำหนักเสมอกัน ยกเว้นที่เป็นส่วนโค้ง เส้นหัก และส่วนต้น-ปลายของตัวอักษรและเครื่องหมายต่างๆ ที่บางตัวอาจหนากว่า หรือบางกว่าได้
รูปแบบตัวอักษรแต่ละตัวที่มาใช้กันอยู่โดยทั่วไป มีอยู่หลายแบบซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
ตัวแบบหลัก เป็นรูปแบบที่ถูกต้องสมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ตัวแบบเลือก เป็นรูปแบบที่ต่างกับตัวแบบหลักบ้าง แต่เป็นแบบที่ยังนิยมใช้โดยทั่วไปและถือว่าเป็นแบบที่ถูกต้องเช่นกัน
ตัวแบบแปร เป็นรูปแบบที่ใช้กันอยู่ แต่ไม่อาจจัดเข้าอยู่ในหลักเกณฑ์นี้ได้ เช่น
ตัวประดิษฐ์ ตัวหวัด ตัวหวัดแกมบรรจง
ดังนั้นหลักเกณฑ์ที่ราชบัณฑิตยสถานได้กำหนดไว้ จึงใช้สำหรับตัวอักษรที่เป็นตัวแบบหลัก และตัวแบบเลือกเท่านั้น
โครงสร้างพื้นฐานของตัวอักษรไทย ตามที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้ ต้องมีลักษณะดังนี้
1. ตัวอักษรมีกรอบ
2. ตัวอักษรมีเส้นกำหนดระดับทางส่วนสูง
3. ตัวอักษรมีความสูง
4. ตัวอักษรมีเส้นกำหนดส่วนกว้าง
5. ตัวอักษรมีความกว้าง
6. ตัวอักษรมีช่องไฟ
7. ตัวอักษรไทย ประกอบด้วย (1) พยัญชนะ (2) สระ (3) วรรณยุกต์ (4) ตัวเลข (5) เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ
8. ชุดตัวอักษรไทยในชุดเดียวกัน มีโครงสร้างพื้นฐานของสัดส่วนขนาด เส้น ช่องไฟ และรูปแบบตัวอักษร อยู่ในหลักเกณฑ์เดียวกัน
9. ชุดตัวอักษรไทยชุดเดียวกัน อักษรทุกตัวมีส่วนสูงตัวพิมพ์เท่ากัน และส่วนสูงตัวอักษรเท่ากัน แต่ส่วนกว้างตัวพิมพ์และส่วนกว้างตัวอักษรแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของตัวอักษรแต่ละตัว
ระบบการวัดขนาดตัวพิมพ์
ตัวพิมพ์ชุดอักษรไทย ใช้ระบบการวัดเป็นพอยต์ ขนาดตัวพิมพ์ชุดอักษรไทยมีทุกขนาด สามารถบีบ-ขยายและเอนได้ตามความต้องการ รวมทั้งสามารถทำตัวแคบ-ผอม (ลดความกว้างของตัวอักษรให้มากกว่าปรกติ แต่ความสูงเท่าเดิม) หรือทำตัวกว้าง-อ้วน (ขยายความกว้างของตัวอักษรให้มากกว่าปกติ แต่ความสูงเท่าเดิม) หรือให้เอนหน้าเป็นตัวโย้ หรือทำตัวเอน(หลัง) ได้ โดยใช้ตัวอักษรตัวปรกติเป็นตัวกำหนด
คำสั่งพิมพ์
ใช้คำสั่งในการพิมพ์ ก่อนสั่งเรียงตัวพิมพ์ ผู้ออกแบบต้องกำหนด 1) ขนาดคอลัมน์ 2) แบบตัวพิมพ์และขนาด 3) ช่วงบรรทัด
ขนาดคอลัมน์
ผู้ออกแบบจะต้องกำหนดขนาดของคอลัมน์ ให้เหมาะสมกับรูปแบบหนังสือหรือสิ่งพิมพ์นั้น ขนาดคอลัมน์ที่ใช้ในการสั่งพิมพ์ มีหน่วยเป็น ไพคา (picas) โดยมีมาตราดังนี้
12 พอยต์ = 1 ไพคา
6 ไพคา = 1 นิ้ว
(72 พอยต์ = 1 นิ้ว)
ระบบเมตริก : 1 พอยต์ = 0.35 ม.ม.
แบบตัวพิมพ์และขนาด
ในการสั่งเรียงพิมพ์ทุกครั้ง จะต้องสั่งเป็นรหัสตัวพิมพ์ หรือรหัสสั่งเรียงตัวเสมอ แบบตัวพิมพ์ของแต่ละสำนักพิมพ์มีแตกต่างกันไป ผู้ออกแบบจึงต้องมีคู่มือรหัสสั่งเรียงตัว ซึ่งมีแบบตัวพิมพ์และขนาดสำหรับใช้ในงานของตน นั่นคือ ผู้ออกแบบจะต้องรู้ว่า ผู้พิมพ์หรือโรงพิมพ์มีชุด/แบบตัวพิมพ์ใด ใช้อยู่ในงานพิมพ์ จึงจะสั่งพิมพ์ได้ถูกต้องและตรงกัน
ช่วงบรรทัดหรือระยะบรรทัด
ตามปรกติในเครื่องคอมพิวกราฟิกส่วนใหญ่ มักตั้งช่วง มักตั้งช่วงบรรทัดไว้ใช้ในงานเรียงพิมพ์ปรกติอยู่แล้ว หากผู้ออกแบบประสงค์จะให้ช่วงบรรทัดชิดหรือห่างกว่าปกติ จะต้องระบุไว้อย่างชัดเจน
รหัสสั่งเรียงตัว
ในการสั่งเรียงตัว ไม่ใช้ข้อความเขียนสั่ง มีความนิยมใช้เครื่องหมายแทนคำสั่งเขียนเต็ม ดังนี้
ขนาดคอลัมน์ = cl (colum)
ช่วงบรรทัด = Ls (Leading)
เรียงชิดซ้าย = FL/QL (flush left / quad left)
เรียงกลาง = FC/QC (flush center/ quad center)
เรียงชิดขวา = FR/QR (flush right /quad right)
เอน = It/Ob (italic, oblique)
หนา = Bd. (condesed)
ผอม/แคบ = Cd. (condesed)
อ้วน-กว้าง = Ex (expended)
บาง = Lt (light)
ดำหนาอ้วน = Ext. Bd. Ex\ (Extra bold expended)
ย่อหน้า = p (paragraph)
การเลือกแบบพิมพ์
ความมุ่งหมายของตัวพิมพ์มีไว้เพื่อการอ่าน อ่านอย่างสบาย โดยไม่ต้องใช้ความพยายาม หรือความลำบากมากนัก ดังนั้นการเลือกแบบตัวพิมพ์ จึงไม่ควรพิจารณาแต่เฉพาะที่รูปแบบตัวพิมพ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงเมื่อเวลาตัวพิมพ์เรียง
ปรากฏเป็นข้อความในหน้าอีกด้วย มีวิธีการเลือกใช้ตัวพิมพ์แปลกๆ ที่ไม่คุ้นตา คือ เรียงออกมาดูเป็นตัวอย่างก่อน เพื่อใช้ในการพิจารณาตัดสินความเหมาะสม ประเด็นหลักในการพิจารณาเลือกตัวเรียงพิมพ์ คือ ลักษณะภาพรวมในด้านความหนา/ความบางของตัวพิมพ์ ลักษณะตัวพิมพ์ที่สอดคล้องต่อกันดี และลีลาการออกแบบมีผลต่อการความน่าอ่าน
นอกจากนี้ยังต้องมีการพิจารณาขนาดของตัวพิมพ์ การเลือกขนาดตัวพิมพ์ รวมทั้งแบบตัวพิมพ์ต้องคำนึงถึง 1) เนื้อหาวิชา 2) อายุผู้อ่านและความสามารถในการอ่านของผู้เขียน 3) เงื่อนไขหรือภาวะของการอ่านข้อความนั้น 4) รูปแบบของสิ่งพิมพ์ (ขนาดรูปเล่มการจัดหน้า-แบ่งคอลัมน์)
การเรียงพิมพ์เป็นตัวอย่าง
ต้นฉบับที่ต้องเรียงพิมพ์เป็นจำนวนมากๆ มีข้อแนะนำให้เรียงพิมพ์ออกมาเป็นตัวอย่าง มาดูก่อนอย่างน้อย 2 หน้ากระดาษคู่ เพื่อใช้ในการตรวจสอบให้แน่ใจว่า แบบ-ขนาดตัวพิมพ์ และคุณภาพการเรียงตัวพิมพ์ทั้งหมดเป็นที่พอใจ รวมทั้งการออกแบบหน้าพิมพ์มีความเหมาะสมพอดีกับงานพิมพ์นั้น ตัวอย่างเรียงพิมพ์นี้ ยังเป็นเครื่องแสดงว่าช่างเรียงเข้าใจคำสั่ง หรือรหัสการสั่งเรียงพิมพ์ได้ถูกต้องดี ในกรณีที่มีปัญหาาาต้องรีบแก้ไขทันที หากปล่อยไว้ จนงานเรียงพิมพ์เสร็จเรียบร้อยตลอดทั้งเล่มแล้ว จะล่าช้าเกินไป
11. รูปแบบการเลือกใช้ตัวพิมพ์
การแบ่งเนื้อเรื่อง
ในกรณีที่เนื้อเรื่องแบ่งเป็นส่วนๆ อย่างชัดเจน หรือมีความยาวสลับซับซ้อนมาก ควรแบ่งเนื้อหาออกเป็นภาค/ตอน จะทำให้เนื้อเรื่องมีความชัดเจนมาก เนื้อเรื่องแต่ละภาคตอน ใส่ลำดับและใส่ชื่อตอนกำกับไว้ด้วย สิ่งเหล่านี้ใส่ไว้ในชื่อเรื่องเสริมของแต่ละภาค/ตอน ซึ่งอยู่ในหน้าขวามือ ก่อนหน้าเนื้อเรื่องของภาค/ตอนนั้นๆ เสมอ ส่วนหน้าหลังหรือหน้าซ้ายของแต่ละภาค/ตอนอาจปล่อยว่าง หรือจะใส่ข้อความสรุป หรือหัวเรื่องที่บรรจุไว้ในภาค/ตอนนั้นก็ได้ หรืออีกทางหนึ่งอาจใส่บทสรุปไว้ที่หน้าชื่อเรื่องเสริมก็ได้ เนื้อเรื่องของแต่ละภาคแต่ละตอน ต้องเริ่มที่หน้าขวาเสมอ ลำดับหมายเลขของภาคหรือตอน นิยมใช้เป็นคำเขียน หรือใช้เลขโรมัน
บท
เนื้อเรื่องโดยทั่วไป นิยมแบ่งออกเป็นบท โดยมีชื่อบทและลำดับเลขประจำบท ซึ่งมักใช้เลขอารบิกกัน ส่วนเลขประจำบทในแต่ละภาคจะจัดเรียงลำดับอย่างต่อเนื่องกันตลอดทั้งเล่ม การขึ้นต้นบทจะเริ่มที่หน้าซ้าย หรือขวาก็ได้ และเรียงต่อๆ กันไป ส่วนใหญ่ในหน้าแรกของบทใหม่ไม่นิยมใส่เลขหน้า
เลขประจำบทและชื่อบท จะใส่ในหน้าแรกของบทใหม่แต่ละบทเท่านั้น หน้าอื่นๆ ไม่ต้องใส่อีก ในกรณีที่งานมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่ ชื่อผู้เขียนใต้ชื่อเรื่อง ส่วนลำดับ เชิงอรรถ และสิ่งอ้างอิง หรือสัญลักษณ์ หรือชื่อผู้แต่งร่วม รวมทั้งแหล่งค้นคว้าอ้างอิงทั้งหลาย ไม่ต้องใส่ไว้ในหน้าแรก
ส่วนย่อยในบท
เนื้อเรื่องภายในบท อาจแบ่งย่อยออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนเริ่มด้วยหัวเรื่อง/หัวข้อเรื่อง ซึ่งควรจะใช้ข้อความที่สั้นและกระชับเหมือนชื่อเรื่อง หัวข้อเรื่องควรอยู่บนบรรทัดที่แยกจากเนื้อหาและอยู่ก่อนเนื้อหาที่กล่าวถึงในแต่ละส่วน โดยอาจแบ่งเป็นส่วนส่วนรองและส่วนย่อยตามลำดับ ซึ่งแต่ละส่วนต้องมีหัวเรื่องรอง และหัวเรื่องย่อยกำกับ ถ้าเนื้อเรื่องประกอบด้วยหัวเรื่องใหญ่ -รอง – ย่อย แบ่งเป็นหลายๆ ระดับ จำเป็นต้องใน่อักษรกำกับตามลำดับ - ก, ข, ค, …. ไว้ด้วย ก่อนการส่งเรียงพิมพ์ คำแรกของประโยคแรกที่ต่อจากหัวเรื่องรอง ไม่ควรใช้คำสรรพนามแทนชื่อหัวเรื่องรองนั้นถ้าจะเอ่ยซ้ำ แต่ถ้าจำเป็น ให้ใช้ชื่อหัวเรื่องรองซ้ำ เช่น การทำต้นฉบับ การทำต้นฉบับหมายถึง ไม่ใช่ การทำต้นฉบับ นี่หมายถึง
ย่อหน้า
สิ่งที่แสดงถึงการเขียนความเรียงร้อยแก้วที่ดีอย่างหนึ่ง คือ การแบ่งเนื้อเรื่องออกเป็นย่อหน้า ในการเขียนความเรียงปัจจุบัน นิยมใช้ย่อหน้าสั้นๆ กันมากขึ้น ย่อหน้าแต่ละย่อหน้าประกอบด้วยเนื้อหาความคิดที่แยกจากกัน ย่อหน้าแสดงออกในรูปของการย่อบรรทัดแรกเข้ามาในบรรทัด หรือจะเรียงเต็มบรรทัด โดยไม่ย่อบรรทัดแรกก็ได้ แต่เว้นช่องไฟที่เหมาะสมระหว่างย่อหน้าแต่ละย่อหน้า
ในหนังสืออ้างอิงและหนังสือวิชาการ ที่มีการใช้สิ่งอ้างอิง/อ้างโยง จำนวนมาก ควรใส่เลขลำดับประจำย่อหน้าด้วย จะอำนวยความสะดวกต่อการใช้หนังสือมาก ย่อหน้าอาจมีเลขประจำย่อหน้า เป็นตัวเลขเดียวหรือสองตัวขึ้นไปก็ได้
การเลือกใช้ตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง
ขนาดตัวพิมพ์ที่ใช้เรียงเนื้อเรื่อง ต้องมีความสัมพันธ์เหมาะสมกับขนาดที่พิมพ์ของหน้า ในหนึ่งบรรทัดตัวเรียงพิมพ์ที่เป็นอักษรใหญ่ควรอยู่ระหว่าง 49-52 ตัว จะมีความเหมาะสมและสบายตาในการอ่านอีกทั้งยังทำให้เครื่องเรียงพิมพ์สามารถปรับช่องไฟเต็มแนวบรรทัดได้อย่างเพียงพอตามความต้องการได้อีกด้วย ช่องไฟระหว่างตัวพิมพ์ที่เหมาะไม่ควรเกิน 25 % ของขนาดตัวพิมพ์
หลังเครื่องหมายวรรคตอน หรือจบประโยค ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความกว้างของวรรคคำหรือช่องไฟ ให้ใช้การเว้นวรรคหลังจบประโยคหรือตามหลังเครื่องหมายวรรคตอน การเว้นวรรคแคบทำให้ข้อความที่เรียงดูแน่นทึบ ไม่น่าอ่าน
การเว้นวรรค ต้องมีความสม่ำเสมอเป็นรูปแบบเดียวกัน จากบรรทัดหนึ่งถึงอีกบรรทัดหนึ่ง ตลอดความกว้างของพื้นที่พิมพ์ในหน้าการเรียงแบบนี้ แม้ทำได้ไม่ยากนัก แต่การอ่านข้อความที่ดูแน่นทึบจำนวนมากบนบรรทัดที่ยาว ทำให้เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ถ้าผู้อ่านไม่มีโอกาสหยุดพักสายตาระหว่างการอ่าน
การใช้ตัวพิมพ์ตกแต่ง
เคล็ดลับของการใช้ตัวพิมพ์ตกแต่ง อยู่ที่การใช้ตัวพิมพ์ที่แตกต่างกัน โดยมากมักเลือกใช้ตัวพิมพ์ซึ่งมีขนาดแตกต่างกัน เพื่อเน้นความแตกต่างระหว่างข้อความที่สำคัญ และไม่สำคัญ ทัศนะของผู้ออกแบบสิ่งพิมพ์ การใช้ที่ว่างในการใช้ตัวพิมพ์ตกแต่ง มีความสำคัญเท่าเทียมกับตัวพิมพ์ ที่นำมาเรียงทีเดียว ที่ว่างนำมาใช้ เพื่อแยกหรือเชื่อมองค์ประกอบต่างๆ ของข้อความที่พิมพ์ได้ เช่น ชื่อเรื่องกับชื่อเรื่องรอง/ย่อย หรือหัวเรื่องกับเนื้อเรื่อง เป็นต้น นั่นคือ ใช้ในการเน้นคำและเส้นกราฟฟิก รวมทั้งให้ดูเป็นระเบียบและมีความสมดุลกัน
หัวเรื่อง
ในงานที่เป็นหนังสือปกติ หัวเรื่องที่มีความสำคัญที่สุด คือ ชื่อบท ซึ่งจะใช้แบบรูปตัวพิมพ์เหมือนกับที่ใช้ในสารบัญ คำนำ และส่วนอื่นๆ ที่สำคัญ แบบตัวพิมพ์ที่ใช้ อาจมีขนาดใหญ่กว่าขนาดที่ใช้เรียงเนื้อใน หรืออาจใช้ตัวตกแต่งที่มีความแตกต่างก็ได้ แต่ต้องมีความเหมาะสม และสัมพันธ์กับองค์ประกอบส่วนอื่นๆ โดยเฉพาะหัวเรื่องย่อยในเนื้อเรื่อง การเลือกใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ หรือขนาดเล็ก ขึ้นอยู่กับเนื้อหาต้นฉบับ ถ้าหัวเรื่องยาว ไม่ควรใช้ตัวหนาและใหญ่มาก
การเลือกใช้ขนาดตัวอักษรสำหรับหัวเรื่องและหัวเรื่องรอง ควรเลือกตัวอักษรที่มีขนาดแตกต่างกัน เพื่อให้เกิดความสมดุลของหน้า เครื่องหมายวรรคตอน เช่น . หรือ : อาจนำมาใช้แยกชื่อเรื่องและชื่อเรื่องรองออกจากกัน ยกเว้นในกรณีที่ชื่อเรื่องและชื่อเรื่องรอบอยู่คนละบรรทัด
การเว้นช่องว่างหัวเรื่อง
หัวเรื่องใหญ่ที่เป็นส่วนนำเรื่อง (บทเกริ่น) ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้ายเรื่องควรเว้นห่างจากด้านบนสุดของหน้าในระดับเดียวกัน ส่วนหัวเรื่องในตัวเนื้อเรื่อง เว้นใต้หัวเรื่องน้อยกว่าด้านบนหัวเรื่อง และหัวเรื่องที่มีความสำคัญเท่ากัน ควรเว้นช่องว่างให้เท่ากันและเสมอกัน การเว้นช่องว่างด้านบนหัวเรื่องมีความแตกต่างกันไปตามลำดับความสำคัญของหัวเรื่อง ช่องว่างที่อยู่เหนือหัวเรื่องใหญ่ ซึ่งอยู่กลางหน้าจะต้องเว้นให้มากกว่าหัวเรื่องข้าง และหัวเรื่องข้างต้องเว้นให้มากกว่าหัวเรื่องต่อเนื่อง
งานจัดทำหนังสือทั่วไป มีแนวทางเลือกขนาดตัวเรียงพิมพ์หัวเรื่องประเภทต่างๆ ดังนี้
หัวเรื่องใหญ่ ช่องว่างเหนือหัวเรื่องใหญ่ ควรเว้นห่างประมาณ 1 เท่าครึ่งของช่วงบรรทัดที่ใช้เรียงตัวเนื้อเรื่อง และช่องว่างใต้หัวเรื่องควรเว้นห่างประมาณครึ่งหนึ่งของที่ใช้เรียงเนื้อเรื่อง หัวเรื่องควรวางอยู่ตรงกึ่งกลางหรือไว้ด้านข้าง และบรรทัดแรกของตัวเนื้อเรื่อง (ซึ่งอยู่ต่อจากหัวเรื่องใหญ่) ไม่ควรย่อหน้า
หัวเรื่องรอง ช่องว่างเหนือหัวเรื่องรอง ควรเว้นห่างประมาณ 3 ใน 4 ของที่ใช้เรียงเนื้อเรื่อง ในกรณีที่มีการเว้นช่องว่าง ระหว่างย่อหน้า (ช่วงบรรทัด) ช่วงว่างใต้หัวเรื่อง ควรเว้นไม่น้อยกว่าช่วงที่เว้นระหว่างย่อหน้าที่ตามมา
หัวเรื่องต่อเนื่อง ช่องว่างเหนือหัวเรื่องต่อเนื่อง ไม่ควรเว้นให้มากกว่าช่วงบรรทัดที่ใช้เรียวตัวเนื้อเรื่องประเภทนี้ ควรเว้นช่องว่างเหนือหัวเรื่องประมาณ 3 พอยต์ และถ้ามีการเว้นช่วงว่างระหว่างย่อหน้า ให้เว้นช่วงว่าวเหนือหัวเรื่องเหล่านี้ ให้มากกว่าที่เว้นระหว่างย่อหน้า เมื่อใดที่ต้องใช้ตัวอักษรขนาดใหญ่ หรือตัวอักษรที่กินเนื้อที่มากให้พอดี เพื่อไม่ให้มองดูขัดตา
ตัวต้นตกแต่ง
การใช้ตัวต้นที่มีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องจัดวางอย่างระมัดระวัง การใช้ตัวยืนต้น หรือตัวต้นแทรกต่ำ ทำให้หน้าพิมพ์ดูมีลักษณะพิเศษได้แต่ถ้าทำตามใจชอบจะดูมากเกินไป จึงต้องใช้ให้ถูกที่ คือ อยู่ติดกับเนื้อเรื่องที่ตามมา ตัวต้นอาจใช้อักษรขนาดใหญ่เพียงอักษรเดียวของคำ หรือทั้งคำก็ได้
ช่วงบรรทัด
ตัวอักษรไทยบางตัว ที่มีส่วนสูงและส่วนกว้างผิดปกติจากตัวอักษรส่วนใหญ่ เช่น ฏ ฐ ฒ ญ รวมทั้งสระที่วางอยู่ด้านบนและด้านล่างของช่วงบรรทัด ตัวอักษรและสระเช่นนี้เมื่อเป็นตัวพิมพ์ในเครื่องเรียงพิมพ์สมัยใหม่ไม่มีความจำเป็นต้องปรับช่วงบรรทัด เพราะตัวพิมพ์เหล่านี้ได้ออกแบบมาอย่างเหมาะสมกับช่วงบรรทัดแล้ว
การขยายช่วงบรรทัด มีส่วนเพิ่มค่าใช้จ่ายในการพิมพ์ ดังนั้นการตัดสินใจเรื่องการออกแบบ ต้องพิจารณาปัจจัยความประหยัดและสุนทรียภาพไปด้วยในขณะเดียวกัน
การเว้นที่ว่างต้องทำอย่างระวัง การเว้นที่ว่างระหว่างย่อหน้าซึ่งมีการย่อหน้าที่บรรทัดแรก ไม่ควรใช้กับข้อความที่ต้องการการต่อเนื่อง แต่ถ้าย่อหน้านั้น ไม่มีการเว้นย่อหน้าที่บรรทัดแรกของข้อความ ควรใช้การเว้นระหว่างย่อหน้าแต่ละย่อหน้า เพื่อให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น ช่วงว่างในกรณีเช่นนี้ ให้ใช้ขนาด 1 ช่วงบรรทัด หรือขนาดความสูงของตัวพิมพ์
ในทำนองเดียวกันที่ว่างระหว่างเนื้อเรื่องและเลขหน้า (ไม่รวมหัวเรื่องกำกับหน้า)ควรเว้นไม่เกินช่วงระยะที่ใช้เว้นย่อหน้า (หลัก) ในเนื้อเรื่อง ส่วนตาราง รายการ และการอ้างถ้อยคำ/อัญพจน์ ควรเว้นให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องข้อความที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน
หากต้องการเพิ่มช่วงบรรทัดในเนื้อเรื่อง ควรเริ่มเพิ่มจากช่วงระยะน้อยสุดก่อน ช่วงบรรทัดที่เพิ่มนี้ต้องทำให้เหมือนกันในทุกๆ หน้า ต้องไม่มีความแตกต่างกัน ในหน้าที่มีการออกแบบให้เนื้อเรื่องมีความสูงปรับเต็มแนว หน้านั้นอาจมีข้อความสั้นไป 1 หรือ 2 บรรทัด หน้าที่คู่กันก็ต้องปรับให้ความสูงของเนื้อเรื่องเท่ากันด้วย อย่าใช้วิธีเพิ่มหรือลดช่วงบรรทัดในแต่ละหน้า ในหน้าที่ที่ออกแบบให้ความสูงของเนื้อเรื่องเป็นแบบไม่ปรับเต็มแนว การขยับหน้าเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องทำ
การแบ่งข้อความบรรยาย
เมื่อผู้เขียนต้องการเปลี่ยนความคิดใหม่ หรือเปลี่ยนการกระทำ หรือเปลี่ยนระยะเวลาในข้อความบรรยาย โดยไม่ต้องการขึ้นหัวเรื่องใหม่ มีวิธีการทำได้ คือ การใช้การเว้นช่องว่างในข้อความบรรยายนั้น โดยการปล่อยว่างไว้ หรือใส่เครื่องหมายทางการพิมพ์ก็ได้ ถ้าปล่อยว่างไว้ ให้ใช้ระยะ 2 หรือ 3 บรรทัดของเนื้อเรื่อง แต่ถ้าใช้เครื่องหมายทางการพิมพ์ต้องเว้นที่ว่างให้กว้างมากขึ้น เครื่องหมายที่นิยมใช้กันคือ เครื่องหมายดอกจัน 3 ดอก โดยเว้นห่างแทรกสี่ เครื่องหมายดังกล่าวใส่ไว้ในหน้าใดก็ได้ แม้แต่ที่ท้ายหน้า แต่จะไม่ใส่ไว้ที่ด้านบนของหน้า บรรทัดแรกถัดจากเครื่องหมายดอกจันหรือที่ปล่อยว่างไว้ ไม่ต้องย่อหน้าเข้ามา เส้นกั้นแนวนอนเส้นเดียว ไม่ควรนำมาใช้แบ่งข้อความบรรยาย ตอนท้ายบท หรือในภาคผนวก หรือในข้อความส่วนอื่นๆ ที่มีการปล่อยว่างไว้
การแยกคำ การจบหน้า และการขึ้นหน้า
คำ หรือพยางค์สุดท้ายของบรรทัด ที่มีเครื่องหมายยัติภังค์บ่งบอกถึงการแยกคำ/พยางค์ออกจากคำเต็ม เป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น เพราะสามารถเลี่ยงได้โดยปรับวรรค หรือใช้คำใหม่แทนได้ ลักษณะเช่นนี้เกิดขึ้นจากการตั้งช่วงบรรทัดแคบ ข้อความที่อยู่ท้ายหน้าที่พิมพ์ ไม่ควรจบด้วยคำที่แยกออกจากกัน ในหน้าซ้ายอาจอนุโลมได้ แต่หน้าขวาไม่ควรปล่อยให้เกิดอย่างายิ่ง เพราะเป็นอุปสรรคในการอ่าน รวมทั้งการจบลงด้วยการเริ่มต้นบรรทัดเป็นอย่างน้อย โดยปรับบรรทัดท้ายๆ ให้เรียงชิด จนเพิ่มบรรทัดพอให้บรรจุข้อความบรรยายโดยไม่ต้องเว้นว่างระหว่างย่อหน้า นอกจากนี้หัวเรื่องหรือบรรทัดของข้อความตอนใหม่ซึ่ง อยู่ต่อจากที่เว้นว่างไม่พึงให้อยู่ท้ายหน้า ควรปล่อยบรรทัดว่าวไว้แล้วเริ่มหัวเรื่องใหม่ในหน้าถัดไป จะดีกว่า
ข้อความบรรทัดสั้นที่อยู่ด้านท้ายหน้านั้น มีทางหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดขึ้นได้ โดยปรับวรรคคำ/ข้อความนั้นได้ ยังมีวิธีปรับอื่นๆ อีก ในกรณีที่เนื้อเรื่องมีตาราง ภาพประกอบหรือหัวเรื่องรอง ที่จำเป็นต้องมีที่ว่างเพิ่มขึ้น หรือลด ให้ใช้วิธีปรับช่วงบรรทัด แต่ถ้าหน้านั้นจัดบรรทัดเรียงชิดกัน จนไม่มีที่ว่างระหว่างย่อหน้า ให้ไปปรับในหน้าก่อนหน้านั้นแทน จนมีที่ว่างเพิ่มหรือลดตามที่ต้องการ การเพิ่มอีกบรรทัดหนึ่ง เพื่อให้บรรจุคำ/ข้อความสั้นๆ ที่จะขึ้นหน้าใหม่ทำได้โดยปรับช่วงบรรทัดท้ายๆ 2-3 บรรทัด แต่ถ้าวิธีดังกล่าวนี้แก้ปัญหาไม่ได้แล้ว ผู้เขียนและบรรณาธิการจำเป็นต้องหาคำอื่นแทน โดยลดหรือเพิ่มคำให้พอกับเนื้อที่
บทและภาคผนวกให้เริ่มในหน้าใหม่ แต่ถ้าบทและภาคผนวกมีขนาดสั้น หรือจำเป็นต้องประหยัดหน้า ให้เรียงบทหรือภาคผนวกต่อกันไปได้เลย โดยให้มีระยะห่างจากกันพอควร ไม่น้อยกว่า 6 ไพคา หากจะขึ้นหน้าใหม่ ข้อความในบทใหม่หรือภาคผนวกต้องมีอย่างน้อย 5 บรรทัด (ไม่รวมหัวเรื่อง) แต่ถ้าบทก่อน มีบรรทัดว่างไม่เพียงพอบรรจุข้อความในบทใหม่ได้ ให้เริ่มบทใหม่ในหน้าใหม่ โดยปล่อยหน้าสุดท้ายของบทก่อนว่างไว้ ในกรณีเช่นนี้ ชื่อเรื่อง/หัวเรื่องบทใหม่ ให้วางต่ำลงมาหลายบรรทัด เช่นเดียวกับแต่ละบทที่ขึ้นหน้าใหม่
การย่อหน้า
การย่อหน้าในย่อหน้า มีความแตกต่างกันไปตามแนวบรรทัดที่พิมพ์ ระบบที่นิยมกัน คือ ก) แทรกหนึ่ง (1 เอ็ม) ใช้กับแนวบรรทัด พิมพ์ถึง 26 ไพคา ข) แทรกหนึ่งครึ่ง (1 ½ เอ็ม ) ใช้กับแนวบรรทัดพิมพ์ระหว่าง 27-35 ไพคา และ ค) แทรกสอง (2 เอ็ม) ใช้กับแนวบรรทัดพิมพ์ 36 ไพคา ขึ้นไป ระยะย่อหน้าที่กว้างเกินไป ไม่ประหยัดหน้า หรือไม่ก่อให้เกิดความน่าอ่าน มิหนำซ้ำยังมองดูขัดนัยน์ตา เมื่อใช้กับย่อหน้าขนาดสั้น
ข้อความบรรทัดแรกของบท หรือ ของส่วนที่ต่อจากหัวเรื่องวางกลาง หรือหัวเรื่องรองที่สำคัญ ไม่ต้องย่อหน้า เช่นเดียวกับข้อความบรรทัดแรกของเชิงอรรถท้ายหน้า ให้ย่อหน้าเหมือนกับย่อหน้าของเนื้อเรื่องที่อยู่ด้านบน
ในบางครั้ง ข้อความส่วนรองหรือที่เป็นบัญชีรายการต่างๆ อาจต้องย่อเข้ามาให้มากกว่าการย่อครั้งแรก โดยมากมักมีตัวเลขหรือตัวอักษรนำหน้า เช่น 1. (ก) (1) บรรทัดต่อมาต้องย่อหน้าให้อยู่ในแนวเดียวกับบรรทัดแรก ช่วงระยะย่อหน้าแต่ละย่อหน้าเหล่านี้ ขึ้นอยู่กับความกว้างสุดของตัวเลขหรือตัวอักษร ที่ใช้ในนำรายการนั้นๆ ซึ่งมีความนิยมใช้ตัวเลขอารบิก หรือตัวอักษรมากกว่าเลขโรมัน โดยเฉพาะในกรณีที่รายการมีมากกว่า 3 รายการ เพราะหากมีเกินกว่า 3 รายการเลขโรมันทำให้ย่อหน้าไม่เท่ากัน
การใช้ตัวอักษรและตัวเลขกำกับรายการ หรืออยู่ในวงเล็บต้องปรับแนวไปทางขวามือ ส่วนการย่อหน้า ต้องย่อเข้าไปตามลำดับ มีอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ในการย่อหน้ารายการ หรือ รายละเอียดในรายการ คือ ใช้เครื่องหมาย - หรือ ●
ข้อความที่มีขนาดยาวและใช้ย่อหน้าหลายๆ ระดับ (มากกว่า 2 ระดับขึ้นไป) ทำให้ลักษณะหน้าพิมพ์ไม่น่าดูนัก มีวิธีหลีกเลี่ยงได้โดยปรับเขียนแบ่งย่อหน้าเสียใหม่
การใส่เลขหน้า
เลขหน้าที่ใส่ด้วยเลขอารบิก เริ่มใส่ที่หน้าแรกของบทหนึ่ง หรือเริ่มที่หน้าชื่อเรื่อง (ของภาคหนึ่งถ้ามี) สำหรับหน้าส่วนนำของหนังสือให้เริ่มนับจากหน้าชื่อเรื่องเสริม ถ้าไม่มีหน้าชื่อเรื่องเสริมให้นับนับจากหน้าชื่อเรื่องหรือหน้าปกใน โดยใช้เลขหน้าเป็นเลขไทย หรือเลขโรมันตัวเล็ก หรือเลขอารบิกใส่วงเล็บ แต่ไม่ต้องใส่เลขหน้า ในหน้าชื่อเรื่องเสริมหรือหน้าหลัง และหน้าชื่อเรื่องหรือหน้าหลัง หรือในหน้าว่าง เลขหน้าในหน้าส่วนนำนี้ จะนับแยกไม่รวมเข้ากับเนื้อเรื่อง ทั้งนี้เมื่อมีการลดหรือแทรกหน้า หรือเพิ่มเนื้อหาในส่วนนี้ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้เลขหน้าเนื้อเรื่อง
หน้าทุกหน้าที่พิมพ์ข้อความ หรือเป็นหน้าว่าง ต้องให้เลขหน้าอย่างต่อเนื่องกันไป ยกเว้นกน้ารูปภาพ ที่ผนึกแทรกแผ่นเข้ามา ไม่ต้องนับ/ ให้เลขหน้า เพราะเป็นส่วนที่แยกออกต่างหาก แต่ถ้าพิมพ์อยู่ที่ด้านของหน้าชื่อเรื่องเสริม ต้องให้เลขหน้าด้วย ส่วนภาพประกอบภาพเต็มหน้าที่เป็นเพลตพิมพ์แทรก ไม่ต้องนับ/ให้เลขหน้าเช่นเดียวกับหน้าชื่อเรื่องเสริมที่บอกภาค/ตอน ไม่ต้องนับ/ให้เลขหน้า
การให้เลขหน้านั้น หน้าขวาเป็นเลขคี่ และหน้าซ้ายเป็นเลขคู่ และหน้าซ้ายเป็นเลขคู่สิ่งพิมพ์ประเภทแผ่นปล่อยที่พิมพ์หน้าเดียว ต้องให้เลขหน้าต่อเนื่องกันไปทุกหน้า แม้ว่าจะมีข้อความที่พิมพ์อยู่แต่เฉพาะหน้าขวามือก็ตาม
เลขหน้าสำหรับภาคผนวก และส่วนท้ายของหนังสือ ให้เลขหน้าเรียงลำดับต่อเนื่องจากเนื้อเรื่อง ในกรณีที่ภาคผนวกเป็นเอกสารต้นแบบ ที่มีเลขหน้าเดิมอยู่นั้น ให้เอาเลขหน้าเดิมออก แล้วให้เลขหน้าต่อเนื่อง ยกเว้นมีความจำเป็นเป็นพิเศษที่ต้องคงเลขหน้าเดิมเอาไว้
หน้าพับ
แผ่นหน้าพับ ใช้ในสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะประเภทแผนที่และแผนภาพ ซึ่งพิมพ์ลงบนกระดาษขนาดปกติไม่ได้ อีกทั้งยังให้เลขหน้าไม่ได้อีกด้วย ดังนั้น ในแผ่นแรกของหน้าพับชิดแบบง่ายที่มุมล่างซ้ายมือควรมีคำ “หน้าตรงข้าม” ไว้ด้วย เพื่อแสดงตำแหน่งที่อยู่ในสิ่งพิมพ์เล่มนั้น และคำนี้ควรปรากฏอยู่ในหน้าสารบัญก่อนรายการที่มีเลขหน้าหน้าพับนี้ผนึกหน้าเข้าหาหน้าซ้ายเสมอ
แผ่นหน้าพับที่มีลักษณะยุ่งยากซับซ้อน คือ เป็นแผ่นหน้าพับที่บรรจุเนื้อหาทั้ง 2 ด้าน(ด้านหน้า-หลัง) ไม่ต้องใส่คำระบุตำแหน่งแห่งที่เพียงแต่ระบุลงไปในหน้าสารบัญว่า “หน้าต่อไป” เพราะอาจจะมีหน้าพับ 2 หรือมากกว่า 2 ต่อเนื่องกันไป ถ้าหน้าพับเป็นชุดผนึกติดอยู่ท้ายเล่มหนังสือ หรือบรรจุใส่ไว้ในซองกระเป๋าหลังเล่ม ต้องระบุลงในสารบัญด้วย โดยใช้คำว่า “ท้ายเล่ม” หรือ “ในซองกระเป๋า” คำ/ข้อความเหล่านี้ต้องอยู่หน้ารายการแรกของสารบัญ
ส่วนเสริม
ส่วนเสริม (หรือส่วนแทรก) นี้ แม้จะมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องหลัก แต่มักอยู่แยกเป็นอิสระ ส่วนใหญ่มักพิมพ์ด้วยกระดาษสี และใส่แทรกอยู่ตรงกลางสิ่งพิมพ์ที่เย็บลวดอก หรือใส่ในที่ที่เหมาะในสิ่งพิมพ์ที่ใช้วิธีเย็บเล่ม หรือใส่สันกาว
สำหรับสิ่งพิมพ์ที่ใช้วิธีเย็บลวดอก ส่วนแทรกนี้ไม่ต้องให้เลขหน้า และจำนวนหน้าต่อหนึ่งตอน ไม่ควรเกิน 16 หน้า ทั้งนี้ให้ระบุไว้ท้ายรายการของสารบัญ โดยเขียนว่า
‘ระหว่างหน้า…และ…’ และในสารบัญตอนท้าย อาจระบุว่า อยู่ระหว่างหน้า…ถึว…หน้า แต่ถ้ามีมากกว่า 16 หน้า ควรจัดไว้ที่ท้ายเล่ม ส่วนวิธีการเข้าเล่มควรเปลี่ยนให้เหมาะสม เนื่องจากเนื้อเรื่องไม่มีการคั่นจังหวะ รวมทั้งต้องให้เลขหน้าเรียงต่อจากเนื้อเรื่องด้วย ถ้าส่วนเสริมมีจำนวนหน้าไม่ถึง 16 หน้า อาจจะดูดีกว่าถ้าพิมพ์หน้าด้วยระดับสีอ่อนแก่ แทนที่จะพิมพ์ด้วยกระดาษสี เพราะระดับสีอ่อน –แก่ ช่วยให้ดูต่อเนื่องกับเนื้อเรื่องของส่วนเสริมได้เป็นอย่างดี
สิ่งพิมพ์ใบลอย
ส่วนเสริมที่อยู่ในเอกสารหรือสิ่งพิมพ์ใบลอย ต้องให้เลขหน้าแยกจากเลขหน้าเนื้อหาสิ่งพิมพ์นั้น โดยมีวิธีทำ คือ ให้เลขหน้าของส่วนเสริมกับเลขหน้าของเนื้อหาสิ่งพิมพ์ ดังนี้ 1.1, 1.2, 2.1, 2.2 ฯลฯ หรือใช้ตัวย่อของชื่อเรื่องตอนนั้นๆ กับเลขหน้า เช่น ประวัติ 1, ประวัติ 2, แทน ประวัติศาสตร์ไทย
เล่มที่
ถ้ามีเนื้อหามากเพียงพอ สิ่งพิมพ์เรื่องหนึ่งอาจแบ่งเป็น 2 เล่ม หรือมากกว่า 2 เล่มขึ้นไป การแบ่งเล่มต้องแบ่งตรงเนื้อหาที่เหมาะสมของเรื่อง หรืออาจแบ่งภาคผนวก หรือเนื้อหาที่เหมาะสมของเรื่อง หรืออาจแบ่งภาคผนวก หรือเนื้อหาเรื่องอื่นๆ ไว้เป็นอีกเล่มหนึ่งสำหรับจำหน่ายหรือแจกต่างหากได้
ถ้าเป็นกรณีแรกที่แยกออกเป็นเล่ม ให้ใส่เลขหน้าอย่างต่อเนื่องกันไปทุกเล่ม แต่การให้เลขหน้าหนังสือที่แยกพิมพ์เป็นเล่มๆ อาจให้เลขหน้าแยกออกต่างหาก ไม่ต่อเนื่องกันได้ ถ้าลักษณะเนื้อหามีความแตกต่างกัน หรือมีความสะดวกว่าในการทำดรรชนีแยกเล่มดังเช่นในหนังสือที่มีจำนวนหน้ามาก ในกรณีที่หนังสือมีจำนวนหลายเล่มดรรชนีอาจทำเป็นเล่มหนึ่งแยกต่างหากก็ได้ ในกรณีนี้เช่นนี้รายการอ้างอิงต้องให้ทั้งเลขหน้าหนังสือ และเลขประจำเล่มด้วย ในแต่ละเล่มที่จะให้เลขหน้าแยกออกจากกัน หน้าส่วนนำทั้งหมดจะใส่ไว้ในเล่มที่ 1 ส่วนเล่มลำดับต่อมาให้ใส่เฉพาะหน้าในส่วนนำที่สำคัญๆ เช่น หน้าชื่อเรื่องและหน้าหลัง รวมทั้งหน้าสารบัญ เป็นต้น ทุกเล่มต้องใส่หนังสืออ้างอิงของเล่มอื่น และระบุสารบัญของเล่มอื่นๆ ไว้ด้วย
สิ่งพิมพ์หรือหนังสือที่พิมพ์เป็นชุด อาจใส่เลขหน้าต่อเนื่องกันไปอีกทั้งแต่ละเล่มอาจมีเลขประจำเล่มไว้ด้วยก็ได้ โดยมากนิยมพิมพ์ดรรชนี แยกเป็นเล่มรายปี
หัวเรื่องกำกับหน้า
หัวเรื่องกำกับ เป็นเครื่องช่วยหาตำแหน่งให้แก่ผู้อ่านโดยเฉพาะ ช่วยได้มากในการค้นหาหนังสืออ้างอิง หรือในหนังสือที่มีความยุ่งยากสลับซับซ้อน หัวเรื่องกำกับหน้าไม่นิยมใส่ในสิ่งพิมพ์พร้อมถ่ายตำแหน่งที่อยู่ของหัวเรื่องกำกับหน้า จะอยู่ที่ส่วนบนของหน้าหนังสือแต่ละหน้า แยกออกจากตัวเนื้อเรื่อง โดยเว้นที่ว่างไว้ หรือมีเส้นขีดคั่นใช้ตัวพิมพ์เดียวกับเนื้อเรื่อง ใช้ได้ทั้งตัวตรงและตัวเอน แต่ขนาดควรให้เล็กกว่าที่ใช้เรียงเนื้อเรื่อง เพราะถ้าใช้ตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ หรือขนาดเดียวกับเนื้อเรื่อง ไม่ว่าจะใช้ตัวเอนหรือตัวตรง มองดูเน้นมากเกินไปแบบรุปการเรียงหัวเรื่องกำกับหน้า ต้องให้ดูแตกต่างจากหัวเรื่องในเนื้อเรื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสับสน เมื่อหัวเรื่องอยู่ใต้หัวเรื่องกำกับหน้า หัวเรื่องกำกับหน้าจะไม่ใส่ในหน้าเปิดบท หรือหน้าที่เริ่มบทใหม่ช่วงระหว่างหัวเรื่องกำกับหน้า และตัวเนื้อเรื่อง ไม่ควรห่างกันมากเกินไป โดยมากมักไม่กว้างไม่เกินช่วงว่างปกติในเนื้อเรื่อง ถ้าบรรทัดแรกของหน้าเป็นหัวเรื่องหลัก อาจเว้นที่ว่างเพิ่มจากปกติใต้หัวเรื่องกำกับหน้าได้
สิ่งพิมพ์ส่วนใหญ่นิยมจัดเรียงหัวเรื่องกำกับหน้าดังนี้_ ใส่ชื่อภาคหรือชื่อเรื่องที่หน้าซ้าย และใส่ชื่อบทหรือชื่อตอนที่หน้าขวา แต่ในหน้าส่วนนและหน้าในส่วนท้ายที่มีจำนวนมากกว่า 1 หน้า (ยกเว้นภาคผนวก) ใส่เฉพาะชื่อตอน
หัวเรื่องกำกับหน้า ไม่ควรมีตัวอักษรมากเกินไป จนบรรจุลงในหนึ่งบรรทัดไม่ได้ (ถ้าออกแบบเป็น 1 บรรทัด) ข้อความต้องสั้น ควรย่อชื่อบทดังกล่าวให้พอบรรจุลงในหนึ่งบรรทัดเพื่อใช้เป็นหัวเรื่องกำกับหน้า
หัวเรื่องกำกับน้าที่อยู่ด้านล่างของหน้า นิยมใช้ในวารสาร ประกอบด้วยชื่อวารสาร วัน เดือน ปี ที่พิมพ์วารสารฉบับนั้น จัดวางอยู่ในบรรทัดเดียวกับเลขหน้า คือ อยู่ห่างจากบรรทัดสุดท้ายของเนื้อเรื่องอย่างน้อยหนึ่งช่วงบรรทัด
อัญพจน์/การอ้างถ้อยคำ
ตามกฏโดยทั่วไป อัญพจน์/การอ้างถ้อยคำที่มีขนาดสั้น ให้ใส่ไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนอัญพจน์ที่เป็นถ้อยคำขนาดยาว (มากกว่า 30 คำ) ใส่แยกออกจากส่วนเนื้อเรื่อง
อัญพจน์/การอ้างถ้อยคำ ที่อยู่ภายในเนื้อเรื่อง ให้ใช้เครื่องหมายอัญประกาศ (คู่) กำกับส่วนอัญพจน์หรือการอ้างถ้อยคำที่อยู่ภายในอัญพจน์อีกที่หนึ่ง ให้ใช้เครื่องหมายอัญประกาศเดี่ยวกำกับการวางตำแหน่ง อัญพจน์/การอ้างถ้อยคำที่เป็นข้อความแยกจากเนื้อเรื่อง หรือที่เรียกว่า “อัญพจน์บล็อก” ให้เรียงด้วยตัวพิมพ์ขนาดเล็กกว่าที่ใช้ย่อหน้าปกติในเนื้อเรื่อง บรรทัดแรกของอัญพจน์ไม่ต้องย่อหน้าเข้าไปอีก แม้ว่าในข้อความตอนท้ายๆ จะมีการย่อหน้าใหม่ ซึ่งจะต้องย่อหน้าเข้าไป
โดยทั่วไป ข้อความอัญพจน์ที่ยกอ้าง ต้องทำให้เหมือนและถูกต้องตามต้นฉบับเดิม แม้ว่าต้นฉบับเดิมจะมีข้อผิดพลาดก็ตามทั้งนี้บรรณาธิการต้องชี้แจงข้อผิดพลาดนี้ โดยใส่ข้อคิดเห็นของตนแทรกไว้ในวงเล็บนั้นด้วย แต่ให้เขียนบันทึกสั้นๆ แจ้งไว้ในปรู๊ฟ ในหนังสือที่ลักษณะการเขียนรูปแบบเดิมของอัญพจน์ ไม่ใช่สิ่งสำคัญและไม่จำเป็น หรือ อัญพจน์นำมาจากหลายแหล่งด้วยกัน เช่น การเปลี่ยนตัวสะกด การปรับเปลี่ยนใช้ตัวพิมพ์ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้หนังสือมีระบบเดียวกันตลอดทั้งเล่ม
ตาราง
ตาราง คือ การจัดพิมพ์ข้อมูลทางสถิติ หรือข้อมูลทางสารสนเทศอื่น ให้อยู่ในรูปของคอลัมน์และแถวอย่างเป็นระบบ ตารางนิยมนำมาใช้ เมื่อต้องการเสนอข้อมูลที่ยุ่งยากซับซ้อนในเนื้อเรื่อง ซึ่งถ้าการใช้การบรรยาย จะทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้อ่าน
ตารางควรจัดทำอย่างชัดเจน และใช้รูปแบบอย่างง่ายเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าตารางบางชนิดอาจมีความยุ่งยากซับซ้อน แต่ต้องทำให้ชัดเจน โดยจัดข้อมูลลงเป็นคอลัมน์และเป็นแนว ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีที่สุด หัวเรื่องของคอลัมน์ ต้องมีความเหมาะสม และจำนวนตัวเลขต้องใช้วิธีการนับอย่างเป็นระบบ
ตารางที่ต้องนำมาเรียงพิมพ์ อาจพิมพ์ลงในบริเวณที่เนื้อเรื่องกล่าวถึงอย่างถูกต้องก็ได้ ถ้าหากจำนวนตารางมีไม่มากนัก แต่ผู้เรียงพิมพ์จะทำงานได้สะดวกมากกว่ามาก ถ้าดึงต้นฉบับตารางออกจากร่างต้นฉบับเสียก่อน และจัดส่งไปเรียงเป็นตันฉบับแยกออกเป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ถ้าทำได้อย่างนี้ผู้เรียงพิมพ์จะทำงานได้สะดวกและง่ายเข้า โดยเฉพาะถ้าจะคีย์ตารางเข้าไปในเนื้อเรื่องภายหลังได้ง่ายกว่ามาก
ต้นฉบับตารางที่ส่งเรียงพิมพ์ ไม่ควรจัดทำหรือมีการแก้ไขตัวเลขและคำ/ข้อความในตารางผิดพลาดได้
ตารางจะต้องใส่เลขลำดับไว้ เพราะเมื่อเวลาคีย์เข้าไปในเนื้อเรื่องที่อ้างถึงกัน หากผู้เขียนจะแก้ใขเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่ใส่ในการจัดหน้าจะได้อ้างถึงกันได้สะดวก หากใช้คำว่า “ตารางข้างบน” และ “ตารางข้างล่าง” อาจเกิดความเข้าใจผิดได้ และต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นในการแก้ไข
ขนาดตัวพิมพ์
ตัวพิมพ์ในตาราง ต้องมีลักษณะเดียวกันตลอดทั้งเล่ม มีความนิยมปฏิบัติกัน คือ ถ้าตัวพิมพ์ในตารางมีขนาดเล็กกว่าขนาดตัวพิมพ์เนื้อเรื่องที่ใช้ ประมาณ 2 พอยต์ แต่ถ้าพื้นที่พิมพ์ในหน้าไม่พอเพียงขนาดตัวพิมพ์ก็ต้องลดลงไปอีก แต่ไม่ควรต่ำกว่า 6 หรือ 7 พอยต์ หัวเรื่องตาราง ต้องใช้แบบและขนาดตัวพิมพ์เดียวกันตลอดทั้งเล่ม แต่โดยทั่วไปแล้ว ควรใช้ขนาดใหญ่กว่าตัวพิมพ์ในตาราง หัวคอลัมน์/หัวแนวตั้ง ใช้ขนาดเดียวกับตัวพิมพ์ในตาราง แต่อาจลดขนาดลงได้ ถ้าข้อความมีความยาวหรือดูเบียดเสียดกันมาก ทั้งนี้หากมีการเปลี่ยนขนาดตัวพิมพ์ในตารางบางแห่งต้องแจ้งให้ช่างเรียงรู้ด้วย
การจัดข้อมูลลงตาราง
ขนาดความกว้างของตาราง ต้องเหมาะสมกับธรรมชาติเนื้อหาไม่ขยายให้กว้างเพื่อบรรจุข้อความให้จบ ซึ่งจะทำให้คอลัมน์กว้างมากหรือตัวแนวนำกว้างเกินไป ถ้าตารางมีขนาดไม่ถึงหน้า ให้จัดตารางอยู่กลางพื้นที่พิมพ์ โดยปรับเลย์เอาต์ให้ได้สมส่วนกัน ในกรณีนี้เส้นแนวราบต้องยาวไม่เกินเส้นตารางปกติ
หัวคอลัมน์/หัวแนวตั้งอาจวางตรงกึ่งกลาง เป็นแถวไปทางซ้ายหรือไปทางขวาก็ได้ แต่บางทีหัวคอลัมน์อาจวางในแนวตั้ง (อ่านจากล่าง → บน) ก็ได้ โดยมากตารางมักวางไปตามแนวความยาวเดียวกันกับเนื้อเรื่องแต่ก็มีบ้างที่มีขนาดใหญ่ จนวางไม่หมดในหน้าเดียวกัน (จากด้านล่าง→บน) หรือต้องพิมพ์หลายหน้า เช่นนี้แล้วหัวคอลัมน์ให้พิมพ์เฉพาะในหน้าซ้ายมือเท่านั้น
ในบางกรณีที่ตารางมีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องใช้หน้าคู่พิมพ์ มีสิ่งที่ต้องระวัง คือ ต้องเว้นที่ว่างระหว่างคอลัมน์ที่อยู่ตรงกลางสันหนังสือให้พอเหมาะ ผู้พิมพ์และผู้เข้าเล่มต้องทำให้แนวบรรทัดข้ามหน้าตรงกันทั้ง 2 หน้า แต่ก็ควรใส่เลขบรรทัดคอลัมน์ทางด้านซ้ายสุดและด้านขวาสุดไว้ด้วย (ถ้ามีเนื้อที่พอ) เพื่อช่วยให้หน้าอ่านตารางไม่ให้ผิดพลาดได้
โดยเฉพาะในกรณีที่แนวบรรทัดของหน้าคู่ ทั้งหน้าซ้ายและหน้าขวา ไม่อยู่ในแนวเดียวกันหลังจากการเข้าเล่มแล้ว หรืออาจใช้วิธีปรับการจัดบรรทัดตารางในหน้าคู่ทั้งสองด้าน อยู่ในแนวเดียวกันพอดี การพิมพ์ตารางด้วยวิธีดังกล่าวนี้ เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย ได้ดีกว่าวิธีพิมพ์ตารางออกเป็นอีกแผ่นหนี่งต่างหากแล้วพับและผนึกไว้ในเล่ม
การจัดวางตาราง
ตารางที่แบ่งออกเป็น 2 หรือ 3 มักสร้างปัญหาในการจัดวางมาก ถ้าความกว้างของคอลัมน์ไม่ลงตัวพอดีกับหน้า อีกทั้งตำแหน่งที่วางตารางก็ไม่ควรแบ่งแยกเนื้อเรื่องออกเป็น2 ส่วนจากกันเพราะจะทำให้เนื้อเรื่องไม่ลื่นไหลต่อเนื่องกันไป รวมทั้งยังทำให้ผู้อ่านเกิดความสับสนอีกด้วย วิธีที่ดีควรวางไว้ด้านบนหรือด้านล่างของหน้า
เส้นและการเว้นที่ว่าง
ใช้เส้นบางแนวราบสำหรับแบ่งแยกหัวคอลัมน์ออกจากส่วนที่เป็นเนื้อหาในตาราง และใช้เส้นหนาที่ด้านบนและด้านล่างของตารางเพื่อให้ตัวตารางเด่นชัดขึ้น
ในตัวตารางอาจใช้เส้นแนวราบลากผ่านได้ แต่ถ้ามากเกินไปทำให้ดูยากและอ่านยากด้วย มีวิธีแก้ไขคือ ใช้ที่ว่างเข้ามาแทน โดยเฉพาะในตารางสถิติที่มีตัวเลขแน่นมาก หากเว้นที่ว่างเป็นช่วงๆ ซึ่งใช้การเว้นที่ว่าง แทนที่จะใช้เส้นแนวราบกั้นรายการแต่ละรายการ
คอลัมน์เรียงจากล่างขึ้นบน มองดูขัดตา ผิดธรรมชาติของการอ่านและอ่านได้ยาก (การอ่านตารางนิยมอ่านตามแนวราบหรือแนวตั้ง) ดังนั้น จึงไม่ควรใช้คอลัมน์ที่อยู่ชิดแน่นเป็นกระจุกมากเกินไป
ในตารางที่มีคอลัมน์บรรจุเนื้อหาข้อความบรรยาย ต้องกะพื้นที่คอลัมน์ให้เพียงพอและเหมาะสม เพื่อไม่ให้ข้อความเบียดชิดกันมาก หรือมีที่ว่างเหลือมากเกินไป รวมทั้งการจัดคอลัมน์ที่แคบ มักก่อให้เกิดปัญหาการเรียงคำแยกบรรทัด ซึ่งควรหลีกเลี่ยงไม่พึงให้เกิดขึ้น ช่องไฟและวรรคคำของตัวเรียงพิมพ์ต้องมีความสม่ำเสมอ ให้การปรับไม่เต็มแนวเรียงจากซ้ายไปขวา ที่ว่างด้านบนและด้านล่างตาราง ต้องเว้นให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่เกี่ยวข้อง และต้องเว้นที่พอเหมาะระหว่างตารางที่เรียงติดต่อกันไปในหน้าที่มีแต่ตาราง ต้องเว้นที่ระหว่างตารางให้เท่าและเสมอกัน และหากจำเป็น ให้ปล่อยที่ว่างในหน้าที่เหลือไว้ ดีกว่าจะไปปรับเปลี่ยนช่วงบรรทัดระหว่างตารางเพื่อดึงตารางให้บรรจุเต็มหน้า ตารางที่อยู่ในหน้าเดียวกันเช่นนี้ ต้องปรับแนวบรรทัดชื่อหัวเรื่องให้ตรงกัน
เชิงอรรถตาราง
เชิงอรรถตาราง ต้องเรียงต่อให้ตารางที่เกี่ยวข้องทันที และถ้าหากในหน้านั้นมีเครื่องหมายกำกับเชิงอรรถหน้า หรือเชิงอรรถท้ายบท ซึ่งอาจเป็นตัวเลข หรือเครื่องหมายสัญลักษณ์การพิมพ์ ให้ใช้ตัวอักษร (ก) (ข) (ค) ฯลฯ เป็นเครื่องหมายกำกับเชิงอรรถตารางเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนซึ่งกันและกัน ถ้าเชิงอรรถตารางมีข้อความเล็กน้อย ให้ใช้ตัวพิมพ์ขนาดเดียวกับข้อความในตารางนั้น แต่ถ้ามีข้อความมาก ควรใช้ขนาดเล็กกว่า 1 หรือ2 พอยต์ และเพื่อให้อ่านสะดวก ควรจะเรียงข้อความเชิงอรรถตารางออกเป็นคอลัมน์สัก 2 หรือ 3 คอลัมน์ จะทำให้อ่านได้สะดวกขึ้น
คณิตศาสตร์
ในการเรียงข้อความด้านคณิตศาสตร์หรือนิพจน์ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องชัดเจนและไม่คลุมเครือ โดยเฉพาะความรู้พื้นฐานในด้านกรใช้แบบตัวพิมพ์ที่ถูกต้อง และตำแหน่งที่ว่างต้องแม่นยำ รวมทั้งการเว้นช่องไฟ ระหว่างตัวพิมพ์นั้นๆ ด้วย ถ้าขาดความระมัดระวังรอบคอบ ความหมายของนิพจน์อาจเปลี่ยนไป หรือคลาดเคลื่อนผิดไปเลยก็ได้ เมื่อต้องเรียงอักษรกรีก นิยมใช้ตัวอักษรแนวตั้ง ในบางกรณีสัญกรณ์คณิตศาสตร์และสัญกรณ์ในวิชาอื่นๆ อาจต้องใช้สัญลักษณ์พิเศษซึ่งต้องใช้กับตัวอักษรที่เน้น โดยมากมักใช้เครื่องหมายยัติภังคื - และมหัพภาค . วางอยู่ด้านบนตัวอักษร
ช่องไฟ/วรรค
การเว้นช่องไฟระหว่างตัวอักษรและคำ มีความสำคัญมาก จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในการจัดเรียง เพื่อให้ดูสวยงามและความหมายถูกต้องตามต้นฉบับ ในบางครั้งมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนสัญกรณ์ เพื่อให้การจัดนิพจน์ดูดี หรือดูง่ายขึ้น แต่ทั้งนี้ความหมายยังเหมือนเดิม
วงเล็บ
ลำดับการใส่วงเล็บในคณิตศาสตร์ นิยมใช้รูปแบบ : {[( )]} แต่ก็ไม่ใช้กฏเกณฑ์บังคับตายตัว เป็นเพียงรูปแบบการใช้เท่านั้น การใส่วงเล็บบางอย่างเข้ามาจะทำให้ความหมายแตกต่างกันออกไป
การปรับแนวบรรทัด
ในพจน์แต่ละพจน์ของนิพจน์ หรือสมการแต่ละข้าง ซึ่งมีทั้งเครื่องหมายบวก หรือลบ หรือเครื่องหมายขีดแสดงเศษส่วนในแนวนอนด้วยเพื่อให้ลำดับสมการทั้งหมดจัดเรียงอยู่ตรงกลางพอดี
การวางกึ่งกลาง
การวางนิพจน์ นิยมวางไว้ตรงกึ่งกลางบรรทัดของหน้า ส่วนสมการที่มีลำดับติดต่อกัน ควรจะปรับแนวบรรทัดไปตามแนวตั้ง (ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้) โดยใช้เครื่องหมายเท่ากับ = เป็นจุดกึ่งกลางเพื่อให้ลำดับสมการทั้งหมดเรียงอยู่ตรงกลางพอดี
เชิงอรรถ
ตัวเรียงพิมพ์เชิงอรรถ ต้องใช้ตัวพิมพ์เล็กกว่าขนาดที่ใช้เรียงเนื้อเรื่อง นิยมใช้ขนาด 8-12 พอยต์ ซึ่งอาจใช้ขนาดแตกต่างกัน ไปตามขนาดตัวพิมพ์เนื้อเรื่อง เช่น ถ้าใช้ตัวเรียงเนื้อเรื่องขนาด 16 พอยต์ ควรใช้ตัวเรียงเชิงอรรถประมาณ 10 หรือ 12 พอยต์ เป็นต้น
ในงานหนังสือที่จัดหน้าคอลัมน์เดียว เชิงอรรถมักจัดเรียงยาวเต็มบรรทัดโดยให้บรรทัดแรกของเชิงอรรถแต่ละชิ้นย่อหน้า แต่ถ้าข้อความเชิงอรรถยาวและแนวบรรทัดกว้างด้วยเชิงอรรถจะอ่านได้ง่ายกว่า ถ้าแบ่งการเรียงออกเป็น 2 คอลัมน์ แต่ถ้าเชิงอรรถมีข้อความสั้นและมีหลายเชิงอรรถในหน้าเดียวกัน เช่น หนังสืออ้างอิงแบบย่อ เพื่อให้การจัดหน้าดูดีและประหยัดพื้นที่พิมพ์ อาจเรียงเชิงอรรถมากกว่าหนึ่งได้ในบรรทัดเดียวกัน โดยเว้นวรรคประมาณแทรก 3 ในระหว่างเชิงอรรถแต่ละชิ้น ในหนังสือที่จัดหน้าเป็น 2 หรือ 3คอลัมน์ เชิงอรรถควรจัดเป็นกลุ่มเข้าด้วยกัน เรียงไว้ที่ด้านล่างของคอลัมน์ท้ายสุดของแต่ละหน้า วิธีนี้จะแก้ปัญหากรณีเชิงอรรถหนังสืออ้างอิง ซึ่งไม่สามารถจัดให้อยู่ในคอลัมน์ที่อ้างถึงได้
การใช้เครื่องหมายอ้างอิงกำกับเชิงอรรถและเชิงอรรถท้ายบทมีกลายระบบ เมื่อใช้ระบบใด ให้ใช้ระบบนั้นตลอดทั้งเล่ม ยกเว้นเครื่องหมายอ้างอิงที่กำกับ เชิงอรรถตารางซึ่งต้องใช้วงเล็บปิดกั้น
วิธีการทำเชิงอรรถให้แยกออกจากเนื้อเรื่อง ทำได้ง่ายที่สุด คือ การใช้ที่ว่าง เว้นใต้เนื้อเรื่องไม่น้อยกว่า 1 ช่วงบรรทัด พร้อมกับใช้เส้นบางขีดกั้นเต็มบรรทัด หรือประมาณ 3ไพคา ขีดไปทางซ้ายกั้นระหว่างเนื้อเรื่องกับข้อความในเชิงอรรถ จะทำให้การแบ่งแยกนี้ดูชัดเจนดีขึ้น
เชิงอรรถของข้อความเนื้อหาอ้างอิงใด ควรเริ่มต้นในหน้านั้น และถ้าเป็นได้ ควรให้จบอยู่ภายในหน้านั้นด้วย แต่ในบางครั้งตำแหน่งที่ใส่เชิงอรรถนี้ อาจตกไปก็ได้ในระหว่างการจัดหน้าสมบูรณ์ซึ่งก็จะทำตามกฎนี้ไม่ได้ ในกรณีที่ข้อความในเชิงอรรถมีความยาวมากจนไม่ต้องใส่ในท้ายหน้านั้นไม่พอ ต้องนำมาเรียงต่อในท้ายหน้าต่อไป โดยไม่ต้องใส่ลำดับเลขประจำเชิงอรรถนั้น หรือข้อความว่า “ต่อหน้า…” ถ้าเชิงอรรถต้องอยู่ที่ท้ายบท ซึ่งมีข้อความเนื้อหาในหน้าไม่มากนักหรือจะด้วยเหตุใดก็ตาม ที่ทำให้มีหน้ากระดาษเหลือ เชิงอรรถก็ต้องวางอยู่ที่ด้านล่างของหน้าเช่นเดิม ไม่วางไว้ใต้บรรทัดท้ายสุดของเนื้อเรื่อง
เชิงอรรถท้ายบท/เรื่อง
เชิงอรรถท้ายบทหรือท้ายเรื่อง คือ การอ้างอิงและเชิงอรรถอื่นๆ ที่จัดวางไว้ท้ายหนังสือ หรือท้ายบท หรือท้ายภาค หรือท้ายตอน เชิงอรรถท้ายบทใช้รูปแบบการเรียงพิมพ์ เช่นเดียวกับเชิงอรรถเนื้อเรื่องที่อยู่ท้ายหน้า (เชิงอรรถท้ายหน้า) กล่าวคือ ขนาดตัวพิมพ์มักใช้ขนาดเล็กกว่าตัวเรียงเนื้อเรื่อง แต่ไม่เล็กถึงขนาดตัวที่ใช้เรียงเชิงอรรถท้ายหน้าก็ได้
การจัดวางเชิงอรรถท้ายบทหรือท้ายเรื่อง ถ้าจัดวางไว้ที่ท้ายบทให้เรียงต่อจากเนื้อเรื่องไปโดยไม่ต้องขึ้นหน้าใหม่ แต่ถ้าอยู่ท้ายเล่มให้ขึ้นหน้าใหม่ และต้องจัดกลุ่มอยู่ใต้หัวเรื่องประจำบทที่อ้างถึง ถ้าหนังสือมีหัวเรื่องกำกับหน้า ควรจะบอกบทที่มีการอ้างไว้ในหัวเรื่องด้วย
คำบรรยายภาพ
คำบรรยายภาพ นิยมใช้ตัวเรียงพิมพ์เดียวกับตัวเรียงเนื้อเรื่องแต่มีขนาดเล็กกว่า โดยมากมักใช้ตัวเอนบางหรือตัวหนา แต่ถ้าเป็นชื่อเฉพาะ ซึ่งปกติจะใช้ตัวเอนอยู่แล้ว เช่น ชื่อทางพฤกษศาสตร์ ให้ใช้แบบตัวพิมพ์อื่นสำหรับคำบรรยายภาพ เช่น ตัวอย่างหรือในกรณีที่ถ้ามีข้อความจำนวนมากอยู่ในแผนภาพ จะดีกว่าใช้ตัวเรียงเช่นเดียวกับเนื้อเรื่อง คำบรรยายภาพต้องเรียงให้อยู่ในตำแหน่ง
พิมพ์ลักษณ์
สิ่งพิมพ์ทุกชนิด ตามกฏหมายต้องใส่ข้อความที่บ่งชี้แหล่งที่จัดพิมพ์- - - สำนักพิมพ์และผู้พิมพ์/โรงพิมพ์ ข้อความที่บ่งชี้ หรือพิมพ์ลักษณ์สำหรับพิมพ์และหนังสือที่มีคุณภาพดี จะประกอบด้วย ชื่อสำนักพิมพ์ สถานที่ตั้ง และปีที่พิมพ์ ทั้งหมดนี้จะอยู่ตอนท้ายของหน้าชื่อเรื่อง ส่วนพิมพ์ลักษณ์ของผู้พิมพ์/โรงพิมพ์ซึ่งประกอบด้วยชื่อและสถานที่ตั้งของโรงพิมพ์ จะอยู่ที่ด้านหลังของหน้าชื่อเรื่อง
โดยทั่วไป นิยมใส่ชื่อและสถานที่ตั้งของผู้เรียงพิมพ์ไว้เหนือพิมพ์ลักษณ์ของโรงพิมพ์/ผู้พิมพ์ไว้ด้วย ในกรณีที่โรงพิมพ์/ผู้พิมพ์ไม่ได้เป็นผู้เรียงพิมพ์เอง ในกรณีที่สิ่งพิมพ์ไม่มีหน้าชื่อเรื่อง พิมพ์ลักษณ์ของสำนักพิมพ์และโรงพิมพ์ควรรวมเข้าด้วยกัน และจัดไว้ในบริเวณที่เหมาะสม ซึ่งมีพื้นที่พอ โดยมากไว้ที่หน้าสุดท้าย ในนิตยสารพิมพ์ลักษณ์ของสำนักพิมพ์อาจจัดไว้ในหน้าชื่อเรื่อง หรือหน้าสารบัญก็ได้ ส่วนพิมพ์ลักษณ์ของผู้พิมพ์/โรงพิมพ์ อาจจะไว้ด้วยกัน หรือนำไปไว้ที่ท้ายเรื่องก็ได้
12. ส่วนต่างๆ ของหนังสือ
ในการผลิตหนังสือ ยังไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนตายตัวว่า หนังสือควรประกอบด้วยส่วนต่างๆ ใดบ้าง และการจัดลำดับหน้าทำอย่างไร คงมีแต่การปฏิบัติของสำนักพิมพ์ แต่เท่าที่ปฏิบัติกันมา สำนักพิมพ์ส่วนใหญ่แบ่งส่วนต่างๆ ของหนังสือ ออกเป็น 3 ส่วน คือ 1)ส่วนต้นเล่ม หรือส่วนนำ 2) ส่วนเนื้อเรื่อง 3) ส่วนท้าย แต่ในบางแห่งอาจแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนนำและส่วนท้าย
การจัดลำดับหน้าในหนังสือส่วนใหญ่ นิยมเริ่มจาก ส่วนนำ ตามด้วยเนื้อเรื่อง และจบด้วยส่วนท้าย ใน “ส่วนนำ” ซึ่งให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับผู้ซื้อ บรรณารักษ์ นักวิจัย และผู้ใช้ทั่วไป ประกอบด้วย ปกใน ด้านหลังปกใน สารบัญ สารบัญภาพ และข้อมูลอื่นๆ ที่ช่วยให้เข้าใจจุดมุ่งหมายและเนื้อหาของหนังสือเล่มนั้น ซึ่งได้แก่ คำปรารภ/คำนิยม และคำนำ คำอธิบายคำย่อและอื่นๆ สำหรับ “ส่วนท้าย” ประกอบด้วย ภาคผนวก อภิธานศัพท์ บรรณานุกรม ดรรชนี และส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องแต่ไม่เหมาะที่จะใส่ในเนื้อเรื่อง (เพราะหน้าไม่พอหรือมีความสำคัญน้อยกว่า)
ลำดับการจัดหน้าหนังสือ
การจัดเรียงลำดับหน้าหนังสือที่สำนักพิมพ์นิยมจัดปฏิบัติมีดังนี้
- หน้าชื่อเรื่องเสริม
- หน้ารูปภาพหรือรายชื่อหนังสืออื่นๆ ที่แต่งโดยผู้เขียนคนเดียวกัน(อาจอยู่ด้านหลังของหน้าชื่อเรื่องเสริมก็ได้)
- หน้าปกใน/หน้าชื่อเรื่อง
- หน้าหลังปกใน (ข้อมูลเกี่ยวกับบรรณานุกรม ลิขสิทธิ์ เลขประจำหนังสือสากล/วารสารสากล - ISBN - ISSN พิมพ์ลักษณ์หรือข้อมูลผู้จัดพิมพ์/สำนักพิมพ์)
- คำปรารภ/คำนิยม
- สารบาญ
- รายการ/บัญชีภาพประกอบ (รูปภาพ ตาราง แผนภูมิ แผนที่ ฯลฯ)
- คำนำ
- บทนำ
- เนื้อหา
- ภาคผนวก
- อภิธานศัพท์
- บรรณานุกรม
- ดรรชนี
ลำดับการจักหน้าเอกสารสิ่งพิมพ์ราชการ
การจัดลำดับหน้าเอกสารสิ่งพิมพ์และรายงานของราชการ นิยมจัดดังนี้
- หน้าปกใน
- หน้าหลังปกใน(ข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ ISBN/ISSN พิมพ่ลักษณ์ของสำนักพิมพ์)
- หนังสือนำ
- ขอบเขต
- สารบัญ
- สรุปข้อเสนอแนะโดยย่อ
- บทนำเรื่อง
- เนื้อหาของรายงาน
- ข้อสรุปและข้อเสนอแนะอย่างละเอียด
- ภาคผนวก
- หนังสืออ้างอิง
- อภิธารศัพท์
- บรรณานุกรม
- ดรรชนี
หน้าเหล่านี้ ไม่จำเป็นต้องมีให้ครบทุกหน้าในสิ่งพิมพ์แต่ละเล่มบางเล่มอาจตัดออกไป หรืออาจเพิ่มเติมบางรายการขึ้นมาอีกก็ได้ ข้อความที่ปรากฏอยู่ในหน้าแต่ละหน้าดังกล่าวนี้ ล้วนมีความมุ่งหมายเฉพาะไม่เหมือนกันทุกหน้า จึงต้องการใช้ตัวพิมพ์และขนาดตลอดจนการเรียงพิมพ์แตกต่างกันไป
ปก
ปกอ่อน
ปกต้องมีความแข็งแรงยืดหยุ่นเพียงพอ เพื่อปกป้องหน้าหนังสือภายในเบ่มและต้องดึงดูดความสนใจของผู้อ่านด้วยที่ “หน้าปก” มีชื่อหนังสือที่สั้นกะทัดรัด บ่งบอกโดยตรงถึงเนื้อหาของหนังสืออีกทั้งมีชื่อผู้แต่ง หรือบรรณาธิการ (หากมีความสำคัญ) ครั้งที่พิมพ์และสำนักพิมพ์ด้วย ส่วน “ปกหลัง” ด้านนอกอาจปล่อยว่างหรือมีข้อความสรุปขนาดสั้นเกี่ยวกับหนังสือนั้น หรือข้อความตัดตอนจาอข้อวิจารณ์หรือข้อมูลเกี่ยวกับผู้เขียนบางทีอาจมีราคาจำหน่ายเลขประจำหนังสือสากลและวารสารสากล และตรา/เครื่องหมายสำนักพิมพ์ไว้ด้วย
ปกแข็ง
หนังสือปกแข็งจะมีสันซึ่งตอนบนจะใส่ชื่อเรื่อง แต่ถ้ามีเนื้อที่พอเหมาะสมอาจใส่ชื่อผู้แต่งไว้ด้วย ส่วนชื่อสำนักพิมพ์ หรือตรา/เครื่องหมายของสำนักพิมพ์ ใส่ไว้ที่ด้านล่างของสันหนังสือ หนังสือปกแข็งมักมีใบหุ้มปกอีกชั้นหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องตกแต่งหรือมีข้อมูลมากนักที่สันหนังสือ แต่ถ้าเป็นสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือเรียนหรือคู่มือการเรียนการสอน ที่เน้นการประหยัด ใบหุ้มปกก็ไม่เป็นสิ่งจำเป็นนัก ดังนั้นจึงต้องมีการออกแบบบนปกเผื่อไว้ด้วย
ใบหุ้มปก
ใบหุ้มปกมีประโยชน์ 2 ประการ คือ เพื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์หนังสือ และหุ้มห่อปกป้องปกหนังสือ (ปกแข็ง) มิให้เสียหาย ข้อความใบหุ้มปกทั้งส่วนหน้าและส่วนหลัง ซึ่งเรียกกันว่า “ส่วนแนะนำในใบหุ้มปก” ส่วนใหญ่แล้วประกอบด้วย ข้อความเกี่ยวกับความมุ่งหมายของหนังสือ ผู้แต่ง ราคาจำหน่าย ข้อความเหล่านี้มักพิมพ์ไว้ด้านล่างของใบหุ้มปกส่วนหน้า และส่วนหลังใส่ ISBN ที่ด้านล่าง โดยอาจมีบาร์โคด บางครั้งอาจใส่รายชื่อหนังสืออื่นของสำนักพิมพ์ที่มีเนื้อหาทำนองเดียวกัน หรืออาจใส่ข้อวิจารณ์ของนานาบุคคลที่เกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ไว้ด้วย
สันหนังสือ
สันหนังสือด้านบนใส่ชื่อเรื่อง และชื่อผู้แต่ง หรือผู้อุปถัมภ์ส่วนชื่อสำนักพิมพ์หรือตรา/เครื่องหมายใส่ไว้ด้านล่างของสันหนังสือ
ส่วนนำของหนังสือ
หน้าชื่อเรื่องเสริม
หน้าชื่อเรื่องเสริมนี้ บางแห่งถือเป็นหน้าแรกของหนังสือเพราะมีหน้าที่ปกป้องหน้าชื่อเรื่อง/หน้าปกใน และหน้ารูปภาพ (หน้าซ้ายมือที่ตรงข้ามหน้าชื่อเรื่อง) ในหน้าชื่อเรื่องเสริมนี้มีเพียงชื่อเรื่อง(หลัก) ของหนังสือเท่านั้น ไม่ใส่ชื่อเรื่องรอง เข้าไปด้วย(ถ้ามี) ชื่อเรื่องที่ใส่ในหน้านี้ ต้องเหมือนกันกับที่ใส่ในหน้าชื่อเรื่อง การใช้ชนิดและขนาดตัวพิมพ์ ในหน้านี้ ไม่ควรใช้ลวดลายใด เพราะอยู่ใกล้กับหน้าชื่อเรื่องอยู่แล้ว ให้ใช้ตัวพิมพ์ขนาดและชุดเดียวกับที่ใช้เรียงในเนื้อเรื่อง
หน้าหลังของหน้าชื่อเรื่องเสริม
หน้าหลังของหน้าชื่อเรื่องเสริม ซึ่งเรียกว่า “หน้ารูปภาพ” อาจพิมพ์รูปภาพใส่ไว้ โดยพิมพ์ทั้งภาพและเนื้อหาข้อความไว้หน้าเดียวกัน หรืออาจพิมพ์ทั้งภาพและเนื้อหาข้อความไว้หน้าเดียวกัน หรืออาจพิมพ์แต่รูปภาพลำพังอย่างเดียวก็ได้ แต่ทั้งนี้หน้ารูปภาพต้องอยู่ตรงข้ามหน้าชื่อเรื่อง/หน้าปกใน
หน้ารูปภาพนี้ บางทีอาจใส่รายชื่อหนังสืออื่นที่แต่งโดยผู้เขียนคนเดียวกัน รายละเอียดชื่อชุด หรือรายชื่อบุคคล หรือหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือก็ได้ หนังสือบางเล่มออกแบบให้หน้าชื่อเรื่องคลี่ออกเป็นหน้ารูปภาพ ซึ่งอยู่ด้านหลังของหน้าชื่อเรื่องเสริม ชนิดและขนาดตัวพิมพ์ในหน้ารูปภาพนี้ ให้ใช้เช่นเดียวหรือเล็กกว่าที่ใช้ในเนื้อเรื่อง
หน้าชื่อเรื่อง/ปกใน
ข้อความในหน้าชื่อเรื่อง/หน้าปกใน ต้องประกอบด้วย ชื่อเรื่องที่ถูกต้องสมบูรณ์ของหนังสือ ชื่อผู้เขียน หรือชื่อผู้จัดทำ (หน่วยงาน/สถาบัน/องค์กร) และพิมพ์ลักษณ์ ของผู้จัดพิมพ์ซึ่งประกอบด้วยชื่อสำนักพิมพ์และสถานที่ตั้ง (จังหวัด) โดยอาจมีปีที่พิมพ์ด้วย ซึ่งต้องเป็นฉบับพิมพ์แก้ไขปรับปรุงครั้งล่าสุด แต่มิใช่ปีที่พิมพ์ซ้ำ ดังนั้น ข้อความที่สมบูรณ์ของหน้าชื่อเรื่อง/หน้าปกใน จึงประกอบด้วย ชื่อเรื่อง/ชื่อเรื่องรอง ถ้ามี ชื่อผู้แต่งหรือบรรณาธิการ (ถ้ามีความเหมาะสม) หรือชื่อหน่วยงานผู้จัดทำ (ถ้าเหมาะสม) หรือชื่อหน่วยงานผู้จัดทำ (ถ้าเหมาะสม) และพิมพ์ลักษณ์ของผู้จัดพิมพ์ ข้อความอื่นๆ ที่อาจใส่ไว้ด้วย ได้แก่ ผู้แปล ผู้วาดภาพประกอบ และตรา/เครื่องหมาย ของสำนักพิมพ์ เป็นต้น
การออกแบบหน้าชื่อเรื่อง จะแยกทำเป็นอิสระตามใจชอบไม่ได้โดยเฉพาะการเลือกชนิดและขนาดตัวพิมพ์ จะต้องสะท้อนลักษณะภาพรวมของหนังสือ กล่าวคือ ต้องมีลักษณะกลมกลืนกับหนังสือทั้งเล่ม ยิ่งข้อความที่ใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็ก เช่น พิมพ์ลักษณ์ของสำนักพิมพ์ด้วยแล้ว ชนิดและขนาดตัวพิมพ์ต้องใช้ชุดเดียวกับที่ใช้พิมพ์เนื้อในของหนังสือ (ชื่อเรื่องมักใช้ขนาดตัวพิมพ์ 2 ใน 3 ของชื่อเรื่องที่ปก)
การออกแบบตัวพิมพ์ ต้องได้สัดส่วนเหมาะสม ตัวพิมพ์อยู่กึ่งกลางตามความกว้างของหนังสือ บริเวณขอบว่างด้านใน ไม่ปล่อยว่างมากเกินไป ถ้าต้องการให้ขอบว่างด้านบน แตกต่างไปจากการจัดหน้าเนื้อเรื่อง ช่างศิลป์ผู้เลือกตัวพิมพ์ต้องกำหนดและแสดงให้ชัด การจัด-สั่งตัวพิมพ์ในหน้านี้ ไม่ต้องจัดสั่งจนสุดหน้าเหมือนในหน้าเนื้อเรื่อง
ข้อผิดพลาด 2 ประการ ที่มักพบเห็นบ่อยในการออกแบบหน้าชื่อเรื่อง คือ ใช้ตัวพิมพ์ชื่อเรื่องใหญ่เกินไป และการใช้แบบ ตัวพิมพ์หลากหลายเกินไป หน้าชื่อเรื่องควรออกแบบให้เรียบง่าย สะอาดตา ไม่รกรุงรัง การออกแบบที่ดีนั้น ควรเน้นการใช้พื้นที่ว่างสีขาวให้เป็นประโยชน์สูงสุด อีกทั้งควรหลีกเลี่ยงการประดิษฐ์ลวดลายเส้นใดๆ ลงไป เว้นแต่เป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก หน้าชื่อเรียงหนังสือเล่มที่มีเนื้อหาเป็นวิชาการ หรือมีเนื้อหามาก ไม่นิยมใส่ภาพวาดหรือการตกแต่งประกอบ และหากจะมีต้องใช้ความชำนาญในการออกแบบ
หน้าหลังของหน้าชื่อเรื่อง
หน้าหลังของหน้าชื่อเรื่อง ใส่ข้อความอื่นๆ อีกของสำนักพิมพ์ที่ไม่ได้ใส่ไว้ในหน้าชื่อเรื่อง ข้อความส่วนใหญ่ ได้แก่ ลิขสิทธิ์ จำนวนครั้งของฉบับพิมพ์-ครั้งที่พิมพ์ ฉบับพิมพ์ซ้ำ ข้อความเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ รวมทั้ง ISBN/ISSN และข้อมูลทางบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ พิมพ์ลักษณ์ของสำนักพิมพ์ ผู้ออกแบบ ผู้เรียงพิมพ์และพิมพนิเทศ ที่ให้รายละเอียดด้านแบบตัวพิมพ์และชุดตัวพิมพ์ พิมพนิเทศควรอยู่ก่อนพิมพ์ลักษณ์
ตัวพิมพ์ ข้อความต่างๆ ในหน้านี้ ให้ใช้ตัวพิมพ์แบบเดียวกับตัวเรียงเนื้อในเล่ม แต่ใช้ขนาดที่เล็กกว่าประมาณ 2-3 พอยต์ จัดวางให้กลมกลืนกับการออกแบบของหนังสือตลอดทั้งเล่ม และควรแบ่งออกเป็นกลุ่มๆ อย่างชัดเจน
คำปรารภ/คำนิยม
คำปรารภ/คำนิยมไม่ได้อยู่เป็นส่วนของเนื้อหา ทั้งนี้อาจเขียนโดยบุคคลอื่นที่มิใช่ผู้แต่งก็ได้ หรือข้อความที่เขียนอาจมิได้เกี่ยวข้องใดๆ กับเนื้อหาในหนังสือ แต่เป็นการอธิบายจุดมุ่งหมายและความต้องการของหนังสือเรื่องนั้น
ตัวพิมพ์ในหน้าคำปรารภ/คำนิยมนี้ ให้ใช้แบบตัวพิมพ์ เช่นเดียวกับตัวเรียงเนื้อใน ถ้ามีข้อความสั้นมากให้จัดเรียงข้อความให้แคบลงแต่ถือว่าเป็นการจัดที่ไม่ดี หากจัดให้แตกต่างจากการจัดเรียงเนื้อในไปส่วนชื่อผู้เขียนคำปรารภ/คำนิยม ให้ใส่ที่ด้านล่างข้อความให้เด่นชัดโดยอาจมีแต่ชื่อนามสกุล หรือมีลายเซ็นชื่อนำหน้าก่อนก็ได้ อีกทั้งอาจมีตำแหน่งวิชาการ หรือยศ หรือศักดิ์กำกับด้วยก็ได้
สารบาญ/สารบัญ
ส่วนบนสุดมีคำว่าสารบาญ/สารบัญ ส่วนด้านล่างเป็นรายการหัวข้อเรื่องที่สำคัญของหนังสือ หรือบทต่างๆ รวมทั้งสิ่งที่กล่าวไว้ก่อนหน้าสารบัญ (คำปรารภ บทนำ ฯลฯ) สารบัญนี้มีเพื่อแนะนำเนื้อหาหนังสือโดยทั่วไป ดังนั้นจึงไม่ควรบรรจุหัวข้อย่อยต่างๆ เอาไว้มากนัก แต่ถ้ามีความสำคัญ ให้ไว้ในดรรชนีที่ด้านหลังหนังสือหรือถ้าเป็นหัวเรื่องแสดงสาระสำคัญของเนื้อเรื่องก็ใส่ไว้ได้ โดยทั่วไป สารบัญประกอบด้วยรายการหัวเรื่องและเลขหน้า หนังสือที่ปรากฏหัวข้อนั้นๆ แต่ถ้าหนังสือนั้นมีเลขประจำย่อหน้าด้วย สารบัญหัวเรื่องอาจใช้เลขประจำย่อหน้าที่อ้างถึงก็ได้ ส่วนสารบัญตารางและสารบัญภาพประกอบนั้น อาจใช้ได้ทั้งเลขหน้าหรือเลขประจำย่อหน้าได้เช่นเดียวกัน
ถ้าหนังสือเป็นชุด คือ มีมากกว่าหนึ่งเล่มขึ้นไปในสารบัญแต่ละเล่ม ควรมีสารบัญเล่มอื่นๆ โดยย่อในชุดเดียวกันใส่ไว้ด้วย โดยใส่ต่อจากสารบัญ ของเล่มนั้น หรืออาจใส่รายชื่อเรื่องตลอดทั้งชุดไว้ในหน้าตรงข้ามกับหน้าชื่อเรื่องก็ได้
ตัวพิมพ์ ถ้าหัวเรื่องในสารบัญเป็นข้อความสั้นๆ อาจจัดหน้าให้แคบกว่าการจัดเนื้อเรื่อง เพื่อให้ระยะระหว่างหัวเรื่องกับเลขหน้าอยู่ไม่ไกลกันมากนัก และเพื่ออำนวยความสะดวกในการอ่าน อาจทำเครื่องหมายนำสายตา หรืออาจใส่เลขหน้าไว้ติดกับหัวเรื่องเลยก็ได้ โดยไม่ต้องปรับให้แนวตรงกัน หากสารบัญมีรายการหัวเรื่องจำนวนมาก อาจใช้ตัวพิมพ์ขนาดเล็กกว่าที่ใช้ในเนื้อเรื่องหรือ อาจจัดแบ่งออกเป็น 2 คอลัมน์ก็ได้
สารบัญภาพและอื่นๆ
บัญชีและรายการภาพ และสิ่งประกอบอื่นๆ ในหนังสือ เช่น แผนที่ แผนภาพ ตาราง ฯลฯ จะจัดแยกเป็นสารบัญต่างหากอยู่ในส่วนนำของหนังสือหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับจำนวนมากน้อยของภาพหรือสิ่งอื่นๆ เหล่านั้น ถ้ามีจำนวนไม่มากนัก อาจจัดไว้ตอนท้ายของสารบัญโดยใช้หัวเรื่องที่เหมาะสม ในสารบัญภาพ จะต้องมีการอ้างบอกถึงบริเวณตำแหน่งที่สื่อนั้นๆ ปรากฏอยู่เพื่อให้ผู้ใช้หาได้ง่าย ในการอ้างนี้จะบอกเป็นเลขหน้า หรือบอกเป็นลำดับที่ของภาพนั้นก็ได้ ส่วนแผนที่และแผนภาพที่ปรากฏอยู่ที่แผ่นบันทึกปก หรือบรรจุแยกไว้ในซองด้านหลัง หรือจัดแยกไว้ต่างหาก ต้องนำมาใส่ไว้ในสารบัญ หรือบัญชีรายการสิ่งเหล่านี้ด้วย
ตัวพิมพ์ แบบและขนาดของตัวพิมพ์ ซึ่งใช้ในสารบัญภาพ ควรใช้แบบเดียวกันกับสารบัญเรื่อง และถ้าสารบัญเหล่านี้ปรากฏรวมอยู่ในสารบัญเรื่อง ตัวพิมพ์ที่ใช้เป็นหัวเรื่อง ต้องใช้แบบเดียวกับหัวเรื่องที่สำคัญของสารบัญเรื่อง แต่อาจใช้ขนาดเล็กกว่าก็ได้
คำนำ
คำนำ ควรให้ข้อมูลรายละเอียดที่สำคัญ เกี่ยวกับการเตรียมการจัดทำหนังสือเล่มนั้น ในประเด็นที่ผู้เขียนเห็นว่าสำคัญยิ่ง รวมถึงการขอบคุณผู้ที่ให้ความร่วมมือ ถ้าไม่ได้จัดแยกไว้ต่างหาก นอกจากนี้ควรมีข้อมูลรายละเอียดแจ้งให้ผู้อ่านรับรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา ถ้าหนังสือมีการจัดพิมพ์ครั้งใหม่และมีการแก้ไขปรับปรุง โดยอาจใส่ไว้ในคำนำหรือบทนำก็ได้ หรือแม้แต่การพิมพ์ซ้ำ หารมีการแก้ไขที่สำคัญ ควรแจ้งให้ผู้อ่านทราบอยู่ในคำนำนี้ด้วย ข้อมูลเช่นนี้เป็นประโยชน์ให้ผู้อ่านพิจารณาว่า จะซื้อฉบับปรับปรุงใหม่นี้หรือไม่
หน้าคำนำ ต้องอยู่ทางขวามือเสมอ ถ้าเป็นคำนำของผู้เขียนในตอนท้าย อาจใส่ตัวย่อของผู้เขียนไว้ด้วยก็ได้ หรือในบางครั้งถ้าเป็นการจัดเรียงบรรทัดและการจัดหน้า ควรใช้ความกว้างเช่นเดียวกับการจัดเรียงเนื้อใน
คำอธิบายคำย่อ
รายาการคำย่อ ที่จัดเรียงลำดับตามตัวอักษร พร้อมรายละเอียดอธิบายคำเต็มที่ใช้ในงานเขียนนั้น ควรจัดแยกไว้อีกหน้าหนึ่งต่างหากโดยจัดไว้ก่อนหน้าบทนำถ้ามี หรืออาจจัดไว้ที่ส่วนท้ายของหนังสือในตอนต้นๆ ก็ได้ ถ้าคำย่อส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในเนื้อเรื่องตอนท้ายเล่ม หรืออาจจัดไว้ในภาคผนวกก็ได้ ในหนังสือวิชาการที่มีคำศัพท์เทคนิคที่ยากหรือซับซ้อน หากจัดคำอธิบายคำย่อไว้ในตอนต้นของแต่ละบท จะอำนวยความสะดวกแก่ผู้อ่านมากขึ้น ข้อมูลสิ่งอื่นๆ ที่ช่วยเสริมสร้างเนื้อหา เช่น ลำดับเวลา เหตุการณ์อภิธารศัพท์หากมี ให้จัดไว้ในส่วนนำของหนังสือ ในหน้าก่อนถึงส่วนเนื้อหาก็ได้
ตัวพิมพ์ของคำอธิบายคำย่อ ใช้ตัวพิมพ์แบบและขนาดเดียวกันกับที่ใช้ในเนื้อเรื่อง ส่วนการจัดเรียงบรรทัดและการจัดหน้า ใช้ความกว้างเช่นเดียวกับการจัดเนื้อเรื่อง ถ้ามีคำอธิบายคำย่อจำนวนมาก อาจใช้ขนาดตัวพิมพ์เล็กลง และแบ่งการจัดหน้าออกเป็น2 คอลัมน์
บทนำ
ถ้าบทนำเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา กล่าวคือ ข้อมูลในส่วนนี้ทั้งหมดเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในหนังสือ ให้ใช้เลขอารบิกเป็นเลขหน้า แต่ถ้าหากบทนำมีเนื้อหาเป็นข้อมูลโดยทั่วไปเกี่ยวกับจุดประสงค์ของหนังสือ ก็อาจจัดไว้ในส่วนของหนังสือเช่นเดียวกับหน้าคำนำ โดยใช้เลขอารบิกใส่วงเล็บหรือเลขไทย หรือเลขโรมันเล็กเป็นเลขหน้า
ตัวพิมพ์ในหน้านี้ ใช้เหมือนกับส่วนเนื้อเรื่อง
ส่วนอื่นๆ ในส่วนนำ
หนังสือนำ
หนังสือนำ มักปรากฏอยู่ในสิ่งพิมพ์รายงานของคณะกรรมการในส่วนราชการระดับกรม/กอง หนังสือนำนี้จะอยู่ถัดจากหน้าชื่อเรื่อง/ปกใน หรืออยู่ด้านหลังของหน้าชื่อเรื่อง/ปกใน ซึ่งต้องอยู่นำหน้าส่วนอื่นๆ ทั้งหมดในรายงานที่นำเสนอฉบับนั้น ตัวพิมพ์ในหนังสือนำนี้ อาจพิมพ์ในลักษณะการถ่ายสำเนาตัวจดหมายลงไปเลย เพื่อให้เหมือนจดหมายจริงก็ได้
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะประกอบด้วย รายการข้อเสนอแนะทั้งหมด ทั้งในรูปแบบสมบูรณ์และแบบย่อ ที่คณะทำงานหรือผู้รับผิดชอบรายงานได้รวบรวมนำเสนอ ในขอบข่ายงานที่ได้กำหนดให้จัดทำ แบบตัวพิมพ์ในส่วนนี้ ใช้เช่นเดียวกับที่ใช้ในเนื้อเรื่อง แต่การใช้ตัวดำหนาหรือตัวเอนเพื่อให้ดูเด่นขึ้น มีส่วนช่วยให้ค้นหาหน้าที่อ้างถึงได้สะดวกและเร็วขึ้น ข้อเสนอแนะมักอยู่ก่อนส่วนเนื้อเรื่องเสมอ ในบางครั้งข้อเสนอแนะแบบย่ออาจอยู่หน้าเนื้อเรื่อง ส่วนข้อเสนอแนะแบบสมบูรณ์เอาไปไว้ในตอนต้นของส่วนท้ายก็ได้
คัดลอกมาจาก