วันศุกร์, ตุลาคม 30, 2552
TeamViewer - Free Remote Access
ใช้ควบคุมเครื่องคอมจากระยะไกล
1.ใช้เข้าเครื่องคอมตัวเองจากที่บ้าน หรือสลับกัน
2.ใช้แก้ปัญหาคอมให้เพื่อน ผ่านทางเนต กรณี พูดไม่ออกบอกไม่ถูก ทำเองง่ายกว่า
(3.ใช้ดูคอม ใครสักคน หรือหลายๆคน)
ยังไม่ได้ลองหรอกฮะ ใครสนใจอยากให้ลองคุมเครื่องก็บอกไอดี พาสเวิดมาเน้อ
วันพฤหัสบดี, ตุลาคม 29, 2552
ดูดวงแบบอียิปต์โบราณ
ดูดวง แบบ อียิปต์ ... ตรงดีเหมือนกันนะ
ศาสตร์การดูดวงที่เรารู้จักกันนั้น มีมานานหลายพันหลายหมื่นปี และในอียิปต์โบราณ ก็มีศาสตร์ชนิดนี้อยู่ด้วย พวกเขาเปรียบเทียบลักษณะนิสัยของมนุษย์ว่าอยู่ภายใต้การดูแลของเทพต่างๆ 11 องค์ ดังนี้
The Nile
วันที่ 1 – 7 มกราคม, 19 – 28 มิถุนายน, 1 – 7 กันยายน และ 18 – 26 พฤศจิกายน
ลักษณะของชาวไนล์ คือ มีความยืดหยุ่นมากเป็นพิเศษ เป็นคนใจดี มีน้ำใจ และเป็นผู้ฟังที่ดี รวมถึงเป็นคนยุติธรรม น่าเชื่อถือ คุณมักจะเป็นที่พึ่งพาของเพื่อนๆ เสมอ เป็นผู้ให้คำแนะนำ อดทน และคิดถึงคนอื่นเสมอ คุณชอบช่วยเหลือคนอื่นโดยไม่หวังซึ่งผลตอบแทน อย่างไรก็ตาม เมื่อถูกเอาเปรียบ คุณก็พร้อมจะลุกขึ้นมาสู้ได้เหมือนกันคล้ายแม่น้ำไนล์ยามไหลเชี่ยวเกรี้ยวกราด เมื่อถึงเวลาอารมณ์เสีย คุณก็หงุดหงิดได้เต็มที่ในเวลาที่ควบคุมตัวเองไม่ได้ อารมณ์ของคุณจะขึ้นๆ ลงๆ ได้ง่ายมาก และมักนำไปสู่การตัดสินใจที่เลวร้าย คุณเป็นคนที่เมื่อทุ่มเทอะไรแล้ว ก็จะทุ่มเต็มร้อย และพร้อมจะเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง นอกจากนี้ คุณจัดการงานต่างๆ ได้ดี และเต็มไปด้วยศักดิ์ศรี ทิฐิมานะ
Amon-Ra
วันที่ 8 – 21 มกราคม และ 1 – 11 กุมภาพันธ์
คนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเอมุนรา... เรียกได้ว่าเป็นคนท้าทายอย่างมาก เสน่ห์ของพวกเขาเด่นชัดเป็นพวกดึงดูดคน และไม่ชอบอยู่คนเดียว เป็นคนชอบเข้าสังคมสม่ำเสมอ ชอบสังสรรค์ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ก็ชอบที่จะหลบมุมไปคิดอะไรบางอย่างที่ลึกซึ้ง ผู้คนชื่นชอบในความกล้าหาญของคุณ รวมถึงสมองที่ปราดเปรื่อง และความฉับไวในการตัดสินใจ คุณเป็นคนมีลักษณะของความเป็นผู้นำในตัวเอง และลักษณะนี้จะส่งผลให้คนรอบตัวทำทุกอย่างอย่างมั่นใจแต่คุณเป็นคนฟิวส์ขาดได้ง่าย และอาจผิดพลาดได้โดยไม่ได้ตั้งใจหากสิ่งที่หนึ่งที่ไม่ต้องกังวลก็คือ ชีวิตของผู้อยู่ภายใต้การดูแลของเทพเอมุน รา ไม่มีทางตกต่ำอย่างแน่นอน
Mut
วันที่ 22 – 31 มกราคม และ 8 – 22 กันยายน
คนกลุ่มนี้อ่อนไหวง่ายมาก และมักขาดศรัทธาในตัวเอง คุณเป็นคนสุดโต่งสุดๆ วินาทีหนึ่ง เราอาจเห็นคุณร่าเริงสดใส แต่อีกวินาทีต่อมา คุณกลับเศร้าซึม ปวดร้าวซมซานอย่างไรก็ตาม ความอ่อนไหวนี้เป็นที่มาของจินตนาการที่เจิดจ้า ผู้คนจึงมักตกอยู่ในบ่วงเสน่ห์ของคุณ คุณเป็นคนลึกลับ มีอะไรให้น่าค้นหามากมาย และเป็นคนเข้าถึงยาก กว่าจะไว้ใจใคร ก็ใช้เวลานาน แต่เมื่อไว้ใจใครแล้ว ก็จะทุ่มเททุกความรู้สึกให้สำหรับใครที่คุณรัก คุณจะทุ่มเททุกอย่างให้พวกเขามีความสุข และทั้งๆ เป็นคนลึกลับแบบนี้ แต่คุณเป็นคนชอบอยู่ในกลุ่มคนหมู่มาก ชอบได้รับความชื่นชม เรียกได้ว่าเป็นนักสังคมตัวยงคนหนึ่งทีเดียว
Geb
วันที่ 12 – 29 กุมภาพันธ์ และ 20 – 31 สิงหาคม
พวกคนขี้อาย อ่อนไหว และจู้จี้จุกจิกไม่เบา คุณเป็นคนระมัดระวังในทุกย่างก้าวของตัวเองแต่ก็เป็นคนฉลาด และรักษาความลับได้ดี เชื่อใจ ไว้ใจได้ คุณมีมุมมองที่ดีต่อทุกคน ทำให้เป็นเสน่ห์น่าประทับใจ ดึงดูดให้คนรัก และรู้สึกดีด้วยแต่สิ่งที่ต้องระวังคือ คุณมักถูกเอาเปรียบได้ง่าย และถูกครอบงำในเรื่องต่างๆ แม้ว่าคุณจะพยายามฝืน แต่ด้วยบุคลิกที่เป็นคนโอนอ่อน ทำให้คนมักชอบถืออำนาจเหนือคุณทางแก้คือ คุณควรจะพยายามเลือกคบคน และใช้สิ่งที่คุณมีให้กับคนที่มีค่าพอ แทนที่จะใช้มันกับคนที่คิดแต่จะเอาเปรียบคุณในทุกๆ ทาง
Osiris
วันที่ 1 – 10 มีนาคม และ 27 พฤศจิกายน – 18 ธันวาคม
กลุ่มคนที่กระตือรือร้นอยู่เสมอ ไม่เคยมีชีวิตที่ธรรมดาเลย.. พวกเขาเป็นคนมั่นใจในตัวเองและมองโลกในแง่ดีเสมอ ใช้ชีวิตแต่ละวันด้วยความเต็มที่ ไม่เคยกลัวอะไรคุณเป็นคนกล้าหาญ และเต็มเปี่ยมไปด้วยความศรัทธาในสิ่งที่ลงมือทำ คุณคิดเสมอว่าทุกอย่างคือโอกาสทอง และคุณควรก้าวออกไปคว้ามัน อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวแล้ว คุณเป็นคนซับซ้อนพอสมควร และออกจะมีความคิดลึก ทำให้คุณเป็นคนสองบุคลิก บางทีก็ดูอ่อนไหว ขึ้นๆ ลงๆ เจ้าอารมณ์ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเป็นเช่นนี้ คุณมักตัดสินใจพลาดได้ง่ายๆ และเพราะความมองโลกในแง่ดีมากเกินไปทำให้คุณมักผิดพลาดจากการไม่ระมัดระวัง แต่ก็นั่นแหละ ความน่ารัก และเสน่ห์ของคุณทำให้คุณมักได้มิตรภาพที่ดีจากคนรอบตัว และนั่นคือสิ่งที่ทำให้คุณมีความสุขที่สุด
Isis
วันที่ 11 – 31 มีนาคม, 18 – 29 ตุลาคม และ 19 – 31 ธันวาคม
กลุ่มคนที่ฉลาด เต็มไปด้วยมุมมองที่น่าสนใจ และหัวใจที่เปิดกว้าง นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยพลัง และความมั่นใจ คุณใช้ชีวิตอย่างกระตือรือร้นเสมอ เพราะคุณเป็นคนประเภทเชื่อในสัญชาตญาณของตัวเอง เมื่อมาถึงจุดเปลี่ยน คุณก็สงบเงียบ และพร้อมยอมรับได้โดยไม่โวยวายใดๆ ความมีน้ำใจ และเป็นคนน่ารัก ทำให้คุณเป็นที่รักของทุกๆ คน คุณยังเป็นคนโรแมนติกมากๆ ความรักเป็นเรื่องสำคัญสำหรับชีวิตคุณ แต่แน่นอนว่ามิตรภาพก็สำคัญมากเช่นกัน คุณเป็นคนรักเพื่อนมาก คุณมักยอมตาม และใจอ่อนกับเพื่อนๆ เสมอ แต่ไม่เคยยอมปล่อยให้ใครเอาเปรียบแน่ๆ เสน่ห์ และความดึงดูดของคุณเป็นที่สัมผัสได้ อาจจะเรียกได้ว่าตั้งแต่แรกพบเลยทีเดียว
Thoth
วันที่ 1 – 19 เมษายน และ 8 – 17 พฤศจิกายน
เต็มไปด้วยความรู้ และปัญญาที่มากล้น มีลักษณะของความเป็นผู้นำ และมีพรสวรรค์อย่างสูงคุณสามารถเข้าถึงทุกคนได้ง่ายมาก และพร้อมทำให้ทุกคนรู้สึกถึงอำนาจได้โดยไม่ต้องบังคับ หรือบงการใดๆคุณพร้อมจะเป็นผู้บริหาร และรู้ในศักยภาพของตัวเองเสมอคุณยังรู้จังหวะเวลาที่ควรจะก้าวออกไปหาโอกาสใหม่ๆ เพื่อพัฒนาตัวเองคุณไม่ใช่คนประเภทคิดเรื่องผลประโยชน์ จึงมักใช้สิ่งที่เรียกว่าความรู้สึกในการดึงดูดผู้คน คุณชอบทดสอบความสามารถของตัวเองเสมอๆ แต่คุณไม่เคยสูญเสียเป้าหมายเดิม สิ่งสำคัญในชีวิตของคุณไม่ใช่สิ่งของราคาแพง แต่เป็นความสุขต่างหากที่คุณต้องการ
Horus
วันที่ 20 เมษายน – 7 พฤษภาคม และ 12 – 19 สิงหาคม
คนร่าเริงใจดี และติดดินมากๆ คุณเป็นเพื่อนกับทุกคนได้ง่ายๆ เข้ากับคนได้ดี และพร้อมจะเสียสละตัวเองเพื่อกลุ่มเสมอ แต่บางทีคุณก็พูดไม่รู้เรื่อง และไม่อดทนเท่าไหร่เลยแต่คุณสมบัติที่ดีมักทำให้คุณได้รับการให้อภัยในทุกๆ ครั้ง บางทีคุณก็เครียดจนขาดเกินไป คุณมักวางเป้าหมายไว้สูงส่ง และมีภาพใหญ่ๆ ในใจชัดเจนและเพราะเหตุผลนี้เอง คุณจึงมักต้องใช้ชีวิตอยู่กับความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่ คุณเป็นคนอดทน และมั่นใจในตัวเองอย่างมาก พยายามสร้างทุกสิ่งอย่างด้วยมือของตัวเองแม้ว่าเป้าหมายจะเสี่ยง หรือยากเย็นแค่ไหน คุณก็จะก้าวไปจนกว่าจะถึงมัน
Anubis
วันที่ 8 – 27 พฤษภาคม และ 29 มิถุนายน – 13 กรกฎาคม
กลุ่มคนที่ซับซ้อนเสมอ และลึกลับ มีบางอย่างซ่อนอยู่ลึกๆ ไม่ให้ใครได้เห็น คุณเป็นคนน่ามหัศจรรย์มาก และยากที่จะอ่าน สิ่งนี้ทำให้ทุกคนสนใจใครรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับคุณแต่ตรงกันข้าม คุณกลับเป็นคนชอบหลีกหนีสังคม ปลีกตัวออกห่างจากคนอื่น แต่ส่วนตัวแล้ว คุณเข้าใจคนอื่นได้ลึกซึ้ง รู้จักคนอื่นดีกว่าที่คนอื่นรู้จักคุณเสมอ คุณยังเป็นคนอ่อนไหว และซื่อสัตย์มากๆ และสิ่งสำคัญของคุณก็คือ มันนั่นเอง ถ้าหากใครให้ความซื่อสัตย์ต่อคุณ คุณจะภูมิใจ และรู้สึกดีต่อคนคนนั้นมากเป็นพิเศษ คุณเป็นพวกมีอุดมคติ คิดอะไรด้วยใจ ไม่ใช่พวกวัตถุนิยม ทำให้คุณมักผิดหวังได้ง่าย และเจ็บปวดแต่ก็นั่นแหละ คุณทำใจได้เร็ว และพร้อมจะก้าวต่อไปได้เสมอ
Seth
วันที่ 28 พฤษภาคม – 18 มิถุนายน และ 28 กันยายน – 2 ตุลาคม
คนที่เต็มไปด้วยอารมณ์ ความทะเยอทะยาน และอยากจะก้าวขึ้นไปสู่ความยิ่งใหญ่ และความสำเร็จคุณไม่เชื่อในเรื่องการปล่อยไปตามดวงชะตา แต่พร้อมจะต่อสู้ด้วยตัวเองและพร้อมจะใช้ทุกสิ่งที่มีต่อสู้มาเพื่อสิ่งที่ต้องการ
เมื่อพบอุปสรรค แทนที่จะกลัว มันกลับเป็นความท้าทายให้คุณก้าวต่อไป การเอาชนะอุปสรรค ทำให้คุณภูมิใจ และรู้ถึงความสำคัญของตัวเอง คุณมักมองไปข้างหน้าเสมอ อดีตที่อาจเลวร้ายจะเป็นประสบการณ์ที่ดีของคุณ ทำให้คุณก้าวต่อไปอย่างมั่นคง อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคือ คุณมีจุดอ่อน และมักจะพลาดกับมันอยู่เสมอ แต่ข้อดีคือ คุณไม่เคยหยุดความฝัน และไม่เคยท้อแท้ไม่ว่าอะไรก็ขัดขวางคุณไม่ได้ คุณพร้อมจะต่อสู้ และพร้อมจะลุกขึ้นอีกครั้งเสมอ
Bastet
วันที่ 14 – 28 กรกฎาคม, 23 – 27 กันยายน และ 3 – 17 ตุลาคม
กลุ่มคนที่มีบุคลิกชัดเจนมาก แต่ตามลักษณะธรรมชาติแล้ว คุณมักเป็นฝ่ายรับได้ดีกว่าฝ่ายรุกคุณเป็นคนระมัดระวังตัวมาก และทำให้คุณอาจปฏิเสธโอกาสดีๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตนั่นคือ การพบเพื่อนใหม่ๆ หรือการพบประสบการณ์ใหม่ๆ คุณเป็นคนขี้อาย และคิดมากอย่างไรก็ตาม มันถูกซ่อนอยู่ภายใต้ท่าทางมีเสน่ห์น่ารัก และรอยยิ้มของคุณคุณมีลักษณะที่เป็นมิตร และมีน้ำใจดี ทำให้คุณดึงดูดคนอื่นได้ง่าย นอกจากนี้ พรสวรรค์พิเศษคือ คุณเป็นคนพูดเก่ง และมักพูดอะไรดีๆ กับคนที่กำลังเศร้าใจ หรือหดหู่ คำพูดของคุณคือคำที่คนต้องการ และนั่นทำให้ใครๆ ก็อยากอยู่ใกล้คุณ
Sekhmet
วันที่ 29 กรกฎาคม – 11 สิงหาคม และ 30 ตุลาคม – 7 พฤศจิกายน
คนกลุ่มนี้มีบุคลิกที่เป็นเอกลักษณ์ แตกต่างจากคนอื่น เป็นคนที่ยึดเรื่องของอารมณ์เป็นหลักและเต็มไปด้วยศักดิ์ศรี คุณเป็นคนฉลาด และถูกสร้างมาเพื่อการทำงานหนัก ไม่ว่าจะทำอะไร คุณมักใส่ทุกความรู้สึกลงไปด้วย คุณเป็นคนตรงต่อเวลามากทำงานละเอียด และยากที่จะสร้างความผิดพลาด ซึ่งนั่นทำให้คุณค่อนข้างเครียดกับตัวเองและตั้งความหวังกับตัวเองไว้สูงไม่ว่าจะเรื่องอะไร คุณมักไม่พอใจในสิ่งที่มีอยู่ คิดมากเสมอ นี่ก็ไม่ดี นี่ก็น้อยไป น่าจะทำได้ดีกว่านี้ ฯลฯ คุณไม่มีวันอดทนกับคนที่ทรยศต่อความรู้สึกของคุณ และใครที่ทำให้คุณเสียใจ ผิดหวังคุณจะปิดความรู้สึกที่มีต่อเขาทันที สิ่งที่ต้องระวังคือ คนบางคนที่เห็นประโยชน์จากตัวคุณ พวกเขามักใช้ภาพลักษณ์ที่ดูดี เพื่อหาประโยชน์จากความซื่อสัตย์ และความสามารถที่ล้นเหลือของคุณ
ชวนเพื่อนฟังเพลง FM. 107.50 MHz.
อยู่ดีๆ เพื่อนสมัยมัธยม ก็เคาะเอ็มเอสเอนมาชวนคุย
ก่อนลงท้ายว่า ให้ฟังเพลง 107.5 มันเพราะดี
วันนี้เลยค้นๆ เวปดูฟังออนไลน์ อืม มันดีนะ
เลยบอกต่อฮะ
ตอนแรกเปิดด้วย Chrome ไม่ดัง เลยใช้ IE ครับ ลื่น
วันจันทร์, ตุลาคม 26, 2552
ยากจัง
อัลบั้ม/Album : BoydNop
ศิลปิน/Artist : บอย โกสิยพงษ์ Feat.นภ พรชำนิ)
ค่ายเพลง / Label : Love is
เนื้อร้อง : -
ทำนอง : -
เรียบเรียง : -
ฉันพยายามที่จะไม่มอง ไม่แม้สักครา ฉันพยายามที่จะหลบหน้า
แต่มันก็ยากเกินใครจะเข้าใจ
*ทุกครั้งทุกทีที่เราพบกัน อยากบอกเธอเหลือเกิน
ว่าฉันหวั่นไหวไม่รู้จะต้องทําอย่างไร(เช่นไร) เพราะฉันหยุดก็ไม่ไหว ห้ามมันก็ไม่ไหว
หัวใจฉัน ห้ามที่จะไม่คิด และห้ามที่จะไม่รัก เพราะฉันรู้เราไม่ควรที่จะคบกัน
ก็หยุดก็ไม่ไหว ห้ามมันก็ไม่ไหว ตั้งแต่วันนั้น พยายามซักเท่าไหร่
สําหรับฉัน มัน ช่าง ยากเย็นเหลือเกิน
เริ่มต้นขึ้นมายังไงไม่ทันจะรู้ รู้ตัวอีกทีหัวใจก็ไม่เป็นเหมือนยังเคย
(*)
เพราะเหตุผลมากมายร้อยพันฉันจึงไม่กล้าคิดที่เราควรคู่กัน ไม่กล้าคิดกับเธออะไร
แบบนั้น…
จะหยุดก็ไม่ไหว ห้ามมันก็ไม่ไหว หัวใจฉัน ห้ามที่จะไม่คิดและห้ามที่จะไม่รัก
เพราะฉันรู้เราไม่ควรที่จะพบกัน
ก็หยุดก็ไม่ไหว ห้ามมันก็ไม่ไหว ตั้งแต่วันนั้น พยายามซักเท่าไหร่สําหรับฉัน
มันชางยากเย็นเหลือเกิน
ยาก..เย็นเหลือเกิน
เพราะฉันรู้ว่าเราไม่ควรที่จะคบกัน
ตั้งแต่วัน…นั้น…
พยายามซักเท่าไหร่สําหรับฉันชางยากเย็นเหลือเกิน
วันพุธ, ตุลาคม 21, 2552
วันอังคาร, ตุลาคม 20, 2552
วันอังคาร, ตุลาคม 13, 2552
รู้จักตนเองจากสุภาษิต
ได้แก่คำพูดที่พูดออกมา ไม่ว่าจะเป็นทำนองสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่มีเนื้อความหรือความหมายที่ดี เป็นคำตักเตือนสั่งสอน และสะกิดใจให้ระลึกถึงอยู่เสมอ มีอยู่ 2 ประเภท คือ
1. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือเข้าใจเนื้อความได้ทันที โดยไม่ต้องแปลความหมาย ตีความหมายเช่น ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
2. คำสุภาษิตประเภทที่ พูด อ่าน หรือฟังแล้วยังไม่เข้าใจเนื้อความนั้นในทันที ต้องนึกตรึกตรอง ต้องแปลความ ตีความหมายเสียก่อนจึงจะทราบเนื้อแท้ของคำเหล่านั้น เช่น ผีบ้านไม่ดีผีป่าก็พลอย
สำนวน
ความหมาย ได้แก่คำที่พูดหรือกล่าวออกมาทำนองเป็นโวหาร เป็นคำพังเพยเปรียบเทียบ จึงฟังแล้วมักจะ ไม่ได้ความหมายของตัวมันเอง ต้องนำไปประกอบกับบุคคล กับเรื่อง หรือเหตุการณ์จึงจะได้ความหมายเป็น คติ เตือนใจเช่นเดียวกับคำที่เป็นสุภาษิต
คำพังเพย
หมายถึง ถ้อยคำที่เรียบเรียงขึ้นมาเป็นความหมายกลาง ๆ คือ ไม่เน้นการสั่งสอน แต่ก็แฝงคติเตือนใจหรือ ข้อคิดสะกิดใจให้นำไปปฏิบัติได้ และ เนื้อหาของใจความนั้นก็ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นความดี หรือ ความจริงแท้ แน่นอน
คำคม
หมายถึง ถ้อยคำที่คิดขึ้นมาในปัจจุบันทันด่วน เป็นถ้อยคำที่หลักแหลม ซึ่งสามารถเข้ากับเหตุการณ์นั้น ได้อย่างเหมาะเจาะ ทั้งยังชวนให้คิด ถ้าพูดติดปากกันต่อไปก็จะกลายเป็นสำนวนไปได้
ภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภภ
http://www.siamtower.com/supasit/index.html
http://board.dserver.org/p/plearn/00000221.html
กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี : สำนวนคำพังเพยประโยคนี้เป็นสำนวนเก่า ซึ่งอาจจะมีมาจากครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาก็ได้เพราะปรากฏมีหลักฐานในเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนเถรกวาดแก้แค้นพลายชุมพลตอนหนึ่งด้วยว่า " คนดีไม่สิ้นอยุธยา " สำนวนนี้เป็นความหมาย ี้อธิบายอยู่ในตัวแล้ว " คนดี " ก็คือคนเก่งหรือผู้มีความสามารถในทางต่อสู้และความคิดอยู่พร้อม อย่าชะล่าใจนักจักเสียที.
กลิ้งครกขึ้นภูเขา : สำนวนนี้ มักจะพูดกันว่า ''เข็นครกขึ้นภูเขา '' กันส่วนมาก แต่แท้จริง '' ครก '' ต้องทำกริยา '' กลิ้ง '' ขึ้นไปจึงจะถูก กล่าวคำว่า '' เข็น '' แปลว่า เรื่องที่กำลังจะทำหรือจะทำให้สำเร็จบรรลุผลนั้น ยากลำบากแสนเข็ญมิใช่ของที่ทำได้ง่ายนักเปรียบได้กับ การกลิ้งครกขึ้นภูเขาไปสู่ยอดเขา
กลืนไม่เข้าคายไม่ออก : แปลว่าหมดหนทางที่จะทำหรือไม่รู้จะทำอย่างไรดีหรือ เป็นการทำให้ตัดสินใจไม่ถูก เพราะจะไม่ทำลงไปก็ไม่ดี ทำลงไปก็ไม่ดีเป็นการยากที่จะตัดสินใจทำลงไปได้ง่าย เหมือนก้างปลาหรือเศษอาหารอะไรอย่างหนึ่ง เข้าไปติดอยู่กลางลำคอกลืนก็ไม่เข้าคายก็ไม่ออก.
กว่าถั่วจะสุก งาก็ไหม้ : สำนวนพังเพยนี้ มาจากการคั่วถั่วกับงาในกระทะเดียวกัน ถั่วเป็นของสุกช้างาสุกเร็วมัวรอไห้ถั่วสุก งาก็ไหม้เสียก่อน สำนวนนี้หมายถึงการทำอะไรสองอย่างพร้อมกันหรือทำอะไรสักอย่างที่ไม่รอบคอบ มัวคิดแต่จะได้ทางหนึ่งต้องเสียทางหนึ่งในความหมายอีกแง่ก็แปลว่าการทำอะไรมัวรีรออยู่ ไม่รีบลงมือทำเสียแต่แรกครั้นพอลงมือจะทำ ก็ไม่ทันการเสียแล้วเพราะคนอื่นเขาเอาไปทำเสียก่อน.
กำขี้ดีกว่ากำตด : ความหมายว่า ได้ในสิ่งที่เห็นหรือเป็นของได้แน่ ดีกว่าคิดอยากได้ในสิ่งหรือของที่ไม่เห็นเหมือนไม่มีตัวตน การกินการอยู่ใครไม่สู้พ่อ การพายการถ่อพ่อไม่สู้ใคร : สำนวนนี้อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้วแสดงว่า เรื่องกินแล้วเก่งจนไม่มีใครสู้แต่ถ้าเรื่องงานแล้วยอมแพ้ ซึ่งแปลว่าขี้เกียจนั้นเอง.
กินที่ลับไข่ที่แจ้ง : สำนวนนี้ มีความหมายไปในทำนองที่ว่า ทำอะไรไว้ในที่ลับแล้วอดปากไว้ไม่ได้เอามาเปิดเผย ให้คนทั้งหลายรู้เพื่อจะอวดว่าตนกล้าหรือสามารถทำอย่างนั้นได้โดยไม่กลัวใครผิดกฎหมาย อะไรทำนองนั้นหรือไม่กลัว
กินน้ำใต้ศอก : หมายไปในทางที่ว่าถึงจะได้อะไรสักอย่างก็ไม่เทียมหน้าหรือไม่เสมอหน้าเขา เช่นหญิงที่ได้สามี แต่ต้องตกไปอยู่ในตำแหน่งเมียน้อย ก็เรียกว่า "กินน้ำใต้ศอกเขา" ที่มาของสำนวนนี้ คนในสมัยก่อนอธิบายว่า คนหนึ่งเอาสองมือกอบน้ำมากิน มากิน อีกคนหนึ่งรอหิวไม่ไหวเลยเอาปากเข้าไปรองน้ำที่ไหลลงมาข้อศอก ของคนกอบน้ำกินนั้นเพราะรอหิวไม่ทันใจ.
กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา : แปลว่าคนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิด ีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อนคนโบราณเอาลักษณะของแมวที่ไม่ดี คือกินแล้วไม่ขี้ให้เป็นที่กลับขึ้นไปขี้บนหลังคาให้เป็นที่สกปรกเลอะเทอะเพราะคนสมัยก่อนต้องการให้หลังคาสะอาดเพื่อรองน้ำฝนไว้กิน จึงเอาแมวชั่วนี้ มาเปรียบเทียบกับคนชั่วที่ไม่รู้จักบุญคุณคน.
กินปูนร้อนท้อง : สำนวนนี้มาจากตุ๊กแก ว่ากันว่า ตุ๊กแกที่กินปูน (ปูนแดงที่กินกับหมากพลู )
มักจะทำอาการกระวนกระวาย ส่งเสียงร้องแกร็กๆ เหมือนอาการร้อนท้องหรือปวดท้อง
จึงนำเอามาเปรียบกันคนที่ทำพิรุธหรือทำอะไรไว้ไม่อยากให้ใครรู้แต่เผอิญมีใครไปแคะได้ หรือเรียบเคียงเข้าหน่อยทั้ง ๆ ที่เขาไม่ได้เจตนาเจาะจงแต่ตัวเอง ก็แสดงอาการเป็นเชิงเดือดร้อนออกมาให้เขารู้ สำนวนนี้มักพูดกันว่า " ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง ".
กินน้ำเห็นปลิง : แปลว่า สิ่งใดที่ต้องการ ถ้าสิ่งนั้นมีสิ่งที่น่ารังเกียจ หรือไม่บริสุทธิ์ก็ทำให้รังเกียจหรือตะขิดตะขวงใจไม่อยากได้
เปรียบดังที่ว่าปลิงเป็นสัตว์น่ารังเกียจอยู่ในน้ำ เวลากินน้ำมองเห็นปลิงเข้าก็รู้สึกรังเกียจขยะแขยงไม่อยากกิน
สำนวนนี้มีนักเขียนเอามาเขียนเอามาตั้งเป็นชื่อหนังสือเล่มหนึ่ง.
เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน : " เบี้ย " ในสมัยก่อนเป็นพวกหอยชนิดหนึ่งเรียกว่า " เบี้ยจั่น " ใช้เป็นเงินแลกเปลี่ยนซื้อของได้ แต่มีราคาต่ำแปลตามตัวอักษรนี้ก็ว่าเก็บเบี้ยที่ตกอยู่ตามใต้ถุนร้าน หรือแผงลอยวางของขายซึ่งตกหล่นอยู่บ้าง เพราะมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเบี้ยกับของโดยไม่เห็นว่าจะเป็นเบี้ยมีราคาต่ำ สำนวนนี้จึงแปลความหมายว่าถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อย ๆ ทำให้มีผลได้แม้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยังดีกว่าปล่อยให้หลุดลอยไปเสีย.
เกลียดขี้ขี้ตาม เกลียดความความถึง : สำนวนนี้ ไม่ทราบที่มาหรือมูลของสำนวนแน่ชัด
แต่ก็เป็นที่รู้ ความหมายกันทั่วไปว่า หมายถึง การที่คนเราเกลียดสิ่งไหนแล้วมักจะได้สิ่งนั้นเปรียบได้กับชายที่เกลียด ผู้หญิงขี้บ่นจู้จี่แต่มักลงท้ายกลับไปได้ภรรยาขี้บ่นจู้จี่เข้าจนได้
เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง : สำนวนนี้มีความหมายแตกต่างกับประโยค " เกลียดขี้ขี้ตาม " เพราะแปลความหมายไปในทางที่ว่าเกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา หรือของ ๆ เขา ตามความหมายเปรียบเทียบของสำนวนที่ว่าเช่นเกลียดปลาไหลในรูปร่างของมัน แต่เมื่อเอามาแกงมีรสหอม
ก็ทำให้อดอยากกินแกงไม่ได้ถึงแม้จะไม่กินเนื้อปลาไหลเลยก็ตาม.
แกว่งเท้าหาเสี้ยน : หมายถึงคนที่ชอบทำอะไรเป็นการสอดแทรกเข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นเข้า จนกระทั้งกลาย เป็นเรื่องกับตัวเองจนได้เสมอ เรียกว่าชอบสอดเข้าไปเกี่ยวสำนวนในปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้เป็นว่า " แกว่งปากหาเท้า " เสียแล้ว เพื่อให้ความชัดเจนขึ้น.
ไก่กินข้าวเปลือก : สำนวนคำพังเพยประโยคนี้ ถ้าพูดให้เต็มความก็ต้องพูดว่า " ตราบใดที่ไก่ยังกินข้าวเปลือกอยู่ ตราบนั้นคนเราก็ยังอดกินสินบนไม่ได " เข้าใจว่าเป็นคำพังเพยของจีน ๆ เอามาใช้เป็นภาษาของเขาก่อน แล้วไทยเราเอามาแปลเป็นภาษาไทยใช้กันอยู่มากในสมัยก่อน ๆ.
ใกล้เกลือกินด่าง : หมายความว่า สิ่งที่หาได้ง่ายหรืออยู่ใกล้ไม่เอา กลับไปเอาสิ่งที่อยู่ไกลหรือหายากเปรียบได้ว่าเกลือหาง่ายกว่าด่าง ความหมายอีกทางหนึ่งหมายถึงว่าอยู่ใกล้กับของดีแท้ ๆ แต่ไม่ได้รับเพราะกลับไปคว้าเอาของที่ดี หรือมีราคาด้อยกว่าคือด่างซึ่งมีรสกร่อยหรืออ่อนเค็มกว่าเกลือ.
ขนมพอผสมกับน้ำยา : ที่มาของสำนวนคำพังเพยนี้เข้าใจว่ามาจาก " ขนมจีนน้ำยา " ที่เราเคยรับประทานกันมาแล้ว คือ ขนมจีนกับน้ำยาจะต้องผสมให้เข้ากันหรือได้ส่วนพอเหมาะ จึงจะรับประทานอร่อยเรียกว่าเวลาตักน้ำยาราดขนมลงบนขนมจีน ต้องกะส่วนให้พอลงคลุกผสมกับขนมจีนได้พอเหมาะ หรือให้มีสัดส่วนเข้ากันพอดีทั้งสองฝ่าย เมื่อรับประทานแล้วเกิดอร่อยไม่ใช่ว่าขนมจีนอร่อย หรือน้ำยาอร่อยแต่อร่อยด้วยกันทั้งสองอย่าง เรียกว่า " พอดีกัน " จึงเกิดเป็นสำนวนที่ตีความหมายเอาว่า ทั้งสองฝ่ายต่างพอดีกัน จะว่าข้างไหนดีก็ไม่ได้.
ขี่ช้างจับตั๊กแตน : หมายความว่า ลงทุนเสียมากมายเพื่อทำงานเล็ก ๆ เท่านั้น เป็นทำนองว่าผลประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มกับที่ลงทุน หรือทำให้เป็นการใหญ่โตเลย หรือแปลความหมายสั้น ๆ " ทำงานใหญ่เกินตัว "
ขี่ช้างอย่าวางของ : เป็นสำนวนเปรียบเทียบเตือนใจว่าการที่มีลูกน้อง หรือมีผู้น้อยอยู่ในความปกครอง บังคับบัญชาของเรา ก็อย่าประมาทละเลยเสีย ต้องหมั่นกวดขันกำชับ เปรียบได้กับคนขี่ช้างต้องคอยถือขอสับช้างบังคับช้างไว้อยู่ตลอดเวลา ถ้าวางของหรือไม่ใช้ขอคอยสับไว้ ช้างก็อาจพาลเกเรไม่ทำงานได้.
ขี้ก้อนใหญ่ให้เด็กเห็น : สำนวนนี้หมายถึง การทำอะไรที่เป็นเรื่องไม่ดี เป็นเรื่องชั่วร้ายเลวทรามหรือการทุจริต โดยไม่มีความละอายใจให้ผู้อื่นเห็น โดยเฉพาะหมายถึงผู้ใหญ่ที่ทำให้ผู้น้อยเห็นอย่างชัดแจ้ง.
เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม : แปลตามประโยคสำนวนก็ว่า เข้าเมืองตาบอดข้างเดียว ถึงแม้ตาเราไม่บอด ก็ต้องทำตาบอดข้างเดียวตามเขาไปด้วย ( ตาหลิ่ว ในที่นี้หมายถึงตาบอดข้างเดียวหรือคนตาเดียว ไม่ใช่หมายถึงทำตาหลิ่ว หรือหลิ่วตา ) หมายความว่า ที่แห่งใดเขาประพฤติตามเขาไปด้วย อย่าไปประพฤติขัดแย้งกับเขา.
ขว้างงูไม่พ้นคอ : หมายความว่า มีภาระหรือมีเรื่องเดือดร้อน ทั้งของตนเองและที่เกี่ยวข้องอยู่ แต่ไม่สามารถจะแก้ไขให้รอดพ้นไปได้.
ข้างนอกสุกใสข้างในเป็นโพรง : สำนวนนี่เปรียบเทียบได้สองทาง ทางหนึ่งก็หมายถึงสิ่งที่แลดูภายนอกเป็นของดีหรือของแท้ แต่แท้จริงแล้วกลับไม่ใช่ของดี หรือของแท้นัก อีกทางหนึ่งก็เปรียบได้กับสตรีที่งามแต่รูป แต่กิริยาและความประพฤติไม่ดี หรืองามเหมือนรูป ซึ่งตรงกันข้ามกับอีกสำนวนหนึ่งที่ว่า " ข้างนอกขรุขระ ข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง "
ข้างนอกขรุขระข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง : สำนวนตรงข้ามกับ " ข้างนอกสุกใส " คือดูแต่ภายนอกไม่งาม แต่แท้จริงกลับเป็นของแท้ของงาม สตรีที่มีรูปร่างขี้ริ้วไม่งดงาม แต่กิริยามารยาทเรียบร้อย จิตใจก็ดีงาม ตรงข้ามกับรูปร่าง.
ข้าวใหม่ปลามัน : คนในสมัยโบราณถือว่า " ข้าวใหม่ปลามัน " คือข้าวที่เก็บเกี่ยวในครึ่งปีหลัง เป็นข้าวที่ดีกว่าข้าวเก่า และปลาเป็นอาหารคู่กับข้าว " ปลามัน " หมายถึงปลาในฟดุน้ำลดมีมันมาก รับประทานอร่อย จึงมาผูกเป็นสำนวนพังเพยเปรียบเทียบเช่น สามีภรรยาที่เพิ่งจะแต่งงานกันใหม่ ๆ ย่อมจะอยู่ในระหว่างกำลังเสพสุขสมรสมีรสชาติ.
เขียนด้วยมือลบด้วยเท้า : สำนวนนี้ เวลาพูดมักจะใช้คำตรง ๆ ว่า " เขียนด้วยมือลบด้วยตีน " เป็นความเปรียบเปรยถึง คนที่แต่แรกทำความดีจนเป็นที่เชื่อถือไว้แล้ว แต่ภายหลัง กลับทำความชั่วลบล้างความดีของตนเสียง่าย ๆ หรือเปรียบอีกทางหนึ่งถึงคนที่ออกคำสั่ง หรือให้สัญญาไว้แต่แรกอย่างหนึ่ง แล้วปุบปับกลับเปลี่ยนแปลงคำสั่งหรือสัญญานั้นเสีย ให้อยู่ในลักษณะตรงข้ามโดยไม่มีเหตุผล.
เขียนเสือให้วัวกลัว : ตามธรรมชาติ เท่าที่รู้จักกันอยู่ว่า วัวเป็นสัตว์ที่กลัวเสืออยู่มาก แม้จะมีรูปร่างใหญ่โตกว่าเสือก็ตามแต่ และวัวมักจะเป็นเหยื่อเสือเสียส่วนมาก เขาจึงเอามาเป็นสำนวนพังเพยเปรียบเทียบถึง การที่ทำอะไรอย่างหนึ่งเพื่อให้เป็นการข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่งไว้ก่อนให้กลัว เรียกว่า " เขียนเสือให้วัวกลัว ".
ขมิ้นกับปูน : สำนวนนี้หมายถึง คนที่ไม่ลงลอยกัน หรือ รสนิยมเข้ากันไม่ได้ เมื่ออยู่ใกล้กัน ก็มักเป็นปากเสียงทะเลาะวิวาทกัน เปรียบดังขมิ้นกับปูนที่กินกับหมาก.
คนเดียวหัวหาย สองคนเพื่อนตาย : สำนวนนี้เป็นที่เข้าใจกันว่า เมื่อเวลาไปไหนคนเดียวไม่ปลอดภัยนัก อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ เรียกว่า " หัวหาย " ถ้าไปด้วยกันสองคน ก็อาจจะช่วยขจัดเหตุร้ายหรือเป็นเพื่อนอุ่นใจได้ดีกว่าไปคนเดียว.
คนตายขายคนเป็น : หมายถึงคนที่ตายไปแล้ว มีหนี้สินติดตัวอยู่มาก ทำให้คนที่อยู่ซึ่งเกี่ยวข้องหรือเป็นญาติพี่น้องต้องรับผิดชอบใช้หนี้ และมิหนำซ้ำต้องเป็นภาระในการจัดทำศพ ซึ่งถ้าหากไม่มีเงินเลยก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินเขามาทำศพด้วย.
คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ : เปรียบผืนหนังของสัตว์ส่วนมากย่อมจะมีผืนเล็กกว่าเสื่อ ฉะนั้นสำนวนนี้ก็หมายถึงว่า คนที่จะรักเราจริง ๆ มีน้อยแต่คนเกลียดหรือคนชังเรามีเป็นส่วนมากกว่า.
คนล้มอย่าข้าม ไม้ล้มจึงข้าม : แปลว่า คนที่เคยมีอำนาจและวาสนามาก่อน แต่ต้องตกต่ำลงก็อย่าเพิ่งไปคิดดูถูกเหยียบย่ำเข้า เพราะเขาอาจกลับฟื้นฟูขึ้นอีกได้ ไม่เหมือนไม้ที่ไม่มีชีวิตวางทิ้งไว้จะข้ามจะเหยียบอย่างไรก็ได้.
คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล : สำนวนนี้ มีความหมายหรือคำบรรยายอยู่ในตัวแล้ว คือคบคนชั่ว คนชั่วก็ชักพาเราให้พลอยไปทำชั่วด้วย ถ้าคบคนดีมีความรู้ ก็ทำให้เราได้รับผลดีหรือได้รับความรู้ดีตามไปด้วย.
ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก : หมายความว่า มีเรื่องราวเดือดร้อนเกิดขึ้น ยังไม่ทันจะแก้ไขหรือจัดการให้สงบดี ก็เกิดมีเรื่องใหม่ซ้อนขึ้นมาอีก กลายเป็น ๒ เรื่องขึ้นในคราวเดียว.
ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : สำนวนนี้ หมายถึงคนที่มีวิชาความรู้ดี หรือรู้สารพัดเกือบทุกอย่าง แต่ถึงคราวเกิดเรื่องขึ้นกับตัวเอง กลับจนปัญญาแก้ไข หรือความหมายอีกทางหนึ่งว่า มีความรู้อยู่มากมายแต่ใช้วิชาหากินไม่ถูกช่อง ทำให้ต้องตกอยู่ในฐานะยากจนอยู่เรื่อยมา สู้คนที่ไม่รู้หนังสือเลย แต่หากินจนร่ำรวยไม่ได้.
โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ : สำนวนนี้ มีประโยคต่อท้ายสัมผัสกันด้วยว่า " ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก " แต่เรามักพูดสั้น ๆ ว่า " โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ " หมายความว่าจะคิดกำจัดศัตรู ปราบพวกคนพาลให้หมดสิ้นทีเดียวแล้ว ก็ต้องปราบให้เรียบอย่าให้พรรคพวกของมันเหลือไว้เลยแม้แต่คนเดียว มิฉะนั้นพวกที่เหลือนี้จะกลับฟื้นฟูกำลังขึ้นมาเป็นศัตรูกับเราภายหน้าได้อีก ทำนองเดียวกับที่ว่า ถ้าเราจะขุดตอไม้ทิ้ง เราก็ต้องขุดทั้งรากทั้งโคนมันออกให้หมดอย่าให้เหลือไว้จนมันงอกขึ้นมาภายหลังได้อีก.
ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก : สำนวนนี้หมายถึง การที่จะทำงานใหญ่ ๆ เพื่อประโยชน์ที่จะได้รับจำนวนมาก ๆ แล้ว ก็อย่าเสียดายเงินทองหรือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องเสียที่เดียวนัก เปรียบเหมือนฆ่าควายทั้งตัวเพื่อจะปรุงอาหารมาก ๆ ก็อย่าเสียดายพริกที่จะต้องใช้แกงหรือผัด มิฉะนั้นอาหารจะเสียรสเพราะเนื้อควายกับพริกแกงไม่ได้สัดส่วนกัน.
ฆ่าช้างเอางา : หมายความว่า ลงทุนลงแรงเพื่อทำลายของหรือสิ่งสำคัญใหญ่ ๆ โต ๆ เพียงเพื่อต้องการจะได้ของสำคัญชิ้นเล็ก ๆ เท่านั้น ไม่สมกับค่าของ ๆ ที่ถูกทำลายลงไป เช่นทำลายชีวิตคน เพื่อต้องการทรัพย์สิน หรือของมีค่าเล็กน้อยของคนผู้นั้นมาเป็นประโยชน์ของตน โดยไม่คิดว่าชีวิตของผู้นั้นมีค่ากว่าทรัพย์สินก้อนนั้น หรือเป็นการไม่สมควรเพราะผิดกฎหมายร้ายแรง เช่นนี้ก็เรียกว่า " ฆ่าช้างเอางา " ได้เช่นเดียวกัน.
งมเข็มในมหาสมุทร : สำนวนนี้เปรียบเทียบ มหาสมุทรซึ่งเป็นสถานที่กว้างใหญ่ลึกลับ เมื่อเข็มเย็บผ้าเพียงเล่มเดียวที่ตกลงไปยังก้นมหาสมุทร จึงย่อมค้นหาไม่ใช่ของง่ายนัก หรือไม่อาจจะค้นหาได้ เปรียบได้กับการที่เราจะค้นหาอะไรสักอย่างหนึ่งที่อยู่ในวงกว้าง ๆ ไม่มีขอบเขต ย่อมสุดวิสัยที่เราจะค้นหาได้ง่าย.
งูเห็นนมไก่ ไก่เห็นตีนงู : คำพังเพยสำนวนนี้ จะพูดสลับกัน คือเอาประโยคหลังขึ้นก่อนก็ได้ว่า " ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ " เพราะความหมายสัมพันธ์กัน ซึ่งตามธรรมชาติแล้วเราจะไม่เคยได้เห็น " ตีนงู " หรือ " นมไก่ " เลย เพราะงูไม่มีตีนและไก่ก็ไม่มีนม ความหมายของสำนวนจึงแปลว่า คนสองคนต่างคนต่างเห็นหรือรู้เรื่องเดิมหรือรู้ความในกันดี แต่คนอื่นอาจไม่เห็น หรือไม่รู้เรื่องของคนสองคนนี้เลย เช่น คนสองคนทำตนเป็นคนมั่งมีหรือมีความรู้สูงเพื่ออวดคนอื่น ๆ แต่ทั้งสองคนนี้ต่างรู้ไส้กันดีว่าแท้จริงแล้วต่างคนต่างไม่มีเงิน หรือไม่มีความรู้เลยเมื่อมาพบกันเข้าจึงเท่ากับว่า " ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ ".
จอดเรือไม่ดูท่า ขี่ม้าไม่ดูทาง : หมายถึง การทำอะไรไม่พิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน ซึ่งอาจจะเกิดการผิดพลาดหรือเสียหายได้ เปรียบได้กับการจอดเรือหรือขี่ม้า ถ้าไม่ตรวจดูท่าจอดให้แน่นอน หรือไม่ดูหนทางที่จะขี่ม้าไปว่าจะเหมาะหรือไม่ ผลเสียหายก็ย่อมเกิดขึ้นได้ สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า " จอดเรือให้ดูฝัง จะนั่งให้ดูพื้น " ซึ่งมีความหมายในทางตักเตือนไว้ก่อน.
จ้าวไม่มีศาล สมภารไม่มีวัด : เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึงคนที่เร่ร่อนไม่มีที่อยู่ประจำเป็นหลักแน่นอน.
โจรปล้น ๑๐ ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว : สำนวนนี้มีความหมายอธิบายอยู่ในตัวแล้ว ถึงแม้คนเราจะถูกโจรขึ้นปล้นบ้านสัก ๑๐ ครั้งหรือมากกว่านั้น ก็ยังไม่ทำให้ข้าวของ หรือทรัพย์สินบางอย่างภายในบ้านเราถึงขนาดหมดเกลี้ยงตัวเลยทีเดียวนัก แต่ไฟไหม้ครั้งเดียว เผาผลาญทั้งทรัพย์สิน และที่อยู่เราวอดวายเป็นจุลไปหมด โบราณจึงว่า " โจรหรือขโมยขึ้นบ้านสัก ๑๐ ครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว ".
จับปลาสองมือ : เป็นสำนวนหมายถึง คนที่มุ่งหวังอยากจะได้ทีเดียวพร้อม ๆ กันสองอย่าง โดยไม่คำนึงว่าตนเองมีความสามารถที่จะทำได้หรือไม่ เปรียบได้กับการใช้มือจับปลาตัวเดียวให้มั่นดีกว่าจับด้วยมือเดียวหรือข้างละตัว ซึ่งอาจจะไม่มั่นพอ ทำให้ปลาทั้งสองตัวหลุดตกน้ำไปหมดเลยก็ได้ สำนวนนี้เปรียบเทียบได้กับการที่ผู้ชายเราคิดจะมีภรรยาทีเดียวสองคน โดยวิธีเกี้ยวผู้หญิงสองคนในเวลาเดียวกัน.
จับแพะชนแกะ : หมายถึง การทำอะไรที่ขาดความเรียบร้อยไม่เป็นกิจลักษณะ คือเอาทางโน้นมาใช้ทางนี้ เอาทางนี้ไปแทนทางโน้น สับสนวุ่นวายไปหมดหรือทำให้ไม่ประสานกันหรือไม่ต่อเนื่องกัน เท่ากับเอาแพะมาชนกับแกะ เพราะแกะเป็นสัตว์ต่างพันธุ์หรือต่างชนิดกัน และไม่เคยปรากฏว่าแพะกับแกะจะมีผู้เคยเอามาชนกันมาก่อน.
จับเสือมือเปล่า : สำนวนนี้ ใช้เปรียบกับการที่ทำงานอะไรสักอย่างโดยไม่ต้องลงทุน หรือไม่มีทุนจะลงเลย ซึ่งอาจจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ก็ตามเรียกว่าเป็นการลองเสี่ยง หรือใช้ความสามารถของตนเองเป็นหลักใหญ่เข้าทำ.
จับปูใส่กระด้ง : โดยสัญชิาตญาณ ปูมักไม่คอยจะอยู่นิ่งเมื่อจับไปวางตรงไหน มันก็พยายามจะไต่ไปไต่มาเพื่อจะหาทางออก หรือคิดหนีไปท่าเดียว เปรียบได้กับคนหรือเด็กเล็ก ๆ ที่ซกซนอยู่ไม่นิ่ง ถึงจะอยู่ในที่บังคับอย่างไรก็จะดิ้นหรือซนเรื่อยไป.
จุดไต้ตำตอ : สำนวนนี้ หมายถึงการพูดกล่าวขวัญหรือทำอะไรสักอย่าง โดยผู้พูดหรือผู้ทำไม่รู้จักคนผู้นั้นครั้นพอรู้ความจริง ผู้พูดหรือผู้ทำกลายเป็นคน " ห้าแต้ม " ไปเลย ถ้าเป็นการพูดกล่าวขวัญในทางร้ายหรือนินทาด่าคนผู้นั้นเข้า ดีไม่ดีก็ต้องเคราะห์ร้ายเปรียบเหมือนจุดไต้ไปตำเข้ากับตอถึงไฟดับ สำนวนนี้เข้าใจว่า มาจากการจุดไต้ให้ไฟสว่างของคนสมัยโบราณ ซึ่งใช้เป็นไฟฉายส่องทาง แล้วเอาไต้ไฟไปชนเข้ากับต่อถึงดับ.
ชาติเสือต้องไว้ลาย ชาติชายต้องไว้ชื่อ : สำนวนนี้ มักใช้เป็นสำนวนเปรียบกับผู้ชาย ซึ่งตามหลักที่ว่าผู้ชายจะทำอะไรก็ต้องให้เก่งกล้าหรือองอาจ ไม่อ่อนแอเหมือนผู้หญิง โดยเฉพาะหมายความว่า ขึ้นชื่อว่าผู้ชายแล้วจะต้องเก่งกล้าสามารถทุกคนเปรียบได้กับเสือ เพราะเสือเป็นสัตว์ดุร้ายแต่เก่งถือเอาลายของมันเป็นสัญลักษณ์ของความเก่งกาจซึ่งเรามักพูดอีกสำนวนหนึ่งว่า " ชาติเสือไม่ทิ้งลาย " อันมีความหมายอย่างเดียวกัน.
ชายสามโบสถ์ หญิงสามผัว : สำนวนนี้ ประโยคแรกหมายถึง ผู้ชายที่บวชเป็นพระ ๓ ครั้งคือบวชแล้วสึก สึกแล้วบวชอีกถึง ๓ หนด้วยกัน ส่วน "หญิงสามผัว" นั้นคือหญิงที่แต่งงานแล้วมีสามีมาแล้ว ๓ ครั้งหรือ ๓ คน โดยมีสามีคนแรกแล้วเลิกร้างกันไป มามีคนที่สองเลิกล้างกันไปอีกจนถึงคนที่สามก็ต้องเลิกล้างกันไปอีก สำนวนนี้หมายความว่าผู้ชายที่บวชมาแล้ว ๓ ครั้ง กับผู้หญิงที่ผ่านการมีสามีมาแล้ว ๓ คน โบราณมีข้อห้ามมิให้เพศตรงข้ามไปมีสัมพันธ์ทางรักใคร่หรือชู้สาวด้วย คือผู้หญิงก็ไม่ควรไปมีสามีชนิดนี้ หรือผู้ชายก็ไม่ควรไปมีภรรยาชนิดนี้เข้า ซึ่งตามความเข้าใจว่าบุคคลชนิดนี้ใจคอไม่มั่นคงหรือรวนเลได้โดยสังเกตเอาอาการกระทำเป็นเครื่องวัด แต่ตกมาถึงสมัยนี้ เข้าใจว่า คงจะไม่มีใครค่อยเชื่อว่าถือกันเท่าไรนัก.
ช้า ๆ ได้พร่าเล่มงาม : สำนวนพังเพยนี้ หมายถึง การทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้ามุ่งจะให้ได้ประโยชน์สมบูรณ์ก็ต้องทำด้วยความรอบคอบ หรือไม่รีบร้อนจนเกินไปนัก หรือไม่หมายความว่าจะทำให้งาน " ล่าช้า " จนเกินไป แต่มีความหมายว่า ให้ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ สำนวนนี้ คนในสมัยปัจจุบันยังข้องใจอยู่ว่าจะขัดกับสำนวนพังเพยที่ว่า " น้ำขึ้นให้รีบตัก " ซึ่งแปลว่าให้รีบฉกฉวยโอกาส ตรงกันข้ามกับสำนวนนี้ที่ว่า " ได้พร้าเล่มงาม " แต่แท้จริงแล้ว เป็นคำพังเพยที่เตือนให้เราเลือกปฏิบัติให้เหมาะสมต่างหาก จะช้าหรือรีบร้อนจึงต้องแล้วแต่โอกาส.
ชักใบให้เรือเสีย : หมายถึง การพูดหรือทำอะไรให้เป็นที่ขวาง ๆ หรือทำให้เรื่องในวงสนทนาต้องเขวออกนอหเรื่องไป โดยไม่คิดว่าเรื่องที่เขากำลังพูดหรือทำอยู่นั้นจะมีความสำคัญขนาดไหน.
ชาติคางคกยางหัวไม่ตกไม่รู้สำนึก : สำนวนนี้ หมายถึง คนที่อวดดีหรือชอบกระทำนอกลู่นอกทางเมื่อมีคนทักท้วงก็ไม่เชื่อฟัง ยังขืนกระทำ จนเขาหมั่นไส้ปล่อยให้ลองทำเพื่อจะให้รู้สึกตัวบ้าง เพราะเชื่อว่าการกระทำนั้น ๆ จะต้องได้รับอันตรายถึงเลือดตกหรือเจ็บปวดเข้าก็ได้ หรืออีกทางหนึ่งเปรียบเทียบได้กับเด็กที่ไม่เชื่อฟังผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง เมื่อห้ามด้วยปากไม่เชื่อก็ต้องใช้ไม้เรียวเฆี่ยนทำให้เจ็บตัวเสียก่อนจึงจะรู้สึก
ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ : สำนวนทำนองนี้ มีอยู่ด้วยกันหลายประโยค และมีความหมายไปในทำนองเดียวกัน เช่น " ดูวัวให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ " " ดูข้างให้ดูหน้าหนาว ดูสาวให้ดูหน้าร้อน " ดังที่ได้ยินได้ฟังมาบ้างแล้ว แต่สำนวนที่ว่า " ดูช้างให้ดูหาง " นี้ มุ่งให้ดูหางช้าง ที่บอกลักษณะว่าเป็นช้างดีหรือช้างเผือก เพราะที่ปลายหางของมันยังเหลือให้เห็นสีขาวอยู่ตามเรื่องที่เล่าว่า เวลาช้างพังตกลูกเป็นช้างเผือกสีประหลาด พวกช้างพลายและช้างพังจะช่วยกัน " ย้อม " กลายลูกมันเสีย ด้วยการใช้ใบไม้หรือขี้โคนดำ ๆ พ่นทับ เพื่อมิให้คนรู้ว่าเป็นช้างเผือกแล้วมาจับไป หรืออย่างไรไม่แน่ชัด แต่การย้อมลูกของมันด้วยสีเผือกให้เป็นสีนิลนั้น ก็ยังเหลือร่องรอยอยู่อย่างหนึ่ง คือที่ปลายหางเป็นสีขาว เหตุนี้เขาจึงให้สังเกตลักษณะของช้างเผือกที่ตรงหางไว้เป็นหลักสำคัญ.
ได้แกง เทน้ำพริก : เป็นสำนวนที่มีความหมายอธิบายง่าย ๆ เปรียบเทียบว่า ได้ใหม่ลืมเก่านั่นเอง มักจะใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรยว่า ผู้ชายเราที่ได้ภรรยาใหม่ก็ทิ้งเก่าไปเลย คำว่า " น้ำพริก " หรือ " น้ำพริกถ้วยเก่า " เราจะหมายถึงภรรยาเก่าโดยเฉพาะ เพราะ " น้ำพริก " เป็นอาหารประจำวันของคนไทยเราที่ไม่มีการยักย้ายเปลี่ยนแปลงเหมือนแกงหรือผัด และมักจะมีประจำเกือบทุกมื้อก็ว่าได้.
ดอกกระดังงาไทย ไม่ลนไฟไม่หอม : ตามความหมายของสำนวนอย่างหนึ่งว่า สิ่งใดก็ตามถ้าปล่อยทิ้งไว้เปล่า ๆ หรือไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็เป็นสิ่งธรรมดาไม่ดีหรือไม่เลว แต่ถ้าไปทำให้มีเรื่องขึ้น กลับดูเหมือนจะทำให้ดีกว่าเก่ายิ่งขึ้นกว่าเดิม ตามความหมายดังกล่าวนี้ เราจึงมักจะเอามาใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรยว่า หญิงสาวบางคนที่บริสุทธิ์นั้นดูเป็นสิ่งธรรมดาไม่มีอะไรเป็นจุดเด่นหรือแปลก แต่ถ้าได้แต่งงานหรือมีสามีเสียครั้งหนึ่งแล้ว เลิกร้างกันกลับกลายเป็น " แม่หม้ายเนื้อหอม " ไปได้ เปรียบกับดอกกระดังงาไทย เมื่อเอามาลนไฟด้วยเทียนขี้ผึ้งจะมีกลิ่นหอมแรงขึ้น.
เด็ดบัวไม่ไว้ใย : หมายความว่า ตัดสัมพันธุไมตรี หรือ ความเป็นมิตรสนิท หรือเคยเป็นคนรักใคร่ชอบพอกันมาก่อน อย่างชนิดที่ไม่ยอมคืนดีกัน การที่เอาดอกบัวมาเปรียบก็เพราะเหตุที่ว่า ดอกบัวนั้นถ้าเราหักก้านดอกลง ตรงรอยหักมักจะมีเยื่อหรือใยก้านติดอยู่ ไม่ค่อยขาดจากกันง่าย สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า "
เด็ดบัวอย่าเหลือใย " หรือ อีกสำนวนหนึ่งว่า " เด็ดปลีไม่มีใย " ปลี หมายถึงดอกของกล้วยหรือหัวปลี.
เดินตามหลังราชสีห์ ดีกว่าเดินตามก้นสุนัข : ไม่ทราบที่มาของสำนวนนี้แน่ชัดนัก แต่เข้าใจว่า เป็นสำนวนที่เพิ่งเกิดขึ้นในยุคปัจจุบันนี้ หรือไม่มีนานมานี้นัก จำได้ว่าอดีตนักศิลปินผู้หนึ่งซึ่งล่วงลับไปแล้ว คือคุณเสน่ห์ โกมรชุนนำมาใช้เป็นมติของเขาครั้งหนึ่ง สมันที่ร่วมวงกับพรรคการเมืองพรรคหนึ่ง ซึ่งเรืองอำนาจในสมัยนั้น โดยถือคติยอมเป็นสมัคพรรคพวกของผู้มีอำนาจราชศักดิ์ดีกว่ายอมร่วมวงกับผู้ที่ปราศจากอำนาจราชศักดิ์หรือทรัพย์สิน.
ตกกระไดพลอยโจน : สำนวนนี้ทางหนึ่งหมายถึง ว่ากันว่าการทำอะไรที่บังเอิญเกิดผิดพลาดขึ้น โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง หรือทำไปได้ครึ่งแล้ว ก็จำต้องทำมันต่อไปให้เสร็จสิ้นเสียเลยเรียกว่า " พลอยโจน " อีกทางหนึ่ง คงจะหมายถึงการพลอยผสมโรงหรือพลอยตามไปด้วยกับเขา ทำนองเดียวกับที่ว่า เห็นคนอื่นตกกระได ตนเองก็เลยพลอยโจนตามโดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง แต่อีกทางหนึ่ง อาจหมายความได้ว่าการกระทำอะไรบังเอิญผิดพลาด คือ " ตกกระได " ก็เลยใช้วิธีกระโจนลงไปเสีย เพื่อไปตั้งหลักเอาใหม่ดีกว่าปล่อยให้ตกกลิ้งลงไป.
ติเรือทั้งโกลน : เป็นสำนวนหมายความว่า ชิงติงานที่เขาเริ่มทำใหม่ ๆ เสียก่อน ยังไม่ทันได้เห็นผลงานของเขา หรือเรียกว่า มีปากก็ติพล่อย ๆ โดยไม่รู้ว่า ฝีมือเขาจะเป็นยังไง " โกลน " ในสำนวนนี้หมายถึง ซุง ทั้งต้นที่เขาเอามาเกลาหรือถากตั้งเป็นรูปขึ้นก่อนเพื่อจะต่อเป็นเรือขุด โกลนในชั้นแรกจึงดูไม่ค่อยเป็นรูปร่างดี ต่อเมื่อโกลนดีแล้ว จึงตบแต่งค่อยเป็นค่อยไปจนเป็นรูปเรือ.
ตีงูให้กากิน : หมายถึง การลงทุนลงแรงทำอะไรขึ้นอย่างโดยไม่ได้เกิดประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น เปรียบเหมือนตีงูซึ่งต้องใช้ความกล้าหรือกำลังเล่นงานงู แต่ครั้นพองูตายแล้วก็เอามาทำประโยชน์อะไรไม่ได้ ต้องทิ้งหรือปล่อยให้กามาจิกกินเอาตามสบาย กา หรือ อีกา ในสมัยก่อนได้เห็นกันมาก จึงมักจะเอามาผูกเป็นสำนวนพังเพยอยู่ด้วยเสมอ เช่น " กาหน้าดำ เขาจำหน้าได้ " " กาคาบพริก " หรือ " สาวไส้ให้กากิน " เป็นต้น.
ตีวัวกระทบคราด : เป็นสำนวนหมายถึง การแสร้งทำหรือแสร้งพูด เพื่อให้กระทบกระเทือนไปถึงอีกฝ่ายหนึ่ง การเอาวัวกับคาดมาเปรียบ ก็เพราะคราดซึ่งใช้เป็นเครื่องมือกวาดลานฟางหรือหญ้าในนานั้นผูกเป็นคันยาวใช้วัวลากและคราดจะเป็นฝ่ายกระตุ้นให้วัวทำงานลากคราดไป ซึ่งผลงานคงจะอยู่ที่คราดเป็นตังกวาด เมื่อคราดไม่ทำงานก็เลยใช้วิธีตีวัวให้ลากคราด เป็นทำนองว่า " ตีวัวกระทบคราด " วัวเลยกลายเป็นแพะรับบาปเพราะคราด ความหมายคล้ายกับว่า เราทำอะไรคนหนึ่งไม่ได้ เช่น โกรธเขาแต่กลับไปเล่นงานสัตว์เลี้ยงหรือคนใกล้ชิดของเขา เป็นการตอบแทน.
ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ : สำนวนนี้ โบราณมักใช้พูดกันมาก หมายถึงการกระทำอะไรสักอย่างที่ไม่เหมาะสมหรือได้สมดุลกัน หรือใช้จ่ายทรัพย์ลงทุนไปในทางที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย เช่นลงทุนเล็กน้อยเพื่อทำงานใหญ่ซึ่งต้องใช้เงินมาก ๆ ย่อมไม่อาจสำเร็จได้ง่าย ต้องสูญทุนไปเปล่า ๆ เปรียบเหมือนตำน้ำพริกเพียงครกเดียว เอาไปละลายในแม่น้ำกว้างใหญ่ เมื่อละลายไปก็จะสูญหายไปหมดสิ้นไปทำให้แม่น้ำเกิดอะไรผิดปกติขึ้น เสียน้ำพริกไปเปล่า ๆ.
ต้นไม้ตายเพราะลูก : สำนวนนี้เอามาเปรียบได้กับ พ่อแม่ที่ต้องเสียเพราะลูก เช่นรักลูกมากจนยอมเสียสละชีวิต หรือทรัพย์สินเพื่อลูก ตามที่ว่า " ต้นไม้ตายเพราะลูก " ก็โดยที่ว่าต้นไม้บางชนิด เมื่อมีลูกหรือมีดอกผลมักจะตาย หรือโคนเพราะคนมาเก็บ หรือเมื่อออกดอกผลแล้ว เหี่ยวเฉาตายไปเองก็มี.
ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา : สำนวนนี้เป็นคำเปรียบเปรย หรือเป็นเชิงเตือนสติคนที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง หรือคนที่ทะเยอทะยานทำตนเสมอกับคนที่สูงกว่า ให้รู้จักยั้งคิดว่าฐานะของตนเองเป็ยอย่างไรเสียก่อน จึงค่อยคิดทำเทียมหน้าเขา ความหมายทำนองเดียวกับที่ว่า " ส่องกระจกดูเงาของตัวเองเสียก่อน " สำนวนนี้ ผู้หญิงสูงศักดิ์มักจะใช้เป็นคำเปรียบเปรยเย้ยหยันผู้ชายที่มีฐานะต่ำต้อยกว่า.
เตี้ยอุ้มค่อม : เป็นสำนวนที่หมายถึง คนที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว ยังอุตส่าห์ไปช่วยคนที่ยากจนกว่าตนเข้าอีก เท่ากับ " เตี้ยอุ้มค่อม " คือ ยิ่งทำให้ตัวเองแย่ลงไปอีก หรือจะเปรียบได้อีกทางหนึ่งว่าคนที่ทำงานหรือทำอะไรเป็นภาระใหญ่มากมายเกินสติกำลังของตน ซึ่งไม่แน่ว่าจะทำไปได้ตลอดหรือไม่.
ตัวเป็นขี้ข้า อย่าให้ผ้าเหม็นสาบ : สำนวนนี้เป็นสุภาษิตเก่าแก่ ที่สอนให้คนเราประพฤติชอบแต่ในทางที่ดีไม่ให้ประพฤติตนไปในทางเสื่อมเสีย แม้จะมีฐานะยากจน เป็นตนใช้หรือลูกจ้างเขาก็ตามแต่ ก็ต้องรักษาความดีความซื่อสัตว์ รวมทั้งความสะอาดกายไปในตัวด้วย อย่าปล่อยตัวเองให้ตกเป็นทาสของความชั่ว.
ตัวตายดีกว่าชาติตาย : สำนวนนี้เป็นสำนวนปลุกใจที่สืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคนแล้ว มีความหมายไปในทางให้คนเรารักประเทศชาติหรือบ้านเมืองของตนเองให้มั่น เมื่อยามมีศัตรูมารุกรานบ้าเมืองก็พร้อมที่จะพลีชีวิตร่วมกันต่อสู้เพื่อป้องกันประเทศโดยยอมให้ตนเองตายดีกว่าชาติหรือประเทศต้องถูกทำลายลง.
ตักน้ำรดหัวตอ : สำนวนนี้ โบราณใช้เป็นคำเปรียบเทียบถึงการที่เราจะตักเตือน หรือสั่งสอนใครสักคนหนึ่งแต่คนนั้นไม่ยอมรับ หรือไม่เชื่อฟังคำเรา เปรียบได้กับการที่เราเฝ้าหมั่นรดน้ำหัวตอของต้นไม้ เพื่อหวังจะให้งอกงามขึ้นมาได้ ความหมายอย่างเดียวกับสำนวนพังเพยที่ว่า " ตักน้ำรดหัวสากล " และ " สีซอให้ควายฟัง ".
ตาบอดได้แว่น : สำนวนนี้ประโยคควบคู่อยู่ด้วยอีกสองประโยคคือ " หัวล้านได้หวี นิ้วด้วนได้แหวน " มีความหมายอย่างเดียวกัน คือหมายถึง การได้ในสิ่งที่มีประโยชน์แก่ตนเองเลยแม้แต่น้อย เพราะคนศรีษะล้านย่อมไม่มีผมจะหวี และคนตาบอดถึงจะใส่แว่นก็มองไม่เห็นเพราะแว่นไม่ช่วยให้คนตาบอดกลับเห็นได้.
ตีตนไปก่อนไข้ : สำนวนคำพังเพยนี้หมายถึง การได้ข่าวหรือได้แต่เพียงรู้ว่า จะมีอะไรที่ไม่ดี หรือข่าวร้ายเกิดขึ้นกับตัว โดยที่ยังไม่เป็นที่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่ก็ชิงแสดงอาการทุกข์ร้อนหวาดกลัว หรือวิตกกังวลไปเสียก่อนแล้ว ทำให้หมดกำลังใจหรือกำลังความคิดที่จะคิดป้องกันไว้ก่อน เรียกว่าไข้ยังไม่ทันมาถึงเลย ตัวเองก็ชิงเป็นไข้เสียก่อน เพราะความกระวนกระวายหรือตกใจนั่นเอง.
ตีงูให้หลังหัก : คำพังเพยสำนวนนี้ เป็นคำเตือนสติให้เราได้รับรู้ว่า เมื่อจะทำอะไรก็ต้องตัดสินใจทำโดยเด็ดขาดหรือจริงจังลงไป อย่าทำครึ่ง ๆ กลาง ๆ มิฉะนั้นผลร้ายจะเกิดขึ้นได้ภายหลัง เปรียบได้กับการที่จะตีหรือกำจัดงูพิษ เราก็ต้องตีให้ตาย หรือให้ถึงขนาดหลังหักไปเลย มันจะได้สิ้นฤทธิ์กลับมาทำร้ายเราไม่ได้.
เต่าใหญ่ไข่กลบ : เป็นสำนวนที่หมายความว่า การทำอะไรที่เป็นพิรุธแล้วพยายามจะกลบเกลื่อนไม่ให้คนอื่นรู้ สำนวนนี้เอาเต่ามาเป็นคำเปรียบเทียบก็เพราะธรรมชาติของเต่าใหญ่ เช่น เต่าตนุเวลาจะวางไข่ ก็คลานขึ้นมาบนหาดทราย แล้วคุ้ยทรายให้เป็นหลุมเพื่อไข่ พอไข่เสร็จก็คุ้ยทรายกลบไข่เสีย เพื่อซ้อนไข่ของตนให้พ้นจากศัตรู หรือคนลักไปทำลาย.
ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น : หมายถึง คนที่ทำอะไรดูเป็นว่ารอบคบถี่ถ้วนดี แต่ความจริงไม่รอบคอบปล่อยให้มีช่องว่างเกิดขึ้น.
ถ่อไม่ถึงน้ำ น้ำไม่ถึงถ่อ : เป็นสำนวนหมายถึงการพูดหรือการกระทำอะไร ที่ไม่ปฏิบัติให้ถึงแก่นสำคัญของเรื่อง หรือทำไปครึ่ง ๆ กลาง ๆ หรือขาดตกบกพร่องในการปฏิบัติเช่นขาดเงิน หรือขาดกำลังสนับสนุน สิ่งนั้นก็ย่อมจะไม่สำเร็จ หรือประสบผลตามความต้องการ เมื่อเปรียบกับการถ่อเรือหรือถ่อแพโดย
ถ่อไม่ถึงน้ำ เพราะถ่อสั้นไป ก็ย่อมใช้งานอะไรไม่ได้.
ถลำร่องชักง่าย ถลำกายชักยาก : สำนวนนี้มีความหมายอธิบายอยู่แล้วในประโยคแรก ที่ว่าการพลาดถลำตกลงไปในร่องพื้น ยังพอชักเท้าขึ้นมาได้ แต่การถลำใจซึ่งหมายถึงการหลงเชื่อหรือหลงรักหนัก ๆ เข้า ย่อมถอนออกได้ยาก.
ถ่มน้ำลายรดฟ้า : สำนวนนี้ใช้เป็นความหมายถึง คนที่คิดร้ายหรือดูหมิ่นบุคคลที่สูงกว่า คำว่า " ถ่มน้ำลาย " เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปเกือบทุกชาติแล้วว่า คือการแสดงกิริยาดูถูกดูหมิ่น และมักใช้เป็นกิริยาแสดงออกให้อีกฝ่ายเห็นได้ชัด เรียก " ถ่ม " หรือ " ถุ่ย " แตกต่างกับลักษณะของการ " บ้วนน้ำลาย " เมื่อพูดว่า " ถ่มน้ำลายลดฟ้า " ก็หมายถึง ดูเหมือนบุคคลที่สูงกว่า การถ่มน้ำลายขึ้นไปที่สูงคือฟ้าน้ำลายนั้นก็ย่อมจะตกลงมาถูกหน้าตาของตนเองความหมายจึงอยู่ที่ว่า การดูหมิ่น หรือคิดร้ายต่อบุคคลที่สูงกว่าหรือที่เคารพทั่วไป มักจะกลับเป็นผลร้ายหรืออภัยแก่ตนเองได้.
ถ่มน้ำลายแล้วกลับกลืนกิน : สำนวนนี้ต่างกับคำว่า " ถ่มน้ำลายรดฟ้า " ถ่มน้ำลายในประโยคนี้ หมายถึง การที่พูดหรือลั่นวาจาออกไปแล้ว เป็นการตัดขาดว่าจะไม่เกี่ยวข้องกันอีก แต่แล้วก็กลับไปเกี่ยวข้องเข้าอีก เป็นทำนองกลับคำของตนเองที่ได้พูดไว้.
ถ่านไฟเก่า : สำนวนนี้ มีความหมายโดยเฉพาะสำหรับชายหญิงที่เคยเป็นคู่รักหรือเคยมีสัมพันธ์กันมาก่อนแล้วเลิกร้างกันไป หรือห่างไประยะหนึ่ง เมื่อกลับมาพบกันใหม่ ก็ทำท่าจะตกลงปลงใจ คืนดีกันได้ง่าย เปรียบเหมือนถ่านไฟที่เคยติดแล้วมอดอยู่หรือถ่านดับไปแล้ว
ทำคุณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป : สำนวนนี้ หมายความว่า การทำคุณหรือการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยเจตนาดี แต่กลับกลายเป็นได้รับโทษตอบแทนหรือเข้าทำนองที่ว่า ยุ่งไม่เข้าเรื่องอะไรทำนองนั้นสำนวนนี้นิยมใช้ประโยคแรกประโยคเดียวพูดก็เป็นที่เข้าใจกัน.
ทุบหม้อข้าวตัวเอง : เป็นสำนวนที่หมายถึง การทำลายอาชีพหรืองานในหน้าที่ หรือผลประโยชน์ที่ตนกำลังได้รับอยู่ เช่นคิดทุจริตต่อนายจ้างของตนเองทำให้นายจ้างจับได้ถูกไล่ออกเรียกว่า " ทุบหม้อข้าว " ของตนเอง เพราะเมื่อหม้อข้าวแตกเสียแล้ว ก็อดกินข้าว หรือ บางทีอาจจะไม่มีหม้อหุงข้าวไว้สำหรับหุงเองด้วย.
เทวดานิมนต์มาเกิด : สำนวนในชั้นเดิม เข้าใจว่าคงจะหมายไปในทางดีหรือหมายถึง " คนดี " เพราะลงว่าเทวดาหรือสวรรค์ให้มาเกิดแล้ว ก็น่าจะเป็นคนมีบุญ และมีพรสวรรค์ให้เป็นคนเก่งยอดเยี่ยมกว่าคนธรรมดาอย่างแน่นอน แต่ตกมาระยะหลัง กลับมีผู้นำไปใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรย หรือประชดประชันเด็ก ๆ ที่เกกมะเหรกเกเรหรือซนเก่งเป็นยอดเยี่ยม ว่าเป็นเด็กที่ " เทวดานิมนต์มาเกิด " ไปเสีย.
ทำนาบนหลังคน : หมายถึงคนที่คิดหาผลกำไรหรือหาผลประโยชน์ใส่ตน ด้วยวิธีเบียดเบียนหรือรีดนาทาเร้นเอาจากน้ำพักน้ำแรงของผู้อื่น โดยขาดความเมตตา เช่น ให้กู้เงินแล้วเรียกดอกเบี้ยแพง ๆ หรือกว้านซื้อข้าวจากชาวนาในราคาถูก ๆ เพื่อเอามาค้าหากำไรโดยเหตุที่การทำนาของคนไทยในสมัยโบราณจัดว่า เป็นอาชีพหลักและสำคัญส่วนใหญ่โบราณจึงเอาเรื่อง " ทำนา " มาผูกเป็นสำนวนความหมายทำนองเดียวกับ " รีดเลือดกับปู " ก็ได้.
เทศน์ตามเนื้อผ้า : แปลว่า จะพูดหรือสั่งสอนใครก็พูดเรื่อยไปตามตำราหรือแบบแผน ไม่มีการดัดแปลงให้เข้ากับคนฟังหรือให้เหมาะสมกับกาลเทศะจึงย่อมจะมีผู้ฟังบางคนไม่เข้าใจก็ได้.
น้ำกลิ้งบนใบบอน : เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึง คนใจไม่แน่นอน กลับกลอก โดยเฉพาะมุ่งถึงหญิงที่ว่า " น้ำใจหญิงเหมือนกลิ้งบนใบบอน " สำนวนนี้เอามาจากน้ำที่หยดอยู่บนใบบอน กลิ้งไปกลิ้งมาโดยที่ใบบอนมีลักษณะเลี่ยนลื่นไม่ซับน้ำ ทำให้น้ำที่ขังเป็นก้อนกลมอยู่ลนใบกลิ้งไปกลิ้งมาได้.
น้ำขึ้นให้รีบตัก : เป็นสำนวนสุภาษิตที่หมายถึงว่า เมื่อมีโอกาสหรือได้จังหวะ ในการทำมาหากินหรือช่องทางที่จะทำให้ได้ผลประโยชน์แก่ตนแล้ว ก็ควรจะรีบคว้าหรือรีบฉวยโอกาสอันดีนี้เสีย อย่าปล่อยโอกาสหรือจังหวะเวลาให้ผ่านพ้นไปอย่างน่าเสียดาย สำนวนนี้เอาไปเปรียบกับอีกสำนวนที่ว่า " ช้า ๆ ได้พร้าเล่มงาม " แล้ว หากคุณไม่เข้าใจความหมายก็อาจจะทำให้พะวักพะวงใจอยู่บ้าง เพราะไม่รู้ว่าจะเชื่อสำนวนไหนดี อย่างไรก็ควรดูคำแปลความหมายของอีกสำนวนนั้นเสียก่อน.
น้ำเชี่ยวขวางเรือ : เป็นสำนวนที่หมายถึงการทำอะไรให้เป็นที่ขัดขวาง หรือเป็นที่ขัดต่ออารมณ์ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยไม่ดูเหตุการณ์เสียก่อน อาจทำให้ได้รับเคราะห์หรืออันตรายได้ เปรียบเทียบน้ำในแม่น้ำกำลังไหลเชี่ยวจัด ถ้าเราแจวเรือหรือพายเรือออกไปขวาง เรือก็อาจจะล่มได้ทันที.
น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา : หมายถึง โอกาสของใครหรือจังหวะดีของใคร ฝ่ายนั้นก็ย่อมชนะความหมายอย่างเดียวกับคำว่า " ทีใคร ทีมัน ".
น้ำตาลใกล้มด : เป็นสำนวนที่หมายโดยเฉพาะถึง ผู้หญิงกับผู้ชายที่อยู่ใกล้กัน เปรียบเหมือนน้ำตาลกับมดเช่นเดียวกับผู้หญิงอยู่ใกล้กับผู้ชาย ผู้ชายเราก็อดที่จะเข้ามาไต่ตอมหรือเลาะเล็มผู้หญิงไม่ได้ หรือบางทีก็อาจมีใจตรงกันขึ้นได้ทั้งคู่เมื่ออยู่ใกล้กัน.
น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง : เป็นความหมายถึง คนที่พูดมาก แต่ถ้อยคำที่พูดนั้นได้เนื้อความน้อยหรือมีสาระเพียงนิดเดียว สำนวนนี้เรามักใช้พูดสั้น ๆ ว่า "
น้ำท่วมทุ่ง " หรือ " พูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง " เสียส่วนมาก แต่ก็เป็นความหมายชัดเจนอย่างว่าดี.
น้ำนิ่งไหลลึก : เป็นสำนวนที่หมายถึง คนที่ดูภายนอกสงบเสงี่ยมหรือเป็นคนหงิม ๆ ไม่ค่อยพูดจา แต่มักจะเป็นคนมีความคิดฉลาด หรือทำอะไรได้แคล่วคล่องว่องไว เปรียบเหมือนน้ำที่ดูตอนผิวหนังที่สงบนิ่ง แต่ลึกลงไปข้างใต้นั้นกลับไหลแรง.
น้ำน้อยย่อมแพ้ไฟ : เปรียบได้กับอะไร ๆ ที่น้อยกว่าย่อมแพ้แก่ฝ่ายที่มากกว่า เช่นน้ำน้อยก็ไม่พอจะดับไฟ หรือพวกที่มีกำลังน้อยกว่า ก็ย่อมแพ้พวกที่มีกำลังมากกว่า.
น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า : หมายถึง คนเราต้องต่างพึ่งพากันและกันตลอดมา.
น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย : น้ำร้อนหมายถึงคนที่ปากร้ายแต่จิตใจไม่ร้ายย่อมไม่เป็นพิษภัย ส่วนน้ำเย็นหมายถึงคนปากหวานหลอกให้คนหลงเชื่อง่าย ๆ ย่อมมีอันตรายได้.
น้ำลึกหยั่งได้ น้ำใจหยั่งยาก : หมายถึง น้ำลึกแค่ไหนเรายังวัดหยั่งได้ แต่น้ำใจหรือจิตใจของคนเราวัดได้ยาก.
น้ำลดต่อผุด : สำนวนนี้ หมายถึง คนที่เวลาชะตาตกหรือเคราะห์ร้าย ความลับต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับความประพฤติไม่ดี เช่น ทุจริต คดโกง ที่เคยทำไว้ก็มักปรากฏออกมาให้เห็น เวลาชะตาดีก็เปรียบเหมือนน้ำขึ้นท่วมตอ จึงมองไม่เห็นตอ แต่เวลาชะตาตก น้ำลดแห้ง ตกก็ผุดขึ้นมาให้เห็นเป็นแถว.
นอนหลับไม่รู้ นอนคู้ไม่เห็น : แปลว่า ไม่รู้ไม่เห็นอะไร เปรียบเหมือนคนนอนหลับ ที่ไม่รู้สึกตัว.
นกยูงมีแววที่หาง : หมายถึง คนที่มีฐานะดี หรือสกุลรุนชาติดี ย่อมมีอะไรในตัวเป็นเครื่องสังเกตให้เห็นอยู่บ้าง เช่นกิริยามาทหรือการพูดจาทำนองเดียงกันที่ว่า " สำเนียงบอกภาษา กิริยาบอกสกุล ".
นับสิบไม่ถ้วน : เป็นสำนวนที่หมายถึง การขาดความรู้ความสามารถ หรือตกอยู่ในลักษณะของคนที่เลอะเลือน ขี้หลงขี้ลืมง่าย ๆ ทำอะไรไม่ถูกเปรียบได้กับว่า แม้จะนับหนึ่งถึงสิบ ก็ยังนับไม่ถูกหรือนับไม่เป็น.
เนื้อเข้าปากเสือ : ลงว่า เนื้อตกเข้าไปอยู่ในปากเสือ หรือ เสือเอาปากขม้ำเข้าไว้แล้ว เนื้อย่อมไม่มีทางรอดเปรียบได้กับคนที่ตกเข้าไปอยู่ในที่เป็นอันตรายหรือตกเป็นเหยื่อของคนฉลาดกว่า หลอกให้เชื่อแล้วก็หาทางรอดได้ยาก.
เนื้อเต่าย้ำเต่า : สำนวนนี้ มีความหมายอย่างเดียวกับสำนวนที่ว่า " อัฐยายชื้อขนมยาย " หรือ " หอกมันแทงมัน " คือแปลว่า อะไรที่มีอยู่แล้วหรือได้มาจากการนั้น ก็เอาอันนั้นไปทำให้เป็นผลต่อไป เช่น ได้เงินจากเสี่ยงโชค ก็เอาเงินที่ได้นั้นเสี่ยงโชคซ้ำลงไปอีก.
เนื้อหมูไปใส่เนื้อช้าง : มีความหมายถึงการที่เอาข้างที่มีอยู่น้อยกว่าอยู่เดิม ไปเติมให้แก่ข้างที่มีมากกว่าอยู่ก่อนแล้ว ทำให้ข้างที่มีมากกว่าก็ยิ่งเพิ่มขึ้นไม่สมกัน หรือเปรียบอีกทางหนึ่งว่า เอาเงินจากคนจนไปถมให้กับคนมั่งมีที่มีอยู่แล้วมากขึ้นอีก.
เนื้อไม่ได้กินหนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกมาแขวนคอ : เป็นสำนวนที่มีความหมายอย่างเดียวกับ " แพะรับบาป " คือแปลว่า คนที่ไม่ได้มีส่วนร่วมด้วยเลย แต่กลับต้องมีส่วนเข้าไปพัวพัน จนได้รับเคราะห์แทนเขา โดยที่ตนเองไม่รู้เห็นหรือไม่ได้มีส่วนในผลประโยชน์นั้นแม้แต่น้อย " เอากระดูกมาแขวนคอ " เป็นความหมายถึงการเอาทุกข์มาใส่ตนเอง.
นิ้วไหนร้ายตัดนิ้วนั้น : สำนวนนี้ หมายถึง ในกลุ่มในพวกที่มีจำนวนมาก แต่บังเอิญมีคนชั่วอยู่ด้วยก็ให้คัดออกเสียเฉพาะที่ชั่ว หรือถ้าจะลงโทษ ก็ควรลงโทษแต่เฉพาะคนชั่ว ส่วนคนที่ดีนั้น ก็ไม่ควรไปเหมาเอาว่าเป็นพวกเดียวกัน หรือชั่วไปหมดเสียทุกคนทีเดียวนัก.
นิ้วด้วนได้แหวน : สำนวนนี้ ควบคู่กับ " ตาบอดได้แว่น หัวล้านได้หวี " ดังได้อธิบายมาแล้ว คือหมายถึง การได้อะไรในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน หรือตนเองไม่มีโอกาสจะใช้ ทำนองเดียวกับ " ไก้ได้พลอย " เพราะพลอยย่อมไม่มีประโยชน์ หรือมีคุณค่าแก่ไก่สู้ข้าวเปลือกเมล็ดเดียวก็ไม่ได้.
บวชก่อนเบียด : แปลว่า บวชเป็นพระเสียก่อน เมื่อสึกออกมาแล้วจึงค่อยแต่งงานหรือหาภรรยา คำว่า "เบียด " ในที่นี้ แปลว่ามีภรรยา ถ้า " เบียดก่อนบวช " ก็หมายความว่า มีเมียก่อนบวช.
บ่างช่างยุ : หมายถึง คนที่ชอบยุแหย่ สำนวนนี้ เอามาจากเรื่องนิทานสอนเด็ก ที่สมมุติให้ตัวบ่างสัตว์ชนิดหนึ่งเป็นตัวบ่างช่างยุแหย่ในเรื่อง.
เบี้ยล่าง เบี้ยบน : สำนวนนี้เปรียบเทียบเอาว่า " เบี้ยบน " คือฝ่ายที่กำชัยชนะ หรือมีอำนาจอยู่เหนือกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเปรียบเหมือน " เบี้ยล่าง " เรียกว่า
เบี้ยบนเป็นต่อกว่าเบี้ยล่าง หรือเบี้ยล่างเป็นรองเบี้ยบน สำนวนนี้มาจากการเล่นหรือการพนันทั่วไป.
บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น : หมายความว่า จะทำอะไรก็ค่อย ๆ พูดจากัน อย่าให้มีเรื่องมีราวเดือดร้อนเกิดขึ้นกีบอีกฝ่ายหนึ่ง.
บุญมา ปัญญาก็ช่วย ที่ป่วยก็หาย ที่หน่ายก็รัก : สำนวนนี้ เป็นสุภาษิตคำพังเพยของท่านเจ้าพระยามหินทรศักดิ์ดำรง มีความหมายอธิบายอยู่ในตัวประโยคแล้ว และมีสำนวนต่อท้ายในลักษณะตรงข้ามอีกด้วย " บุญไม่มา ปัญญาไม่ช่วย ที่ป่วยก็หนัก ที่รักก็หน่าย ".
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก : หมายถึง คนที่มีอำนาจราชศักดิ์หรือเป็นใหญ่เป็นโตก็ย่อมข่มคนที่เป็นผู้น้อยกว่าได้หรือจะเปรียบเอาว่า คนที่มีกำลังน้อยกว่าก็ย่อมมีภาษีเหนือกว่าคนที่อ่อนแอได้ ตามหลักธรรมดาทั่วไปที่ว่า " ปลาใหญ่กินปลาเล็ก " และ " ปลาเล็กตอนปลาน้อย " กินกันเป็นทอด ๆ ไป.
ปลาข้องเดียวกัน ตัวหนึ่งเน่า ก็พลอยพาให้เหม็นไปด้วย : สำนวนนี้ค่อนข้างจะยาวไปสักหน่อย แต่ก็เป็นที่จำได้ง่าย หรือใช้กันทั่วไป มีความหมายว่า คนที่อยู่ร่วมกัน ถ้าคนใดคนหนึ่งทำมิดี หรือทำชั่วก็พลอยให้คนอื่น ๆ ที่อยู่ร่วมกันเสียไปด้วย.
ปลาตกน้ำตัวโต : เป็นสำนวนที่หมายถึง การทำสิ่งใดที่เสียหรือสูญหายไปเพียงเล็กน้อย แต่พลอยเพิ่มเติมว่า ของที่สูญไป นั้นมีราคามากกว่าความจริง เป็นการเอาปลาที่ตกน้ำ แล้วว่ายหายไป มาเปรียบเทียบเพราะไม่มีใครเห็นขนาดแท้จริงของปลา.
ปลาติดหลังแห : สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า " ปลาติดร่างแห " แต่ที่ถูกต้องเป็น " ปลาติดหลังแห " เพราะมีความหมายว่า คนที่ต้องพลอยมีส่วนเข้าไปพัวพันเกี่ยวข้อง หรือรับเคราะห์ร่วมกับคนอื่น ๆ ด้วยโดยที่ตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแม้แต่นิด เช่น พลอยถูกจับร่วมไปกับวงการพนัน โดยที่ตนไม่ได้ร่วมวงเล่น แต่บังเอิญผ่านเข้าไปทาวนั้น คำว่า " ติดหลังแห " หมายถึงปลาที่คอยติดอยู่นอกแหขึ้นมาเวลาสาวแหขึ้นจากน้ำ.
ปลาหมอตายเพราะปาก : หมาถึงคนที่ชอบพูดพล่อย ๆ รู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือพูดแสดงความอวดดี จนตัวเองต้องรับเคราะห์ก็เพราะปากของตนเอง สำนวนนี้มาจากปลาหมอที่อยู่ในลำน้ำ มักชอบผุดขึ้นฮุบเหยื่อหรือน้ำบ่อย ๆ จนเป็นที่สังเกตของนักจับปลาได้ว่า ปลาหมออยู่ตรงไหน ก็เอาเบ็ดล่อลงไปรงนั้นไม่ค่อยพลาด จึงเรียกว่า ปลาหมอตายเพราะปาก.
ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ : สำนวนนี้มีความหมายอย่างเดียวกันทั้งสองประโยคที่ว่า การปล่อยให้บุคคลสำคัญ หรือศัตรูที่เราจับได้กลับไปสู่แห่ลงเดิมของมัน เพราะเสือย่อมอยู่ในป่า และปลาอยู่ในน้ำ เมื่อมันกลับสู่รังธรรมชาติของมันแล้ว กำลังวังชาของมันก็ย่อมมีขึ้นอย่างเดิม มันอาจจะเป็นเหตุให้ศัตรูกลับมาคิดแก้แค้นเราได้ภายหลัง.
ปล่อยปลาไหลลงตม : ความหมายอย่างเดียวกับ " ปล่อยเสือเข้าป่า " หรือ " ปล่อยปลาลงน้ำ ".
ปลูกเรือนคล่อมตอ : สำนวนนี้ หมาถึงการทำอะไรที่เป็นการล่วงล้ำหรือก้าวก่ายหรือทับสิทธิของอีกฝ่ายหนึ่ง จะโดยรู้อยู่หรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ตามแต่อันอาจเป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางก็ได้.
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ผูกอู่ตามใจผู้นอน : สำนวนนี้มีความหมายอย่างเดียวกันทั้งสองประโยค เป็นสุภาษิตพังเพยที่สอนว่า การทำอะไรก็ตามแต่จะต้องตามใจผู้ที่จะได้รับโดยตรง เช่น พ่อแม่ที่คิดจะหาสามีให้บุตรสาวของตนเอง ก็ควรจะเลือกผู้ชายที่บุตรสาวของตนเอง ก็ควรจะเลือกผู้ชายที่บุตรสาวของตนมีใจสมัคอยู่ด้วย จึงจะชอบ.
ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย : หมายถึง การทำอะไรที่ผิดโดยไม่ไตร่ตรองแต่แรกจึงได้รับความเสียหายหนัก.
ปลูกเรือนพอตัว หวีหัวพอเกล้า : หมายความว่า จะทำอะไรให้ทำหรือให้พอเหมาะพอสมควร อย่าให้เกินสติปัญญา หรือกำลังหรือฐานะของตนเองจนเกินไป ทำนองเดียวกับสำนวนที่เปรียบเทียบไว้.
ปั้นน้ำเป็นตัว : สำนวนนี้ มักใช้เป็นคำเปรียบเทียบถึงคนที่พูดอะไรไม่เป็นเรื่องจริงหรือไม่มีมูล เรียกว่าคนโกหกหรือปั้นเรื่องราวเก่ง คือสามารถปั้นน้ำเหลว ๆ ให้เป็นตัวได้.
ปิดทองหลังพระ : หมายความว่า การทำอะไรที่สำคัญ ๆ แต่ไม่มีคนมองเห็นสิ่งที่ตนเป็นผู้ทำ จึงย่อมจะไม่ได้รับการยกย่องชมเชยเท่าที่ควร เปรียบเอาการปิดทองหลังพระพุทธรูป ซึ่งมักจะไม่มีใครเห็นด้านหน้าก่อน.
ปิดควันไฟไม่มิด : แปลว่า การทำอะไรที่เป็นเรื่องอื้อฉาวหรือสิ่งที่ไม่ควรเปิดเผย ก็พยายามจะปกปิดไว้แต่ปิดไม่มิดหรือปิดไม่สำเร็จ.
ปิ้งปลาประชดแมว : สำนวนนี้ ต่อท้ายกับสำนวนที่ว่า " หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว " หมายความว่า การทำประชดหรือทำแดกดันที่กลับเป็นผลร้ายแก่ตนเอง เพราะธรรมดาแมวชอบกินปลา ถ้ายิ่งปิ้งปลาให้แมวกินแบบประชดมาก ๆ แมวก็ยิ่งชอบ แต่ตัวคนทำประชดจะต้องเสียผลมากขึ้น.
ปากคนยาวกว่าปากกา : หมายความว่า ปากคนเรานั้นพูดหรือเล่าลือออกไปได้ไกล ถึงแม้ความจริงปากคนเราจะยื่นน้อยกว่าปากของกาก็ตาม แต่การพูดอะไรต่ออะไรต่าง ๆ ไปได้ยาวกว่าปากกาอีกมาก.
โปรดสัตว์ได้บาป : สำนวนนี้ ต่อท้ายควบคู่กับสำนวนที่ว่า " ทำคุณบูชาโทษ " ความหมายดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว มักพูดติดต่อกันไปว่า " ทำคูณบูชาโทษ โปรดสัตว์ได้บาป.
ผงเข้าตาตนเอง : โดยหลักธรรมดาที่ว่า ผงเข้าตาผู้อื่นเขาวานให้เราเขี่ยผงออก เราย่อมจะทำได้ แต่ถึงคราวที่ผงเข้าตาเราเองเข้าบ้าง เราย่อมไม่มีปัญญาเขี่ยออกได้แน่ ก็ต้องวานคนอื่นเขาเขี่ยบ้างเปรียบได้ว่า ปัญหาของคนอื่นเราแก้ให้เขาได้แต่ถึงคราวเราเกิดมีปัญหาลับคับอกขึ้นมาบ้าง เราเองกลับแก้ไม่ตก.
แผ่นดินไม่ไร้เท่าใบพุทรา : หมายความว่า แผ่นดินนี้ไม่ใช่จะมีแต่ผู้หญิงหรือผู้ชายคนเดียวเท่านั้นเป็นเชิงสอนมิให้คนเราคิดลุ่มหลงรักใคร่จนเกินไปนัก.
ฝนทั่งให้เป็นเข็ม : เป็นสำนวนที่หมายถึง การทำอะไรก็ตามแต่ จะต้องพยายามให้เต็มกำลังความสามารถของตนเอง หรือทำให้สำเร็จลงได้.
ฝากเนื้อไว้กับเสือ : แปลว่า ไว้เนื้อเชื่อใจโดยฝากสิ่งใดไว้กับผู้ที่ชอบสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็ย่อมจะสูญได้เช่นฝากสาวงามไว้กับผู้ชายเจ้าชู้ เจ้าชู้ผู้นั้นหรือจะอดได้.
ฝนตกอย่าเชื่อดาว มีเมียสาวอย่าไว้ใจแม่ยาย : เป็นสำนวนสุภาษิตที่สอนให้ว่า อย่าไว้ใจอะไรที่เดียวจนเกินไปนัก เปรียบกับที่ว่า เห็นดาวอยู่เต็มท้องฟ้า ไม่มีท่าว่าฝนจะตกลงมาเลย แต่ฝนก็อาจจะตกลงมาได้ ส่วนที่ว่า " มีเมียสาวอย่าไว้ใจแม่ยาย " นั้นคงเข้าทำนองที่ว่า แม่ยายที่มีลูกสาวสวยนั้นก็อย่าเพิ่งไปไว้ใจว่า แม่ยายจะไม่คิดพรากลูกสาว หรือเมียสาวของเราไปให้กลับผู้ชายที่มีฐานะดีกว่า เพราะอาจมีแม่ยายบางคนที่เห็นแก่เงินก็ได้.
พกหินดีกว่าพกนุ่น : คำว่า " พกหิน " หมายถึง ใจคอหนักแน่น เปรียบเหมือนเอาหินหนัก ๆ มาไว้กลับตัว ส่วน " พกนุ่น " หมายถึง ใจเบา หรือหูเบาเอนเอียงง่าย เพราะนุ่นเป็นของเบา สำนวนนี้จึงหมายถึง ทำใจคอให้หนักแน่นไว้ดีกว่าหูเบาหรือใจเบา หลงเชื่อคำของคนอื่น.
พบไม้งามเมื่อขวานบิ่น : สำนวนนี้ ใช้เป็นความหมายโดยเฉพาะกับผู้ชายเราที่บังเอิญมาพบผู้หญิงสวยงาม ถูกใจอย่างแท้จริงคนหนึ่งเข้า แต่ก็เป็นการสายเสียแล้ว เพราะวัยของคนชราภาพหรือมีครอบครัวเต็มทีแล้ว ก็เท่ากับว่า สังขารของคนชราภาพหรือมีครอบครัวเต็มทีแล้ว ก็เท่ากับว่า สังขารของตนไม่อำนวย เพราะ " ขวาน " ที่จะใช้การก็มามีอัน " บิ่น " ตัดไม้หรือตัดอะไรไม่ได้เสียแล้ว.
พลิกหน้ามือเป็นหลังมือ : หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขจากของเดิมให้มันผิดแผกแตกต่างออกไปทั้งหมด หรือคิดว่าจะทำอย่างนี้ แต่กลับเปลี่ยนแปลงไปทำอีกอย่างในลักษณะตรงกันข้าม เปรียบได้กับ หลังมือและหน้ามือ.
พิมเสนแลกกับเกลือ : หมายความว่า ยอมลดตัวเองไปทำในสิ่งที่ต่ำกว่า หรือไม่คู่ควรกัน ความหมายของ " พิมเสน " ย่อมมีราคากว่า " เกลือ " การทำตนเองให้มีราคาตัวของตนตกต่ำลงไปก็เท่ากับว่า เอาพิมเสนไปแลกกับเกลือ.
พุ่งหอกเข้ารก : สำนวนนี้ หมายถึงทำอะไรที่สักแต่ว่าทำลงไปให้แล้วเสร็จ โดยไม่คิดคำนึงถึงผลเสียหรือผลที่จะได้รับเป็นอย่างไร เปรียบได้กับการพุ่งหอกเข้าไปในที่รก โดยไม่รู้ว่า หอกนั้นจะไปตกต้องโดนอะไรเข้าไปเป็นผลเสียหายบ้าง เพราะในที่รกย่อมมองไม่เห็นว่ามีอะไร.
เพชรตัดเพชร : สำนวนนี้ หมายถึงคนที่มีความสามารถดีกับคนที่มีความสามารถพอ ๆ กัน มาพบกันเข้าต่างฝ่ายย่อมจะทำอะไรกันไม่ได้ เพราะเท่ากับเก่งด้วยกัน เหมือนเพชรคม ๆ ด้วยกัน.
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง : หมายความว่า พูดไปก็ไม่มีประโยชน์ สู้นิ่งไว้ดีกว่า.
แพ้เป็นพระ ชนะเป็นมาร : สำนวนนี้ มาจากธรรมเทศนาที่สอนให้คนเรารู้จักอดกลั้นใจ หรือระงับยับยั้งความโกรธในการที่คิดจะสู้กับฝ่ายศัตรู มิให้เป็นเรื่องราวลุกลามใหญ่โตเกิดขึ้น โดยที่ฝ่ายรู้จักคิดอดกลั้นไม่ต่อกรด้วย ถึงจะเป็นผู้แพ้ก็ได้ชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐกว่าผู้ที่คิดจะทำร้ายเขาเพื่อเอาชนะ.
ฟ้าสูงแผ่นดินต่ำ : เป็นสำนวนเปรียบเทียบให้คนเรารู้จักกาละเทศะ รู้ที่สูงที่ต่ำ หรือรู้ว่าสิ่งใดเหมาะสิ่งใดควรแก่ฐานะของตนเอง ไม่ตีตนเสมอไปหมด.
ฟื้นฝอยหาตะเข็บ : เป็นสำนวนหมายถึง การรื้อเอาเรื่องเก่า ๆ ที่แล้วไปแล้ว มาพูดขึ้นให้เป็นที่สะเทือนใจ และอาจทำให้มีเรื่องมีราวเกิดขึ้นอีกทั้ง ๆ ที่เรื่องนั้นสงบไปนานแล้ว.
ฟังหูไว้หู : หมายถึง การรับฟังคำพูดหรือเรื่องราวต่าง ๆ ไว้ แต่เพียงรับฟังเท่านั้น อย่าเพิ่งเชื่อไปเสียหมดแปลตามสำนวนก็ว่า ฟังด้วยหูข้างเดียว อีกหูปิดไว้อย่าฟัง หรืออย่าเปิดทั้งสองหูฟังหมด.
ฟังไม่ได้ศัพท์ จับเอามากระเดียด : ได้ยินหรือได้ฟังมาไม่ถนัดชัดเจน ก็นำเอามาพูดบอกผิด ๆ ถูก ๆ หรือมาใช้ผิด ๆ พลาด ๆ.
มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก : สำนวนนี้หมายถึงคนที่พูดเก่ง หรือตลบแตลงเก่ง พูดกลับกลอกได้รอบตัว หรือพูดจนจับคำไม่ทัน เป็นที่ไม่น่าเชื่อถือและไว้ใจ เปรียบเหมือนกับว่าเป็นคนหลบหลีกได้คล่อง ถึงจะเอามะกอกใส่เต็มตะกร้า ๓ - ๔ ตะกร้ามาขว้างปาก็ไม่ถูก ทำนองเดียวกับที่ว่า " จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน "
มะนาวกลมกลี้ยง บ่มีคนกลึง : สำนวนนี้ มักใช้ควบคู่กับ " หนามแหลม บ่มีคนเสี่ยม มะนาวกลมเกลี้ยง บ่มีคนกลึง " หรือบางทีก็พูว่า หนามแหลมไม่มีคนเสี้ยม มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีคนกลึง " แปลว่า คนที่มีสติปัญญาหรือมีความสามารถเก่งกาจนั้น อาจเป็นผู้ที่ไม่ต้องมีใครสอนเลยก็ได้ โดยเกิดขึ้นเองในตัว หรือหมายถึง คนที่มีตระกูลดีหรือบรรพบุรุษดีมาแล้ว ตนเองก็ย่อมจะมีแววดีติดตามมาด้วย โดยไม่ต้องมีใครสอน.
มะพร้าวห้าวมาขายสวน : สำนวนนี้ เป็นคำเปรียบเปรยคนที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือโง่เขลา เช่น เอาอะไรมาแสดงอวดกับคนที่เขารู้ดีอยู่แล้ว หรือเรียกว่าทำไปโดยไม่คิดว่าเขาจะรู้ดีกว่าตน เปรียบเหมือนเอามะพร้าวห้าวหรือมะพร้าวแก่ไปขายกับชาวสวนที่มีมะพร้าวอยู่แล้ว ความหมายอย่างเดียวกับคำว่า " ห้าแต้ม ".
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ : เป็นสำนวนที่หมายถึง คนที่ไม่ช่วยเขาทำงานแล้ว ยังไปทำตัวให้เป็นที่กีดขวางเกะกะแก่งานของเขาอีกด้วย เพราะเมื่อเอาเท้าหรือตีนไปราน้ำเวลานั่งเรือที่เขาพายอยู่ด้วยนั้น ก็ย่อมจะทำให้เท้าไปต้านน้ำไว้ ทำให้เรือแล่นช้าลงอีก.
ไม่ได้ด้วยเลห์เอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ เอาด้วยคาถา : เป็นสำนวนที่หมายความว่า ทำด้วยวิธีหนึ่งไม่สำเร็จ ก็พยายามจะทำอีกวิธีหนึ่ง หรือหาวิธีอื่น ๆ ที่คิดว่าจะทำให้ได้มาทำ เป็นความหมายในทำนองที่ว่า เป็นการใช้อุบายเพื่อเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งให้ได้.
ไม่พ้นชวด ฉลู ขาล เถาะ : สำนวนนี้ เราอาจจะไม่คอยได้ยินในสมัยนี้นัก เพราะเป็นสำนวนเก่าแก่ของคนในสมัยก่อน ๆ ใช้พูดกัน มีความหมายว่า " ไปไม่รอด " หรือไปไม่ได้ตลอด หรือไปให้ไกลแสนไกลแค่ไหนก็จะต้องหมุนเวียนกลับมาอีก เปรียบเหมือนปี ๑๒ นักกษัตร ที่หมุนเวียนอยู่เรื่อยไปภายใน ชวด ฉลู ถึง กุล สำนวนนี้มักใช้ประชดคนที่ทำใจแข็งโดยไม่สมเหตุผล.
ไม่มีมูลฝอยหมาไม่ขี้ : หมายความว่า อะไรก็ตามที่เกิดขึ้น มักจะต้องมีเหตุหรือมีเค้ามูลมาก่อน ไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ.
ไม่รู้จักเสือ เอาเรือเข้ามาจอด ไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาแหย่ : ทั้งสองสำนวนนี้ แปลว่า การทำอะไรที่แสดงความเซ่อเขลาของตนโดยไม่พิจารณาเสียก่อนมักมุ่งหมายไปในทำนองที่ว่า ไปต่อสู้หรือแข่งขันกับคนที่เขาชำนาญกว่าหรือเก่งกว่า โดยไม่รู้ว่าเป็นใคร เช่นหลงไปเล่นการพนันกับนักพนันที่เก่งและชำนาญเข้าโดยไม่รู้จัก เปรียบได้กับเอาเรือเข้าไปจอดในป่าที่มีเสือดุ ๆ หรือเอาไม้เข้าไปแหย่ให้มอดกัดกินเล่นสบาย.
ไม่เห็นน้ำตัดกระบอก ไม่เห็นกระรอกโก่งหน้าไม้ : หมายถึง การด่วนทำอะไรล่วงหน้าไปก่อน โดยที่ยังไม่รู้ว่า การณ์ข้างหน้าจะมีหวังแน่นอนหรือเปล่า เพราะไม่มีเค้าว่าจะปรากฏภายหน้าให้เห็นเลยเรียกว่า เป็นการคาดคะเนล่วงหน้าไว้ก่อน แล้วก็รีบจัดเตรียมไว้ โดยถ้าหากผิดคาดไปก็เสียเปล่า.
ไม้ซีกงัดไม้ซุง : สำนวนนี้ หมายถึง คนผู้น้อยหรือผู้มีฐานะต่ำไปคัดค้าน หรือไปก่อความกับผู้มีอำนาจสูงกว่า หรือมีฐานะดีกว่า ก็ย่อมจะเป็นผู้แพ้หรือทำไม่สำเร็จ มีแต่จะได้รับอันตรายอีกด้วย เพราะไม้ซีกเล็กกว่าไม้ซุง เมื่อเอาไปงัดไม้ซุงจะให้พลิกขึ้น ก็รังแต่ไม้ซีกจะหักเปล่า.
ไม้ล้มจึงข้าม คนล้มอย่าข้าม : ความหมายของสำนวนนี้ อธิบายไว้แล้วใน " คนล้มอย่าข้าม ".
ย้อมแมวขาย : หมายความว่า เอาของไม่ดีมาตบแต่งเสียใหม่ แล้วเอามาหลอกลวงว่าของดี มูลของสำนวนคงมาจากการนิยมเลี้ยงแมวของคนไทยในสมัยก่อนที่มักตกแต่งแมวเลี้ยงของตนเอง ด้วยสีของขมิ้นบ้าง ปูนบ้าง ทำให้เป็นสีต่าง ๆ ก็ได้.
ยื่นแก้วให้วานร : หมายถึง เอาของมีค่าหรือของดีไปให้กับคนที่ไม่รู้จักค่าของของนั้น ทำให้เปล่าประโยชน์ความหมายอย่างเดียวกับ
รกคนดีกว่ารกหญ้า : สำนวนนี้ มีความหมาอยู่ในตัวแล้วที่ว่า รกคนยังพอใช้ประโยชน์ได้บ้างแต่รกหญ้าไม่มีประโยชน์ สำนวนนี้ยังมีต่อท้ายด้วยว่า " แต่รกคนบ้า รกหญ้าดีกว่ารกคน.
รักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี : ถ้ารักวัวก็ให้ผูกล่ามขังไว้ มิฉะนั้นวัวจะถูกลักพาหรือหนีหายไปส่วนรักลูกให้เฆี่ยน ก็หมายถึงให้อบรมสั่งสอนลูกและทำโทษลูกเมื่อผิด.
รักดีหามจั่วรักชั่วหามเสา : หมายความว่า การทำตัวดี ประพฤติดี มีความรู้ดี ก็ได้งานอาชีพเบาหรืองานสูง ถ้าทำตัวไม่ดี หรือขาดความรู้วิชาก็ต้องทำงานหนัก จำพวกแบกหามหรืองานต่ำ.
รักพี่เสียดายน้อง : หมายถึง การลังเลใจ ตัดสินใจไม่ถูกว่าจะเลือกอย่างไหนดี เพราะถูกใจทั้งสองอย่าง สำนวนนี้ มักใช้เปรียบเปรยถึงความรักของผู้ชายเราที่เกิดไปรักผู้หญิงคราวเดียวกันไว้ถึงสองคน หรือผู้หญิงนั้นเป็นพี่น้องด้วยกัน.
รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ : สำนวนนี้ เป็นสำนวนปริศนาที่ตีความยาก แต่ก็พอมีเค้าให้เข้าใจได้ว่า การทำอะไรก็ตามแต่ ควรทำให้พอดี อย่าให้มากเกินไป ถ้าเห็นว่าจะเกินไปทำให้เป็นที่กระทบกระเทือนต่อผู้อื่น ก็ระงับยับยั้งไปเสียหรือจะทำอะไรที่เรียกว่าง่าย ๆ สั้น ๆ เกินไปก็อย่าด่วนทำควรค่อยคิดค่อยทำต่อไปให้เหมาะสม.
ราชสีห์สองตัวอยู่ถ้ำเดียวกันไม่ได้ : สำนวนนี้ หมายถึงคนสองคนที่ต่างก็มีอำนาจ หรืออิทธิพลยิ่งใหญ่เท่ากัน ย่อมจะอยู่ร่วมกันไม่ได้ เพราะต่างฝ่ายก็ต่างจะแข่งรัศมีกันด้วย.
รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง : ตนเองทำไม่ถูกไม่ดี แต่กลับไปซัดโทษเอาผู้ร่วมงานหรือผู้อื่น
รู้หลบเป็นปลีก รู้หลีกเป็นห่าง : หมายถึง การรู้จักหลบหลีกเอาตัวรอดจากภัยต่าง ๆ ไปได้ ทำนองเดียวกับนกที่มีปีกมีหางบินหนี ศัตรูได้คล่องแคล่วว่องไว เรียกว่า " รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี "
รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บาแบกหาม : สำนวนสุภาษิตประโยคนี้เป็นคำอธิบายความอยู่ในตัวแล้วว่า การรู้วิชาต่าง ๆ ไว้ ย่อมจะมีประโยชน์แก่ตนเอง ใช่จะไร้ประโยชน์หรือเรียนมาให้หนักสมอง.
เรือล่มในหนอง ทองจะไปไหน : ความหมายของสำนวนนี้ หมายถึงการที่จะต้องเสียอะไรไปสักอย่างแต่ไม่มีทางที่จะต้องสูญเปล่าแล้ว ก็ไม่ต้องวิตกทุกข์ร้อน ย่อมจะมีทางได้คืน เปรียบเหมือนเรือบรรทุกที่ไม่เกิดล่มในหนองเล็ก ๆ หรือ แคบ ๆ ในวงจำกัด ทองก็คงจมอยู่ตรงนั้นไม่ไปไหนเช่น ยอมลงทุนเสียเงินเสียทอง เพื่อแต่งงานกับคนมีเงินด้วยกัน ทุนที่ลงไปในการแต่งงานก็คงจะไม่สูญเปล่าเพราะทุนไปกองอยู่ด้วยกัน.
เรือล่มเมื่อจอด : หมายถึง การทำอะไรที่ผ่านพ้นไปได้เรียบร้อยเกือบทุกอย่าง แต่พอใกล้จะสำเร็จก็กลับต้องเสียหายไม่สำเร็จลงไปได้ เรียกว่าผ่านอุปสรรคต่าง ๆ มาด้วยดี มีทางที่จะต้องสำเร็จ แต่พอถึงขั้นสุดท้าย กลับมีอันล้มเหลว.
รีดเลือดกับปู : หมายความว่า เคี่ยวเข็ญหรือบังคับเอากับผู้ที่ไม่มีทางจะให้ เช่นรีดเงินจากคนที่ยากจนอยู่แล้ว เหมือนรีดเลือดเอาจากปูเพราะปูไม่มีเลือดจะให้รีด.
ล้วงคองูเห่า : สำนวนนี้ หมายถึง คนที่ทำอะไรองอาจล่วงล้ำ หรือกล้าเข้าไปทำอะไรแก่ผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า โดยทั้งที่รู้หรืออาจไม่รู้ เช่นการเข้าไปฉกฉวยทรัพย์สินในบ้านของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือกล้าเข้าไปก่อนความเดือดร้อนแก่ผู้มีอิทธิพลในถิ่นนั้น ๆ.
ลงบันไดสามขั้นไม่มีความสุข : หมายความว่า การลงบันได คือการออกจากบ้านไปแล้ว ย่อมไม่มีความสุข ความหมายทำนองเดียวกับว่าการจากบ้านของตนเองไปไกล หรือไปอยู่ถิ่นไหนก็คงไม่มีความสุขเหมือนอยู่บ้านเราเอง.
ลงเรือแปะ ตามใจแปะ : หมายความว่า เมื่อไปอยู่กับใคร หรือไปอาศัยอยู่บ้านใคร ก็ต้องเกรงใจหรือยอมทำตามเขา ความหมายอย่างเดียวกับคำว่า " เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม " ( เรือแป๊ะ ก็คือ เรือของตาแป๊ะจีนเก่า ๆ ).
ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก : หมายถึง คนที่ดีแต่พูดแต่จะให้ทำจริง ๆ กลับทำไม่ได้ เปรียบได้กับการละเลงขนมเบื้อง ซึ่งถือว่าต้องละเลงด้วยฝีมือหรือละเลงเป็นจริง ๆ ถึงจะทำได้ ไม่ใช่ของง่ายนัก.
ลางเนื้อชอบลางยา : หมายความว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน เป็นสำนวนที่ได้มาจากการใช้ยารักษาโรค ที่ว่ายาขนานเดียวกันรักษาคนหนึ่งหายแต่อีกคนหนึ่งไม่หาย ทั้ง ๆ ที่เป็นโรคเดียวกัน แปลว่ายาถูกโรคกับคนหนึ่ง แต่ไม่ถูกโรคกับอีกคนหนึ่ง.
ลิงหลอกเจ้า : หมายถึง คนที่ต่อหน้าผู้ใหญ่ก็ทำตัวเรียบร้อย แต่ลับหลังซนเป็นลิงเป็นค่าง.
ลูกไก่ในกำมือ : แปลว่า อยู่ในอำนาจเหนือกว่าจะทำอย่างไรก็ได้ จะให้ตายหรือให้รอดก็ได้ ตามสำนวนเดิมว่า " ลูกไก่อยู่ในกำมือ จะบีบก็ตาย จะคายก็รอด ".
ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น : ความหมายอย่างเดียวกับที่ว่า " ดูช้างให้ดูที่หาง ดูนางให้ดูที่แม่ " เพราะมีความหมายว่า ลูกย่อมไม่แตกต่างไปจากพ่อแม่แต่ถ้าพูดว่า " ลูกไม้หล่นไกลต้น " ความหมายก็อยู่ในลักษณะตรงกันข้าม แปลว่า ลูกที่มีนิสัยหางไกลหรือแตกต่างกับพ่อแม่.
ลูบหน้าปะจมูก : สำนวนนี้ มีความหมายโดยเฉพาะถือการกระทำอะไรสักอย่างที่ตั้งใจว่า จะทำโดยเด็ดขาดต่อเมื่อทำลงไปแล้ว ก็กลายเป็นกระทบกระเทือนถึงพวกเดียวกันเองเข้า เช่น การจะสอบสวนหาผู้กระทำผิด ครั้นลงมือสอบไปแล้วก็พบว่า ผู้กระทำผิดนั้นมิใช่ใครอื่น คือพวกพ้องเดียวกันนั่นเอง ทำให้ความตั้งใจอย่างเด็ดขาดแต่แรก มีอันล้มเหลวไป.
เล่นกับหมาหมาเลียปาก เล่นกับสากสากต่อยหัว : สำนวนต่อเนื่องกันทั้งสองประโยคนี้ มีความหมายว่าการลดตัวเองลงไปเล่นหัวคลุกคลีกับคนที่ต่ำกว่าหรือเด็กที่มีอายุน้อยกว่ามาก คนผู้นั้นหรือเด็กนั้นก็อาจจะเลียตีเสมอลามปามเข้าให้ สำนวนที่ว่า " เล่นกับหมาหมาเลียปาก " นั้นมีประสบการณ์ให้เห็นอยู่บ่อย ๆ เพราะธรรมชาติของหมาเป็นเช่นนั้น.
เลี้ยงช้างกินขี้ช้าง : หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่อะไรก็ตามแต่แล้วพลอยได้มีส่วนผลประโยชน์จากหน้าที่ ที่ตนทำอยู่นั้น โดยไม่บริสุทธิ์นัก หรือไปในทำนองที่ไม่ชอบธรรม สำนวนนี้มาจากสมัยโบราณ ซึ่งคงจะเป็นที่พบเห็นกันว่า คนเลี้ยงช้างของหลวงในสมัยนั้น คงมีผลประโยชน์พลอยได้จากค่าเลี้ยงดูช้างอยู่บ้างก็ได้ แต่คงไม่มากนัก.
เลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ : สำนวนนี้ มุ่งหมายโดยเฉพาะกับผู้ที่เลี้ยงลูกของตน หรือเลี้ยงเด็กที่เป็นลูกบุญธรรมก็ตาม ถ้าเด็กนั้นมีสันดานชั่วร้าย เมื่อโตขึ้นก็ย่อมก่อความเดือดร้อนลำบาก ให้แก่ตนเองเปรียบได้กับการเลี้ยงลูกเสือลูกจระเข้ เมื่อยังตัวเล็กอยู่ยังไม่เป็นภัย แต่โตขึ้นก็อาจทำความเดือดให้แก่ผู้เลี้ยงได้เป็นส่วนมาก.
เลือดข้นกว่าน้ำ : ความหมายว่า ญาติพี่น้องของตนเองย่อมสำคัญกว่าผู้อื่น เพราะอยู่ในวงสกุลเดียวกัน.
ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง หมายความว่า ว่าแต่คนอื่น แต่ตัวเองก็ทำ คือ อิเหนาดันไปว่า กษัตริย์ที่มารบแย่งนางบุษบาว่า ผู้หญิงในโลกนี้ไม่มีแล้วรึไง มาแย่งอะไรอยู่กับนางบุษบาคนเดียว จนยอมเอาชีวิตเข้าแลก แต่ สุดท้าย คำพูดของอิเหนาก็เข้าตัว เพราะเมื่อเจอหน้านางบุษบา ก็ลืมจินตราวาตีไปเลย
วัวแก่กินหญ้าอ่อน : หมายถึง ชายแก่ที่มีภรรยาสาวคราวลูกคราวหลาน มักใช้เป็นสำนวนเปรียบเปรยชายที่ว่านี้.
วัวเคยขา ม้าเคยขี่ : หมายถึงชายหญิงที่เคยมีสัมพันธ์กันมา ย่อมรู้จิตใจกันดีอยู่แล้ว.
วัวไม่กินหญ้าอย่าขมเขา : หมายความว่า อย่าบังคับหรืออย่าฝืนให้เขาทำอะไรในสิ่งที่เขาไม่สมัคใจ.
วัวสันหลังขาด : สำนวนนี้ ยังมีต่อสร้อยด้วยว่า " วัวสันหลังขาด เห็นกาบินผาดก็ตกใจ " มีความหมายถึงคนที่มีอะไรพิรุธหรือมีการกระทำไปแล้ว ในทำนองไม่สู่ดี มักมีอาการคอยหวาดระแวงอยู่เสมอ กลัวว่าจะมีคนรู้เห็นหรือมารื้อฟื้นกล่าวโทษขึ้น สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า " วัวสันหลังหวะ " ซึ่งแปลตามสำนวนก็ว่า
วัวสันหลังเป็นแผลหวะ หรือมีบาดแผลที่หลัง กาจะบินมาจิกแผลตนเอง.
วัวหายล้อมคอก : หมายความว่า เมื่อเกิดเรื่องเกิดราวถึงขั้นเสียหายขึ้นเสียก่อน แล้วจึงค่อยมาคิดแก้ภายหลัง หรือไม่คิดหาทางป้องกันไว้แต่แรก ได้คิดก็ต่อเมื่อเกิดการเสียหายขึ้นแล้ว.
วัวลืมตีน : สำนวนนี้ ใช้เป็นความหมายเปรียบเทียบถึงคนที่ไม่เจียมตัว หรือมีศักดิ์ต่ำแต่คิดเห่อเหิมจะทำตัวให้เทียมหน้าเขา.
วัวเห็นแก่หญ้า ขี้ข้าเห็นแก่กิน : หมายถึง คนที่ตะกละตะกลาม หรือเห็นแก่กินอย่างเดียว มักมุ่งหมายถึงคนชั้นต่ำที่ทำอะไรเห็นแต่ได้เกินไป.
วันพระไม่มีหนเดียว : สำนวนนี้ มักใช้เป็นคำตอบโต้แก่อีกฝ่าย ในทำนองบาดหมางน้ำใจกันหรือในกรณีที่อีกฝ่ายทำให้ได้รับความเจ็บแค้น จึงใช้ไปในทางปรามาสว่า คงจะได้พบกันอีกในโอกาสหน้าหรือวันข้างหน้ายังมีอีก มูลของสำนวนนี้ เข้าใจว่าในสมัยก่อน เมื่อถึงวัน ๑๕ ค่ำ หรือ ๘ค่ำ ข้างขึ้นข้างแรม เป็นวันที่ชาวบ้านมักมาชุมนุมฟังเทศน์ทำบุญกันพร้อมหน้า ได้พบกันเต็มที่ จึงถือเป็นประเพณีว่าการที่จะพบกันได้อย่างจัง ๆ หน้า ก็ต้องเป็นวันพระนี้เอง.
ไว้ใจทาง วางใจคน จนใจเอง : สำนวนนี้ อธิบายความหมายอยู่ในตัวแล้ว เป็นสุภาษิตสอนใจคนเราว่า อย่าไว้ใจทั้งในเรื่องหนทาง หรือการเดินทางและในเรื่องจิตใจของคนอื่น ๆ ให้มากนัก จะได้รับเคราะห์โดยไม่รู้ตัวเข้าได้.
ไว้ใจคนตาบอดข้างเดียว ไว้ใจบ่าวตาบอดสองข้าง : หมายความว่า ไว้ใจลูกนั้น จะไว้ใจหรือวางใจหรือวางใจไม่ได้เต็มที่ ก็หวังได้แต่เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น แต่ไว้ใจบ่าวหรือคนใช้กลับยิ่งซ้ำร้าใหญ่ คือหวังอะไรไม่ได้เลย การไว้ใจลูกยังดีกว่า เพราะลูกเป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของเรา แต่บ่าวหรือคนใช้เป็นคนอื่น สำนวนนี้ ปัจจุบันนี้อาจจะไม่ค่อยได้พบหรือได้ยินนัก นอกจากคนเก่า ๆ หรือคนมีอายุแล้วจึงจะพูดถึง.
สอนจระเข้ว่ายน้ำ : หมายถึงการชี้ทางหรือสอนให้คนที่เป็นอยู่แล้วให้เก่งหรือชำนาญขึ้นไปอีก แต่มักมุ่งหมายโดยเฉพาะถึงการสอน หรือแนะนำคนชั่วประพฤติไม่ดีส่วนมาก.
สอนหนังสือสังฆราช : สำนวนนี้ แตกต่างกับการสอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ เพราะหมายถึงการสอนผู้ที่มีความรู้ดีเป็นเยี่ยมอยู่แล้ว โดยที่ไม่รู้ว่าคนผู้นั้นรู้หรือชำนาญดีกว่าตนเสียอีก ความหมายใกล้เคียงกับสำนวนที่ว่า " เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน ".
สัญชาติสุนัข อดขี้ไม่ได้ : สำนวนนี้ ใช้เป็นคำเปรียบเปรยถึงคนที่ประพฤติชั่ว ถึงจะเอามาอบรมเลี้ยงดูดีอย่างไร ก็อดประพฤติเช่นเดิมไม่ได้ เปรียบได้กับสุนัขส่วนมากซึ่งชอบกินขี้อยู่เสมอ แต่สมัยนี้เราไม่ค่อยจะได้เห็นดังว่า ก็เพราะส้วมถ่ายอุจาระของเราสมัยนี้มิดชิดไม่ค่อยเรี่ยราดเหมือนสมัยก่อน.
สมภารกินไก่วัด : เป็นสำนวนเปรียบเทียบที่มุ่งหมายโดยเฉพาะ ถึงผู้ชายที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหรือผู้บังคับบัญชาที่มีหน้าที่ปกครองดูแลหญิงสาวหลาย ๆ คนภายในบ้านหรือภายในวงงาน แล้วก็ถือโอกาสเกี้ยวพาเอาหญิงสาวเหล่านั้น มาเป็นเครื่องเล่นของตนเสียโดยไม่เหมาะสม อีกทางหนึ่งอาจหมายถึงผู้มีอำนาจในการปกครอง ซึ่งชอบหาเศษหาเลยจากการ " คอรัปชั่น " ในหน้าที่ของตนเองก็ได้.
สร้างวิมานในอากาศ : หมายถึง การสร้างความฝันว่าตนเองจะต้องได้เป็นใหญ่หรือ มีเงินทองมั่งมีขึ้นแล้วจะทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้สมกับที่มีเงิน โดยที่ความใฝ่ฝันนั้นยังไม่แน่ว่าจะได้รับสมจริงหรือเปล่า.
สาดน้ำรดกัน : เป็นสำนวนที่หมายถึงการทะเลาะทุ่มเถียงด่าทอโต้ตอบกันไปมา ยังไม่ถึงขั้นที่ลงมือใช้อาวุธซึ่งเท่ากับว่า เอาน้ำมาสาดรดกันให้ต่างคนต่างเปียกด้วยกันทั้งสองข้าง.
สาวไส้ให้กากิน : หมายถึง การที่เอาความลับหรือเรื่องไม่ดีของตนเองหรือของพี่น้องของตนไปเปิดเผยให้คนอื่นฟัง โดยไม่ได้ประโยชน์อะไรแก่ตนเองเลย.
สิบเบี้ยใกล้มือ : หมายความว่า อะไรที่ควรจะไดและอยู่ใกล้หรือเป็นสิ่งที่คว้าได้ง่าย ก็ควรจะคว้าไว้ก่อนดีกว่าที่จะมองข้ามไป เพราะเห็นว่าเป็นของเล็กน้อยและไม่มุ่งเอาของใหญ่ข้างหน้า โดยที่ยังมองไม่เห็นเค้าเลย.
สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ หมายความว่า เรื่องที่เล่าจากปากคนมาก ๆ ก็อย่าเพิ่งไปเชื่อถือทีเดียวนัก ต้องเห็นด้วยตาเองเสียก่อนและถ้าจะให้แน่จริง ๆ แล้ว ก็ต้องได้อยู่กับเหตุการณ์นั้นด้วย หรือเรียกว่าได้สัมผัสด้วยมือของตนเองจริงๆ จึงจะเป็นของแน่นอน.
สิบคนเข้าไม่เท่าคนหนึ่งออก : สำนวนนี้ หมายถึงคนในครอบครัวเรากับคนภายนอกบ้าน คือคนที่อยู่กับเราภายในบ้านนั้นย่อมมีความสัมพันธ์และคุ้นเคยรู้อกรู้ใจกันมากับเราเป็นอย่างดี หรือเปรียบได้กับคนที่ทำงาน อยู่ในบังคับบัญชาของเรามานาน ๆ ย่อมจะมีความชำนาญในหน้าที่ต่าง ๆ เป็นอย่างดีเมื่อมีคนต้องออกไปแล้ว คนจะหาคนมาอยู่ใหม่ แทนกี่สิบคนก็คงสู้คนเก่าที่ออกไปไม่ได้.
สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง : สำนวนนี้ เนื่องจากว่าคนไทยในสมัยก่อน ๆ ถือว่า การเป็นพ่อค้าหรืออาชีพค้าขายนั้น สู้รับราชการขุนนางหรือข้าราชการไม่ได้ เพราะเหตุที่คนไทยในสมัยก่อนยังไม่มีความชำนาญในทางค้าขายดีพอ เมื่อไปทำมาค้าขายเข้า ก็มักประสบกับการขาดทุนมากกว่ากำไร สู้เป็นขุนนางหรือเป็นข้าราชการไม่ได้ เพราะพระเจ้าแผ่นดินหรือรัฐบาลชุบเลี้ยงให้มีเงินเดือน ซึ่งเท่ากับว่ามีแต่ทางได้ไม่มีทางขาดทุน.
สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ : หมายความว่า ความรู้ต่าง ๆ ที่ร่ำเรียนมาทางหนังสือนั้น ถึงจะเรียนมามากเพียงไรก็สู้ความชำนาญที่ได้จากการปฏิบัติหรือประสบการณ์ด้วยตนเองมาก ๆ ไม่ได้ เรียกว่า เรียนรู้แต่ภาคทฤษฎี แต่พอลงมือปฏิบัติเข้าจริง ๆ แล้วกลับไม่ค่อยได้เรื่อง สู้คนที่เขาเรียนปฏิบัติจากของจริงมาก่อนไม่ได้.
สีซอให้ควายฟัง : เป็นสำนวนเปรียบเปรยถึงคนโง่เง่าหรือปัญญาทึบ ซึ่งแม้เราจะพร่ำสอนพร่ำบอกอย่างไรก็ไม่ได้เรื่อง หรือเปรียบได้กับคนที่ไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งสอน หรือคำแนะนำชี้แจงของผู้ที่รู้ทำให้ผู้อุตส่าห์แนะนำต้องเปล่าประโยชน์ หรือเสียเวลาในการไปคอยชี้แนะนำ.
สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง : สำนวนนี้ มักจะใช้กันมาก เพราะเป็นสำนวนสุภาษิตที่เตือนใจให้คนเราอย่าทระนงหรือประมาท ไม่ว่าจะมีความรู้หรือปัญญาฉลาดปราดเปรื่องสักแค่ไหนถ้าประมานก็มีวันพลาดท่าเสียทีเขาลงได้ เพราะอุปมาเอาว่า " สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง " เราผู้เป็นคนธรรมดาสามัญหรือมีความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ยิ่งจะมีทางพลาดพลั้งลงได้ง่าย โดยมีสำนวนต่อท้ายว่า " สองตีนโด่เด่ คงจะเซลงมาบ้าง "
สุกหัวกินหัว สุกหางกินหาง : สำนวนนี้ มีความหมายทำนองเดียวกับ " สิบเบี้ยใกล้มือ " คือ ได้สิ่งไหนก่อนหรือง่ายก็ควรคว้าเข้าไว้ ไม่ควรรีรอเลือกมากเกินไป อาจจะชวดหรือไม่ได้เลยก็ได้ เปรียบกับปิ้งปลาเป็นอาหาร คือ เห็นว่า สุกหัวกินหัว สุกหางกินหาง ไม่ต้องรอให้ปลาสุกทั้งตัวจะช้าการไป.
สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร : สำนวนนี้เป็นคำพังเพยที่ระบุถึงอบายมุขทั้ง ๔ คือ สุรา (เหล้า ) นารี (ผู้หญิง : มักเจาะจงถึงผู้หญิงคนเที่ยว ) พาชี ( ม้าแข่ง ) กีฬาบัตร ( การพนัน จำพวก ไพ่ เช่น ไพ่ป๊อก ไพ่ตอง ) ว่าเป็นเหตุแห่งความฉิบหายของผู้ชายเราถ้าใครลงไปมั่วสุมเข้า หรืออีกทางหนึ่งหมายถึง คนที่เป็นนักเลงถึงพร้อม ๔ อย่าง หรือเกือบทุกอย่างซึ่งเรียกว่าเป็นนักเลงเต็มตัว แต่ไปในทางไม่ดีนัก.
เส้นผมบังภูเขา : หมายความว่า เป็นเรื่องที่ทำให้ต้องเสียเวลาคิดค้นหรือแก้ไขเกือบตาย แต่แท้จริงแล้วเป็นเรืองที่มีปัญหาอยู่นิดเดียว ซึ่งมองข้ามไป เลยทำให้เป็นเรื่องใหญ่หรืออีกทางหนึ่ง หมายความว่าเอาเรื่องเล็กน้อยมาบังหน้าเสีย เพื่อหลอกให้อีกฝ่ายเข้าใจเขวไป จนเลยไม่ทันคิดว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ที่เสียการ.
เสี้ยมเขาควายให้ชนกัน : หมายความว่า ยุยงให้เขาเกิดวิวาทบาดหมางกันแบบ " ยุให้รำ ตำให้รั่ว " (คำว่า " เสี้ยม " แปลว่า ลับ หรือทำให้เขาควายแหลมคมขึ้น เพื่อจะให้เข้าไปขวิดกัน ).
ใส่ตะกร้าล้างน้ำ : สำนวนนี้ เป็นคำเปรียบเปรยถึงการทำให้คนที่มีมลทิน หรือมีเรื่องเสียมาก่อนให้กลับเป็นคนดีหรือเป็นคนใหม่ที่บริสุทธิ์ขึ้นมา เปรียบเหมือนเอาปลาที่เหม็นคาว หรือมีกลิ่นมาใส่เกลือแช่สักพัก แล้วเอาใส่ตะกร้าล้างน้ำโดยวิธีจุ่มสงขึ้นหลาย ๆ หนเพื่อให้หมดกลิ่น สำนวนนี้มักใช้กับหญิงที่เสียความบริสุทธิ์ไปแล้ว หรือมีราคี แล้วเอาชุบอบรมทำให้เป็นหญิงบริสุทธิ์คนใหม่เสีย.
ไส้เป็นหนอน : หมายถึง ญาติพี่น้องหรือคนในบ้านของตนเองไม่ซื่อสัตย์คิดร้ายหรือทรยศ ทำให้ตนต้องได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย สำนวนนี้บางทีก็พูดว่า " หนอนบ่อนไส้ " โบราณมักเอาคำว่า " ไส้ " มาเปรียบกับตัวเรา ญาติพี่น้องวงศ์วาร หรือความลับภายใน , เรื่องส่วนตัว ฯลฯ เป็นส่วนมาก เช่น " ไส้กี่ขด ๆ " ( หมายถึงความลับภายในหรือเรื่องส่วนตัว ) สาวไส้ให้กากิน , ไส้เป็นน้ำเหลือง ฯลฯ.
หอกมันแทงมัน : หมายความว่า เอาผลที่ได้มาจากการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้น เป็นเครื่องดำเนินต่อไปโดยไม่ต้องลงทุนใหม่ เช่น เอาเงินที่ได้จากการพนันเสี่ยงโชคนั้นลงไปเสี่ยงในการพนันต่อไป.
หมากัดอย่ากัดหมา : หมายความว่า คนชั่ว คนชั้นต่ำ หรือพวกอันธพาลคิดร้ายหรือประทุษร้ายเราอย่างใดอย่าทำตอบ แต่ควรหลีกเลี่ยงไปเสีย.
หมาเห่าใบตองแห้ง : หมายถึง คนที่ชอบเอะอะโวยวายเป็นที่อวดตัวว่า ตนเก่งกล้า แต่แท้จริงแล้วกลับเป็นคนขี้ขลาด ไม่กล้าเผชิญกับศัตรู เปรียบได้กับใบตองแห้งที่ติดกับต้นกล้วย เวลาลมพัดมามีเสียงดังแกรกกรากหมาได้ยินเข้าหน่อยก็มักจะเห่าส่งเดช.
หมาเห่าไม่กัด : ความหมายอย่างเดียวกับ " หมาเห่าใบตองแห้ง " ตามที่สังเกตเอาว่า หมาที่เห่าเก่ง ๆ นั้นมักจะไม่กัด และหมาที่ชอบกัดนั้นมักไม่เห่าง่าย.
หมาเห็นข้าวเปลือก : หมายถึง การได้เห็นแล้วอยากได้แต่ไม่มีทางที่จะได้ หรือเป็นประโยชน์แก่ตนเองจะโดยฐานะต่ำต้อยหรืออะไรก็ตาม สำนวนที่เอา " หมา " มาเปรียบนี้มีมาก แต่มักหมายไปในทางไม่ดี เช่น หมาหัวเน่า , หมาสองราง ฯลฯ.
หมูจะหาม เอาคานเข้ามาสอด : หมายถึง การที่เข้าไปขัดขวางผลประโยชน์ หรือกิจการของคนอื่นที่เขากำลังจะสำเร็จอยู่แล้ว สำนวนนี้มีต่อท้ายด้วยว่า " ผัวเมียเขาจะกอดเข้าไปข้างกลาง " มีความหมายอย่างเดียวกัน.
หวานนอกขมใน : หมายถึง การใช้คำพูดหรือแสดงกิริยาให้อีกฝ่ายเห็นว่า ดีต่อ แต่แท้จริงภายในจิตใจกลับตรงกันข้ามกับกิริยาและวาจา.
หักด้ามพร้าด้วยเข่า : หมายความว่า ใช้วิธีบังคับหรือเตี่ยวเข็นเอาอย่างหักโหม ตามความต้องการของตนเอง โดยไม่คำนึงว่า จะเกิดผลเสียอย่างไรบ้าง " พร้า " หมายถึงมีดใหญ่ที่ใช้สับและฟัน คนสมัยก่อน ๆ มักจะใช้คำพูดควบกันไปว่า " มีดพร้า " และเป็นของประจำทุกครัวเรือน จึงมักจะนิยมเอามาผูกสำนวน.
หัวมงกุฎท้ายมังกร : หมายถึง การทำอะไรที่ไม่เข้ากันหรือขัดกัน เช่น ประกอบอะไรขึ้นสักอย่างมีหัวกับท้ายหรือหางไม่เหมือนกัน หรือไม่กลมกลืนกัน สำนวนนี้มักมักพูดกันว่า " หัวมงกุฎท้ายมังกร " ไปเสียแท้จริงแล้วต้องเป็น " มังกุ " ไม่ใช่ " มงกุฎ " เพราะ " มังกุ " เป็นชื่อเรือต่อชนิดหนึ่ง และ " มังกร " ก็เป็นชื่อเรืออีกชนิดหนึ่งเหมือนกัน สำนวนนี้เอาเรือที่ประดิษฐ์หัวเรือและท้ายเรือ เป็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น เรือหงษ์ เรือมังกร มาเปรียบ.
หัวล้านนอกครู : สำนวนนี้ต่างกับคำว่า " หัวล้านได้หวี " เพราะหมายถึง คนที่ทำอะไรนอกแบบแผน หรือไม่ทำอย่างที่คนธรรมดาเขาปฏิบัติกันอยู่ทั่วไป โบราณมักจะเอาคนหัวล้านมาผูกเป็นประโยคสำนวน หรือคำพังเพยส่วนมาก เข้าใจว่า คนหัวล้านในสมัยนั้นคงมีพฤติการณ์อะไรแปลก ๆ หรือเป็นจุดเด่นให้สังเกตได้ง่ายก็อาจเป็นได้.
หาเลือดกับปู : ความหมายอย่างเดียวกับสำนวนที่ว่า " รีดเลือดกับปู ".
หาเหาใส่หัว : หมายความว่า หาความลำบากมาใส่ตัวเองหรือเอาเรื่องของคนอื่นมาเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตัวเอง.
หุงข้าวประชดหมา ปิ้งปลาประชดแมว : หมายความว่า การทำประชดหรือทำแดกดันที่กลับเป็นผลร้ายแก่ตนเอง เพราะธรรมดาแมวชอบกินปลา ถ้ายิ่งปิ้งปลาให้แมวกินแบบประชดมาก ๆ แมวก็ยิ่งชอบ แต่ตัวคนทำประชดจะต้องเสียผลมากขึ้น.
เห็นกงจักรเป็นดอกบัว : หมายความว่า เห็นสิ่งที่ไม่ดีเป็นดี หรือเห็นผิดเป็นชอบ คำว่า " กงจักร " ซึ่ง หมายถึง " ไม่ดี " และ " ดอกบัว " ซึ่งหมายถึง " สิ่งดี " นั้น ได้เค้ามาจากนิทานชาดกเรื่อง " มิตตวินทุชาดก " เมื่อพระโพธิ์เสวยชาติเป็นเทวดาและลงไปเที่ยวในเมืองนรก ไปเห็นมิตตวินทุตกนรกมีกงจักรครอบอยู่บนหัวทรมานเจ็บปวด แต่พระโพธิสัตว์ กลับมองเห็นกงจักรเป็นดอกบัว มีสีสันสวยงาม ก็ออหกปากขอกงจักรนั้นมาสวมบ้างเป็นการทำให้มิตตวินทุสิ้นกรรม แต่ตัวพระโพธิสัตว์เองกลับต้องรับกรรมแทน.
เห็นขี้ดีกว่าไส้ : หมายความว่า เห็นคนอื่นดีกว่าญาติพี่น้องของตน.
เห็นเขาขึ้นคานนั่ง เอามือประสานรัดก้น : ความในสำนวนนี้ แปลว่า เห็นคนอื่นเขานั่งคานหาม มีคนหามไป ตัวเองก็เอามือประสานกันเข้า ช้อนใต้กัน เป็นทำนองว่า ตนก็นั่งคานหามเหมือนกันเป็นความหมายถึงการแสดงความทะเยอทะยาน ใฝ่สูงเกินศักดิ์ อยากจะทำตัวตามอย่างผู้สูงศักดิ์กับเขาบ้าง.
เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง : สำนวนนี้ ความหมายอย่างเดียวกับ " เห็นเขาขึ้นคานนั่ง เอามือประสานรัดก้น ".
เหยียบเต่าเต็มตีน : หมายความว่า ทำอะไรให้มั่นคงอย่าให้เกิดมีข้อผิดพลาดถึงเสียงานเสียการได้ สำนวนนี้ บางทีก็พูดว่า " เหยียบเต่าสองตีน " เป็นการทำให้เต่าดิ้นหลุดไม่ได้.
เหยียบเรือสองแคม : หมายความถึง คนที่ทำอะไรไม่ซื่อตรง และเป็นคนเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว แม้จะยืนอยู่ข้างฝ่ายไหน ก็ยังละโมบไปเข้าด้วยอีกฝ่ายหนึ่ง อย่างมีเลห์เหลี่ยม โดยมุ่งแต่ประโยชน์ฝ่ายเดียว และการเอาตัวรอดเข้าไว้ก่อนอยู่เสมอ.
หินดีเหล็กดี ตีทีเดียวก็ติด : สำนวนนี้ มุ่งหมายโดยเฉพาะถึงชายกับหญิง ซึ่งรักใคร่ได้เสียกัน ในทำนองที่ว่า แม้จะได้เสียกันเพียงครั้งเดียว ถ้าทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง มีความสมบูรณ์ทัดเทียมกันก็อาจทำให้หญิงเกิดตั้งครรภ์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องสมสู่กันหลายครั้ง สำนวนนี้ เปรียบเอาหินไฟกับเหล็กมาตี เพื่อทำให้เกิดประกายไฟติดชุด คือนุ่นของคนในสมัยก่อน ๆ ซึ่งยังไม่มีไม้ขีดไฟใช้กันคือถ้าหินดีเหล็กดี ตีครั้งเดียวก็เกิดประกายไฟติดทำให้เป็นไฟขึ้นมาใช้ได้.
หนามแหลมบ่มีคนเสี้ยม : สำนวนนี้ อธิบายไว้แล้วใน " มะนาวกลมเกลี้ยง บ่มีคนกลึง "
หน้าไหว้หลังหลอก : สำนวนนี้มีความหมายอย่างเดียวกับ " ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโกน " คือต่อหน้าทำดีแต่ลับหลังตรงกันข้าม.
หว่านพืชหวังผล หมายถึง การลงทุนทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็ย่อมจะต้องหวังผลประโยชน์ตอบแทน.
อดเปรี้ยวกินหวาน : หมายความว่า ให้ละทิ้งสิ่งที่ไม่ดีนั้นเสีย เพื่อรับเอาสิ่งที่ดีเข้าไว้ ถึงแม้ว่าจะต้องใช้เวลาอดใจรออยู่นาน ก็ยังดีกว่า เพราะผลที่จะได้รับข้างหน้านั้น ย่อมดีกว่า.
อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น : สำนวนนี้มีความหมายอธิบายอยู่แล้ว คือเมื่ออาศัยอยู่บ้านใคร ก็อย่าอยู่เปล่า ควรช่วยทำงานทำการให้เป็นประโยชน์ต่อเขาบ้าง เพียงแค่เอาดินมาปั้นเป็นตุ๊กตาให้เด็ก ๆ ลูกหลานในบ้านท่านเล่นก็ยังดี แต่ประโยคนี้ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นว่า เพียงแต่ช่วยดูแลเด็กเล็กในบ้านให้แก่ท่านผู้นั้นก็ถือว่าเป็นประโยชน์ดีกว่าอยู่เปล่า ๆ.
อ้อยเข้าปากช้าง : หมายความว่า สิ่งที่หลุดลอยไปเป็นของคนอื่นแล้ว ก็ย่อมจะสูญหรือไม่มีทางจะได้คืนมาง่าย ๆ มักหมายถึงการที่เสียรู้หรือเสียประโยชน์ไปโดยถูกช่วงชิง หรือโดยความผิดพลาดอย่างหนึ่งอย่างใดแล้ว อย่าหวังจะได้กลับคืนมาทีเดียวนักเปรียบเหมือนอ้อยซึ่งเป็นอาหารโปรดของช้าง เมื่อตกเข้าไปอยู่ในปากช้างแล้ว " ยากที่จะง้างออกมาได้ ".
อัฐยายซื้อขนมยาย : หมายถึงกานได้รับประโยชน์หรืได้รับทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่ง แล้วเอาทรัพย์นั้นมาใช้กับผู้นั้นต่อ เข้าทำนองที่ว่า เอาเงินจากผู้นั้นมาแล้ว กลับเอาเงินนั้นไปซื้อของมีค่าจากผู้นั้นอีกโดยที่เราไม่ต้องลงทุนอะไรเลย แต่คนนั้นกลับเป็นฝ่ายต้องเข้าเนื้อ ตามความหมายตรงตัวของสำนวนอยู่แล้ว.
เอาจมูกคนอื่นมาหายใจ : สำนวนนี้ บางทีก็ว่า " ยืมจมูกคนอื่นเขามาหายใจ " มีความหมายไปในทำนองที่ว่า อาศัยความคิดหรือแรงของคนอื่นมาทำงานให้ตน โดยไม่คิดว่าจะได้รับผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่ากับที่ตนเองทำหรือไม่ และมักจะไม่ได้ผลดังที่ตนต้องการทีเดียวนัก.
เอาใจเขามาใส่ใจเรา : สำนวนนี้ มุ่งให้คำนึงว่า ควรจะมีความเห็นใจซึ่งกันและกัน หรือนึกถึงอกเขาอกเราบ้าง ว่าตัวเราจะรู้สึกอย่างไร ถ้าเขาทำอย่างนั้นกับเรา.
เอาทองไปรู้กระเบื้อง : สำนวนนี้ ความหมายอย่างเดียวกับ " พิมเสนแลกกับเกลือ " ความหมายว่า ลดตัวเองลงไปต่อสู้กับคนที่ต่ำศักดิ์กว่า โดยไม่คู่ควรกัน.
เอาหัวเดินต่างตีน : จะทำให้แปลกพิสดารออกไปอย่างไรก็ไม่ยอมเชื่อ หรือไม่เชื่อเป็นเด็ดขาด แต่สำนวนนี้มักเอามาใช้เป็นคำพนันขันต่อ เป็นทำนองว่า " ถ้าลือทำได้ อั๊วยอม เอาหัวเดินต่างตีน "
สสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสสส
ยกตัวอย่างเราเองก็ ว่าแต่เขา อิเหงาเป็นเอง เง้อ